หน้าแรก
คอมมูนิตี้
ห้อง
แท็ก
คลับ
ห้อง
แก้ไขปักหมุด
ดูทั้งหมด
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
แท็ก
แก้ไขปักหมุด
ดูเพิ่มเติม
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
{room_name}
{name}
{description}
กิจกรรม
แลกพอยต์
อื่นๆ
ตั้งกระทู้
เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก
เว็บไซต์ในเครือ
Bloggang
Pantown
PantipMarket
Maggang
ติดตามพันทิป
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
เกี่ยวกับเรา
กฎ กติกา และมารยาท
คำแนะนำการโพสต์แสดงความเห็น
นโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิ์การใช้งานของสมาชิก
ติดต่อทีมงาน Pantip
ติดต่อลงโฆษณา
ร่วมงานกับ Pantip
Download App Pantip
Pantip Certified Developer
สารานุกรมปืนตอนที่ 749 Type 89 Grenade Discharger
กระทู้สนทนา
อาวุธยุทโธปกรณ์
ประวัติศาสตร์
อาวุธปืน
ประเทศญี่ปุ่น
"ขอขอบคุณเพจ ป ปืนอย่างสูงครับ"
https://www.facebook.com/Porpeunbybaster/
Type 89 Grenade Discharger (八九式重擲弾筒 Hachikyū-shiki jū-tekidantō), หรือเรียกง่ายๆว่าเครื่องส่ง (ปล่อย,เครื่องยิง)ลูกระเบิดแบบ Type 89 ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรเรียกมันว่า “ Knee mortar” เป็นเครื่องยิงลูกระเบิดแบบหนึ่งที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในการรบในแปซิฟิก
เนื่องจากยุทธวิธีการรบของญี่ปุ่นที่ต้องการอาวุธสนับสนุนการรุกของทหารราบอย่างใกล้ชิด ญี่ปุ่นได้พัฒนาเครื่องยิงลูกระเบิดที่สามารถยิงระยะไกลกว่าการปาระเบิดมือ(hand grenades,)โดยและใช้งานได้อย่างรวดเร็วในพื้นที่จำกัด เช่นในอาคาร ในคูเลท หรือ หลุมบุกคล ที่ใช้งานได้สะดวกกว่าเครื่องยิงลูกระเบิดจากปลายลำกล้องปืน(rifle grenades,) โดยที่สามารถสลับใช้งานปืนเล็กยาว/ปืนเล็กสั้น เพื่อป้องกันตัวได้โดยสะดวก
แนวคิดได้รับการพัฒนาเป็นลูกระเบิดแบบ Type 10 Grenade (十年式手榴弾 Jyūnen-shiki Teryūdan)ขนาด 50 มม. โดยที่ท้าย(ตูด)ของลูกระเบิดจะมีแป้นเกลียวเพื่อติดตั้งส่วนดินขับลูกระเบิด(auxiliary propellant canister) ซึ่งใช้ยิงกับเครื่องยิงลูกระเบิดจากปลายลำกล้อง (rifle grenade.) ซึ่งต่อมาก็มีการพัฒนาให้ใช้กับเครื่องยิงลูกระเบิดแบบ Type 10 grenade discharger (十年式擲弾筒 Juu-nen-shiki tekidantō) เครื่องยิงสามารถถอด-ประกอบ เก็บได้เพื่อความคล่องตัว
