ดราม่าล้อแม็ก

วันก่อนผมเข้าไปอ่านเจอดราม่าเรื่องล้อแม็กมาจากเพจชุมชุนของคนขับรถแห่งหนึ่ง

เนื้อเรื่องก็ถกเถียงกันว่า ล้อของรถที่ประสบอุบัติเหตุ สภาพล้อที่พังยับเยิน จนล้อแม็กเกิดการแตกหัก
จริงๆ แล้ว มันเป็นล้อที่ดีแค่สวย แต่คุณภาพห่วยสุด ๆ หรือ ว่าชนขนาดนี้ล้อแม็กดีดีก็ไม่รอดหรอก


จุดเริ่มต้นของล้อแม็ก หรือ ภาษาอังกฤษ เราเรียนว่า Alloy Wheel หรือล้ออัลลอย 
เกิดจากสนามแข่งที่ต้องการลดน้ำหนักของรถให้ลดลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านความเร็วของรถให้มากขึ้น
 
"ไม่ใช่เพื่อเพิ่มความแข็งแรง"
 
เพราะพื้นฐานของอะลูมิเนียมหรือแมกนีเซียมที่นำมาใช้ทำล้อนั้น ในปริมาตรที่เท่ากัน ความแข็งแรงจะต่ำกว่าเหล็ก
 
แต่สิ่งที่ดีกว่าล้อเหล็กคือความแข็งแรงต่อน้ำหนักที่สูง (High Strength per Weight Ratio)
 
ซึ่งหมายถึงในน้ำหนักวัสดุที่เท่ากัน อะลูมิเนียมหรือแมกนีเซียมอัลลอยด์ จะสามารถรับแรงหรือรับน้ำหนักได้สูงกว่าเหล็ก
 
ดังนั้นหากในกรณีที่ออกแบบล้อให้ที่มีความสามารถในการรับแรงที่เท่ากัน การใช้อะลูมิเนียมหรือแมกนีเซียม จะช่วยลดน้ำหนักล้อได้
 
จากรูปจะเห็นได้ว่า ล้อ ที่เกิดความเสียหายนั้น ตัวล้อ เกิดการแตกหักแต่ยังคงยึดดีกับเพลาและปีกนก 
ส่วนบริเวณที่เกิดการแตกหักนั้น พบการเสียรูป (บริเวณก้านล้อเกิดการยืดตัว) 
มีการยืดตัวของเนื้อวัสดุก่อนเกิดการฉีกขาด หรือ Plastic deformation before rupture ซึ่งเป็นรูปแบบการแตกหักแบบเหนียว 
 
ล้อแม็กที่ดีนั้นจะต้องมีทั้งความแข็งแรงที่ดีและมีความเหนียวสูง ไม่เกิดการแตกหักแบบเปราะในระหว่างการใช้งาน


ในเคสนี้ เรียกได้ว่าล้อที่เกิดความเสียหาย คงทำหน้าที่ของมันอย่างสุดความสามารถแล้ว ก่อนที่มันจะเกิดการฉีกขาด++

แล้วล้อแม็กที่ไม่ดีละ ต่างกันอย่างไร ?
 
ล้อแม็กที่ไม่ดีนั้น ส่วนใหญ่จะมีความแข็งสูง แต่ ความเหนียวต่ำ
 
เพราะผู้ผลิตอาจจะไม่มีความเข้าใจด้านโลหะวิทยา ก๊อปปี้มาแต่ลายของล้อแม็ก
 
อะลูมิเนียมอัลลอยที่นิยมใช้ทำล้อแม็ก  ส่วนใหญ่จะเป็น Al Alloy เกรด 6061 (AlSiMgCu)
ที่ต้องผ่านกระบวนการอบชุมความร้อนชนิด T 6 (Solid Solution Treatment/ Quench/ Aging)

ที่จำเป็นคุมอุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสม
ซึ่งหากกระบวนการนี้ผิดพลาดอาจทำให้ล้อแข็งแต่เปราะ และไม่สามารถทนแรงกระแทกในระหว่างการใช้งานได้
 
************************************************************************************************
โลหะอย่างเหล็ก หรือ อะลูมิเนียม เราสามารถเพิ่มความแข็งได้ด้วยการเผาและชุบน้ำ 
จากนั้นก็จะทำการควบคุมอัตราการเย็นตัวของโลหะ
อาจจะชุบน้ำ ชุบน้ำมัน หรือ ปล่อยให้เย็นในอากาศปกติ ก็๋ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการความเหนียวหรือความแข็ง
 
************************************************************************************************
 
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าล้อไหน ดี หรือ ไม่ดี ?

ยากครับ หากเรามองด้วยตาเปล่า

เพราะสมบัติของล้อมันเกี่ยวกับตั้งแต่การออกแบบ ชนิดของธาตุผสม กระบวนการผลิต และ กระบวนการอบชุบทางความร้อน
และส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีใครบอกรายละเอียด หรือ สมบัติพวกนี้
 
รวมถึงอาจจะมีข้อบกพร่องภายในสูง
ล้อพวกนี้มักพบรูปแบบการแตกหักแบบเปราะ ไม่พบการยืดตัวของเนื้อวัสดุ

 

ก้านล้อที่สวยงาน อาจจะเกิดการแตกหักได้จากการกระแทกเพียงครั้งเดียว
ทำให้บังคับล้อไม่ได้ และนำไปสู่อุบัติเหตุในที่สุด
“เจอหลุม แล้วต้องค่อยๆ คลาน เดี๋ยวแม็กจะพัง” 

จึงกลายเป็นประโยคที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ 

ส่วนที่ล้อที่ได้คุณภาพนั้น ล้ออาจจะเสียรูปทรงไปบางส่วน หรือ ที่เรียกว่าล้อดุ้ง 
แต่ยังเปิดโอกาสให้เราสามารถขับไปแก้ไขต่อไปได้ 

การเลือกซื้อล้อแม็ก จึงสำคัญมากนะครับ เพราะนั้นหมายถึงชีวิตของเราเลย
อย่างตัวผมเอง รถที่ใช้อยู่ล้อแม็กเดิมๆ จากโรงงาน (ไม่นับที่ล้อแม็กดีดี ราคาโหดไม่ใช่เล่น)
 
เพราะกว่าล้อแม็กโรงงานจะออกมาให้เราได้ใช้ก็ผ่านการตรวจสอบแล้ว ตราวจสอบอีก
แต่ก็นั้นแหละครับ ล้อแม็กติดรถ มักไม่สวยถูกใจเรา
หากท่านใดจะคิดจะเปลี่ยนล้อแม็ก  อย่าลืมซื้อจากเจ้าที่เชื่อถือได้นะครับ
 

#เหล็กไม่เอาถ่าน
#วิทยาศาสตร์มีคำตอบ
Ref.
1. Optimizing the Heat Treatment Process of Cast Aluminium Alloys Andrea Manente1 and Giulio Timelli Optimizing the Heat Treatment Process of Cast Aluminium Alloys
2. Handbook of Aluminum Volume 7 Physical Metallurgy and Processes edited by George E. Tot ten, ASM International,2004.
3. "https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1473674386141051&id=1027202660788228"
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่