สีสันหุ้นขนาดเล็กที่สร้างผลกำไรมากมายเท่ากับขาดทุนย่อยยับให้กับนักลงทุนในครึ่งปีแรก 2564 ให้เห็นจำนวนมาก และในทำเนียบหุ้นร้อนแรงสุดอันตรายต้องมีชื่อ บริษัท เซเว่น ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ "7UP" ติดอันดับต้นๆ จากราคาหุ้นที่เป็นทั้งสวรรค์ของนักลงทุนเกือบ 6 เกือน ก่อนจะลากลงตกสวรรค์ช่วงระยะเวลา 7 วัน ทำให้หุ้น "7UP" คือหุ้นราคาแพงที่นักลงทุนได้-เสีย กันเป็นจำนวนมาก!!!
ความเคลื่อนไหวสุดร้อนแรงของ "หุ้น 7UP" ดังกล่าวเริ่มมีกระแสเล็กๆ ตั้งแต่ปลายปี 2563 จากบริษัทมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนด้วยการออกหุ้นเพิ่มทุน รองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ จนทำให้เกิดกระแสข่าวจะมีทุนใหม่เข้ามา ราคาหุ้นไม่ถึงบาท ซื้อขายระหว่าง 0.30 -0.40 บาท มาปิดที่สิ้นปี 2563 ที่ 0.55 บาท (29 ธ.ค.2563)
ขณะนั้นบริษัทดำเนินธุรกิจหลักที่สร้างรายได้มากที่สุดกลุ่มธุรกิจสถานีบริการแก๊สและน้ำมัน รองลงมากลุ่มธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม และ Internet of Things (IoT) และธุรกิจพลังงานทดแทน -สาธารณูปโภค จนไปถึงธุรกิจกำจัดกากอุตสาหกรรม ปี 2563 ปริมาณการขายก๊าซ LPG ที่เพิ่มสูงขึ้นราคาพลังงานที่ฟื้นตัวทำให้บริษัทมีกำไร 122.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 162.74 % แต่ทั้งปีบริษัทมีรายการพิเศษรับรู้ครั้งเดียวมากถึง 334.84 ล้านบาท เช่น ขายเงินลงทุนและรับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย
หากแต่การจุดพลุครั้งใหญ่ของ 7UP ออก “สตาร์ทยกแรก” ขึ้นไปถึงระดับราคา 1 บาท หรือเรียกว่า 2 เด้ง คือปลายเดือนม.ค. กับรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ชุดใหม่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น คือ “พล.ต.ต.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง” และลูกชาย “รชต พุ่มพันธุ์ม่วง” รวม 363 ล้านหุ้นหรือ 8 % ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธุรกิจ LPG ใน บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี จำกัด (มหาชน) หรือ WP
หรือแม้แต่นักการเมือง “ธีรพล นพรัมภา” หรือ บิ๊กโป๋ว มีดีกรี อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สมัย นายสมัคร สนุทรเวช และอดีตปลัดเมืองพัทยา เข้ามาร่วมลงขันในกลุ่มผู้ถือหุ้นชุดใหม่ จนกลายเป็นบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงหรือมี “สตอรี่” เกิดขึ้น
ต่อด้วยเด้งที่ 3 ช่วงราคากระโดดไปถึง 1.60- 1.70 บาท เดือนมิ.ย. จากการให้ข้อมูลทางบริษัทถึงการเปลี่ยนแปลงแบบมีนัยยะสำคัญ ตั้งแต่การเข้าซื้อหุ้นทั้งหมด ธุรกิจน้ำประปาจังหวัดภูเก็ต ที่เหลือ 40 % กลายเป็น 81 % จาก บริษัท บางกอก เดค-คอน จำกัด (มหาชน) หรือ BKD จำนวน 550 ล้านบาท