ระบบเครื่องยิงลูกระเบิดได้พัฒนาในเวลาต่อมาและเป็นที่ยอมรับคือ The Type 89 Grenade Discharger (八九式重擲弾筒 Hachikyū-shiki jū-tekidantō) ขนาดปากลำกล้อง 50 มม.จัดอยู่เครื่องยิงลูกระเบิดเบา(Light mortar )เริ่มผลิตในปี 1929 (ผลิตได้จริงๆปี 1932) โดยข้อแตกต่างสำคัญกับแบบ Type10 คือ Type 89 มีเกลียวลำกล้อง และมีชุดปรับระยะการยิง เครื่องยิงจะมีชุดเข็มแทงชนวนที่ด้ามของเครื่องยิง โดยการลากให้เข้ามาค้างนกที่ส่วนท้ายของด้ามเครื่องยิวและมีไกสำหรับยิง โดยการยิงจะมีมุมยิงคงที่คือ 45 องศา ตลอด (พลยิงจะต้องได้รับการฝึกท่าทางการยิง)
การปรับระยะการยิงจะใช้การปรับขนาดห้องแรงดันใต้ลูกระเบิดโดยใช้ ชุดปรับระยะการยิง ( Elevating knob) โดยเมื่อหมุนตัวปรับชุดเฟืองขับจะไปหมุนเกลียวปรับที่อยู่บริเวณด้ามเครื่องยิงต่อเข้าไปยังกระบอกเครื่องยิงโดยที่ เมื่อปรับให้ลูกระเบิดอยู่ต่ำสุดจะเป็นการยิงระยะไกล และเมื่อปรับให้ลูกระเบิดอยู่สูงสุดเป็นการยิงระยะใกล้ ถึงแม้ว่าเครื่องยิงลูกระเบิดนี้จะใช้ทหารยิงเพียงค1นาย แต่ในชุดจะมีผลกระสุน/ผู้ช่วยยิงอีก 2 นาย รวม 3นาย
เครื่องยิงสามารถ ใช้ร่วมกับระเบิดมือแบบ Type 91 Hand Grenade (九一式手榴弾 Kyūichi-shiki Teryūdan) โดย Type 91 Hand Grenade พัฒนามาจากแบบ Type 10 Grenade ซึ่งพัฒนาให้ใช้กับเครื่องยิงลูกระเบิดแบบ Type 10 grenade discharger มาก่อน การยิง Type 91 Hand Grenadeไม่ต้องนำส่วนปลายที่มีเข็มแทงชนวนไปกระแทกกับของแข็งก่อนแบบการขว้างแต่ใช้การดึงสลักนิรภัยออกแล้วแรงส่งจากการยิงจะทำให้แรงเฉื่อยของตัวเข็มแทงชนวนวิ่งมากระทบจอกกระทบแตกเอง เพราะแหนบสปริงไม่แข็งมาก ซึ่งจะกลายเป็นชนวนแบบหน่วงเวลา 7-8 วินาทีซึ่งมีประโยชน์ในการยิงเข้าไปในบังเกอร์ ช่องหน้าต่าง หรือแนวป่ารกๆ อีกประการหากยิงไปติดสิ่งกีดขว้างอย่างขอบหน้าต่างพลยิงมีเวลาหนีได้ทัน
โดยระเบิดมือทั้งแบบ Type 10 และ Type 91 สามารถดึงสลักแล้วขว้างได้และยิงจากเครื่องลูกระเบิดก็ได้
Type 89 Grenade Discharger ใช้ยิงร่วมกับลูกระเบิดแบบ Type 89 50mm shell (HE), ซึ่งมีอำนาจการทำลายที่รุนแรงกว่า สามารถติดตั้งชนวน (Fuse) ได้ทั้งกระทบแตก และ หน่วงเวลา รวมถึงใช้ยิงกระสุนแบบอื่นเช่น ลูกระเบิดควัน (Smoke shell) พลุส่องสว่าง(Flare shell) พลุบอกสัญญาณ(Signal shell) ลูกระเบิดเพลิง(Pyrotechnic grenad ) และ ลูกฝึกยิง(Blank)
Type 89 grenade discharger ใช้งานครั้งแรกในสงคราม ญี่ปุ่น-จีน(Second Sino-Japanese War,)
