ขออนุญาตบ่น ระบายเรื่องการทำงานในวงการสถาปนิกหน่อยนะครับ ถ้าเป็นไปได้อาจเป็นประโยชน์กับน้องๆสถาปนิกจบใหม่ น้องๆวัยเรียน หรือน้องๆที่กำลังจะสอบเข้าคณะนี้จะยินดีมากเลย
ขอย้อนแบ็คกราวด์คร่าวๆ ผมเป็นสถาปนิกปัจจุบันทำงานมาประมาณ 4-5 ปี
จบมาก็เข้าทำงานในออฟฟิสขนาดเล็ก (พนักงานประมาณ 15 คน) ที่ค่อยข้างมีชื่อเสียงและได้รางวัลทั้งในและต่างประเทศบ่อยพอสมควร
ตอนเรียนจบมาก็ไม่ได้คิดอะไรมาก คิดแค่ว่าถ้าได้ทำงานในออฟฟิสที่มาแนวคิดหรือวิธีการทำงานตรงกับตัวเอง น่าจะช่วยส่งเสริมให้ทำงานได้ง่ายขึ้นและผมก็น่าจะเติบโตในหน้าที่การงานไปได้ดีมากขึ้น ทำงานไปสักพักจึงพบว่ามันไม่จริงเลย เลยลองลิสท์ๆไว้ประมาณนี้
1.วิชาชีพนี้ careerpath ที่สั้นมาก และตื้นมาก
ผมเริ่มอาชีพนี้ด้วยการเป็น junior architect พร้อมๆกับการรับงานนอกเองด้วย เงินเดือนของออฟฟิสเริ่มต้น 18,000 (จบมหาลัยดัง เกียรตินิยมอันดับ1) พบว่าทำงานประมาณ 5 ปีจะเริ่มกลายเป็น senior architect คอยตรวจแบบน้องๆ เงินเดือนทั่วๆไปประมาณ 35,000 และทำงานประมาณ 10 ปี จะเริ่มกลายเป็น head ของทีม design ซึ่งเงินเดือนจะอยู่แถวๆ 50,000 โดยที่ความรับผิดชอบแทบจะครอบคลุมทุกอย่างในออฟฟิส และมักจะค้างกันอยู่ที่ตรงนี้ เพราะสูงกว่านี้ก็จะเป็นเจ้าของออฟฟิส ซึ่งไม่สามารถขึ้นไปได้ เพราะเป็นตำแหน่งไม่ได้มาจากประสบการณ์การทำงาน แต่มาจากคอนเนคชั่นส่วนตัวของเจ้าของเอง รวมถึงผลงานออกแบบที่หากเริ่มมีชื่อเสียง ลูกค้าก็จำว่าเป็นผลงานของเจ้าของออฟฟิสที่จะคอยออกสื่อให้คนรู้จัก ทำให้คนในออฟฟิสที่แม้จะมีประสบการณ์การทำงานมามากก็ไม่สามารถขยับขึ้น หรือออกไปเปิดออฟฟิสของตัวเองได้เลย เว้นแต่อยู่ในออฟฟิสขนาดใหญ่ พนักงานหลัก 100 ซึ่งสามารถขึ้นไปได้สูงกว่า แต่บริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่ในเมืองไทยมีเพียงหลักสิบ
2.เนื้องานส่วนใหญ่ตกอยู่ที่ junior architect ในขณะที่รายได้ไม่ต่างจากอาชีพทั่วไปอื่นๆที่ไม่ได้เป็นลักษณะของวิชาชีพ
ในออฟฟิสขนาดเล็ก-ขนาดกลาง เนื้องานเกือบทั้งหมดจะตกมาที่ junior architect โดยเมื่อเจ้าของได้โจทย์จากลูกค้า จะ assign งานไปเป็นทีม senior ก็จะวางแผนการทำงานและเวลา ไปกระจายงานให้ junior อีกที เพื่อให้ junior ออกแบบมาให้เลือก-ตรวจแบบ และปรับกันไปเรื่อยๆจนกว่าจะเห็นสมควรว่ามีความเหมาะสมจะส่งลูกค้าแล้ว (บางที่อาจะเริ่มจากไอเดีย หรือสเก้ตช์ของเจ้าของออฟฟิส) รวมไปถึงทำงาน presentation ต่างๆ เช่น render perspective และทำงาน graphic ต่างๆ เมื่อลูกค้าพึงพอใจกับแบบ พัฒนาลงรายละเอียดจนถึงงานเขียนแบบก่อสร้าง ก็จะเป็นหน้าที่ junior architect เช่นเดิมที่จะคอยเขียนแบบมาตรวจกับ senior architect หรือเจ้าของออฟฟิส
