อนุทิน'ตรวจรับมอบวัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส พร้อมขอบคุณรัฐบาลสหรัฐฯ
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:46 น.
30 ก.ค.64 - เมื่อช่วงเช้าวันที่ 30ก.ค.ที่ท่าอากาศยานสนามบินสุวรรณภูมิ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะผู้บริหาร เดินทางไปตรวจรับมอบวัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 1.5 ล้านโดส ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาสนับสนุนให้ไทย
โดยนายอนุทิน กล่าวว่า ขอขอบคุณรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ได้มอบวัคซีนให้กับประเทศไทยเพื่อป้องกันโรคระบาด ซึ่งการกระจายวัคซีนชุดนี้จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการด้านบริหารจัดการการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
ทั้งนี้ วัคซีนไฟเซอร์ ทั้ง 1.5 ล้านโดส จะต้องเก็บภายใต้อุณหภูมิ -70 ถึง -90 องศาเซลเซียส เพื่อคงประสิทธิภาพของวัคซีน หลังจากนั้น จะกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศตามแผนการฉีดที่กำหนดไว้
https://www.thaipost.net/main/detail/111604
วันนี้ ( 30 ก.ค.64) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงแผนการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ ล็อตบริจาค 1.5 ล้านโดส ว่า เป้าหมายแรกที่จะได้รับวัคซีนไฟเซอร์ คือบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าทั่วประเทศ เพื่อฉีดกระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 จำนวน 700,000 โดส โดยจะสำรวจรายชื่อตามที่โรงพยาบาลต่างๆ ส่งมายัง สธ. แล้วจัดกระจายวัคซีนไปตาม รพ.เป้าหมาย เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์มีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น
2 ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ ที่มีสัญชาติไทย ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงเด็กที่ป่วยในกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง ที่อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป จำนวน 645,000 โดส
3 ชาวต่างชาติ ที่เป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ และนักเรียน นักศึกษาที่ต้องไปเรียนต่อในต่างประเทศ จำนวน 150,000โดส
4 วัคซีนสำหรับการศึกษาวิจัย 5,000 โดส
นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า วัคซีนไฟเซอร์เป็นวัคซีนเข้มข้น ต้องผสมน้ำเกลือ 0.9% จะได้ 2.25 มล. โดย 1 ขวด ฉีดได้ 6 โดส โดสละ 0.3 มล. ใช้ฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ และกำหนดให้ฉีดเข็มแรกกับเข็มที่ 2 ห่างกัน 3 สัปดาห์ หลังนำออกจากห้องควบคุมอุหณหภูมิ -70 องศา จะจัดเก็บได้นาน 1 เดือน ดังนั้นจึงต้องซักซ้อมการฉีด และนัดหมายการฉีดวัคซีนให้แม่นยำ เพื่อไม่ให้วัคซีนเสียหาย โดยคาดว่าวันที่ 5-6 ส.ค.64 จะจัดส่งวัคซีนไปให้โรงพยาบาลต่างๆ และเริ่มฉีดในวันที่ 9 ส.ค.64 โดยเข็มที่ 2 จะฉีดแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือน ส.ค.64
https://news.ch7.com/detail/504064
