ในปัจจุบัน พลังงานทดแทนเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคตเพื่อเพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานที่มากขึ้นและลดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะภาวะโลกร้อนที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน
“พลังงานทดแทน” หรืออาจะเรียกได้ว่า “พลังงานทางเลือก” คือพลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติและ สามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานแบบเดิมได้อย่างไม่จำกัดโดยพลังงานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นพลังงาน ที่ได้จากฟอสซิลเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ถ่านหิน ปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติซึ่งก่อให้เกิดมลพิษและก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูง ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกซึ่งเป็นปัญหาของภาวะโลกร้อนนั่นเอง จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ แบ่งตามลักษณะปริมาณการใช้งานของ พลังงานได้ดังต่อไปนี้
1. พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป ได้แก่ ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ น้ำมัน
2. พลังงานหมุนเวียน (Renewal Energy) เป็นแหล่งพลังงานตามธรรมชาติและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ได้แก่ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานคลื่น พลังงานไบโอ พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง เป็นต้น ซึ่งพลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งพลังงานที่กำลังได้รับความนิยม เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นพลังงานที่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้ทั้งยังช่วยลดปัญหา มลพิษอีกด้วย
ประเทศไทยมีปัญหาด้านพลังงานเพราะปัญหาพลังงานฟอสซิลที่กำลังลดน้อยลงไปและกำลังจะหมดไปในระยะเวลาไม่ไกลจากนี้ และการผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงใทำให้มีการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ส่งผลให้งบประมาณด้านพลังงานสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหามลพิษที่เกิดจากการบริหารจัดการผลิตไม่ถูกวิธี ทำให้เรากำลังเจอกับวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ร่วมกันของมนุษยชาติ ที่เกิดจากการใช้พลังงานฟอสซิลแล้วปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนโลกร้อนซึ่งแน่นอนว่ามันกระทบต่อการดำรงชีวิตของทุกชีวิตบนโลก
ในการทำความตกลงปารีส ( Paris agreement ) ภายใต้กรอบอนุสัญญาประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( United Nations Framework Conventions on Climate Change : UNFCCC ) ทุกประเทศต้องรับผิดชอบและปรับทิศทางการใช้พลังงานรูปแบบเดิมมาใช้พลังงานทดแทน จึงเริ่มเห็นการกำหนดนโยบายอย่างการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ เพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม ประเทศไทยภายใต้ความตกลงปารีสมีนโยบายการจัดการภาวะโลกร้อนหรือแผนพลังงานของประเทศ กำหนดนโยบายก็ต้องใช้กฎหมายเพื่อนำไปสู่ทิศทางที่เข้มข้นมากขึ้น มีการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ส่งเสริมกองทุนด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อที่จะได้มีองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องของพลังงานทดแทน และส่งเสริมกองทุนด้านการศึกษาด้านพลังงานที่เป็นการให้ความรู้ สร้างความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของคนทั่วไปในการใช้พลังงานทดแทนรูปแบบต่าง ๆ
แล้วการพัฒนาพลังงานทดแทนสามารถช่วยแก้ปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนได้มากน้อยแค่ไหน ?
ปัญหาหลักในการพัฒนาคือเรื่องของต้นทุน ต้นทุนพลังงานทดแทนยังคงสูง แต่ถ้าพิจารณาถึงผลประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านที่เกิดขึ้นจากพลังงานทดแทนก็จะเห็นได้ว่ามีความคุมค่ามากกว่าการใช้พลังงานฟอสซิล พลังงานหลักที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาจากแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปแทบทั้งสิ้น อีกทั้งความต้องการในการใช้พลังงานมีมากขึ้น แต่ปริมาณของพลังงานมีอยู่อย่างจำกัดและสามารถหมดไปได้ในอนาคต ดังนั้น พลังงานทดเเทนจึงมีความสำคัญในแง่ของการเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่จะช่วยรองรับความต้องการและความจำเป็นในการใช้งานที่จะเข้ามาทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงในรูปแบบเก่าในอดีต แต่การนำพลังงานทดเเทนมาใช้ในปัจจุบันยังมีอัตราการใช้ไม่มากเท่าสัดส่วนพลังงานสิ้นเปลือง ช่วยป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและบรรเทาผลกระทบจากปัญหามลภาวะต่าง ๆ อาทิ ภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของทุกชีวิตบนโลกเป็นวงกว้าง และพลังงานทดเเทนยังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต ผลักกดันให้ผู้นำรัฐบาลและองค์กรต่างๆ ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจการตลาดและการลงทุนของธุรกิจซึ่งเพิ่มโอกาสการลงทุนของ กลุ่มบริษัทผู้ผลิตพลังงานทางเลือก รวมถึงผู้ผลิตอุปกรณ์จัดเก็บพลังงาน โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง และบริษัทที่มีการออกแบบซอฟต์แวร์ ทำให้เห็นได้ว่า สิ่งเหล่านี้ถือเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ใหญ่ที่จะเข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงโลกด้วยนวัตกรรมและพลังงานเพื่ออนาคตได้เป็นอย่างดี
กล่าวได้ว่า พลังงานแทนถือเป็นพลังงานในอนาคตที่จะช่วยพัฒนาสังคมในด้านต่างๆทั้งเรื่องของการดำเนินวิถีชีวิตในมีคุณภาพมากขึ้น ผลักดันด้านเศรษฐกิจในเติบโตร่วมกับช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน พร้อมทั้งขับเคลื่อนโลกใบนี้ให้หมุนต่อไปได้อย่างยั่งยืน
