คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 15 กันยายน 2564 เวลา 12.30 น.
แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19
ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ประจำวันที่ 15 กันยายน 2564 เวลา 12.30 น.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพุธที่ 15 กันยายน 2564
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/407358777549119
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19
ณ วันพุธที่ 15 กันยายน 2564
ประเทศไทย
วันนี้มีผู้ติดเชื้อ 13,798 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสม 1,420,340 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯเพิ่มขึ้น 12,117 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 451 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 22 ราย
- ผู้ติดเชื้อในสถานกักกันของรัฐสะสม 5,107 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกวันนี้ 1,208 ราย (ยอดผู้ติดเชื้อสะสมจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกอยู่ที่ 271,712 ราย)
เสียชีวิตรวม 14,765 ราย(วันนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 144 ราย)
รักษาหายป่วยแล้ว 1,277,029 ราย (มีผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่มขึ้น 14,133 ราย)
รักษาอยู่ในโรงพยาบาล 128,546 ราย
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศ (ไม่รวมเรือนจำ) 13,325 ราย มีรายละเอียดดังนี้จากกรุงเทพฯ(3,263) ปริมณฑล (1,932) จังหวัดอื่น ๆ (8,130)
สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นในวันนี้ 22 รายและเข้า Quarantine โดยเข้ารับการรักษาที่นราธิวาส(5) ตาก(10) เชียงราย(2) สระแก้ว(4)และ จันทบุรี(1) มีรายละเอียดดังนี้
- จากประเทศมาเลเซีย 5 ราย
- จากประเทศกัมพูชา 5 ราย
- จากประเทศเมียนมา 12 ราย
สถานการณ์โลกในวันนี้
- ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก 226.6 ล้านราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 4.6 ล้านราย(คิดเป็นร้อยละ 2.06 ของจำนวนผู้ติดเชื้อ) ในขณะที่ผู้รักษาหายมีจำนวน 203.3 ล้านราย (คิดเป็นร้อยละ 89.71)
- สหรัฐอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ 142,059 ราย และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 1 ของโลก อยู่ที่ 682,341 ราย
- อินเดีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทะลุ 33.3 ล้านรายแล้ว โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 27,491 ราย ทั้งนี้ยอดผู้รักษาหายในอินเดียอยู่ที่ 32.5 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 97.5
- ไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่อันดับ 29 และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 42 ของโลก
สถานการณ์อาเซียนในวันนี้
- เมียนมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 436,527 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยในรอบ 7 วันที่ผ่านมาอยู่ที่ 2,304 ราย และมีจำนวนผู้เสียชีวิตกว่า 16,693 ราย
- มาเลเซีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,011,440 ราย โดยยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ อยู่ที่ 15,669 ราย
- กัมพูชา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 100,790 ราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 2,058 ราย
- ลาว ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 17,682 ราย โดยกำลังรักษาอยู่ 12,098 ราย
- เวียดนาม ผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ 10,508 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสม 15,936 ราย
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
https://web.facebook.com/nrctofficial/posts/4158326260959581
แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19
ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ประจำวันที่ 15 กันยายน 2564 เวลา 12.30 น.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพุธที่ 15 กันยายน 2564
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/407358777549119
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19
ณ วันพุธที่ 15 กันยายน 2564
