น้ำคาวปลา คือของเหลวที่ออกมาทางช่องคลอดหลังคลอด มีลักษณะเป็นเลือดปนน้ำเหลือง และประกอบด้วยเลือด น้ำคร่ำ และสิ่งต่าง ๆ ที่ค้างอยู่ในโพรงมดลูกหลุดลอกออกมา โดยส่วนใหญ่แม่ที่คลอดลูกแบบธรรมชาติ จะมีน้ำคาวปลาไหลออกปริมาณเยอะกว่าคุณแม่ที่ผ่าตัดคลอด เนื่องจากคุณหมอจะทำความสะอาดมดลูกหลังผ่าคลอดจึงทำให้ปริมาณน้ำคาวปลามีน้อย และโดยปกติน้ำคาวปลาจะมีกลิ่นเหมือนประจำเดือนในยามปกติ หรือไม่มีกลิ่นเหม็น หากคุณแม่พบว่าน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น มีสีแดงขึ้น หรือมีไข้ ปวดท้อง แสดงว่าอาจมีการติดเชื้อเกิดขึ้น
หลังคลอดลูก คุณแม่จะมีของเหลวไหลออกมาจากร่างกายเรียกว่าน้ำคาวปลา ซึ่งน้ำคาวปลานี้คือ สิ่งที่ขับออกมาจากแผลภายในมดลูก จากบริเวณที่รกเกาะอยู่นั่นเอง โดยปกติแล้ว น้ำคาวปลาไม่ได้เป็นอันตรายอะไร เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่คุณแม่ควรหมั่นสังเกตให้ดีๆ ด้วย เพราะหากน้ำคาวปลาผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้ออักเสบ ซึ่งเป็นอันตรายได้ค่ะ
น้ำคาวปลากี่วันถึงจะหมด
ตลอดระยะเวลาที่แม่ท้องมีน้ำคาวปลาออกมา จะมีปริมาณทั้งหมดประมาณ 200-500 มิลลิลิตร และปริมาณน้ำคาวปลาจะค่อย ๆ ลดลง และหมดไป เมื่อแผลในโพรงมดลูกซ่อมแซมปิดสนิท โดยทั่วไปจะใช้เวลา 3-4 สัปดาห์หลังคลอด น้ำคาวปลาก็จะหมดไป แต่ยังมีแม่ท้องบางรายที่อาจมีน้ำคาวปลานานไปถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด
“น้ำคาวปลา” แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
- น้ำคาวปลาแดง (lochia rubra) มีลักษณะสีแดงช้ำ ๆ คล้ำ ๆ เพราะประกอบด้วยเลือด เมือก และเศษรก โดยออกมาตั้งแต่วันแรกหลังคลอดแล้วออกอยู่นาน 3-5 วัน
- น้ำคาวปลาเหลืองใส (lochia serosa) ที่ออกต่อจากน้ำคาวปลาแดงไปจนถึงประมาณวันที่ 10 หลังคลอด โดยจะเริ่มจางลงและมีการเปลี่ยนสีเป็นน้ำตาลหรือชมพูแล้วค่อย ๆ กลายเป็นเหลืองใส
- น้ำคาวปลาขาว (lochia alba) ออกต่อจากน้ำคาวปลาเหลืองใสไปอีกจนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด จะมีสีเหลืองขุ่นจนออกไปทางขาว และปริมาณน้ำคาวปลาจะค่อย ๆ ลดลงจนแห้งสนิท
ทีนี้ในระหว่างที่คุณแม่มีน้ำคาวปลาไหลออกก็สามารถหาผ้าอนามัยมารองใส่เหมือนยามช่วงที่ประจำเดือนมา โดยหมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ เพื่อจะได้ไม่อับชื้น สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ แต่ไม่ควรแช่น้ำ หรือว่ายน้ำในช่วงที่มีน้ำคาวปลาออก เพราะอาจทำให้มีน้ำเข้าไปโพรงมดลูก และเกิดการติดเชื้อ ที่สำคัญต้องคอยสังเกตดูว่า น้ำคาวปลาที่ออกมา มีกลิ่นเหม็นหรือไม่ หรือมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์นะคะ