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าเนื้องานส่วนใหญ่ตกลงอยู่ที่ junior architect ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกในการทำงานเป็นบริษัททั่วๆไป รวมถึง junior architect ก็จำเป็นต้องได้รับประสบการณ์ในการทำงานอีกมาก หากแต่ skill ที่หลากหลายมากตั้งแต่สกิลในวิชาชีพ เช่น การออกแบบ วิธีการก่อสร้าง Graphic Design 3D Rendering การเขียนแบบต่างๆ ที่ต้องรวมอยู่ใน junior architect ซึ่งได้เงินเดือนประมาณ 18,000 และถ้าทำงานได้ดีก็จะมีเงินเดือนขึ้นเป็น 20,000 กลางๆ ในเวลาประมาณ 3 ปี (สมัยก่อนจะมีคนทำหน้าที่ทำภาพ perspective และเขียนแบบเป็น draft man แยกกัน ซึ่งภายหลัง draft man แทบจะไม่มีแล้ว เนื่องจากเงินเดือนที่น้อยกว่าสถาปนิกทำให้ผู้ที่เรียนจบสายอาชีพพยายามเรียนต่อเพื่อไปเป็นสถาปนิก และในการเรียนสถาปัตย์ต้องใช้คอมพิวเตอร์และการเรนเดอร์ภาพกันจนกลายเป็นเรื่องปกติ ทำให้นักเรียนที่เรียนจบค่อนข้างเรนเดอร์ภาพ Perspective ได้)
นอกจากนั้นออฟฟิสสถาปนิกส่วนใหญ่มักจะบริหารเวลาได้แย่ (ซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจได้ เพราะการบริหารงานก็มาจากสถาปนิกเจ้าของ ซึ่งเติบโตมาจากงานออกแบบ และงานแนวความคิดสร้างสรรค์มาก่อน งานบริหารจึงมักไม่ใช่งานถนัด รวมถึงไม่ได้มีโอกาสฝึกฝนมากนัก) ปัญหาที่พบบ่อยคือ ทุกงานมีเดดไลน์ และเจ้าของหรือหัวหน้างานจะไม่อนุมัติจนกว่าจะได้แบบที่ดีหรือถูกใจมากพอ ซึ่งเป็นเรื่องนามธรรมในเชิงรสนิยม และจริตในความงาม ผสมกับเรื่องเหตุผลของการใช้งานและฟังก์ชั่น ซึ่งส่วนหลังมักจะไม่มีปัญหา ทำให้เมื่อ junior ได้รับมอบหมายงานไปแล้วก็มักจะต้องคอยแก้จนเลยเวลางาน ทำงานเสาร์อาทิตย์ กันจนกว่าจะหมดแรงแล้วลาออกไป เพราะถึงแม้จะเลยกำหนดเวลาที่วางไว้แล้ว หัวหน้างานมักมองว่าในเมื่อมันยังไม่ดีหรือถูกใจพอก็ไม่สามารถส่งมอบให้กับลูกค้าได้ และมองว่าหน้าที่ที่จะนำเสนอสิ่งที่ดีพอจะส่งให้ลูกค้าได้ก็เป็นหน้าที่ของเหล่าสถาปนิกตัวเล็กตัวน้อยเช่นกัน สุดท้ายเนื้องานก็จะยืดยาวไม่มีที่สิ้นสุด กินเวลา เสาร์อาทิตย์ ค่ำ ดึก ยันเช้า จนกลายเป็นเรื่องปกติ ของการทำงานนอกเวลางาน
3. ภายในเวลา 5ปี จะมีคนออกจากงานในฐานะสถาปนิกในออฟฟิสเยอะมาก และบางส่วนจะย้อนกลับไปสร้างวงจรในข้อ 1 และข้อ2
จากที่กล่าวมาในข้อ2 รวมถึงเมื่อสถาปนิกเหล่านั้นทำงานไประยะเวลาหนึ่งก็เริ่มรับรู้ได้ถึง career path ที่สั้น และเงินเดือนที่จะตัน ในข้อ1 จะเริ่มลาออก