แผ่นโค้งที่ฐานด้ามเครื่องยิงนั้นใช้งานเหมือนพลั่วปืนใหญ่คือใช้สำหรับวางบนพื้นดิน ขอบหน้าต่าง ท่อนไม้ กระบะรถ หรือวางบนอะไรก็ได้ที่เป็นฐานมั่นคง ความเข้าใจผิดของ ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สามารถยึดเครื่องยิงมาได้ เข้าใจผิดว่าแผ่นรองนี้มีไว้สำหรับวางบนหน้าขา ซึ่งเมื่อทดลองแล้วทำให้เกิดอาการบาดเจ็บตั้งแต่ช้ำจนไปถึงขาหัก ซึ่งคำว่า “ Knee mortar” นั้นหมายถึงการยิงด้วยท่าคุกเข่าหรือชันเข่ายิงมากกว่าการไปวางบนขายิง และมีชื่อเล่นว่า”ปืน ค.ฝรั่งขาหัก”(จำไม่ได้ว่าใครเรียกให้ฟัง)
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 Type 89 grenade discharger นั้นพบได้ในสงครามในภูมิภาคตะวันออกไกล เช่นสงครามกลางเมืองจีน สงครามเกาหลี ใกล้ๆบ้านเราก็การปฏิวัติแห่งชาติอินโดนีเซีย วิกฤตการณ์มาลายา และพบเห็นครั้งสุดท้ายคือสงครามเวียดนาม(ซึ่งก็ยังมีฝรั่งทำขาตัวเองหักอยู่ด้วย Type 89) แม่แต่ข้อมูลบางแหล่งก็เรียกชวนขาหักว่า “Type 89 leg mortar “
ซึ่งก็มีหลายชาติที่ออกแบบเครื่องยิงลูกระเบิดในลักษณะนี้เช่นกัน LGI Mle F1 ของฝรั่งเศส ,M224 60 mm Lightweight Mortar อเมริกา(สามารถยิงได้ทั้งใช้ชุดแท่นยิงและคุกเข่าจับยิงด้วยมือ), Ordnance SBML two-inch mortar อังกฤษ
ขอบคุณที่ติดตามและหากมีข้อผิดพลาดประการใดๆก็ขออภัยมา ณ. ที่นี้ครับ
Cr.
http://www.chinaww2.com/2014/06/13/japanese-knee-mortar/
https://en.wikipedia.org/wiki/Type_10_grenade
https://en.wikipedia.org/wiki/Type_91_grenade
https://en.wikipedia.org/wiki/Type_89_grenade_discharger
http://www.sohu.com/a/222634635_349972
สวัสดีครับ
▼
กำลังโหลดข้อมูล...
▼
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
อาวุธยุทโธปกรณ์
ประวัติศาสตร์
อาวุธปืน
ประเทศญี่ปุ่น
บนสุด
ล่างสุด
อ่านเฉพาะข้อความเจ้าของกระทู้
หน้า:
หน้า
จาก
แชร์ :
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ยอมรับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 749 Type 89 Grenade Discharger
https://www.facebook.com/Porpeunbybaster/
Type 89 Grenade Discharger (八九式重擲弾筒 Hachikyū-shiki jū-tekidantō), หรือเรียกง่ายๆว่าเครื่องส่ง (ปล่อย,เครื่องยิง)ลูกระเบิดแบบ Type 89 ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรเรียกมันว่า “ Knee mortar” เป็นเครื่องยิงลูกระเบิดแบบหนึ่งที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในการรบในแปซิฟิก
เนื่องจากยุทธวิธีการรบของญี่ปุ่นที่ต้องการอาวุธสนับสนุนการรุกของทหารราบอย่างใกล้ชิด ญี่ปุ่นได้พัฒนาเครื่องยิงลูกระเบิดที่สามารถยิงระยะไกลกว่าการปาระเบิดมือ(hand grenades,)โดยและใช้งานได้อย่างรวดเร็วในพื้นที่จำกัด เช่นในอาคาร ในคูเลท หรือ หลุมบุกคล ที่ใช้งานได้สะดวกกว่าเครื่องยิงลูกระเบิดจากปลายลำกล้องปืน(rifle grenades,) โดยที่สามารถสลับใช้งานปืนเล็กยาว/ปืนเล็กสั้น เพื่อป้องกันตัวได้โดยสะดวก
แนวคิดได้รับการพัฒนาเป็นลูกระเบิดแบบ Type 10 Grenade (十年式手榴弾 Jyūnen-shiki Teryūdan)ขนาด 50 มม. โดยที่ท้าย(ตูด)ของลูกระเบิดจะมีแป้นเกลียวเพื่อติดตั้งส่วนดินขับลูกระเบิด(auxiliary propellant canister) ซึ่งใช้ยิงกับเครื่องยิงลูกระเบิดจากปลายลำกล้อง (rifle grenade.) ซึ่งต่อมาก็มีการพัฒนาให้ใช้กับเครื่องยิงลูกระเบิดแบบ Type 10 grenade discharger (十年式擲弾筒 Juu-nen-shiki tekidantō) เครื่องยิงสามารถถอด-ประกอบ เก็บได้เพื่อความคล่องตัว
ระบบเครื่องยิงลูกระเบิดได้พัฒนาในเวลาต่อมาและเป็นที่ยอมรับคือ The Type 89 Grenade Discharger (八九式重擲弾筒 Hachikyū-shiki jū-tekidantō) ขนาดปากลำกล้อง 50 มม.จัดอยู่เครื่องยิงลูกระเบิดเบา(Light mortar )เริ่มผลิตในปี 1929 (ผลิตได้จริงๆปี 1932) โดยข้อแตกต่างสำคัญกับแบบ Type10 คือ Type 89 มีเกลียวลำกล้อง และมีชุดปรับระยะการยิง เครื่องยิงจะมีชุดเข็มแทงชนวนที่ด้ามของเครื่องยิง โดยการลากให้เข้ามาค้างนกที่ส่วนท้ายของด้ามเครื่องยิวและมีไกสำหรับยิง โดยการยิงจะมีมุมยิงคงที่คือ 45 องศา ตลอด (พลยิงจะต้องได้รับการฝึกท่าทางการยิง)
การปรับระยะการยิงจะใช้การปรับขนาดห้องแรงดันใต้ลูกระเบิดโดยใช้ ชุดปรับระยะการยิง ( Elevating knob) โดยเมื่อหมุนตัวปรับชุดเฟืองขับจะไปหมุนเกลียวปรับที่อยู่บริเวณด้ามเครื่องยิงต่อเข้าไปยังกระบอกเครื่องยิงโดยที่ เมื่อปรับให้ลูกระเบิดอยู่ต่ำสุดจะเป็นการยิงระยะไกล และเมื่อปรับให้ลูกระเบิดอยู่สูงสุดเป็นการยิงระยะใกล้ ถึงแม้ว่าเครื่องยิงลูกระเบิดนี้จะใช้ทหารยิงเพียงค1นาย แต่ในชุดจะมีผลกระสุน/ผู้ช่วยยิงอีก 2 นาย รวม 3นาย
เครื่องยิงสามารถ ใช้ร่วมกับระเบิดมือแบบ Type 91 Hand Grenade (九一式手榴弾 Kyūichi-shiki Teryūdan) โดย Type 91 Hand Grenade พัฒนามาจากแบบ Type 10 Grenade ซึ่งพัฒนาให้ใช้กับเครื่องยิงลูกระเบิดแบบ Type 10 grenade discharger มาก่อน การยิง Type 91 Hand Grenadeไม่ต้องนำส่วนปลายที่มีเข็มแทงชนวนไปกระแทกกับของแข็งก่อนแบบการขว้างแต่ใช้การดึงสลักนิรภัยออกแล้วแรงส่งจากการยิงจะทำให้แรงเฉื่อยของตัวเข็มแทงชนวนวิ่งมากระทบจอกกระทบแตกเอง เพราะแหนบสปริงไม่แข็งมาก ซึ่งจะกลายเป็นชนวนแบบหน่วงเวลา 7-8 วินาทีซึ่งมีประโยชน์ในการยิงเข้าไปในบังเกอร์ ช่องหน้าต่าง หรือแนวป่ารกๆ อีกประการหากยิงไปติดสิ่งกีดขว้างอย่างขอบหน้าต่างพลยิงมีเวลาหนีได้ทัน
