สภาพการทำงานของตำรวจชายแดน ย่อมแตกต่างจากตำรวจเมืองเป็นธรรมดา ซึ่งมีผลต่อการเลือกใช้อาวุธปืนติดตัวเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วย ตำรวจเมืองช่วงปลายศตวรรษที่สิบเก้า
ชื่อรุ่นของปืนลูกโม่ โคลท์ กระบอกนี้ “Border Patrol” แปลตรง ๆ ก็คือ ตำรวจตระเวนชายแดน ในยุคที่ตำรวจทั้งหลายนิยมใช้ปืนลูกโม่กันเป็นส่วนใหญ่ โคลท์ นำชื่อหน่วยงานหรือตำแหน่งผู้รักษากฎหมายมาตั้งเป็นชื่อรุ่นปืนหลายรุ่น นอกจาก บอร์เดอร์ แพโทรล ยังมี Metropolitan Police, Lawman, Officer, Trooper, Detective เป็นต้น
สภาพการทำงานของตำรวจชายแดน ย่อมแตกต่างจากตำรวจเมืองเป็นธรรมดา ซึ่งมีผลต่อการเลือกใช้อาวุธปืนติดตัวเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วย ตำรวจเมืองช่วงปลายศตวรรษที่สิบเก้า ใช้ปืนลูกโม่ขนาด .38 ปลอกสั้น จนถึง ค.ศ. 1898 สมิธฯ ออกแบบ .38 สเปเชียลโดยยืดปลอกให้ยาวขึ้น จุดินขับมากขึ้น และความยาวปลอกยังช่วยให้การหยิบจับเพื่อบรรจุในโม่สะดวกขึ้นด้วย ส่งผลให้ .38 สเปเชียล กลายเป็นขนาดกระสุนยอดนิยมของตำรวจสหรัฐ และอีกหลายประเทศรวมทั้งไทย แต่ตำรวจชายแดนอเมริกันยังรู้สึกว่าแรงไม่พอ สมิธฯ จึงยืดปลอก .38 สเปเชียลออกไปอีก แล้วเรียกชื่อกระสุนขนาดใหม่ตามหน้าตัดกระสุนจริง คือ .357 แม็กนั่ม เริ่มออกขายในปี ค.ศ.1935 ใช้ในปืนโครงใหญ่ (N-Frame) ที่ปัจจุบันคือโมเดล 27
ทางด้านโคลท์ที่เป็นคู่แข่ง ก็มีปืนโครงใหญ่ใช้กระสุน .38 สเปเชียล และ .357 เช่นกัน รับฟังความเห็นของตำรวจได้ว่า ตัวปืนใหญ่ ใช้งานไม่คล่องตัวเท่าที่ควร จึงเชิญ บิล จอร์แดน (Bill Jordan) ตำรวจชายแดนชื่อดังของยุคนั้น มาช่วยออกแบบปืนให้เล็กลงบ้าง จากโครง Officer เดิม ได้ปืน .38 สเปเชียลที่เล็กกว่าโครง N ของสมิธฯ ตั้งชื่อรุ่นว่า Border Patrol ผลิตอยู่เพียงปีเดียวก็ปรับแบบเป็น Trooper ในปี ค.ศ.1953 ใช้กระสุน .357 แม็กนั่ม (เดลินิวส์ 8 ก.พ. 14) และด้วยข้อเสนอแนะจาก บิล จอร์แดน คนเดียวกันนี้ สมิธฯ แปลงโฉม “คอมแบ็ตมาสเตอร์พีส” (โมเดล 15) ใช้ลำกล้องหนา เพิ่มฝักหุ้มก้านคัดปลอกเหมือนโมเดล 27 ได้ “คอมแบ็ตแม็กนั่ม” (โมเดล 19) ที่โม่เล็กกว่า ทรูปเปอร์ของโคลท์ลงไปอีกขั้น เริ่มผลิตขายในปี ค.ศ.1957