บางส่วนไปประกอบอาชีพอื่น บางส่วนไปเรียนต่อปริญญาโท ต่างประเทศบ้าง หรือเฉพาะทางในประเทศ (เช่น เรื่องอาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การออกแบบแสงสว่าง) ซึ่งหากวางแผนไว้ดีมีตำแหน่งงานรองรับก็จะเปลี่ยนสายงานได้ แต่บางคนอาจพิจารณาไม่ถี่ถ้วนคิดเพียงว่าไปเรียนต่อก่อนแล้วจะทำอะไรต่อค่อยว่ากัน ก็ค่อนข้างสุ่มเสี่ยงหน่อย แต่อีกส่วนที่อาจจะ 30-50% จะออกมารับงานเอง ซึ่งได้รับผลจากในบัจจุบันที่มีสื่อโซเชียลทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้ากันได้มากขึ้น หากสถาปนิกพอจะมีผลงาน หรือคอนเนคชั่นเล็กๆน้อยๆอยู่บ้างก็จะออกมารับงานเอง ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้นมากๆ โดยอาจเริ่มจากการเป็น freelance ซึ่งขอเปรียบเทียบรายได้ง่ายๆดังนี้ สมมุติรับงานออกแบบบ้าน 1 หลัง พื้นที่ประมาณ 200 ตร.ม. ค่าออกแบบตารางเมตรละ 900 (คิดจาก 5-7% จากค่าก่อสร้าง 18,000 ต่อตารางเมตร ) หักค่าวิศวกรที่รวมอยู่ในสโคปงานออกแบบ ตร.ม.ละ 150-200 ก็จะได้ค่าแบบทั้งหมดประมาณ 150,000 บาท ซึ่งหากรับงานเดียวใช้เวลาเต็มเหมือนทำงานปกติ จะใช้เวลาประมาณไม่เกิน 3-4 เดือน จึงไม่น่าแปลกใจที่เหล่าสถาปนิกจะออกมารับงานเอง ซึ่งได้เงินมากกว่าตอนอยู่ออฟฟิส (อายุงาน 3-5 ปีจะอยู่แถวๆ 25,000-30,000) แถมผลงานยังอยู่กับตัวสามารถสร้างชื่อเสียง คอนเนคชั่น และโอกาสที่จะได้งานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย และเนื้องานก็ไม่ต่างจากการทำงานเป็น junior architect เพียงแต่มีความรับผิดชอบที่ชัดเจนและมากขึ้น
เมื่อเวลาผ่านไป หากคอนเนคชั่นไม่แข็งแรงพอ ก็ล้มหายตายจากกันไป อีกส่วนมีผลงานต่อเนื่อง เป็นที่จดจำของลูกค้าก็จะเริ่มอยากขยับขยาย อยากจ้างลูกน้อง ก็จะกลายเป็นเจ้านาย ที่จ้างสถาปนิกในลักษณะของข้อ1 และข้อ2 วนกันไปเป็นลูปนรกที่คอยทำร้ายและทำลายสถาปนิกรุ่นใหม่ๆ กันไม่รู้จบ เพราะราคาค่าแบบในตลาดก็บีบให้ไม่สามารถจ้างพนักงานที่แพงกว่านั้นได้ รวมถึงต้นทุน manhour ของพนักงานจำนวนมากที่จะเสียไปกับการทำแบบมาเสนอและปรับแก้กันจนได้งานที่ดีหรือถูกใจมากพอเช่นเดิม
ส่วนคนที่ยังอยู่ในออฟฟิสที่กลายเป็น senior ซึ่งมีจำนวนไม่มาก และหายากขึ้นเรื่อยๆ ทำงานต่อก็กลายเป็นหัวหน้าทีมออกแบบ อายุแถวๆ 32-36 ก็จะตันใน career path แล้ว บางส่วนก็จะลาออกกันอีกรอบไปทำอย่างอื่นเลย หรือไม่ก็ทำใจและทำงานต่อไปด้วยใจรัก