เปิดรายละเอียดเอกสารกำกับยา "วัคซีนไฟเซอร์" ที่ส่งให้ไทย
วันนี้ (30 ก.ค.) จากการบรรยายพิเศษ Chula Pharma Talk เรื่อง “ประเด็นสำคัญในการเก็บและการเตรียมวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech” ซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ผศ.ภก.ดร.ปดินทร์ ติวสุวรรณ และ ผศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า วัคซีนโควิดชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech ที่สหรัฐอเมริกาจะบริจาคให้ประเทศไทยและจะส่งมอบสู่กลุ่มเป้าหมายคือบุคลากรการแพทย์ด่านหน้าเพื่อพร้อมฉีดในต้นเดือนสิงหาคมนี้ พร้อมกับเปิดเผยรายละเอียด เอกสารกำกับยาของวัคซีนไฟเซอร์ ที่จะมีการนำเข้ามาในประเทศไทยเร็วๆนี้ โดยระบุว่าหากวัคซีนนำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกาจะมีชื่อติดข้างขวดว่า Pfizer-BioNTech COVID-19 vaccine แต่เมื่อขายในแถบประเทศยุโรปและประเทศอื่นๆจะมีใช้ชื่อการค้าว่า COMIRNATY และการคาดว่าวัคซีนไฟเซอร์ที่ไทยจะนำเข้า 20 ล้านโดส อาจจะอยู่ภายใต้ชื่อ COMIRNATY
ส่วนรายละเอียดของเอกสารกำกับยา มีดังนี้....👇
1. ชื่อผลิตภัณฑ์โคเมอร์เนตี(ComirnatyTM)
ชนิดเข้มข้นสำหรับกระจายตัวสำหรับฉีด (Concentrate for dispersion for injection)
วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA Vaccine) สำหรับป้องกันโรคโควิด-19 (นิวคลีโอไซด์ที่ถูกดัดแปลง)
2. ปริมาณและคุณสมบัติของตัวยาสำคัญ
ใน 1 โดส (0.3 มิลลิลิตร) ประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอโควิด-19 (ห่อหุ้มด้วยอนุภาคไขมัน
ขนาดนาโน) (COVID-19 mRNA Vaccine (embedded in lipid nanoparticles)) บรรจุอยู่ 30 ไมโครกรัม
ยานี้บรรจุในขวดแก้วสำหรับใช้หลายครั้ง (multi-dose vial) และจะต้องเจือจางก่อนใช้ใน 1 ขวด (0.45 มิลลิลิตร) บรรจุวัคซีนสำหรับฉีด 6 โดส โดสละ 0.3 มิลลิลิตรหลังเจือจางแล้ว ดูหัวข้อ 4.2.
ขนาดยาและวิธีการใช้ยา และ 6.6. ข้อควรระวังพิเศษในการกำจัดและการบริหารจัดการอื่น
ๆ5’-capped messenger RNA (mRNA) สายเดี่ยว (Single-stranded) ที่ผลิตขึ้นโดย cell-free transcription นอกร่างกาย (in vitro) จากแม่แบบดีเอ็นเอที่ตรงกัน (corresponding DNA templates) เข้ารหัสโปรตีนหนาม(viral spike
) ของไวรัส SARS-CoV-2
ส่วนประกอบอื่น ๆ โปรดดูหัวข้อ 6.1 รายการตัวยาไม่สำคัญ
3.ลักษณะและรูปแบบยาทางเภสัชกรรม
ยาชนิดเข้มข้นสำหรับกระจายตัวสำหรับฉีด (ยาเข้มข้นปราศจากเชื้อ)
วัคซีนแช่แข็งชนิดกระจายตัวที่มีสีขาวถึงสีออกเหลืองอ่อน (pH 6.9 - 7.9
4. คุณสมบัติทางคลินิก
4.1. ข้อบ่งใช้
โคเมอร์เนตีมีข้อบ่งใช้สำหรับฉีดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
4.2. ขนาดยาและวิธีการใช้ยา
ขนาดยา
บุคคลที่มีอายุ12 ปีขึ้นไป
แผนการฉีดโคเมอร์เนตีประกอบด้วยการฉีดวัคซีนหลังเจือจางยาแล้วเข้าทางกล้ามเนื้อในขนาด 0.3 มิลลิลิตร
จำนวน 2 ครั้ง การฉีดกระตุ้นเข็มที่ 2 ควรให้หลังจากการฉีดเข็มแรก 3 สัปดาห์(โปรดดูหัวข้อ 5.1. คุณสมบัติทางเภสัชพลศาสตร์)
