สายตาสั้นเป็นกรรมพันธุ์จริงหรือไม่?


สายตาสั้นเป็นปัญหาของพันธุกรรมจริงหรือไม่?

คำตอบก็คือว่า ส่วนใหญ่จะเป็นความจริง แต่เราต้องมาดูที่ว่าลักษณะของลูกตาที่เป็นลูกตาของคนเป็นสายตาสั้นก่อนแล้วจะเข้าใจมากขึ้น
ในคนธรรมดาการที่สายตาสั้นเกิดขึ้นจากการที่ความโค้งของด้านหน้าของตา หรือกระจกตาดำ มันโค้งมากกว่าคนอื่นเป็นพิเศษ หรือไม่ก็ความยาวของลูกตายาวกว่าของคนปกติ ทำให้การหักเหของแสงที่มาจากด้านนอก ภาพของเราหักเหเข้ามามารวมกันเป็นจุดที่อยู่ข้างหน้าของจอประสาทตา หรือจอรับแสงของเราทำให้ภาพมันไม่ชัดบนจอรับแสง 
 
ซึ่งอย่างนี้หลายๆครั้งเกิดขึ้นจากการที่เราเกิดมาความโค้งมันมากเกินไปหรือความยาวของลูกตามันยาวเกินไปเพราะฉะนั้นถ้าเกิดคุณพ่อ คุณแม่คนไหน มีสายตาสั้นมากก็มีโอกาสที่ลูกจะมีสายตาสั้นเหมือนกัน อาจจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมอย่างเดียว โรคบางโรคของเราก็สามารถทำให้เกิดสายตาสั้นขึ้นได้ แต่เป็นในคนส่วนน้อยมากๆ
 
ตัวอย่างเช่น โรคเกี่ยวกับเรื่องของเด็กทารกที่เกิดก่อนกำหนด เด็กจำพวกนี้จะมีโอกาสที่สายตาสั้นหรือสายตาเอียงค่อนข้างจะสูง ลูกตาของเด็กจะใหญ่กว่าของคนปกติ การที่ลูกตาใหญ่มองข้างหน้าตา มองไปข้างหน้าจะมองไม่ค่อยเห็น แต่มันจะเป็นเรื่องของความยาวที่อยู่ด้านหลังในกระบอกตามากกว่า เพราะฉะนั้นโดยสรุปแล้วในเรื่องของอาการของสายตาสั้นหรือคนที่เป็นสายตาสั้นกับพันธุกรรมอันนี้เป็นความจริง ในคนส่วนใหญ่ เรี่องของการมองเห็นเพ่งมากจนเกินไป หรือเพ่งในที่มืดแล้วทำให้เด็กมีโอกาสที่เป็นสายตาสั้นได้ยังไม่มีบทสรุปที่ชัดเจน

บทความโดย : นพ. สรรพัฒน์ รัตนิน

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่