ประเทศไทย
วันนี้มีผู้ติดเชื้อ 13,798 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสม 1,420,340 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯเพิ่มขึ้น 12,117 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 451 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 22 ราย
- ผู้ติดเชื้อในสถานกักกันของรัฐสะสม 5,107 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกวันนี้ 1,208 ราย (ยอดผู้ติดเชื้อสะสมจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกอยู่ที่ 271,712 ราย)
เสียชีวิตรวม 14,765 ราย(วันนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 144 ราย)
รักษาหายป่วยแล้ว 1,277,029 ราย (มีผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่มขึ้น 14,133 ราย)
รักษาอยู่ในโรงพยาบาล 128,546 ราย
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศ (ไม่รวมเรือนจำ) 13,325 ราย มีรายละเอียดดังนี้จากกรุงเทพฯ(3,263) ปริมณฑล (1,932) จังหวัดอื่น ๆ (8,130)
สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นในวันนี้ 22 รายและเข้า Quarantine โดยเข้ารับการรักษาที่นราธิวาส(5) ตาก(10) เชียงราย(2) สระแก้ว(4)และ จันทบุรี(1) มีรายละเอียดดังนี้
- จากประเทศมาเลเซีย 5 ราย
- จากประเทศกัมพูชา 5 ราย
- จากประเทศเมียนมา 12 ราย
สถานการณ์โลกในวันนี้
- ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก 226.6 ล้านราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 4.6 ล้านราย(คิดเป็นร้อยละ 2.06 ของจำนวนผู้ติดเชื้อ) ในขณะที่ผู้รักษาหายมีจำนวน 203.3 ล้านราย (คิดเป็นร้อยละ 89.71)
- สหรัฐอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ 142,059 ราย และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 1 ของโลก อยู่ที่ 682,341 ราย
- อินเดีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทะลุ 33.3 ล้านรายแล้ว โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 27,491 ราย ทั้งนี้ยอดผู้รักษาหายในอินเดียอยู่ที่ 32.5 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 97.5
- ไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่อันดับ 29 และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 42 ของโลก
สถานการณ์อาเซียนในวันนี้
- เมียนมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 436,527 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยในรอบ 7 วันที่ผ่านมาอยู่ที่ 2,304 ราย และมีจำนวนผู้เสียชีวิตกว่า 16,693 ราย
- มาเลเซีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,011,440 ราย โดยยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ อยู่ที่ 15,669 ราย
- กัมพูชา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 100,790 ราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 2,058 ราย
- ลาว ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 17,682 ราย โดยกำลังรักษาอยู่ 12,098 ราย
- เวียดนาม ผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ 10,508 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสม 15,936 ราย
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
https://web.facebook.com/nrctofficial/posts/4158326260959581
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭มาลาริน⚃15ก.ย. ป่วย13,798คน รักษาหาย14,133 คน เสียชีวิต144คน/โควิด77จว./ห่วงภูมิกลุ่มเสี่ยง/เตรียมแผนฉีดไฟเซอร์เด็ก
https://www.bangkokbiznews.com/news/960177
https://www.thaipost.net/main/detail/116792
https://siamrath.co.th/n/280708
'นพ.มานพ'เผยผลฉีดวัคซีน คนสูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีโรคร่วม ภูมิลดลงเร็วกว่ากลุ่มอื่น
วันพุธ ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564, 13.01 น.
วันที่ 15 กันยายน 2564 นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊กถึงประสิทธิผลของวัคซีน ระบุว่า
ประสิทธิผลของวัคซีนลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ผู้สูงอายุและมีโรคร่วมจะลดลงเร็วกว่ากลุ่มอื่น เมื่อเดือนที่แล้วมีข้อมูลจาก Office for National Statistics UK เป็นข่าวดังที่รายงานว่าประสิทธิผลของวัคซีน AstraZeneca ลดลงช้ากว่า Pfizer จนอาจมีระดับพอๆ กัน