แนะนำให้ผู้ที่ได้รับการฉีดโคเมอร์เนตีในเข็มแรก ควรได้รับการฉีดกระตุ้นในเข็มที่ 2 ด้วย โคเมอร์เนตี เช่นเดิม
(โปรดดูหัวข้อ 4.4 คำเตือนพิเศษและข้อควรระวังในการใช้ยา)
เด็ก
ยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัยของโคเมอร์เนตีในเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี
ผู้สูงอายุ
ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยาในผู้สูงอายุที่มีอายุ65 ปีขึ้นไป
วิธีการใช้ยา
ฉีดโคเมอร์เนตีเข้ากล้ามเนื้อเท่านั้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อเดลทอยด์ หลังเจือจางยาแล้ว (ดูหัวข้อ 6.6. ข้อควร
ระวังพิเศษในการกำจัดและการบริหารจัดการอื่น ๆ)
ห้ามฉีดวัคซีนเข้าทางหลอดเลือดดำ ใต้ผิวหนัง หรือทางในผิวหนัง
หลังเจือจางแล้ว โคเมอร์เนตี1 ขวดมีบรรจุวัคซีน 6 โดส โดสละ 0.3 มิลลิลิตร เพื่อให้ได้วัคซีน 6 โดสจาก 1 ขวดควรใช้กระบอกฉีดยาและ/หรือเข็มฉีดยาที่มีปริมาตรยาตกค้างต่ำ (low dead-volume) กระบอกฉีดยาและเข็มฉีดยาที่มีปริมาตรยาตกค้างต่ำควรมีปริมาตรยาตกค้างไม่มากกว่า 35 ไมโครลิตร หากใช้กระบอกฉีดยาและเข็มฉีดยาแบบมาตรฐาน วัคซีน 1 ขวดอาจมีปริมาตรไม่เพียงพอในการดูดวัคซีนสำหรับการฉีดโดสที่ 6
ในทุกการฉีด โดยไม่คำนึงถึงประเภทของกระบอกฉีดยาและเข็มฉีดยา มีข้อกำหนด ดังนี้...👇
• ขนาดวัคซีนสำหรับฉีดแต่ละโดส ต้องมีปริมาตร 0.3 มิลลิลิตร
• หากปริมาณวัคซีนที่เหลืออยู่ในขวดวัคซีนไม่เพียงพอสำหรับการฉีดวัคซีนเต็มโดสที่ขนาด 0.3 มิลลิลิตร
ให้ทิ้งขวดวัคซีนและวัคซีนใด ๆ ที่เหลือในขวด
• ห้ามนำวัคซีนจากหลายขวดวัคซีนมารวมกัน
ห้ามผสมวัคซีนนี้ในกระบอกฉีดยาเดียวกันกับวัคซีนหรือผลิตภัณฑ์ยาชนิดอื่น
สำหรับข้อควรระวังก่อนฉีดวัคซีน ดูหัวข้อ 4.4. คำเตือนพิเศษและข้อควรระวังในการใช้ยา
สำหรับคำแนะนำในการละลายวัคซีน วิธีการเจือจาง การจัดการ และการทิ้งวัคซีน ดูหัวข้อ 6.6. ข้อควรระวัง
พิเศษในการกำจัดและการบริหารจัดการอื่น ๆ
4.3. ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้โคเมอร์เนตีในผู้ที่แพ้ตัวยา หรือส่วนประกอบตัวใดตัวหนึ่งของวัคซีนนี้ (ดูหัวข้อ 2 ปริมาณและ
คุณสมบัติของตัวยาสำคัญ และ 6.1 รายการตัวยาไม่สำคัญ)
4.4. คำเตือนพิเศษและข้อควรระวังในการใช้ยา
การตรวจสอบย้อนกลับ
เพื่อการปรับปรุงการตรวจสอบย้อนกลับของผลิตภัณฑ์ยาชีววัตถุ ควรบันทึกชื่อและรุ่นการผลิตของวัคซีนที่ให้อย่างชัดเจน
ภาวะภูมิไวเกินและการแพ้
มีรายงานพบเหตุการณ์การแพ้แบบ anaphylaxis ควรมีการเตรียมความพร้อมตลอดเวลาสำหรับการดูแล และ
ให้การรักษาที่เหมาะสมในกรณีที่มีการแพ้ยาขั้นรุนแรง (anaphylactic reaction) หลังการฉีดวัคซีน
แนะนำให้มีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดอย่างน้อยที่สุด 30 นาทีหลังฉีดวัคซีน ไม่ควรฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 ให้กับ
ผู้ที่เกิดการแพ้ยาขั้นรุนแรงจากการฉีดวัคซีนครั้งที่ 1
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
พบรายงานการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหลังจากการฉีดโคเมอร์เนตีน้อยมาก รายงานส่วนใหญ่พบในเพศชายวัยหนุ่ม โดยจะเกิดอาการภายใน 14 วันหลังจากการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะภายหลังการฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 จากข้อมูลที่ปรากฏพบว่าการดำเนินโรคของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบภายหลังการได้รับวัคซีนไม่แตกต่างจากการดำเนินโรคของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบในสภาวะปกติ
บุคลากรทางการแพทย์ควรระมัดระวังและสังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ผู้ที่รับการฉีดวัคซีนควรได้รับคำอธิบายถึงวิธีการสังเกตอาการตนเองเพื่อสามารถแจ้งแพทย์ได้ทันท่วงทีหากมีอาการที่อาจบ่งชี้ถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เช่น การเจ็บหน้าอก(แบบเฉียบพลันและอาการคงอยู่) หายใจสั้น หรือใจสั่นภายหลังจากการฉีดวัคซีน
บุคลากรทางการแพทย์ควรดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติหรือปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อวินิจฉัยและรักษาภาวะดังกล่าว
อาการที่เป็นผลจากความวิตกกังวล
อาการที่เป็นผลจากความวิตกกังวลรวมถึง ปฏิกิริยาของเส้นประสาทวากัส (หมดสติ) ภาวะหายใจถี่เร็วกว่าปกติ (hyperventilation) หรือปฏิกิริยาอันเนื่องมาจากความเครียด สามารถเกิดขึ้นร่วมกับการฉีดวัคซีน โดยเป็นการตอบสนองทางจิตใจต่อการฉีดยาด้วยเข็ม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีความระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากการเป็นลม
ความเจ็บป่วยที่กำลังเป็นอยู่
เช่นเดียวกับวัคซีนชนิดอื่น ๆ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปในผู้ที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลันหรือการติดเชื้อเฉียบพลัน อย่างไรก็ตาม ไม่ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไป หากพบอาการของการติดเชื้อเพียงเล็กน้อย เช่น หวัด และ/หรือ มีไข้ต่ำ ๆ
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำและความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
เช่นเดียวกับยาฉีดเข้ากล้ามเนื้ออื่น ๆ ควรฉีดวัคซีนด้วยความระมัดระวังในผู้ที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หรือผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดใด (เช่น โรคฮีโมฟิเลีย) เนื่องจากอาจเกิดภาวะเลือดออกหรือจ้ำเลือดหลังจากการฉีดเข้ากล้ามเนื้อในบุคคลเหล่านี้
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ยังไม่ได้ทำการประเมินประสิทธิผล ความปลอดภัย และความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน ประสิทธิผลของโคเมอร์เนตีอาจลดลงในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ระยะเวลาการป้องกันโรค
ยังไม่ทราบระยะเวลาในการป้องกันโรคของวัคซีนที่ชัดเจนเนื่องจากยังคงอยู่ระหว่างการวิจัย
ติดตามอ่านต่อจากเว็บไซต์ค่ะ....👇
https://mgronline.com/qol/detail/9640000074439
วัคซีนไฟเซอร์ชุดนี้ มาช่วยเพิ่มจำนวนวัคซีนที่คนไทยต้องฉีดให้เร็วที่สุด
ไทยจะลดการติดเชื้อได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
สู้ๆนะคะ.....
