สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
เพราะข้อมูลพวกนี้มีค่าใช้จ่ายครับ และค่าใช้จ่ายก็แปรผันตามความเร็วของข้อมูล ฟีดภาพและความครอบคลุมของข้อมูลด้วย
ความเร็วของข้อมูล
สถิติหลังแข่งจบไปแล้ว 24hrขึ้นไป: ถูกหน่อย ใช้การดูดคลิปถ่ายทอดสดออนไลน์แล้วค่อยให้คนนั่งทำสถิติ
สถิติสดระหว่างเกม: ต้องมีคนนั่งทำสดระหว่างแข่ง อาจจะหาคนไปนั่งสดที่สนาม (พวกบริษัทพนันชอบใช้) หรือนั่งดูถ่ายทอดสดและทำสถิติไปด้วย
ฟีดภาพ
ภาพถ่ายทอดสด: หาได้ง่าย ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่ม แต่ความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อมูลอาจอยู่ที่ประมาน 80%-90% เพราะภาพจับไม่ครบหรือมีการตัดรีเพลย์
scouting feed: เป็นมุมมองที่เห็นผู้เล่น outfield 20 คน พร้อมกันในสนาม ทำให้เก็บสถิติได้ครบ แต่ต้องลงทุนตั้งกล้องถ่าย ซึ่งอาจต้องมีมากกว่า 1 กล้องในการเก็บภาพทั้งหมด
จำนวนข้อมูล
event data: ข้อมูลเหตุการณ์ เช่น การยิง การส่ง การปะทะ ฟรีคิก และอื่นๆ พวกนี้ใช้คนนั่งนับได้ไม่ยาก จะเป็นข้อมูลเบสิคที่มักเก็บกันได้
positioning data: ข้อมูลที่เกิดจากตำแหน่งบนสนามของผู้เล่น มักสังเคราะห์ออกมาได้เป็นระยะทางการวิ่ง ความเร็ว จำนวนสปรินท์ และอื่นๆ ในสโมสรทั่วไปมักจะใช้ gps vest ในการเก็บข้อมูลซึ่งราคาก็หลักแสนต่อปีต่อทีมขึ้นอยู่กับแพคเกจที่ใช้ แต่ถ้าลีกจะใช้ต้องไปเอาข้อมูลนี้ด้วยวิธี optical tracking ซึ่งต้นทุนจะสูงมาก เพราะติดตั้งกล้องหลายตัวเพื่อแปลงข้อมูลเป็นตัวเลข ยิงทำสดแบบบอลรายการใหญ่ๆยิ่งแพง
ถามว่าไทยลีกอยู่ตรงไหนของการเก็บข้อมูลตรงนี้ คำตอบคือไม่มีการเก็บข้อมูลอย่างละเอียดใดๆทั้งสิ้นครับ เพราะค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงนั้นเอง การจะเก็บให้ครบและทำแบบสดๆด้วยนั้น ต่ำๆปีนึงน่าจะมีสิบล้านขึ้นไป ประกอบกับแต่ละสโมสรมีการใช้งานแพลทฟอร์มสถิติในราคาที่ไม่สูงอยู่แล้ว (หลักปลายหมื่นถึงแสนต้นๆ)จึงอาจจะยังไม่อยากลงทุนตรงนี้
ส่วนถ้าสงสัยว่าแล้วทำไมแพลทฟอร์มสถิติที่ใช้กันถึงราคาไม่ได้แรงก็ต้องบอกว่าต้นทุนพวกนี้ค่อนข้างต่ำ มักใช้การเซฟคลิปตามทีวีหรือออนไลน์มาใช้กันฟรีๆแบบไม่มีลิขสิทธิ์ครอบคลุม และจ้างทีมงานมานั่งดูกดสถิติกันนั่นแหละครับ ก็ถือว่าเป็นคุณภาพที่ดีที่สุดที่ลีกไทยจะมีกันได้แล้ว แม้ความถูกต้องจะไม่เต็มร้อยก็ตาม