พร้อมปูทางเข้าสู่ธุรกิจพลังงาน และสาธารณูปโภคเต็มตัว ด้วยการขายหุ้นในบริษัทย่อยทำธุรกิจสื่อสารโทรคมนา และ IoT รวด 2 บริษัท คือ บริษัท เอ็ม โซลูชั่น จำกัด และ บริษัท อินฟอร์เมติกส์ พลัส จำกัด รวมมูลค่า 130 ล้านบาท แต่ยังตั้งเป้ารายได้ปีนี้ไว้สูงถึงที่ 2,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงกว่าในรอบ 5 ปีที่บริษัททำรายได้ สูงสุดที่ 1,360 ล้านบาทปี 2563
โดยเชื่อมั่นว่าธุรกิจผลิตน้ำประปาดังกล่าวมีอัตรากำไรสูงถึง 50 % และเป็นสัญญาสัปทาน 30 ปี มีกำลังผลิต 48,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน ขยายเพิ่มเติมเป็น 96,000 ลูกบาศก์เมตร/วันภายในปี 2565-2566 ประจวบจังหวะไทยกำลังเข้าสู่การเปิดโครงการ “ภูเก็ตแซนด์บ็อกกซ์ ” วันที่ 1 ก.ค. 2564 ซึ่งในช่วงปกติภูเก็ตจะมีความต้องการน้ำประปามากกว่า 40,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน เป็นข่าวชั้นดีที่หนุนราคาหุ้น
ราคาหุ้นจึงสามารถขับเคลื่อนขึ้นได้ต่อเพราะมีนักลงทุนรายย่อยได้รับทราบข้อมูลและพร้อมเข้ามาร่วมลงทุนในระดับราคาดังกล่าวมากขึ้น อีกนัย กล่าวได้ว่า จังหวะ "เรียกแขก" ระหว่างนั้น ทางกลุ่ม "พุ่มพันธุ์ม่วง" เข้ามาเก็บหุ้น 7UP เพิ่มเข้าพอร์ตอีก
เมื่อกระแสข่าวเริ่มหมดแต่แรง “ซื้อกำไร” ของมหาชน ในตลาดหุ้นพึ่งเริ่มขึ้นจึงทำให้ราคาสามารถขึ้นแตะ 2 บาท จนในที่สุดวอลลุ่มการซื้อขายหนาแน่นพันล้านบาทสำหรับหุ้นขนาดเล็ก มาร์เก็ตแคป 8,000 ล้านบาท ทำให้ราคาขึ้นไปสูงสุดในปลายเดือนก.ค. ที่ 3.58 บาท (27 ก.ค.64) รวมแล้วหุ้นเพิ่มขึ้น 900 %
สอดคล้องกับราคาหุ้นลูก 7UP-W4 ราคาใช้สิทธิ 1.25 บาทไม่ทำให้สายเก็งกำไรผิดหวัง ราคาขึ้นไปถึง 1.81 บาท (21 ก.ค.64) ทำให้เกิดกำไรทุกราคาทั้งหุ้นแม่และหุ้นลูก จนแม้แต่มาตราการระงับความร้อนแรงของราคาหุ้นด้วย Cash Balance ที่ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินการหุ้น 7UP และ 7U –W4 มาต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเม.ย. ยังสู้แรงคาดหวังของคนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นไทยไม่ได้
จน 7 วันที่ผ่านมา (29 ก.ค. – 6 ส.ค. 64 ) ราคาหุ้น 7UP เจอแรงเทขายทุกราคาร่วงหลุดมาถึง 1.20 บาท หรือลดลง 66 % ซึ่งมองได้ว่าเป็นหุ้นสายโหดสำหรับนักลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ช่วง 6 เดือนย่อมมีนักลงทุนได้กำไรจากหุ้นตัวนี้เป็นกอบกำไรในทุกราคาที่เพิ่มขึ้น
เคสของหุ้น 7UP เจอะเจอได้ตลอดการลงทุนในตลาดหุ้นทุกยุคทุกสมัย ว่าการเก็งกำไรในหุ้นที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอาจจะเกิดขึ้นจริง หรือ อาจไม่มีอะไร แต่เมื่อราคาหุ้นขึ้นไปบนความ “คาดหวัง “ “ความโลภ” ต้องยอมจ่ายด้วยราคาแพงเมื่อเกมจบรอบ กลายเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ออกจากหุ้น
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/953360
'7UP' เปิด-ปิดเกม 'หุ้นอันตราย' ผลตอบแทนที่ต้องจ่ายแพง
ความเคลื่อนไหวสุดร้อนแรงของ "หุ้น 7UP" ดังกล่าวเริ่มมีกระแสเล็กๆ ตั้งแต่ปลายปี 2563 จากบริษัทมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนด้วยการออกหุ้นเพิ่มทุน รองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ จนทำให้เกิดกระแสข่าวจะมีทุนใหม่เข้ามา ราคาหุ้นไม่ถึงบาท ซื้อขายระหว่าง 0.30 -0.40 บาท มาปิดที่สิ้นปี 2563 ที่ 0.55 บาท (29 ธ.ค.2563)
ขณะนั้นบริษัทดำเนินธุรกิจหลักที่สร้างรายได้มากที่สุดกลุ่มธุรกิจสถานีบริการแก๊สและน้ำมัน รองลงมากลุ่มธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม และ Internet of Things (IoT) และธุรกิจพลังงานทดแทน -สาธารณูปโภค จนไปถึงธุรกิจกำจัดกากอุตสาหกรรม ปี 2563 ปริมาณการขายก๊าซ LPG ที่เพิ่มสูงขึ้นราคาพลังงานที่ฟื้นตัวทำให้บริษัทมีกำไร 122.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 162.74 % แต่ทั้งปีบริษัทมีรายการพิเศษรับรู้ครั้งเดียวมากถึง 334.84 ล้านบาท เช่น ขายเงินลงทุนและรับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย
หากแต่การจุดพลุครั้งใหญ่ของ 7UP ออก “สตาร์ทยกแรก” ขึ้นไปถึงระดับราคา 1 บาท หรือเรียกว่า 2 เด้ง คือปลายเดือนม.ค. กับรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ชุดใหม่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น คือ “พล.ต.ต.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง” และลูกชาย “รชต พุ่มพันธุ์ม่วง” รวม 363 ล้านหุ้นหรือ 8 % ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธุรกิจ LPG ใน บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี จำกัด (มหาชน) หรือ WP
หรือแม้แต่นักการเมือง “ธีรพล นพรัมภา” หรือ บิ๊กโป๋ว มีดีกรี อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สมัย นายสมัคร สนุทรเวช และอดีตปลัดเมืองพัทยา เข้ามาร่วมลงขันในกลุ่มผู้ถือหุ้นชุดใหม่ จนกลายเป็นบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงหรือมี “สตอรี่” เกิดขึ้น
ต่อด้วยเด้งที่ 3 ช่วงราคากระโดดไปถึง 1.60- 1.70 บาท เดือนมิ.ย. จากการให้ข้อมูลทางบริษัทถึงการเปลี่ยนแปลงแบบมีนัยยะสำคัญ ตั้งแต่การเข้าซื้อหุ้นทั้งหมด ธุรกิจน้ำประปาจังหวัดภูเก็ต ที่เหลือ 40 % กลายเป็น 81 % จาก บริษัท บางกอก เดค-คอน จำกัด (มหาชน) หรือ BKD จำนวน 550 ล้านบาท
พร้อมปูทางเข้าสู่ธุรกิจพลังงาน และสาธารณูปโภคเต็มตัว ด้วยการขายหุ้นในบริษัทย่อยทำธุรกิจสื่อสารโทรคมนา และ IoT รวด 2 บริษัท คือ บริษัท เอ็ม โซลูชั่น จำกัด และ บริษัท อินฟอร์เมติกส์ พลัส จำกัด รวมมูลค่า 130 ล้านบาท แต่ยังตั้งเป้ารายได้ปีนี้ไว้สูงถึงที่ 2,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงกว่าในรอบ 5 ปีที่บริษัททำรายได้ สูงสุดที่ 1,360 ล้านบาทปี 2563
โดยเชื่อมั่นว่าธุรกิจผลิตน้ำประปาดังกล่าวมีอัตรากำไรสูงถึง 50 % และเป็นสัญญาสัปทาน 30 ปี มีกำลังผลิต 48,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน ขยายเพิ่มเติมเป็น 96,000 ลูกบาศก์เมตร/วันภายในปี 2565-2566 ประจวบจังหวะไทยกำลังเข้าสู่การเปิดโครงการ “ภูเก็ตแซนด์บ็อกกซ์ ” วันที่ 1 ก.ค. 2564 ซึ่งในช่วงปกติภูเก็ตจะมีความต้องการน้ำประปามากกว่า 40,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน เป็นข่าวชั้นดีที่หนุนราคาหุ้น
ราคาหุ้นจึงสามารถขับเคลื่อนขึ้นได้ต่อเพราะมีนักลงทุนรายย่อยได้รับทราบข้อมูลและพร้อมเข้ามาร่วมลงทุนในระดับราคาดังกล่าวมากขึ้น อีกนัย กล่าวได้ว่า จังหวะ "เรียกแขก" ระหว่างนั้น ทางกลุ่ม "พุ่มพันธุ์ม่วง" เข้ามาเก็บหุ้น 7UP เพิ่มเข้าพอร์ตอีก
เมื่อกระแสข่าวเริ่มหมดแต่แรง “ซื้อกำไร” ของมหาชน ในตลาดหุ้นพึ่งเริ่มขึ้นจึงทำให้ราคาสามารถขึ้นแตะ 2 บาท จนในที่สุดวอลลุ่มการซื้อขายหนาแน่นพันล้านบาทสำหรับหุ้นขนาดเล็ก มาร์เก็ตแคป 8,000 ล้านบาท ทำให้ราคาขึ้นไปสูงสุดในปลายเดือนก.ค. ที่ 3.58 บาท (27 ก.ค.64) รวมแล้วหุ้นเพิ่มขึ้น 900 %
สอดคล้องกับราคาหุ้นลูก 7UP-W4 ราคาใช้สิทธิ 1.25 บาทไม่ทำให้สายเก็งกำไรผิดหวัง ราคาขึ้นไปถึง 1.81 บาท (21 ก.ค.64) ทำให้เกิดกำไรทุกราคาทั้งหุ้นแม่และหุ้นลูก จนแม้แต่มาตราการระงับความร้อนแรงของราคาหุ้นด้วย Cash Balance ที่ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินการหุ้น 7UP และ 7U –W4 มาต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเม.ย. ยังสู้แรงคาดหวังของคนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นไทยไม่ได้
จน 7 วันที่ผ่านมา (29 ก.ค. – 6 ส.ค. 64 ) ราคาหุ้น 7UP เจอแรงเทขายทุกราคาร่วงหลุดมาถึง 1.20 บาท หรือลดลง 66 % ซึ่งมองได้ว่าเป็นหุ้นสายโหดสำหรับนักลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ช่วง 6 เดือนย่อมมีนักลงทุนได้กำไรจากหุ้นตัวนี้เป็นกอบกำไรในทุกราคาที่เพิ่มขึ้น
เคสของหุ้น 7UP เจอะเจอได้ตลอดการลงทุนในตลาดหุ้นทุกยุคทุกสมัย ว่าการเก็งกำไรในหุ้นที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอาจจะเกิดขึ้นจริง หรือ อาจไม่มีอะไร แต่เมื่อราคาหุ้นขึ้นไปบนความ “คาดหวัง “ “ความโลภ” ต้องยอมจ่ายด้วยราคาแพงเมื่อเกมจบรอบ กลายเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ออกจากหุ้น https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/953360