โดยระเบิดมือทั้งแบบ Type 10 และ Type 91 สามารถดึงสลักแล้วขว้างได้และยิงจากเครื่องลูกระเบิดก็ได้
Type 89 Grenade Discharger ใช้ยิงร่วมกับลูกระเบิดแบบ Type 89 50mm shell (HE), ซึ่งมีอำนาจการทำลายที่รุนแรงกว่า สามารถติดตั้งชนวน (Fuse) ได้ทั้งกระทบแตก และ หน่วงเวลา รวมถึงใช้ยิงกระสุนแบบอื่นเช่น ลูกระเบิดควัน (Smoke shell) พลุส่องสว่าง(Flare shell) พลุบอกสัญญาณ(Signal shell) ลูกระเบิดเพลิง(Pyrotechnic grenad ) และ ลูกฝึกยิง(Blank)
Type 89 grenade discharger ใช้งานครั้งแรกในสงคราม ญี่ปุ่น-จีน(Second Sino-Japanese War,)
แผ่นโค้งที่ฐานด้ามเครื่องยิงนั้นใช้งานเหมือนพลั่วปืนใหญ่คือใช้สำหรับวางบนพื้นดิน ขอบหน้าต่าง ท่อนไม้ กระบะรถ หรือวางบนอะไรก็ได้ที่เป็นฐานมั่นคง ความเข้าใจผิดของ ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สามารถยึดเครื่องยิงมาได้ เข้าใจผิดว่าแผ่นรองนี้มีไว้สำหรับวางบนหน้าขา ซึ่งเมื่อทดลองแล้วทำให้เกิดอาการบาดเจ็บตั้งแต่ช้ำจนไปถึงขาหัก ซึ่งคำว่า “ Knee mortar” นั้นหมายถึงการยิงด้วยท่าคุกเข่าหรือชันเข่ายิงมากกว่าการไปวางบนขายิง และมีชื่อเล่นว่า”ปืน ค.ฝรั่งขาหัก”(จำไม่ได้ว่าใครเรียกให้ฟัง)
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 Type 89 grenade discharger นั้นพบได้ในสงครามในภูมิภาคตะวันออกไกล เช่นสงครามกลางเมืองจีน สงครามเกาหลี ใกล้ๆบ้านเราก็การปฏิวัติแห่งชาติอินโดนีเซีย วิกฤตการณ์มาลายา และพบเห็นครั้งสุดท้ายคือสงครามเวียดนาม(ซึ่งก็ยังมีฝรั่งทำขาตัวเองหักอยู่ด้วย Type 89) แม่แต่ข้อมูลบางแหล่งก็เรียกชวนขาหักว่า “Type 89 leg mortar “
ซึ่งก็มีหลายชาติที่ออกแบบเครื่องยิงลูกระเบิดในลักษณะนี้เช่นกัน LGI Mle F1 ของฝรั่งเศส ,M224 60 mm Lightweight Mortar อเมริกา(สามารถยิงได้ทั้งใช้ชุดแท่นยิงและคุกเข่าจับยิงด้วยมือ), Ordnance SBML two-inch mortar อังกฤษ
ขอบคุณที่ติดตามและหากมีข้อผิดพลาดประการใดๆก็ขออภัยมา ณ. ที่นี้ครับ
Cr.
http://www.chinaww2.com/2014/06/13/japanese-knee-mortar/
https://en.wikipedia.org/wiki/Type_10_grenade
https://en.wikipedia.org/wiki/Type_91_grenade
https://en.wikipedia.org/wiki/Type_89_grenade_discharger
http://www.sohu.com/a/222634635_349972