แล้วลีกอื่นเค้าใช้อะไรกัน ทำไมถึงลงทุน ต้องบอกว่าแต่ละลีกมีความแตกต่างกันตามงบประมาณและความบ้าในสถิติส่วนตัวครับ บางลีกมีการให้ข้อมูลกับสโมสรใช้ฟรีๆรวมถึงสื่อด้วย ส่วนบางลีกก็มีการเก็บเงินกันไปโดยหักจากผลประโยชน์ที่ทีมนั้นๆจะได้ในแต่ละปี
ถ้าอยากศึกษาเพิ่มเติม นี่คือตัวอย่างของบริษัทที่ลีกชั้นนำ.ในเอเชียใช้กันครับ
J-League: Data Stadium เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นมาโดยสื่อกีฬา และค่ายโทรคมนาคมเพื่อเก็บสถิติกีฬาอาชีพในญี่ปุ่น ด้วยการนำเข้าเทคโนโลยีดีๆมาใช้งาน สโมสรในเจลีกมีค่าใช้จ่ายจากการได้ scouting feed และสถิติไปใช้งานนะครับ
https://www.football-lab.jp/
K-League: Bepro11 เป็นสตาร์ทอัพเกาหลีที่ทำด้านเทคโนโลยีเก็บข้อมูลฟุตบอลโดยเฉพาะ ทำงานกับ KFA ตั้งแต่เยาวชนถึงบอลลีก ตอนนี้มีไปให้บริการข้ามไปในยุโรปแล้วเหมือนกัน
https://data.kleague.com/
ถ้าสนใจเรื่องสถิติความเร็ว ระยะการวิ่ง ที่เรียกว่า positioning data เป็นหลัก ตัวเทพของวงการจะเป็น Chyronhego ใช้ในทุกทัวร์นาเมนท์ใหญ่ๆแบบ UCL บอลโลก หรือบอลยูโรเลยครับ กล้อง 10ตัวทั่วสนาม คิดดูว่าแพงแค่ไหน อ้อ... บอลทีมชาติที่ไทยรัฐทีวีถ่ายก็มีใช้สถิติพวกนี้นะครับ มาจากบริษัทชื่อ STATS เคยเหนสปอนเซฮร์ทีมนึงในไทยลีกด้วย
ความเร็วของข้อมูล
สถิติหลังแข่งจบไปแล้ว 24hrขึ้นไป: ถูกหน่อย ใช้การดูดคลิปถ่ายทอดสดออนไลน์แล้วค่อยให้คนนั่งทำสถิติ
สถิติสดระหว่างเกม: ต้องมีคนนั่งทำสดระหว่างแข่ง อาจจะหาคนไปนั่งสดที่สนาม (พวกบริษัทพนันชอบใช้) หรือนั่งดูถ่ายทอดสดและทำสถิติไปด้วย
ฟีดภาพ
ภาพถ่ายทอดสด: หาได้ง่าย ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่ม แต่ความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อมูลอาจอยู่ที่ประมาน 80%-90% เพราะภาพจับไม่ครบหรือมีการตัดรีเพลย์
scouting feed: เป็นมุมมองที่เห็นผู้เล่น outfield 20 คน พร้อมกันในสนาม ทำให้เก็บสถิติได้ครบ แต่ต้องลงทุนตั้งกล้องถ่าย ซึ่งอาจต้องมีมากกว่า 1 กล้องในการเก็บภาพทั้งหมด
จำนวนข้อมูล
event data: ข้อมูลเหตุการณ์ เช่น การยิง การส่ง การปะทะ ฟรีคิก และอื่นๆ พวกนี้ใช้คนนั่งนับได้ไม่ยาก จะเป็นข้อมูลเบสิคที่มักเก็บกันได้
positioning data: ข้อมูลที่เกิดจากตำแหน่งบนสนามของผู้เล่น มักสังเคราะห์ออกมาได้เป็นระยะทางการวิ่ง ความเร็ว จำนวนสปรินท์ และอื่นๆ ในสโมสรทั่วไปมักจะใช้ gps vest ในการเก็บข้อมูลซึ่งราคาก็หลักแสนต่อปีต่อทีมขึ้นอยู่กับแพคเกจที่ใช้ แต่ถ้าลีกจะใช้ต้องไปเอาข้อมูลนี้ด้วยวิธี optical tracking ซึ่งต้นทุนจะสูงมาก เพราะติดตั้งกล้องหลายตัวเพื่อแปลงข้อมูลเป็นตัวเลข ยิงทำสดแบบบอลรายการใหญ่ๆยิ่งแพง