ผมเองปัจจุบันก็ลาออกจากออฟฟิสเดิม มารับงานเองเป็นหลัก รวมถึงมีงานของออฟฟิสเดิมที่จ้างเป็น outsource แทรกอยู่ด้วย จึงพอจะเข้าใจในมุมมองของทั้งพนักงาน และผู้ประกอบการ ถึงแม้ประสบการณ์จะไม่มากแต่ก็พอมองเห็นคนรอบตัว รุ่นน้อง รุ่นพี่ รุ่นพ่อ เป็นไปในลักษณะที่เล่ามาข้างต้น เลยค่อนข้างกลัวและกังวลกับวิชาชีพนี้ ทั้งในเชิงของอาชีพที่ทำงานหนัก เงินน้อย รวมถึงวงจรที่ย้อนกลับมามาลายตัวเองที่กล่าวมาข้างต้น และตัวผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกัน ว่าลักษณะเหล่านี้จะแก้ไขได้อย่างไร ทำได้เพียงแต่พยายามจะรับงานเท่าที่จะจบงานได้ด้วยตัวเองและไม่จ้างพนักงานต่อได้ ซึ่งก็เป็นเพียงการแก้ปลายเหตุ หรืออาจจะไม่ได้แก้อะไรเลยด้วยซ้ำ เลยอยากจะมาให้ข้อมูลและมุมมองที่ผมเจอกับรุ่นน้องๆไว้ร่วมพิจารณา และหากพี่ๆท่านไหนมีมุมมองส่วนไหนที่ไม่เห็นด้วย หรือมีประสบการณ์ที่ต่างกันมาแชร์ หรือแนะนำก็ยินดีมากๆเลยครับ ผมเองก็คงไม่เห็นในหลายๆส่วน และที่เล่ามาก็คงจะมีบริษัทที่ไม่เป็นตามนี้แน่ๆ ยังไงก็ขอบคุณที่อ่านจบครับ
ปล. ผมพยายามจะไม่พูดถึงเรื่อง passion เพราะส่วนตัวมองว่า passion เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องที่หัวหน้าจะบอกลูกน้อง หรือหากจะทำงานด้วย passion ล้วนๆเลยก็เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคนครับ ซึ่งก็มีมากในวิชาชีพนี้เช่นกัน
ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์และมุมมองที่สิ้นหวังกับสายงานสถาปนิกออกแบบ ในออฟฟิสหน่อยครับ
ขอย้อนแบ็คกราวด์คร่าวๆ ผมเป็นสถาปนิกปัจจุบันทำงานมาประมาณ 4-5 ปี
จบมาก็เข้าทำงานในออฟฟิสขนาดเล็ก (พนักงานประมาณ 15 คน) ที่ค่อยข้างมีชื่อเสียงและได้รางวัลทั้งในและต่างประเทศบ่อยพอสมควร
ตอนเรียนจบมาก็ไม่ได้คิดอะไรมาก คิดแค่ว่าถ้าได้ทำงานในออฟฟิสที่มาแนวคิดหรือวิธีการทำงานตรงกับตัวเอง น่าจะช่วยส่งเสริมให้ทำงานได้ง่ายขึ้นและผมก็น่าจะเติบโตในหน้าที่การงานไปได้ดีมากขึ้น ทำงานไปสักพักจึงพบว่ามันไม่จริงเลย เลยลองลิสท์ๆไว้ประมาณนี้
1.วิชาชีพนี้ careerpath ที่สั้นมาก และตื้นมาก
ผมเริ่มอาชีพนี้ด้วยการเป็น junior architect พร้อมๆกับการรับงานนอกเองด้วย เงินเดือนของออฟฟิสเริ่มต้น 18,000 (จบมหาลัยดัง เกียรตินิยมอันดับ1) พบว่าทำงานประมาณ 5 ปีจะเริ่มกลายเป็น senior architect คอยตรวจแบบน้องๆ เงินเดือนทั่วๆไปประมาณ 35,000 และทำงานประมาณ 10 ปี จะเริ่มกลายเป็น head ของทีม design ซึ่งเงินเดือนจะอยู่แถวๆ 50,000 โดยที่ความรับผิดชอบแทบจะครอบคลุมทุกอย่างในออฟฟิส และมักจะค้างกันอยู่ที่ตรงนี้ เพราะสูงกว่านี้ก็จะเป็นเจ้าของออฟฟิส ซึ่งไม่สามารถขึ้นไปได้ เพราะเป็นตำแหน่งไม่ได้มาจากประสบการณ์การทำงาน แต่มาจากคอนเนคชั่นส่วนตัวของเจ้าของเอง รวมถึงผลงานออกแบบที่หากเริ่มมีชื่อเสียง ลูกค้าก็จำว่าเป็นผลงานของเจ้าของออฟฟิสที่จะคอยออกสื่อให้คนรู้จัก ทำให้คนในออฟฟิสที่แม้จะมีประสบการณ์การทำงานมามากก็ไม่สามารถขยับขึ้น หรือออกไปเปิดออฟฟิสของตัวเองได้เลย เว้นแต่อยู่ในออฟฟิสขนาดใหญ่ พนักงานหลัก 100 ซึ่งสามารถขึ้นไปได้สูงกว่า แต่บริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่ในเมืองไทยมีเพียงหลักสิบ
2.เนื้องานส่วนใหญ่ตกอยู่ที่ junior architect ในขณะที่รายได้ไม่ต่างจากอาชีพทั่วไปอื่นๆที่ไม่ได้เป็นลักษณะของวิชาชีพ
ในออฟฟิสขนาดเล็ก-ขนาดกลาง เนื้องานเกือบทั้งหมดจะตกมาที่ junior architect โดยเมื่อเจ้าของได้โจทย์จากลูกค้า จะ assign งานไปเป็นทีม senior ก็จะวางแผนการทำงานและเวลา ไปกระจายงานให้ junior อีกที เพื่อให้ junior ออกแบบมาให้เลือก-ตรวจแบบ และปรับกันไปเรื่อยๆจนกว่าจะเห็นสมควรว่ามีความเหมาะสมจะส่งลูกค้าแล้ว (บางที่อาจะเริ่มจากไอเดีย หรือสเก้ตช์ของเจ้าของออฟฟิส) รวมไปถึงทำงาน presentation ต่างๆ เช่น render perspective และทำงาน graphic ต่างๆ เมื่อลูกค้าพึงพอใจกับแบบ พัฒนาลงรายละเอียดจนถึงงานเขียนแบบก่อสร้าง ก็จะเป็นหน้าที่ junior architect เช่นเดิมที่จะคอยเขียนแบบมาตรวจกับ senior architect หรือเจ้าของออฟฟิส
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าเนื้องานส่วนใหญ่ตกลงอยู่ที่ junior architect ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกในการทำงานเป็นบริษัททั่วๆไป รวมถึง junior architect ก็จำเป็นต้องได้รับประสบการณ์ในการทำงานอีกมาก หากแต่ skill ที่หลากหลายมากตั้งแต่สกิลในวิชาชีพ เช่น การออกแบบ วิธีการก่อสร้าง Graphic Design 3D Rendering การเขียนแบบต่างๆ ที่ต้องรวมอยู่ใน junior architect ซึ่งได้เงินเดือนประมาณ 18,000 และถ้าทำงานได้ดีก็จะมีเงินเดือนขึ้นเป็น 20,000 กลางๆ ในเวลาประมาณ 3 ปี (สมัยก่อนจะมีคนทำหน้าที่ทำภาพ perspective และเขียนแบบเป็น draft man แยกกัน ซึ่งภายหลัง draft man แทบจะไม่มีแล้ว เนื่องจากเงินเดือนที่น้อยกว่าสถาปนิกทำให้ผู้ที่เรียนจบสายอาชีพพยายามเรียนต่อเพื่อไปเป็นสถาปนิก และในการเรียนสถาปัตย์ต้องใช้คอมพิวเตอร์และการเรนเดอร์ภาพกันจนกลายเป็นเรื่องปกติ ทำให้นักเรียนที่เรียนจบค่อนข้างเรนเดอร์ภาพ Perspective ได้)