บอร์เดอร์ แพโทรล .38 สเปเชียลรุ่นปี 1952 นั้น จำนวนผลิตเพียงประมาณ 500 กระบอก ปัจจุบันเป็นปืนสะสมหายาก ไม่เคยพบในประเทศไทย กระบอกที่ถ่ายภาพมานี้ เป็นขนาด .357 ที่โคลท์ผลิตช่วงของ ทรูปเปอร์ มาร์ค ทรี (Trooper Mk.III, ปี ค.ศ.1969-1982) โดยตั้งใจให้เป็นคู่แข่งโดยตรงของ คอมแบ็ตแม็กนั่ม ที่เป็นเจ้าตลาดอยู่ รูปทรงภายนอกคล้ายปืนสมิธฯ มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโคลท์ เพิ่มฝักหุ้มก้านคัดปลอกใต้ลำกล้อง และใส่ด้ามไม้ทรงเหลี่ยม ติดศูนย์ปรับได้แบบยิงเป้า
กลไกภายใน เป็นแบบ มาร์ค ทรี คือเปลี่ยนสปริงนกสับแบบแหนบ เป็นขดลวดสเตนเลส อายุการใช้งานยาวนานกว่าแบบแหนบหลายเท่าตัว เพิ่มระบบความปลอดภัยด้วยแท่งส่งกำลัง ต้องเหนี่ยวไกเกือบสุดแท่งนี้จึงจะยื่นขึ้นมาเชื่อมแรงจากนกสับไปท้ายเข็มแทงชนวน ถ้าไม่เหนี่ยวไกปืนไม่มีโอกาสลั่น ชิ้นส่วนของชุดลั่นไกอบชุบอย่างดีลดการสึกหรอ ตัวโม่ด้านหลังทำขอบเป็นกำแพง เมื่อปิดโม่ดูมิดชิดไม่เห็นจานท้ายกระสุน ซึ่งปืนสมิธฯ เคยทำรูปแบบนี้แต่มาเลิกไปในช่วงหลัง
การแต่งผิวของ บอร์เดอร์ แพโทรล เป็นการรมดำด้านไม่เงาเท่าทรูปเปอร์ กระบอกตัวอย่างมีส่วนปลายลำกล้องทั้งสองข้างที่รมดำสึกถึงเนื้อเหล็ก จุดนี้พบเสมอในปืนใช้งาน เกิดจากการขัดถูกับซองปืน สภาพส่วนอื่นยังดูใหม่มาก ตรวจจังหวะตัวล็อกและขาเขี่ยโม่ทำงานเรียบร้อย รอยขีดรอบโม่มีน้อย อีกจุดที่เห็นเนื้อเหล็กขาวคือที่โครงปืนเหนือเข็มแทงชนวน และที่แท่งส่งกำลัง แต่ท้ายเข็มแทงชนวนเองเหมือนใหม่ แสดงว่ายิงกระสุนจริงไม่มาก ส่วนใหญ่น่าจะเป็นการซ้อม “ยิงแห้ง” ไม่บรรจุกระสุน
โดยรวม สำหรับ บอร์เดอร์ แพโทรล กระบอกนี้ แม้ว่าจะไม่พบบ่อยนัก แต่ยังไม่จัดว่าเป็นปืนระดับสะสม ด้านการใช้งานถือได้ว่าเป็นลูกโม่ชั้นดี แข็งแรงทนทาน ชิ้นส่วนอบชุบดี สปริงขดลวดล้วน อายุใช้งานเหนือกว่าสปริงแบบแหนบมาก ความปลอดภัยสูง ความแม่นยำดี ใช้เฝ้าบ้านหรือเป็นปืนตำรวจพกซองนอกได้ดี.
................................................