ถามว่าไทยลีกอยู่ตรงไหนของการเก็บข้อมูลตรงนี้ คำตอบคือไม่มีการเก็บข้อมูลอย่างละเอียดใดๆทั้งสิ้นครับ เพราะค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงนั้นเอง การจะเก็บให้ครบและทำแบบสดๆด้วยนั้น ต่ำๆปีนึงน่าจะมีสิบล้านขึ้นไป ประกอบกับแต่ละสโมสรมีการใช้งานแพลทฟอร์มสถิติในราคาที่ไม่สูงอยู่แล้ว (หลักปลายหมื่นถึงแสนต้นๆ)จึงอาจจะยังไม่อยากลงทุนตรงนี้
ส่วนถ้าสงสัยว่าแล้วทำไมแพลทฟอร์มสถิติที่ใช้กันถึงราคาไม่ได้แรงก็ต้องบอกว่าต้นทุนพวกนี้ค่อนข้างต่ำ มักใช้การเซฟคลิปตามทีวีหรือออนไลน์มาใช้กันฟรีๆแบบไม่มีลิขสิทธิ์ครอบคลุม และจ้างทีมงานมานั่งดูกดสถิติกันนั่นแหละครับ ก็ถือว่าเป็นคุณภาพที่ดีที่สุดที่ลีกไทยจะมีกันได้แล้ว แม้ความถูกต้องจะไม่เต็มร้อยก็ตาม
แล้วลีกอื่นเค้าใช้อะไรกัน ทำไมถึงลงทุน ต้องบอกว่าแต่ละลีกมีความแตกต่างกันตามงบประมาณและความบ้าในสถิติส่วนตัวครับ บางลีกมีการให้ข้อมูลกับสโมสรใช้ฟรีๆรวมถึงสื่อด้วย ส่วนบางลีกก็มีการเก็บเงินกันไปโดยหักจากผลประโยชน์ที่ทีมนั้นๆจะได้ในแต่ละปี
ถ้าอยากศึกษาเพิ่มเติม นี่คือตัวอย่างของบริษัทที่ลีกชั้นนำ.ในเอเชียใช้กันครับ
J-League: Data Stadium เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นมาโดยสื่อกีฬา และค่ายโทรคมนาคมเพื่อเก็บสถิติกีฬาอาชีพในญี่ปุ่น ด้วยการนำเข้าเทคโนโลยีดีๆมาใช้งาน สโมสรในเจลีกมีค่าใช้จ่ายจากการได้ scouting feed และสถิติไปใช้งานนะครับ
https://www.football-lab.jp/
K-League: Bepro11 เป็นสตาร์ทอัพเกาหลีที่ทำด้านเทคโนโลยีเก็บข้อมูลฟุตบอลโดยเฉพาะ ทำงานกับ KFA ตั้งแต่เยาวชนถึงบอลลีก ตอนนี้มีไปให้บริการข้ามไปในยุโรปแล้วเหมือนกัน
https://data.kleague.com/
ถ้าสนใจเรื่องสถิติความเร็ว ระยะการวิ่ง ที่เรียกว่า positioning data เป็นหลัก ตัวเทพของวงการจะเป็น Chyronhego ใช้ในทุกทัวร์นาเมนท์ใหญ่ๆแบบ UCL บอลโลก หรือบอลยูโรเลยครับ กล้อง 10ตัวทั่วสนาม คิดดูว่าแพงแค่ไหน อ้อ... บอลทีมชาติที่ไทยรัฐทีวีถ่ายก็มีใช้สถิติพวกนี้นะครับ มาจากบริษัทชื่อ STATS เคยเหนสปอนเซฮร์ทีมนึงในไทยลีกด้วย
แสดงความคิดเห็น
ผมสงสัยมานานว่า ทำไมไทยลีกถึงไม่มีการทำรีพอร์ทหรือดาต้าว่านักบอลวิ่งกี่กิโลในแต่ละนัด ให้สื่อหรือแฟนบอลได้รู้เหมือนเจลีก
เจลีก ประเทศที่เจริญด้านฟุตบอลมากกว่าเรา เขาทำกันมานานละ ทำไม ไทยลีก ไม่ทำตรงจุดนี้สักที