⏺มาลาริน/ไฟเซอร์ถึงไทยแล้ว อนุทินรับมอบพร้อมขอบคุณสหรัฐ/เปิดไทม์ไลน์เริ่มฉีดวันที่ 9 สิงหาคมนี้
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:46 น.
30 ก.ค.64 - เมื่อช่วงเช้าวันที่ 30ก.ค.ที่ท่าอากาศยานสนามบินสุวรรณภูมิ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะผู้บริหาร เดินทางไปตรวจรับมอบวัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 1.5 ล้านโดส ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาสนับสนุนให้ไทย
โดยนายอนุทิน กล่าวว่า ขอขอบคุณรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ได้มอบวัคซีนให้กับประเทศไทยเพื่อป้องกันโรคระบาด ซึ่งการกระจายวัคซีนชุดนี้จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการด้านบริหารจัดการการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
ทั้งนี้ วัคซีนไฟเซอร์ ทั้ง 1.5 ล้านโดส จะต้องเก็บภายใต้อุณหภูมิ -70 ถึง -90 องศาเซลเซียส เพื่อคงประสิทธิภาพของวัคซีน หลังจากนั้น จะกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศตามแผนการฉีดที่กำหนดไว้
https://www.thaipost.net/main/detail/111604
วันนี้ ( 30 ก.ค.64) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงแผนการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ ล็อตบริจาค 1.5 ล้านโดส ว่า เป้าหมายแรกที่จะได้รับวัคซีนไฟเซอร์ คือบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าทั่วประเทศ เพื่อฉีดกระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 จำนวน 700,000 โดส โดยจะสำรวจรายชื่อตามที่โรงพยาบาลต่างๆ ส่งมายัง สธ. แล้วจัดกระจายวัคซีนไปตาม รพ.เป้าหมาย เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์มีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น
2 ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ ที่มีสัญชาติไทย ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงเด็กที่ป่วยในกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง ที่อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป จำนวน 645,000 โดส
3 ชาวต่างชาติ ที่เป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ และนักเรียน นักศึกษาที่ต้องไปเรียนต่อในต่างประเทศ จำนวน 150,000โดส
4 วัคซีนสำหรับการศึกษาวิจัย 5,000 โดส
นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า วัคซีนไฟเซอร์เป็นวัคซีนเข้มข้น ต้องผสมน้ำเกลือ 0.9% จะได้ 2.25 มล. โดย 1 ขวด ฉีดได้ 6 โดส โดสละ 0.3 มล. ใช้ฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ และกำหนดให้ฉีดเข็มแรกกับเข็มที่ 2 ห่างกัน 3 สัปดาห์ หลังนำออกจากห้องควบคุมอุหณหภูมิ -70 องศา จะจัดเก็บได้นาน 1 เดือน ดังนั้นจึงต้องซักซ้อมการฉีด และนัดหมายการฉีดวัคซีนให้แม่นยำ เพื่อไม่ให้วัคซีนเสียหาย โดยคาดว่าวันที่ 5-6 ส.ค.64 จะจัดส่งวัคซีนไปให้โรงพยาบาลต่างๆ และเริ่มฉีดในวันที่ 9 ส.ค.64 โดยเข็มที่ 2 จะฉีดแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือน ส.ค.64
https://news.ch7.com/detail/504064