ข้อมูลสรุป Colt Border Patrol
ขนาดกระสุน .357 / .38 สเปเชียล โม่จุ 6 นัด
มิติตัวปืน ยาวxสูงxหนา : 228x138x37 มิลลิเมตร
ลำกล้องยาว 102 มม. (4 นิ้ว)
น้ำหนัก 980 กรัม
แรงเหนี่ยวไก ดับเบิล 5,900 กรัม (13 ปอนด์); ซิงเกิล 1,800 กรัม (4 ปอนด์)
วัสดุ เหล็กรมดำ
อื่น ๆ ระบบการทำงานแบบ มาร์คทรี (Mk.III)
ลักษณะใช้งาน เฝ้าบ้าน, พกซองนอก, ต่อสู้ระยะปานกลาง
ตัวเลือกอื่น Smith Model 66, Ruger Security Six, Taurus Model 66
https://www.dailynews.co.th/article/216083/
....................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 841 โคลท์ บอร์เดอร์ แพโทรลลูกโม่ .357 สำหรับงานหนัก
ชื่อรุ่นของปืนลูกโม่ โคลท์ กระบอกนี้ “Border Patrol” แปลตรง ๆ ก็คือ ตำรวจตระเวนชายแดน ในยุคที่ตำรวจทั้งหลายนิยมใช้ปืนลูกโม่กันเป็นส่วนใหญ่ โคลท์ นำชื่อหน่วยงานหรือตำแหน่งผู้รักษากฎหมายมาตั้งเป็นชื่อรุ่นปืนหลายรุ่น นอกจาก บอร์เดอร์ แพโทรล ยังมี Metropolitan Police, Lawman, Officer, Trooper, Detective เป็นต้น
สภาพการทำงานของตำรวจชายแดน ย่อมแตกต่างจากตำรวจเมืองเป็นธรรมดา ซึ่งมีผลต่อการเลือกใช้อาวุธปืนติดตัวเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วย ตำรวจเมืองช่วงปลายศตวรรษที่สิบเก้า ใช้ปืนลูกโม่ขนาด .38 ปลอกสั้น จนถึง ค.ศ. 1898 สมิธฯ ออกแบบ .38 สเปเชียลโดยยืดปลอกให้ยาวขึ้น จุดินขับมากขึ้น และความยาวปลอกยังช่วยให้การหยิบจับเพื่อบรรจุในโม่สะดวกขึ้นด้วย ส่งผลให้ .38 สเปเชียล กลายเป็นขนาดกระสุนยอดนิยมของตำรวจสหรัฐ และอีกหลายประเทศรวมทั้งไทย แต่ตำรวจชายแดนอเมริกันยังรู้สึกว่าแรงไม่พอ สมิธฯ จึงยืดปลอก .38 สเปเชียลออกไปอีก แล้วเรียกชื่อกระสุนขนาดใหม่ตามหน้าตัดกระสุนจริง คือ .357 แม็กนั่ม เริ่มออกขายในปี ค.ศ.1935 ใช้ในปืนโครงใหญ่ (N-Frame) ที่ปัจจุบันคือโมเดล 27
ทางด้านโคลท์ที่เป็นคู่แข่ง ก็มีปืนโครงใหญ่ใช้กระสุน .38 สเปเชียล และ .357 เช่นกัน รับฟังความเห็นของตำรวจได้ว่า ตัวปืนใหญ่ ใช้งานไม่คล่องตัวเท่าที่ควร จึงเชิญ บิล จอร์แดน (Bill Jordan) ตำรวจชายแดนชื่อดังของยุคนั้น มาช่วยออกแบบปืนให้เล็กลงบ้าง จากโครง Officer เดิม ได้ปืน .38 สเปเชียลที่เล็กกว่าโครง N ของสมิธฯ ตั้งชื่อรุ่นว่า Border Patrol ผลิตอยู่เพียงปีเดียวก็ปรับแบบเป็น Trooper ในปี ค.ศ.1953 ใช้กระสุน .357 แม็กนั่ม (เดลินิวส์ 8 ก.พ. 14) และด้วยข้อเสนอแนะจาก บิล จอร์แดน คนเดียวกันนี้ สมิธฯ แปลงโฉม “คอมแบ็ตมาสเตอร์พีส” (โมเดล 15) ใช้ลำกล้องหนา เพิ่มฝักหุ้มก้านคัดปลอกเหมือนโมเดล 27 ได้ “คอมแบ็ตแม็กนั่ม” (โมเดล 19) ที่โม่เล็กกว่า ทรูปเปอร์ของโคลท์ลงไปอีกขั้น เริ่มผลิตขายในปี ค.ศ.1957
