จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น “ซึมเศร้า”

สำหรับในสถานการณ์โควิด หลายๆ คนมีการปรับตัวและรับมือได้มากขึ้นกว่าช่วงปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเพราะเคยมีประสบการณ์การปรับตัวและทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมาแล้ว ทำให้เกิด “New Normal” หรือความเคยชินใหม่ แต่หลายคนก็ยังจำเป็นต้องปรับตัวกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นชินต่อไปเพราะหลาย ๆ อย่างยังคงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ความเครียดอาจจะเกิดขึ้นมาโดยที่บางทีเราอาจจะไม่รู้ตัว ซึ่งหากความเครียดเหล่านี้สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะทำให้เกิดโทษกับชีวิตได้ บางกรณีอาจจะพัฒนากลายเป็นโรคทางจิตเวชต่อไปแล้วเราจะเริ่มสังเกตยังไง?

ปัญหาทางกาย
- การกินผิดปกติ บางคนอาจจะเบื่ออาหารจนน้ำหนักลด แต่บางคนอาจจะอยากอาหารมาก ทานมากจนน้ำหนักขึ้นก็ได้
- การนอนผิดปกติ บางคนอาจจะมีการนอนไม่หลับแต่บางคนอาจจะนอนมากเกินกว่าปกติ
- ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว ปวดคอบ่าไหล่ อ่อนเพลีย ไม่สดชื่นเท่าปกติ
- มีการสูบบุหรี่หรือดื่มเหล้ามากขึ้น
- โรคประจำตัวเดิมอาจจะคุมได้ลำบากขึ้น เช่นความดันขึ้น

ปัญหาทางอารมณ์
- มีความกังวล รู้สึกเครียดตลอดเวลา
- ซึมเศร้ารู้สึกทุกข์ใจมากกว่าปกติ
- อารมณ์หงุดหงิดมากผิดปกติ
- มีความกระวนกระวายใจ ว้าวุ่นใจ

ปัญหาทางความคิด
- ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ หลงลืมมากกว่าปกติ
- การตัดสินใจหรือการแก้ไขปัญหาแย่ลง
- คิดฟุ้งซ่าน คิดหมกมุ่นในเรื่องอดีต
- ความมั่นใจในตนเองลดลง
- มีความคิดทำร้ายตนเอง คิดเรื่องตาย
- หลังสำรวจแล้วหากพบว่ามีอาการหลายๆ ข้อหรือมีเพียงบางข้อแต่ปัญหานั้นรบกวนการใช้ชีวิตค่อนข้างมาก แนะนำให้รีบไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ อาการอาจจะมากขึ้นจนทำให้เกิดปัญหากับชีวิต ทั้งการงาน การเรียนหรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้ ดังนั้นรีบปรึกษารีบหายรีบอารมณ์ดีกันเถอะ
อ่านต่อ จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น “ซึมเศร้า”
ข้อมูลโดย นพ. อภิชาติ จริยาวิลาศ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่