ยาขับน้ำคาวปลา ควรกินไหม
รศ.พญ.สายฝน ชวาลไพบูลย์ ภาควิชาสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวถึงการดื่มยาดอง หรือยาขับน้ำคาวปลาหลังคลอดไว้ว่า มีคนจำนวนมากเชื่อกันว่า น้ำคาวปลา คือ ของเสียที่ต้องขับออกมาให้มาก ๆ ทำให้มีแม่หลังคลอดหลายคน เกิดอาการตกเลือดจากการกินยาขับน้ำคาวปลา บางรายถึงกับหมดสติ ต้องให้เลือดช่วยชีวิตกันเลยทีเดียว
เพราะฉะนั้น ไม่ควรที่จะไปพยายามขับน้ำคาวปลาให้ออกมาเยอะ ๆ เพราะนอกจากจะเสียเลือดเพิ่มโดยไม่จำเป็นแล้ว บรรดายาขับน้ำคาวปลา หรือยาดองทั้งหลาย มักมีแอลกอฮอล์ผสม ซึ่งจะผ่านออกมาในน้ำนมได้ เมื่อลูกดูดนมแม่ก็จะส่งผลเสียต่อลูกน้อยอีกด้วย
ลักษณะของน้ำคาวปลา 3 ระยะ
โดยปกติแล้ว น้ำคาวปลาจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ดังนี้ค่ะ
1. น้ำคาวปลาแดง
เกิดขึ้น 3-5 วันหลังคลอดลูก สีของน้ำคาวปลาเป็นสีแดงคล้ำ เพราะประกอบด้วยเลือด เมือก และเศษรก
2. น้ำคาวปลาเหลืองใส
ออกต่อจากน้ำคาวปลาแดง-ประมาณวันที่ 10 หลังคลอดลูก สีแดงจะจางลงเปลี่ยนเป็นสีชมพูจนถึงเหลืองใส น้ำคาวปลาช่วงนี้น้ำเหลือง เยื่อเมือก เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว
3. น้ำคาวปลาขาว
เกิดขึ้นต่อจากน้ำคาวปลาเหลืองใสไปอีกจนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอดลูก สีของน้ำคาวปลาจะเป็นสีเหลืองขุ่นจนออกไปทางขาว ประกอบด้วย เม็ดเลือดแดง (น้อย) เม็ดเลือดขาว ไขมัน เมือก และเซลบุผนังช่องคลอด
https://th.theasianparent.com/when-will-amniotic-fluid-start-to-fade
น้ำคาวปลา หลังคลอดกี่วันถึงจะหมด
หลังคลอดลูก คุณแม่จะมีของเหลวไหลออกมาจากร่างกายเรียกว่าน้ำคาวปลา ซึ่งน้ำคาวปลานี้คือ สิ่งที่ขับออกมาจากแผลภายในมดลูก จากบริเวณที่รกเกาะอยู่นั่นเอง โดยปกติแล้ว น้ำคาวปลาไม่ได้เป็นอันตรายอะไร เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่คุณแม่ควรหมั่นสังเกตให้ดีๆ ด้วย เพราะหากน้ำคาวปลาผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้ออักเสบ ซึ่งเป็นอันตรายได้ค่ะ
ตลอดระยะเวลาที่แม่ท้องมีน้ำคาวปลาออกมา จะมีปริมาณทั้งหมดประมาณ 200-500 มิลลิลิตร และปริมาณน้ำคาวปลาจะค่อย ๆ ลดลง และหมดไป เมื่อแผลในโพรงมดลูกซ่อมแซมปิดสนิท โดยทั่วไปจะใช้เวลา 3-4 สัปดาห์หลังคลอด น้ำคาวปลาก็จะหมดไป แต่ยังมีแม่ท้องบางรายที่อาจมีน้ำคาวปลานานไปถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด
“น้ำคาวปลา” แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
