โรงเรียนที่ดีที่สุดในไทย 2020

กระทู้สนทนา
โรงเรียนที่ดีที่สุดในไทย 2020 รวมทุกสังกัด 500 อันดับแรก จากการเก็บรวบรวมสถิติ ผลการสอบคะแนน O-NET61, การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ และการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ จากโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) หรือ ม.ปลาย ทั้งหมด 3,872 โรงเรียน ทั่วทั้งประเทศ

การจัดอันดับจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลภาพรวม หลังจากมีการนำเสนอการจัดอันดับ ที่แยกบางส่วนออกมา ทำให้หลายคนเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

ไม่ได้มีเจตนาให้ยึดติดกับชื่อเสียงสถานศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่ง เพราะปัจจุบันโลกแห่งการศึกษาไม่ได้เหมือนเดิมอีกต่อไป การเรียนรู้ด้วยตัวเองจะมีความสำคัญมากกว่าไปเรียนที่โรงเรียน

เด็กที่เรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างถูกหลักการและถูกวิธีการที่เหมาะสมให้เข้ากับตนเอง สามารถสอบเทียบข้ามไปเรียนในระดับปริญญาได้ หรือไปสอบผ่านหลักสูตรมาตรฐานสากล เพื่อเอาใบประกาศนียบัตร สมัครเข้าทำงานได้เลยโดยไม่ต้องใช้วุฒิการศึกษา

10 อันดับโรงเรียนที่ดีที่สุดในไทย 2020


อันดับ 1 มหิดลวิทยานุสรณ์ ได้ 104.19 คะแนน
อันดับ 2 เตรียมอุดมศึกษา ได้ 74.22 คะแนน
อันดับ 3 สวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ 47.38 คะแนน
อันดับ 4 สาธิตม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ได้ 22.19 คะแนน
อันดับ 5 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ได้ 21.9 คะแนน
อันดับ 6 กำเนิดวิทย์ ได้ 19.95 คะแนน
อันดับ 7 สาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ 18.77 คะแนน
อันดับ 8 พรหมานุสรณ์ ได้ 14.1 คะแนน
อันดับ 9 บุญวาทย์วิทยาลัย ได้ 11.07 คะแนน
อันดับ 10 เทพศิรินทร์ ได้ 10.56 คะแนน

เกณฑ์การพิจารณา:
1.สถิติจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบโอเน็ต ปีการศึกษา 2561 ระดับ ม.6 (ด้านชื่อเสียงและความนิยม)
2.สถิติผลสอบค่าเฉลี่ยคะแนน O-NET ปีการศึกษา 2561 ระดับ ม.6 (ด้านการเรียนการสอน)
3.สถิติจำนวนรายการแข่งขัน (ด้านความความสำเร็จ)
4.สถิติเหรียญรางวัลการแข่งขัน โอลิมปิกวิชาการ ระดับชาติ ปี 2562 ระดับ ม.ปลาย (ด้านวิชาการ)
5.สถิติเหรียญรางวัลการแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69 ปีการศึกษา 2562 ระดับ ม.4-6 (ด้านกิจกรรม)


1.ด้านกีฬา มีข้อมูลไม่เพียงพอ (การแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ เป็นการรวมตัวจากหลายสถานการศึกษา ลงแข่งขันในนามตัวแทนจังหวัด) ยากต่อการรวบรวมข้อมูล
2.ให้น้ำหนักค่าดัชนีโอลิมปิกวิชาการสูงกว่าค่าดัชนีงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน
เพราะโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ เป็นการจัดการแข่งขันรวมทั้งประเทศ และมีโอกาสคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศ ไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ
ส่วนงานศิลปหัตกรรมนักเรียนระดับชาติ เป็นการจัดการแข่งขัน แบ่งออกเป็นภูมิภาค
3.ด้านวิชาการ ล้วนอยู่ในทุกสถิติที่นำมาใช้ แต่การแข่งขัน โอลิมปิกวิชาการ ให้ภาพที่เด่นชัดที่สุด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่