นอกจากนั้นออฟฟิสสถาปนิกส่วนใหญ่มักจะบริหารเวลาได้แย่ (ซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจได้ เพราะการบริหารงานก็มาจากสถาปนิกเจ้าของ ซึ่งเติบโตมาจากงานออกแบบ และงานแนวความคิดสร้างสรรค์มาก่อน งานบริหารจึงมักไม่ใช่งานถนัด รวมถึงไม่ได้มีโอกาสฝึกฝนมากนัก) ปัญหาที่พบบ่อยคือ ทุกงานมีเดดไลน์ และเจ้าของหรือหัวหน้างานจะไม่อนุมัติจนกว่าจะได้แบบที่ดีหรือถูกใจมากพอ ซึ่งเป็นเรื่องนามธรรมในเชิงรสนิยม และจริตในความงาม ผสมกับเรื่องเหตุผลของการใช้งานและฟังก์ชั่น ซึ่งส่วนหลังมักจะไม่มีปัญหา ทำให้เมื่อ junior ได้รับมอบหมายงานไปแล้วก็มักจะต้องคอยแก้จนเลยเวลางาน ทำงานเสาร์อาทิตย์ กันจนกว่าจะหมดแรงแล้วลาออกไป เพราะถึงแม้จะเลยกำหนดเวลาที่วางไว้แล้ว หัวหน้างานมักมองว่าในเมื่อมันยังไม่ดีหรือถูกใจพอก็ไม่สามารถส่งมอบให้กับลูกค้าได้ และมองว่าหน้าที่ที่จะนำเสนอสิ่งที่ดีพอจะส่งให้ลูกค้าได้ก็เป็นหน้าที่ของเหล่าสถาปนิกตัวเล็กตัวน้อยเช่นกัน สุดท้ายเนื้องานก็จะยืดยาวไม่มีที่สิ้นสุด กินเวลา เสาร์อาทิตย์ ค่ำ ดึก ยันเช้า จนกลายเป็นเรื่องปกติ ของการทำงานนอกเวลางาน
3. ภายในเวลา 5ปี จะมีคนออกจากงานในฐานะสถาปนิกในออฟฟิสเยอะมาก และบางส่วนจะย้อนกลับไปสร้างวงจรในข้อ 1 และข้อ2
จากที่กล่าวมาในข้อ2 รวมถึงเมื่อสถาปนิกเหล่านั้นทำงานไประยะเวลาหนึ่งก็เริ่มรับรู้ได้ถึง career path ที่สั้น และเงินเดือนที่จะตัน ในข้อ1 จะเริ่มลาออก
บางส่วนไปประกอบอาชีพอื่น บางส่วนไปเรียนต่อปริญญาโท ต่างประเทศบ้าง หรือเฉพาะทางในประเทศ (เช่น เรื่องอาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การออกแบบแสงสว่าง) ซึ่งหากวางแผนไว้ดีมีตำแหน่งงานรองรับก็จะเปลี่ยนสายงานได้ แต่บางคนอาจพิจารณาไม่ถี่ถ้วนคิดเพียงว่าไปเรียนต่อก่อนแล้วจะทำอะไรต่อค่อยว่ากัน ก็ค่อนข้างสุ่มเสี่ยงหน่อย แต่อีกส่วนที่อาจจะ 30-50% จะออกมารับงานเอง ซึ่งได้รับผลจากในบัจจุบันที่มีสื่อโซเชียลทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้ากันได้มากขึ้น หากสถาปนิกพอจะมีผลงาน หรือคอนเนคชั่นเล็กๆน้อยๆอยู่บ้างก็จะออกมารับงานเอง ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้นมากๆ โดยอาจเริ่มจากการเป็น freelance ซึ่งขอเปรียบเทียบรายได้ง่ายๆดังนี้ สมมุติรับงานออกแบบบ้าน 1 หลัง พื้นที่ประมาณ 200 ตร.ม. ค่าออกแบบตารางเมตรละ 900 (คิดจาก 5-7% จากค่าก่อสร้าง 18,000 ต่อตารางเมตร ) หักค่าวิศวกรที่รวมอยู่ในสโคปงานออกแบบ ตร.ม.ละ 150-200 ก็จะได้ค่าแบบทั้งหมดประมาณ 150,000 บาท ซึ่งหากรับงานเดียวใช้เวลาเต็มเหมือนทำงานปกติ จะใช้เวลาประมาณไม่เกิน 3-4 เดือน จึงไม่น่าแปลกใจที่เหล่าสถาปนิกจะออกมารับงานเอง ซึ่งได้เงินมากกว่าตอนอยู่ออฟฟิส (อายุงาน 3-5 ปีจะอยู่แถวๆ 25,000-30,000) แถมผลงานยังอยู่กับตัวสามารถสร้างชื่อเสียง คอนเนคชั่น และโอกาสที่จะได้งานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย และเนื้องานก็ไม่ต่างจากการทำงานเป็น junior architect เพียงแต่มีความรับผิดชอบที่ชัดเจนและมากขึ้น
เมื่อเวลาผ่านไป หากคอนเนคชั่นไม่แข็งแรงพอ ก็ล้มหายตายจากกันไป อีกส่วนมีผลงานต่อเนื่อง เป็นที่จดจำของลูกค้าก็จะเริ่มอยากขยับขยาย อยากจ้างลูกน้อง ก็จะกลายเป็นเจ้านาย ที่จ้างสถาปนิกในลักษณะของข้อ1 และข้อ2 วนกันไปเป็นลูปนรกที่คอยทำร้ายและทำลายสถาปนิกรุ่นใหม่ๆ กันไม่รู้จบ เพราะราคาค่าแบบในตลาดก็บีบให้ไม่สามารถจ้างพนักงานที่แพงกว่านั้นได้ รวมถึงต้นทุน manhour ของพนักงานจำนวนมากที่จะเสียไปกับการทำแบบมาเสนอและปรับแก้กันจนได้งานที่ดีหรือถูกใจมากพอเช่นเดิม
ส่วนคนที่ยังอยู่ในออฟฟิสที่กลายเป็น senior ซึ่งมีจำนวนไม่มาก และหายากขึ้นเรื่อยๆ ทำงานต่อก็กลายเป็นหัวหน้าทีมออกแบบ อายุแถวๆ 32-36 ก็จะตันใน career path แล้ว บางส่วนก็จะลาออกกันอีกรอบไปทำอย่างอื่นเลย หรือไม่ก็ทำใจและทำงานต่อไปด้วยใจรัก
ผมเองปัจจุบันก็ลาออกจากออฟฟิสเดิม มารับงานเองเป็นหลัก รวมถึงมีงานของออฟฟิสเดิมที่จ้างเป็น outsource แทรกอยู่ด้วย จึงพอจะเข้าใจในมุมมองของทั้งพนักงาน และผู้ประกอบการ ถึงแม้ประสบการณ์จะไม่มากแต่ก็พอมองเห็นคนรอบตัว รุ่นน้อง รุ่นพี่ รุ่นพ่อ เป็นไปในลักษณะที่เล่ามาข้างต้น เลยค่อนข้างกลัวและกังวลกับวิชาชีพนี้ ทั้งในเชิงของอาชีพที่ทำงานหนัก เงินน้อย รวมถึงวงจรที่ย้อนกลับมามาลายตัวเองที่กล่าวมาข้างต้น และตัวผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกัน ว่าลักษณะเหล่านี้จะแก้ไขได้อย่างไร ทำได้เพียงแต่พยายามจะรับงานเท่าที่จะจบงานได้ด้วยตัวเองและไม่จ้างพนักงานต่อได้ ซึ่งก็เป็นเพียงการแก้ปลายเหตุ หรืออาจจะไม่ได้แก้อะไรเลยด้วยซ้ำ เลยอยากจะมาให้ข้อมูลและมุมมองที่ผมเจอกับรุ่นน้องๆไว้ร่วมพิจารณา และหากพี่ๆท่านไหนมีมุมมองส่วนไหนที่ไม่เห็นด้วย หรือมีประสบการณ์ที่ต่างกันมาแชร์ หรือแนะนำก็ยินดีมากๆเลยครับ ผมเองก็คงไม่เห็นในหลายๆส่วน และที่เล่ามาก็คงจะมีบริษัทที่ไม่เป็นตามนี้แน่ๆ ยังไงก็ขอบคุณที่อ่านจบครับ
ปล. ผมพยายามจะไม่พูดถึงเรื่อง passion เพราะส่วนตัวมองว่า passion เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องที่หัวหน้าจะบอกลูกน้อง หรือหากจะทำงานด้วย passion ล้วนๆเลยก็เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคนครับ ซึ่งก็มีมากในวิชาชีพนี้เช่นกัน