- น้ำคาวปลาแดง (lochia rubra) มีลักษณะสีแดงช้ำ ๆ คล้ำ ๆ เพราะประกอบด้วยเลือด เมือก และเศษรก โดยออกมาตั้งแต่วันแรกหลังคลอดแล้วออกอยู่นาน 3-5 วัน
- น้ำคาวปลาเหลืองใส (lochia serosa) ที่ออกต่อจากน้ำคาวปลาแดงไปจนถึงประมาณวันที่ 10 หลังคลอด โดยจะเริ่มจางลงและมีการเปลี่ยนสีเป็นน้ำตาลหรือชมพูแล้วค่อย ๆ กลายเป็นเหลืองใส
- น้ำคาวปลาขาว (lochia alba) ออกต่อจากน้ำคาวปลาเหลืองใสไปอีกจนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด จะมีสีเหลืองขุ่นจนออกไปทางขาว และปริมาณน้ำคาวปลาจะค่อย ๆ ลดลงจนแห้งสนิท
ทีนี้ในระหว่างที่คุณแม่มีน้ำคาวปลาไหลออกก็สามารถหาผ้าอนามัยมารองใส่เหมือนยามช่วงที่ประจำเดือนมา โดยหมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ เพื่อจะได้ไม่อับชื้น สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ แต่ไม่ควรแช่น้ำ หรือว่ายน้ำในช่วงที่มีน้ำคาวปลาออก เพราะอาจทำให้มีน้ำเข้าไปโพรงมดลูก และเกิดการติดเชื้อ ที่สำคัญต้องคอยสังเกตดูว่า น้ำคาวปลาที่ออกมา มีกลิ่นเหม็นหรือไม่ หรือมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์นะคะ
ยาขับน้ำคาวปลา ควรกินไหม
รศ.พญ.สายฝน ชวาลไพบูลย์ ภาควิชาสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวถึงการดื่มยาดอง หรือยาขับน้ำคาวปลาหลังคลอดไว้ว่า มีคนจำนวนมากเชื่อกันว่า น้ำคาวปลา คือ ของเสียที่ต้องขับออกมาให้มาก ๆ ทำให้มีแม่หลังคลอดหลายคน เกิดอาการตกเลือดจากการกินยาขับน้ำคาวปลา บางรายถึงกับหมดสติ ต้องให้เลือดช่วยชีวิตกันเลยทีเดียว
เพราะฉะนั้น ไม่ควรที่จะไปพยายามขับน้ำคาวปลาให้ออกมาเยอะ ๆ เพราะนอกจากจะเสียเลือดเพิ่มโดยไม่จำเป็นแล้ว บรรดายาขับน้ำคาวปลา หรือยาดองทั้งหลาย มักมีแอลกอฮอล์ผสม ซึ่งจะผ่านออกมาในน้ำนมได้ เมื่อลูกดูดนมแม่ก็จะส่งผลเสียต่อลูกน้อยอีกด้วย
ลักษณะของน้ำคาวปลา 3 ระยะ
โดยปกติแล้ว น้ำคาวปลาจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ดังนี้ค่ะ
1. น้ำคาวปลาแดง
เกิดขึ้น 3-5 วันหลังคลอดลูก สีของน้ำคาวปลาเป็นสีแดงคล้ำ เพราะประกอบด้วยเลือด เมือก และเศษรก
2. น้ำคาวปลาเหลืองใส
ออกต่อจากน้ำคาวปลาแดง-ประมาณวันที่ 10 หลังคลอดลูก สีแดงจะจางลงเปลี่ยนเป็นสีชมพูจนถึงเหลืองใส น้ำคาวปลาช่วงนี้น้ำเหลือง เยื่อเมือก เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว
3. น้ำคาวปลาขาว
เกิดขึ้นต่อจากน้ำคาวปลาเหลืองใสไปอีกจนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอดลูก สีของน้ำคาวปลาจะเป็นสีเหลืองขุ่นจนออกไปทางขาว ประกอบด้วย เม็ดเลือดแดง (น้อย) เม็ดเลือดขาว ไขมัน เมือก และเซลบุผนังช่องคลอด
https://th.theasianparent.com/when-will-amniotic-fluid-start-to-fade