เปิดรายละเอียดเอกสารกำกับยา "วัคซีนไฟเซอร์" ที่ส่งให้ไทย
วันนี้ (30 ก.ค.) จากการบรรยายพิเศษ Chula Pharma Talk เรื่อง “ประเด็นสำคัญในการเก็บและการเตรียมวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech” ซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ผศ.ภก.ดร.ปดินทร์ ติวสุวรรณ และ ผศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า วัคซีนโควิดชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech ที่สหรัฐอเมริกาจะบริจาคให้ประเทศไทยและจะส่งมอบสู่กลุ่มเป้าหมายคือบุคลากรการแพทย์ด่านหน้าเพื่อพร้อมฉีดในต้นเดือนสิงหาคมนี้ พร้อมกับเปิดเผยรายละเอียด เอกสารกำกับยาของวัคซีนไฟเซอร์ ที่จะมีการนำเข้ามาในประเทศไทยเร็วๆนี้ โดยระบุว่าหากวัคซีนนำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกาจะมีชื่อติดข้างขวดว่า Pfizer-BioNTech COVID-19 vaccine แต่เมื่อขายในแถบประเทศยุโรปและประเทศอื่นๆจะมีใช้ชื่อการค้าว่า COMIRNATY และการคาดว่าวัคซีนไฟเซอร์ที่ไทยจะนำเข้า 20 ล้านโดส อาจจะอยู่ภายใต้ชื่อ COMIRNATY
ส่วนรายละเอียดของเอกสารกำกับยา มีดังนี้....👇
1. ชื่อผลิตภัณฑ์โคเมอร์เนตี(ComirnatyTM)
ชนิดเข้มข้นสำหรับกระจายตัวสำหรับฉีด (Concentrate for dispersion for injection)
วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA Vaccine) สำหรับป้องกันโรคโควิด-19 (นิวคลีโอไซด์ที่ถูกดัดแปลง)
2. ปริมาณและคุณสมบัติของตัวยาสำคัญ
ใน 1 โดส (0.3 มิลลิลิตร) ประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอโควิด-19 (ห่อหุ้มด้วยอนุภาคไขมัน
ขนาดนาโน) (COVID-19 mRNA Vaccine (embedded in lipid nanoparticles)) บรรจุอยู่ 30 ไมโครกรัม
ยานี้บรรจุในขวดแก้วสำหรับใช้หลายครั้ง (multi-dose vial) และจะต้องเจือจางก่อนใช้ใน 1 ขวด (0.45 มิลลิลิตร) บรรจุวัคซีนสำหรับฉีด 6 โดส โดสละ 0.3 มิลลิลิตรหลังเจือจางแล้ว ดูหัวข้อ 4.2.
ขนาดยาและวิธีการใช้ยา และ 6.6. ข้อควรระวังพิเศษในการกำจัดและการบริหารจัดการอื่น
ๆ5’-capped messenger RNA (mRNA) สายเดี่ยว (Single-stranded) ที่ผลิตขึ้นโดย cell-free transcription นอกร่างกาย (in vitro) จากแม่แบบดีเอ็นเอที่ตรงกัน (corresponding DNA templates) เข้ารหัสโปรตีนหนาม(viral spike
) ของไวรัส SARS-CoV-2ส่วนประกอบอื่น ๆ โปรดดูหัวข้อ 6.1 รายการตัวยาไม่สำคัญ
3.ลักษณะและรูปแบบยาทางเภสัชกรรม
ยาชนิดเข้มข้นสำหรับกระจายตัวสำหรับฉีด (ยาเข้มข้นปราศจากเชื้อ)
วัคซีนแช่แข็งชนิดกระจายตัวที่มีสีขาวถึงสีออกเหลืองอ่อน (pH 6.9 - 7.9
4. คุณสมบัติทางคลินิก
4.1. ข้อบ่งใช้
โคเมอร์เนตีมีข้อบ่งใช้สำหรับฉีดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
4.2. ขนาดยาและวิธีการใช้ยา
ขนาดยา
บุคคลที่มีอายุ12 ปีขึ้นไป
แผนการฉีดโคเมอร์เนตีประกอบด้วยการฉีดวัคซีนหลังเจือจางยาแล้วเข้าทางกล้ามเนื้อในขนาด 0.3 มิลลิลิตร
จำนวน 2 ครั้ง การฉีดกระตุ้นเข็มที่ 2 ควรให้หลังจากการฉีดเข็มแรก 3 สัปดาห์(โปรดดูหัวข้อ 5.1. คุณสมบัติทางเภสัชพลศาสตร์)
แนะนำให้ผู้ที่ได้รับการฉีดโคเมอร์เนตีในเข็มแรก ควรได้รับการฉีดกระตุ้นในเข็มที่ 2 ด้วย โคเมอร์เนตี เช่นเดิม
(โปรดดูหัวข้อ 4.4 คำเตือนพิเศษและข้อควรระวังในการใช้ยา)
เด็ก
ยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัยของโคเมอร์เนตีในเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี
ผู้สูงอายุ
ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยาในผู้สูงอายุที่มีอายุ65 ปีขึ้นไป
วิธีการใช้ยา
ฉีดโคเมอร์เนตีเข้ากล้ามเนื้อเท่านั้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อเดลทอยด์ หลังเจือจางยาแล้ว (ดูหัวข้อ 6.6. ข้อควร
ระวังพิเศษในการกำจัดและการบริหารจัดการอื่น ๆ)
ห้ามฉีดวัคซีนเข้าทางหลอดเลือดดำ ใต้ผิวหนัง หรือทางในผิวหนัง
หลังเจือจางแล้ว โคเมอร์เนตี1 ขวดมีบรรจุวัคซีน 6 โดส โดสละ 0.3 มิลลิลิตร เพื่อให้ได้วัคซีน 6 โดสจาก 1 ขวดควรใช้กระบอกฉีดยาและ/หรือเข็มฉีดยาที่มีปริมาตรยาตกค้างต่ำ (low dead-volume) กระบอกฉีดยาและเข็มฉีดยาที่มีปริมาตรยาตกค้างต่ำควรมีปริมาตรยาตกค้างไม่มากกว่า 35 ไมโครลิตร หากใช้กระบอกฉีดยาและเข็มฉีดยาแบบมาตรฐาน วัคซีน 1 ขวดอาจมีปริมาตรไม่เพียงพอในการดูดวัคซีนสำหรับการฉีดโดสที่ 6
ในทุกการฉีด โดยไม่คำนึงถึงประเภทของกระบอกฉีดยาและเข็มฉีดยา มีข้อกำหนด ดังนี้...👇
• ขนาดวัคซีนสำหรับฉีดแต่ละโดส ต้องมีปริมาตร 0.3 มิลลิลิตร
• หากปริมาณวัคซีนที่เหลืออยู่ในขวดวัคซีนไม่เพียงพอสำหรับการฉีดวัคซีนเต็มโดสที่ขนาด 0.3 มิลลิลิตร
ให้ทิ้งขวดวัคซีนและวัคซีนใด ๆ ที่เหลือในขวด
• ห้ามนำวัคซีนจากหลายขวดวัคซีนมารวมกัน
ห้ามผสมวัคซีนนี้ในกระบอกฉีดยาเดียวกันกับวัคซีนหรือผลิตภัณฑ์ยาชนิดอื่น
สำหรับข้อควรระวังก่อนฉีดวัคซีน ดูหัวข้อ 4.4. คำเตือนพิเศษและข้อควรระวังในการใช้ยา
สำหรับคำแนะนำในการละลายวัคซีน วิธีการเจือจาง การจัดการ และการทิ้งวัคซีน ดูหัวข้อ 6.6. ข้อควรระวัง
พิเศษในการกำจัดและการบริหารจัดการอื่น ๆ
4.3. ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้โคเมอร์เนตีในผู้ที่แพ้ตัวยา หรือส่วนประกอบตัวใดตัวหนึ่งของวัคซีนนี้ (ดูหัวข้อ 2 ปริมาณและ
คุณสมบัติของตัวยาสำคัญ และ 6.1 รายการตัวยาไม่สำคัญ)
4.4. คำเตือนพิเศษและข้อควรระวังในการใช้ยา
การตรวจสอบย้อนกลับ
เพื่อการปรับปรุงการตรวจสอบย้อนกลับของผลิตภัณฑ์ยาชีววัตถุ ควรบันทึกชื่อและรุ่นการผลิตของวัคซีนที่ให้อย่างชัดเจน
ภาวะภูมิไวเกินและการแพ้
มีรายงานพบเหตุการณ์การแพ้แบบ anaphylaxis ควรมีการเตรียมความพร้อมตลอดเวลาสำหรับการดูแล และ
ให้การรักษาที่เหมาะสมในกรณีที่มีการแพ้ยาขั้นรุนแรง (anaphylactic reaction) หลังการฉีดวัคซีน
แนะนำให้มีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดอย่างน้อยที่สุด 30 นาทีหลังฉีดวัคซีน ไม่ควรฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 ให้กับ
ผู้ที่เกิดการแพ้ยาขั้นรุนแรงจากการฉีดวัคซีนครั้งที่ 1
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
พบรายงานการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหลังจากการฉีดโคเมอร์เนตีน้อยมาก รายงานส่วนใหญ่พบในเพศชายวัยหนุ่ม โดยจะเกิดอาการภายใน 14 วันหลังจากการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะภายหลังการฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 จากข้อมูลที่ปรากฏพบว่าการดำเนินโรคของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบภายหลังการได้รับวัคซีนไม่แตกต่างจากการดำเนินโรคของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบในสภาวะปกติ
บุคลากรทางการแพทย์ควรระมัดระวังและสังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ผู้ที่รับการฉีดวัคซีนควรได้รับคำอธิบายถึงวิธีการสังเกตอาการตนเองเพื่อสามารถแจ้งแพทย์ได้ทันท่วงทีหากมีอาการที่อาจบ่งชี้ถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เช่น การเจ็บหน้าอก(แบบเฉียบพลันและอาการคงอยู่) หายใจสั้น หรือใจสั่นภายหลังจากการฉีดวัคซีน
บุคลากรทางการแพทย์ควรดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติหรือปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อวินิจฉัยและรักษาภาวะดังกล่าว
อาการที่เป็นผลจากความวิตกกังวล
อาการที่เป็นผลจากความวิตกกังวลรวมถึง ปฏิกิริยาของเส้นประสาทวากัส (หมดสติ) ภาวะหายใจถี่เร็วกว่าปกติ (hyperventilation) หรือปฏิกิริยาอันเนื่องมาจากความเครียด สามารถเกิดขึ้นร่วมกับการฉีดวัคซีน โดยเป็นการตอบสนองทางจิตใจต่อการฉีดยาด้วยเข็ม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีความระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากการเป็นลม
ความเจ็บป่วยที่กำลังเป็นอยู่
เช่นเดียวกับวัคซีนชนิดอื่น ๆ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปในผู้ที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลันหรือการติดเชื้อเฉียบพลัน อย่างไรก็ตาม ไม่ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไป หากพบอาการของการติดเชื้อเพียงเล็กน้อย เช่น หวัด และ/หรือ มีไข้ต่ำ ๆ
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำและความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
เช่นเดียวกับยาฉีดเข้ากล้ามเนื้ออื่น ๆ ควรฉีดวัคซีนด้วยความระมัดระวังในผู้ที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หรือผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดใด (เช่น โรคฮีโมฟิเลีย) เนื่องจากอาจเกิดภาวะเลือดออกหรือจ้ำเลือดหลังจากการฉีดเข้ากล้ามเนื้อในบุคคลเหล่านี้
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ยังไม่ได้ทำการประเมินประสิทธิผล ความปลอดภัย และความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน ประสิทธิผลของโคเมอร์เนตีอาจลดลงในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ระยะเวลาการป้องกันโรค
ยังไม่ทราบระยะเวลาในการป้องกันโรคของวัคซีนที่ชัดเจนเนื่องจากยังคงอยู่ระหว่างการวิจัย
ติดตามอ่านต่อจากเว็บไซต์ค่ะ....👇
https://mgronline.com/qol/detail/9640000074439
วัคซีนไฟเซอร์ชุดนี้ มาช่วยเพิ่มจำนวนวัคซีนที่คนไทยต้องฉีดให้เร็วที่สุด
ไทยจะลดการติดเชื้อได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
สู้ๆนะคะ.....