พลังงานทดเเทนมีส่วนช่วยแก้ปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมได้มากแค่ไหน
“พลังงานทดแทน” หรืออาจะเรียกได้ว่า “พลังงานทางเลือก” คือพลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติและ สามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานแบบเดิมได้อย่างไม่จำกัดโดยพลังงานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นพลังงาน ที่ได้จากฟอสซิลเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ถ่านหิน ปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติซึ่งก่อให้เกิดมลพิษและก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูง ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกซึ่งเป็นปัญหาของภาวะโลกร้อนนั่นเอง จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ แบ่งตามลักษณะปริมาณการใช้งานของ พลังงานได้ดังต่อไปนี้
1. พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป ได้แก่ ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ น้ำมัน
2. พลังงานหมุนเวียน (Renewal Energy) เป็นแหล่งพลังงานตามธรรมชาติและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ได้แก่ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานคลื่น พลังงานไบโอ พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง เป็นต้น ซึ่งพลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งพลังงานที่กำลังได้รับความนิยม เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นพลังงานที่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้ทั้งยังช่วยลดปัญหา มลพิษอีกด้วย
ประเทศไทยมีปัญหาด้านพลังงานเพราะปัญหาพลังงานฟอสซิลที่กำลังลดน้อยลงไปและกำลังจะหมดไปในระยะเวลาไม่ไกลจากนี้ และการผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงใทำให้มีการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ส่งผลให้งบประมาณด้านพลังงานสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหามลพิษที่เกิดจากการบริหารจัดการผลิตไม่ถูกวิธี ทำให้เรากำลังเจอกับวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ร่วมกันของมนุษยชาติ ที่เกิดจากการใช้พลังงานฟอสซิลแล้วปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนโลกร้อนซึ่งแน่นอนว่ามันกระทบต่อการดำรงชีวิตของทุกชีวิตบนโลก
ในการทำความตกลงปารีส ( Paris agreement ) ภายใต้กรอบอนุสัญญาประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( United Nations Framework Conventions on Climate Change : UNFCCC ) ทุกประเทศต้องรับผิดชอบและปรับทิศทางการใช้พลังงานรูปแบบเดิมมาใช้พลังงานทดแทน จึงเริ่มเห็นการกำหนดนโยบายอย่างการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ เพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม ประเทศไทยภายใต้ความตกลงปารีสมีนโยบายการจัดการภาวะโลกร้อนหรือแผนพลังงานของประเทศ กำหนดนโยบายก็ต้องใช้กฎหมายเพื่อนำไปสู่ทิศทางที่เข้มข้นมากขึ้น มีการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ส่งเสริมกองทุนด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อที่จะได้มีองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องของพลังงานทดแทน และส่งเสริมกองทุนด้านการศึกษาด้านพลังงานที่เป็นการให้ความรู้ สร้างความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของคนทั่วไปในการใช้พลังงานทดแทนรูปแบบต่าง ๆ
แล้วการพัฒนาพลังงานทดแทนสามารถช่วยแก้ปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนได้มากน้อยแค่ไหน ?
ปัญหาหลักในการพัฒนาคือเรื่องของต้นทุน ต้นทุนพลังงานทดแทนยังคงสูง แต่ถ้าพิจารณาถึงผลประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านที่เกิดขึ้นจากพลังงานทดแทนก็จะเห็นได้ว่ามีความคุมค่ามากกว่าการใช้พลังงานฟอสซิล พลังงานหลักที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาจากแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปแทบทั้งสิ้น อีกทั้งความต้องการในการใช้พลังงานมีมากขึ้น แต่ปริมาณของพลังงานมีอยู่อย่างจำกัดและสามารถหมดไปได้ในอนาคต ดังนั้น พลังงานทดเเทนจึงมีความสำคัญในแง่ของการเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่จะช่วยรองรับความต้องการและความจำเป็นในการใช้งานที่จะเข้ามาทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงในรูปแบบเก่าในอดีต แต่การนำพลังงานทดเเทนมาใช้ในปัจจุบันยังมีอัตราการใช้ไม่มากเท่าสัดส่วนพลังงานสิ้นเปลือง ช่วยป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและบรรเทาผลกระทบจากปัญหามลภาวะต่าง ๆ อาทิ ภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของทุกชีวิตบนโลกเป็นวงกว้าง และพลังงานทดเเทนยังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต ผลักกดันให้ผู้นำรัฐบาลและองค์กรต่างๆ ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจการตลาดและการลงทุนของธุรกิจซึ่งเพิ่มโอกาสการลงทุนของ กลุ่มบริษัทผู้ผลิตพลังงานทางเลือก รวมถึงผู้ผลิตอุปกรณ์จัดเก็บพลังงาน โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง และบริษัทที่มีการออกแบบซอฟต์แวร์ ทำให้เห็นได้ว่า สิ่งเหล่านี้ถือเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ใหญ่ที่จะเข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงโลกด้วยนวัตกรรมและพลังงานเพื่ออนาคตได้เป็นอย่างดี
กล่าวได้ว่า พลังงานแทนถือเป็นพลังงานในอนาคตที่จะช่วยพัฒนาสังคมในด้านต่างๆทั้งเรื่องของการดำเนินวิถีชีวิตในมีคุณภาพมากขึ้น ผลักดันด้านเศรษฐกิจในเติบโตร่วมกับช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน พร้อมทั้งขับเคลื่อนโลกใบนี้ให้หมุนต่อไปได้อย่างยั่งยืน