ทำไมบางคนจึงบอกว่าจริง ๆ แล้วประเทศไทยไม่มีฤดูหนาวหนาว?

"บางคน" ที่ว่าก็คือคนในพันทิปแหละครับ เขาอธิบาว่า จริง ๆ ประเทศแถบเดียวกันแบบไทยไม่มีหรอกฤดูหนาว มีแต่ "ฤดูแล้ง" เพราะประเทศไทยกำหนดฤดูโดยใช้ทิศทางลมมรสุม ซึ่งผมก็เห็นด้วยนะ ช่วงพ.ย.ถึงกลางกุมภาพันธ์ฝนจะไม่ตกเลย แต่ผมอยู่ภาคเหนือช่วงมกราคมเป็นต้นไปฝนจะตกฤดูหนาวทุกปี (เพิ่มความหนาวไปอีก) แต่ถ้าไม่เรียกว่าฤดูหนาวจะให้เรียกฤดูแล้งแทนหรือครับ ทั้ง ๆ ที่อากาศมันก็ต่ำกว่าฤดูอื่นชัดเจนและหนาวด้วย  (ตอนที่ลมหนาวจากจีนแรงมาก ๆ) แถมลมมรสุมที่พัดเข้าไทยช่วงปลายตุลาถึงต้นกุมภามันก็พัดความหนาวจากไซบีเรียเข้าไทย ถ้าไม่เรียกฤดูหนาว จะเรียกฤดูอะไรดีครับ

แถมนะ ผมว่าคำว่า ฤดูแล้ง มันฟังแล้วมันค่อนข้างแง่ลบ ถ้าใช้คำว่า ฤดูหนาว มันดูแง่บวก ดูน่าเที่ยวอะไรแบบนี้ ถึงมันจะเป็นฤดูแล้งจริง แต่การใช้คำว่าก็น่าจะใช้คำว่าฤดูหนาวดีกว่า
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 17
เมืองไทยมีส่วนทั้งที่มีฤดูหนาว และไม่มีฤดูหนาว ขึ้นอยู่กับว่าภาคอะไร สำหรับผมแล้วผมจะใช้แนวตั้งแต่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เรียบเทือเขาตะวันตก นครสวรรค์ พิษณุโลก เพรชบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา เป็นตัวกั้นว่ามีหน้าหนาวกับไม่มีหน้าหนาว เพราะจังหวัดที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงและอยู่เหนือจังหวัดดังกล่าว จะมีอุณหภูมิลดลงที่ชัดเจนในเดือน ธ.ค.- ก.พ.  ผมขอยกตัวอย่างอุณหภูมิแต่ละเดือนตามภาพด้านล่าง



เชียงใหม่หน้าฝนเฉลี่ยต่ำสุด 23-24 องศาฯ ส่วนหน้าหนาวเฉลี่ยในปีปกติประมาณ 16-17 องศาฯ  ที่เชียงใหม่อุ่นกว่าจังหวัดอื่นๆก็เพราะเกิดปรากฎการเกาะความร้อน(urban heat island) เนื่องจากตัวสถานีวัดอยู่ในเมืองเชียงใหม่ ปูนในเมืองมักสะสมความร้อนในตอนกลางวันได้ดี ทำให้เมืองมีอากาศอุ่นมากกว่าชนบท



น่านหน้าฝนเฉลี่ยต่ำสุด 23-24 องศาฯ ส่วนหน้าหนาวเฉลี่ยในปีปกติประมาณ 15-16 องศาฯ



เลยหน้าฝนเฉลี่ยต่ำสุด 23-24 องศาฯ ส่วนหน้าหนาวเฉลี่ยในปีปกติประมาณ 15-16 องศาฯ

จะเห็นได้ว่า 3 จังหวัดข้างต้นมีอากาศหนาวลงในเดือน ธ.ค.-ก.พ. ค่อนข้างชัดเจน แม้ว่าตอนกลางวันอากาศจะอุ่นถึงร้อนก็ตาม
แต่คงปฎิเสธไม่ได้เมื่อถึงเวลากลางคืนอากาศจะหนาวเย็นลงกว่าหน้าฝน



อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ หน้าฝนเฉลี่ยต่ำสุด 24-25 องศาฯ ส่วนหน้าหนาวเฉลี่ยในปีปกติประมาณ 18-19 องศาฯ



ชัยภูมิ หน้าฝนเฉลี่ยต่ำสุด 24-25 องศาฯ ส่วนหน้าหนาวเฉลี่ยในปีปกติประมาณ 19-20 องศาฯ

จะเห็นได้ว่า 2 จังหวัดข้างต้น มีอากาศเย็นลงค่อนข้างจะชัดเจน แต่ไม่ถึงกับหนาวมาก เพราะเฉลี่ย 18-19 องศาฯ เท่านั้น
แต่จะมีบางปีที่ลมหนาวลงมาแรงๆ ก็อาจจะเฉลี่ย 15-16 องศาฯ ได้เช่นกัน แต่อาจจะเกิดปีเว้นปี



สัตหีบ(บ้านเราเองอิอิ) หน้าฝนเฉลี่ยต่ำสุด 25-26 องศาฯ ส่วนหน้าหนาวเฉลี่ยในปีปกติประมาณ 21-22 องศาฯ เท่านั้น
แทบไม่ต่างอะไรจากหน้าฝนเท่าไหร่ เรียกได้ว่าอากาศพอดีๆ  ถ้าลมหนาวไม่ลงมาแรงๆ ก็แทบรู้สึกว่าไม่หนาว จะมีบางปีที่เฉลี่ย 17-19 องศาฯำด้บ้าง เช่นปี 2013 เป็นต้น ซึ่งปีนั้นทางภาคเหนือหนาวยะเยือก จ.น่าน เฉลี่ยทั้งเดือน ม.ค. 2013 11 องศาฯ ต่ำสุด 5-6 องศาฯ บนพื้นราบ แบบนี้ผมว่าให้ภาคเหนือเขามีหน้าหนาวไปเถอะครับ 55555



มาดู สุราษฯ หน้าฝนเฉลี่ยต่ำสุด 23-24 องศาฯ ส่วนหน้าหนาวเฉลี่ยในปีปกติประมาณ 22-23 องศาฯ
แบบนี้เรียกได้ว่าแทบไม่ต่างกันเลย แต่ที่น่าสนใจเชื่อมั้ยว่าภาคใต้ไม่จำเป็นต้องพึ่งอากาศหนาว
ก็สามารถสร้างหมอกได้ง่ายมาก ด้วยความชื้นที่สูง อากาศเย็นลงน้อยก็มีหมอกได้ไม่ยากเลย
ภาคเหนือบางครั้งอากาศหนาวก็ไม่มีหมอก เพราะลมหนาวบางครั้งก็พัดลงมาจนแห้ง
ภาคเหนือหมอกจะเยอะตอนที่อากาศอุ่นขึ้น ไม่ใช่ตอนลมหนาวแรงๆ ใครจะล่าหมอกก็ต้องดูด้วย
.
สุดท้ายโพสนี้เป็นเพียงความเห็นของผม อ้างอิงวิชาการอะไรไม่ได้  เมืองไทยมีทั้งจุดที่มีหน้าหนาวและไม่มี
จากเหตุผลที่ผมได้กล่าวข้างต้น แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะหนาวหรือไม่หนาว เมืองไทยก็มีธรรมชาติสวยงามเสมอ


ทะเหมอกดอยเสมอดาว ช่วงปลายฝนต้นหนาว อากาศไม่หนาวมาก แต่ความอลังการของหมอกบอกเลยว่าสุด
.
.
.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่