เมื่อ 4 เดือนหลังฉีดวัคซีน (อ่านเพิ่มเติมที่นี่ https://www.facebook.com/manopsi/posts/10161181653928448) จากนั้นมีข้อมูลเผยแพร่จาก ZOE COVID cohort ที่แสดงต่างออกไปคืออัตราการลดลงของประสิทธิผลวัคซีนทั้ง 2 ชนิดพอๆ กัน
เมื่อคืน Public Health England เผยแพร่ข้อมูลชุดของตนเองบ้างใน preprint พบว่าอัตราการลดลงของประสิทธิผลของวัคซีนที่ใช้ในอังกฤษลดลงทั้ง 3 ชนิด โดยที่ AstraZeneca และ Pfizer vaccine ก็ลดลงในอัตราส่วนพอๆ กันแทบจะเป็นเส้นขนาน เมื่อติดตามไปอย่างน้อย 5 เดือน ประสิทธิผลของวัคซีน Pfizer ยังคงสูงกว่า AstraZeneca
ที่น่าเป็นห่วงคืออัตราลดลงในกลุ่มเปราะบาง คือคนสูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีโรคร่วม ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรืออยู่บ้านพักคนชรา จะลดลงเร็วกว่ากลุ่มอื่น
ข้อมูลนี้น่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ JCVI แนะนำให้เริ่มฉีดวัคซีนเข็มสามในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ก่อน หลังได้รับวัคซีนครบอย่างน้อย 6 เดือน โดยใช้ Pfizer vaccine เป็นวัคซีนหลัก (https://www.gov.uk/…/jcvi-issues-updated-advice-on…)
ข้อสังเกตของ Moderna ดูเหมือนประสิทธิผลจะคงอยู่ในระดับสูงกว่า Pfizer vaccine สอดคล้องกับข้อมูลจาก Mayo Clinic และ CDC แต่ระยะติดตามของอังกฤษยังสั้นกว่าเนื่องจากเป็นวัคซีนที่เริ่มใช้ทีหลังอีกสองตัว
น่าสนใจดีว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ต่างกันระหว่าง Public Health England & ZOE COVID กับ ONS เกิดจากอะไร
https://www.naewna.com/local/602267
'สุภัทร' เผยประชุมซักซ้อมความเข้าใจแผนฉีดไฟเซอร์ นร.-นศ. 17 ก.ย.นี้ ก่อนเชิญผู้ปกครองยินยอม
15ก.ย.64- นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) กล่าวถึงแนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 “Pfizer” ให้กับนักเรียน นักศึกษา อายุ 12-18 ปี ว่า จากข้อมูลจะมีนักเรียนกลุ่มดังกล่าวที่เรียนในระบบของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสังกัดอื่น ๆ รวมแล้วมีประมาณ 4,350,000 คน ซึ่งจากการประสานกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) วัคซีน Pfizer จะทยอยเข้ามาปลายเดือน กันยายนนี้ 2 ล้านโดส และเดือน ตุลาคมอีก 8 ล้านโดส ดังนั้นในจำนวนดังกล่าวจึงเพียงพอที่จะฉีดให้กับเด็กนักเรียน นักศึกษากลุ่มนี้
นายสุภัทร กล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินการเพื่อฉีดวัคซีนให้กับนักเรียน นักศึกษาในครั้งนี้ ทางกรมควบคุมโรค สธ.ได้เตรียมแผนที่จะกระจายวัคซีน Pfizer ไปฉีดให้กับเด็กพร้อมกันทั้ง 76 จังหวัด และกรุงเทพฯ โดยแต่ละจังหวัดจะมีการวางแผนกระจายการฉีดวัคซีนภายในจังหวัดของตัวเอง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดเป็นผู้พิจารณา และจะกระจายการฉีดไปที่โรงเรียน แต่ในบางกรณีที่โรงเรียนมีความคับแคบไม่สะดวกในการดำเนินการ ศธ.ได้หารือกับทางปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อขอใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยในจังหวัดนั้น ๆ ในการจัดฉีดแทน ในระหว่างนี้ ศธ.จะต้องจัดเตรียมข้อมูลต่าง ๆ ของนักเรียน นักศึกษาก่อนส่งให้กับ สธ. ดังนั้นศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ถือเป็นศูนย์รวมการตรวจสอบข้อมูลสุดท้ายก่อนส่งให้กับสาธารณสุขจังหวัด (สธจ.)/กรุงเทพฯ และจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการร่วมในแต่ละจังหวัดเพื่อทำงานเรื่องนี้ด้วยกัน โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และมี ศธจ. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) อาชีวศึกษาจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธยาศัย (กศน.) ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด และหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีเด็กนักเรียนในกลุ่มอายุดังกล่าว ร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อกลั่นกรองข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนจัดส่งข้อมูลให้ สธจ.วางแผนการฉีดวัคซีนภายในจังหวัดให้เกิดความเรียบร้อยต่อไป
https://www.thaipost.net/main/detail/116793
ก.ย.และต.ค.นี้ช่วยกันดึงให้จำนวนลดลงมาค่ะ
ประเทศอื่นๆเขาลดลงแล้ว ช่วยกันนะคะ