บอร์เดอร์ แพโทรล .38 สเปเชียลรุ่นปี 1952 นั้น จำนวนผลิตเพียงประมาณ 500 กระบอก ปัจจุบันเป็นปืนสะสมหายาก ไม่เคยพบในประเทศไทย กระบอกที่ถ่ายภาพมานี้ เป็นขนาด .357 ที่โคลท์ผลิตช่วงของ ทรูปเปอร์ มาร์ค ทรี (Trooper Mk.III, ปี ค.ศ.1969-1982) โดยตั้งใจให้เป็นคู่แข่งโดยตรงของ คอมแบ็ตแม็กนั่ม ที่เป็นเจ้าตลาดอยู่ รูปทรงภายนอกคล้ายปืนสมิธฯ มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโคลท์ เพิ่มฝักหุ้มก้านคัดปลอกใต้ลำกล้อง และใส่ด้ามไม้ทรงเหลี่ยม ติดศูนย์ปรับได้แบบยิงเป้า
กลไกภายใน เป็นแบบ มาร์ค ทรี คือเปลี่ยนสปริงนกสับแบบแหนบ เป็นขดลวดสเตนเลส อายุการใช้งานยาวนานกว่าแบบแหนบหลายเท่าตัว เพิ่มระบบความปลอดภัยด้วยแท่งส่งกำลัง ต้องเหนี่ยวไกเกือบสุดแท่งนี้จึงจะยื่นขึ้นมาเชื่อมแรงจากนกสับไปท้ายเข็มแทงชนวน ถ้าไม่เหนี่ยวไกปืนไม่มีโอกาสลั่น ชิ้นส่วนของชุดลั่นไกอบชุบอย่างดีลดการสึกหรอ ตัวโม่ด้านหลังทำขอบเป็นกำแพง เมื่อปิดโม่ดูมิดชิดไม่เห็นจานท้ายกระสุน ซึ่งปืนสมิธฯ เคยทำรูปแบบนี้แต่มาเลิกไปในช่วงหลัง
การแต่งผิวของ บอร์เดอร์ แพโทรล เป็นการรมดำด้านไม่เงาเท่าทรูปเปอร์ กระบอกตัวอย่างมีส่วนปลายลำกล้องทั้งสองข้างที่รมดำสึกถึงเนื้อเหล็ก จุดนี้พบเสมอในปืนใช้งาน เกิดจากการขัดถูกับซองปืน สภาพส่วนอื่นยังดูใหม่มาก ตรวจจังหวะตัวล็อกและขาเขี่ยโม่ทำงานเรียบร้อย รอยขีดรอบโม่มีน้อย อีกจุดที่เห็นเนื้อเหล็กขาวคือที่โครงปืนเหนือเข็มแทงชนวน และที่แท่งส่งกำลัง แต่ท้ายเข็มแทงชนวนเองเหมือนใหม่ แสดงว่ายิงกระสุนจริงไม่มาก ส่วนใหญ่น่าจะเป็นการซ้อม “ยิงแห้ง” ไม่บรรจุกระสุน
โดยรวม สำหรับ บอร์เดอร์ แพโทรล กระบอกนี้ แม้ว่าจะไม่พบบ่อยนัก แต่ยังไม่จัดว่าเป็นปืนระดับสะสม ด้านการใช้งานถือได้ว่าเป็นลูกโม่ชั้นดี แข็งแรงทนทาน ชิ้นส่วนอบชุบดี สปริงขดลวดล้วน อายุใช้งานเหนือกว่าสปริงแบบแหนบมาก ความปลอดภัยสูง ความแม่นยำดี ใช้เฝ้าบ้านหรือเป็นปืนตำรวจพกซองนอกได้ดี.
................................................
ข้อมูลสรุป Colt Border Patrol
ขนาดกระสุน .357 / .38 สเปเชียล โม่จุ 6 นัด
มิติตัวปืน ยาวxสูงxหนา : 228x138x37 มิลลิเมตร
ลำกล้องยาว 102 มม. (4 นิ้ว)
น้ำหนัก 980 กรัม
แรงเหนี่ยวไก ดับเบิล 5,900 กรัม (13 ปอนด์); ซิงเกิล 1,800 กรัม (4 ปอนด์)
วัสดุ เหล็กรมดำ
อื่น ๆ ระบบการทำงานแบบ มาร์คทรี (Mk.III)
ลักษณะใช้งาน เฝ้าบ้าน, พกซองนอก, ต่อสู้ระยะปานกลาง
ตัวเลือกอื่น Smith Model 66, Ruger Security Six, Taurus Model 66
https://www.dailynews.co.th/article/216083/
....................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช