ขอถามว่าวัคซีนm Rna เขาไปเอาrna ส่วนที่เป็นปุ่มนามมาจากไหนมาทำ

ขอถามว่าวัคซีนm Rna เขาไปเอาrna ส่วนที่เป็นปุ่มนามมาจากไหนมาทำ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
1) อย่างที่เราทราบดีอยู่แล้วว่า "สารก่อภูมิต้านทาน" (Antigen) ที่วัคซีนแบบ mRNA นำมาใช้คือ spike หรือ หนามของตัวไวรัส ซึ่งหลังจากจีนได้ถอดรหัสพันธุกรรมของโควิด-19 มาได้เมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว และโพสลงอินเตอร์เน็ต ก็ทำให้ชาวโลกสามารถรู้ได้เลยว่า ส่วนรหัสพันธุกรรมหนามของของโควิด-19 นั้นอยู่ตรงไหนของบนแผนที่ยีนส์ ( genetic map) ของโควิด-19 ทั้งตัว เนื่องจากว่ามีการศึกษาและถอดรหัสพันธุกรรมพวก Coronaviruses ตัวอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันมาก่อนหน้านี้แล้ว อย่างเช่นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรค SARS , MERS เป็นต้น

2) หลังจากนักวิจัยได้ รหัสพันธุกรรมของ "หนาม" ของไวรัสแล้ว ก็ยังไม่สามารถนำไปใช้ได้เลย จะต้องมีการนำไป ปรับปรุง ดัดแปลง บางสิ่งบางอย่างเพื่อให้เกิดความเหมาะสม และแก้ปัญหาบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ของมวลมนุษย์ชาติมาจากหลายแหล่งที่สะสมมายาวนาน ไม่ใช่เพียงแค่บริษัทผู้ผลิตเพียงผู้เดียว ขอยกตัวอย่างที่เป็น รหัสพันธุกรรมของตัว spike ซึ่งบริษัท BioNTech แก้ไข ดัดแปลง แล้วนำไปใช้ผลิตวัคซีนจริง ๆ เป็นเอกสารที่หลุดมาจากองค์การอนามัยโลกตั้งแต่เดือนธันวาคม 2020 และทางบริษัท BioNTech ยืนยันว่า เอกสารนี้เป็นของจริง ถ้าต้องการรู้ว่าแตกต่างรหัสพันธุกรรมแท้ ๆ ของ covid-19 ตรงไหนบ้างก็ลองไปนั่งเปรียบเทียบดู

ไปโหลดเอาของจริงมาเลยครับ https://berthub.eu/articles/11889.doc

ส่วน รหัสพันธุกรรมของหนามของ Moderna ใช้นั้น ไม่มีการเปิดเผยออกมา แต่ว่า ทางนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ได้มีการทำ วิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse Engineering) จากวัคซีนที่เหลือก้นขวด ไปดูที่นี้ได้เลย
https://github.com/NAalytics/Assemblies-of-putative-SARS-CoV2-spike-encoding-mRNA-sequences-for-vaccines-BNT-162b2-and-mRNA-1273/blob/main/Assemblies%20of%20putative%20SARS-CoV2-spike-encoding%20mRNA%20sequences%20for%20vaccines%20BNT-162b2%20and%20mRNA-1273.docx.pdf

รหัสพันธุกรรม ที่ได้จากการทำ วิศวกรรมย้อนกลับ ของนักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดนั้น ทาง Moderna ไม่ได้ออกมายอมรับ หรือ ปฎิเสธ เหมือนอย่าง BioNTech

3)เมื่อได้รหัสพันธุกรรมนี้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การตัดต่อพันธุกรรม โดยบริษัทผู้ผลิตเลือกใช้ แบคทีเรีย ชื่อ Escherichia coli (E. coli) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบได้ในลำใส้ของคน เป็นแบคทีเรีย ที่เลี้ยงง่าย กินง่าย เจริญเติบโตเร็วมาก

   ในแบคทีเรีย E. coli ชนิดนี้ มีโครงสร้างซึ่งอยู่ในเมมเบรนของเซลล์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า plasmid ซึ่งมันเป็น DNA แต่ว่า อยู่นอกโครโมโซมของแบคทีเรีย มันมีสาย DNA เป็นรูปวงกลม และสามารถ clone ตัวมันเองได้ โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับยีนส์ที่อยู่ในโครโมโซมของแบคทีเรีย สาย DNA ที่เป็นวงกลมไม่มีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุด และสามารถตัดต่อเอายีนส์ ของสิ่งอื่นไปแทรกได้

   เมื่อถึงตรงนี้ทางผู้ผลิตก็จะเอาส่วนพันธุกรรมของ spike ของ โควิด-19 แทรกเข้าไปใน DNA ของ plasmid นี้

4) เมื่อได้ plasmid ที่ได้ตัดต่อพันธุกรรมที่ได้นำเอาส่วนของ spike แทรกต่อไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การนำ plasmid เข้าไปในตัวแบคทีเรีย E. coli ด้วยการให้อุณหภูมิสุงขึ้น หรือ การช๊อคด้วยกระแสไฟฟ้า ทำให้ผนังเซลล์ หรือ เมมเบรน ของ E. coli เกิดเป็นรูเล็ก ๆ ชั่วคราว แล้วทำให้ plasmid แทรกเข้าไปได้ เมื่อลดอุณหภูมิลง รูเล็ก ๆ ที่อยู่บนผิวเซลล์ก็จะหายไป ถ้าไม่หายแบคทีเรีย E. coli จะตาย

    จากนั้นนำแบคทีเรีย  E. coli ที่ได้รับการตัดต่อพันธุกรรมนี้ไปเลี้ยงไว้ในถังปฏิกรณ์ชีวภาพ (bioreactor) ให้เจริญเติบโต ก็อย่างรู้ว่า มันเลี้ยงง่าย และ โตเร็วมาก เมื่อแบ่งตัว plasmid ที่ได้รับการตัดต่อพันธุกรรมก็จะติดตัวไปด้วย ตัว plasmid เองก็สามารถ clone เพิ่มจำนวนตัวเองได้ภายในแบคทีเรียด้วย

5)เมื่อเลี้ยงให้มันขยายตัวได้ประมาณ 4 วัน ก็ฆ่าแบคทีเรีย E. coli ให้ตาย แล้ว จากทำการกรองเอาเฉพาะส่วนที่เป็น plasmid ซึ่งมี DNA ที่ได้รับการตัดต่อพันธุกรรม

6) นำ DNA นี้ไปเป็นแม่แบบเพื่อผลิต mRNA ออกมา ตามแบบต้องการ แต่ว่ายังไม่ได้แบบรหัสพันธุกรรมอย่างในข้อ 1 หรอก ต้องไปผ่านกระบวนการอื่นเพิ่มขึ้นอีกเพื่อแก้ไขไม่ให้ mRNA สลายตัวง่าย

สำหรับ Pfizer/BioNTech  นั้น ทำการ outsource การผลิต DNA ให้โรงงานแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา แล้วส่งขึ้นเครื่องบินไปยังโรงงานอีกแห่ง ทั้งในสหรัฐอเมริกา และ เยอรมัน เพื่อทำ mRNA จาก DNA

ส่วน Moderna นั้น outsource การผลิต DNA ให้โรงงานที่สวิตเซอร์แลนด์เป็นผู้ผลิต และ ทำการผลิต mRNA ด้วยเลย โดยไม่ต้องขนย้าย แต่จะส่งกลับไปทำ mRNA-lipid nanoparticle ที่โรงงานของ Moderna ที่สหรัฐอเมริกา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่