สำหรับปืนนายแบบสัปดาห์นี้ คือ STI Back Up เป็นปืนสั่งพิเศษโดยร้านปืนไทย ที่เชี่ยวชาญด้านการแต่งปืน 1911 กำหนดสเปกเลือกชิ้นส่วนที่ต้องการ แล้วสั่งผ่านช่องทาง SRA (Special Request Authorization) ของเอสทีไอ เมื่อทางโรงงานพิจารณาว่าทำได้ จึงรับใบสั่ง มอบงานให้ คัสตอมช็อป ดำเนินการ
คำว่า คัสตอม จากภาษาอังกฤษ custom เป็นคำนาม แปลว่า “ธรรมเนียมปฏิบัติ” เพียงเติม s เป็น customs ความหมายเปลี่ยนเป็น “ภาษีศุลกากร” แต่ถ้าเติม er คือ customer กลายเป็น “ลูกค้า” ส่วนเมื่อเป็นคำกริยา customize แปลว่าปรับแต่งสินค้าให้แตกต่างจากมาตรฐานปกติ เพื่อให้ถูกใจลูกค้ารายใดรายหนึ่งเป็นพิเศษ หรือเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานเฉพาะกิจ
สำหรับวงการปืน คัสตอม หรือ คัสตอมเมด (custom made) แต่เดิมคือปืนสั่งทำพิเศษ อาศัยฝีมือช่างค่อย ๆ แต่งชิ้นส่วนอย่างประณีต ประกอบทีละกระบอก ช่างที่มีความชำนาญหาได้ยาก ทำปืนได้จำนวนไม่มาก ราคาจึงแพงกว่าปืนตลาดหลายเท่าตัว ใช้ชื่อช่างติดเป็นยี่ห้อ ที่บ้านเรารู้จัก เช่น Clark, Wilson, Volquartsen เป็นต้น ต่อมาช่างหลายรายขยายงาน อาศัยเทคโนโลยีการผลิตคุมด้วยคอมพิวเตอร์ที่เที่ยงตรงแม่นยำ ปรับขยับขึ้น เป็นโรงงานทันสมัย มีทั้งปืนในสายการผลิตปกติ และรับใบสั่งทำพิเศษ จำนวนผลิตไม่มากเหมือนรายใหญ่ที่ตั้งใจทำขายให้กองทัพ
จากอีกด้านหนึ่ง โรงงานขนาดใหญ่ เริ่มทำปืนระดับที่เรียกว่า “factory custom” คือปืนที่กำหนดมาตรฐานสูงกว่าปืนในสาการผลิตปกติ เลือกใช้ชิ้นส่วนคุณภาพดีกว่า ให้ ช่างฝีมือตรวจวัดและประกอบอย่างประณีตทีละกระบอก ขาย “ตลาดบน” แพงกว่าปืนรุ่นใช้งานธรรมดา หน่วยแต่งปืนนี้ใช้ชื่อ
“คัสตอมช็อป” (Custom Shop) มีแทบทุกยี่ห้อ เช่น คิมเบอร์, ซิก, สปริงฟีลด์, เอสทีไอ เป็นต้น หรืออาจเรียกแตก ต่างไปบ้าง เช่น สมิธฯ ใช้คำว่า “ศูนย์เพิ่มสมรรถนะ” (Performance Centre) แทน
สำหรับปืนนายแบบสัปดาห์นี้ คือ STI Back Up เป็นปืนสั่งพิเศษโดยร้านปืนไทย ที่เชี่ยวชาญด้านการแต่งปืน 1911 กำหนดสเปกเลือกชิ้นส่วนที่ต้องการ แล้วสั่งผ่านช่องทาง SRA (Special Request Authorization) ของเอสทีไอ เมื่อทางโรงงานพิจารณาว่าทำได้ จึงรับใบสั่ง มอบงานให้ คัสตอมช็อป ดำเนินการ ทำให้ลูกค้ารายเดียวลอตเดียว ไม่มีในแค็ตตาล็อกของเอสทีไอ สิ่งที่ร้านไทยกำหนดไปคือ :
ใช้ลำกล้อง Ultimatch ของ Shuemann ยาว 3.75 นิ้ว
-รางปืนแบบเต็ม ยาวตลอดถึงปลาย ลำกล้อง
-ด้ามมาตรฐาน (Full size) ติดบ่อแม็ก Krebs Custom
-ชุดลั่นไก Cylinder & Slide เหล็กกล้าระดับมีดกลึง
-สไลด์แกะลายกันลื่น “เขี้ยวเสือ” (Sabertooth)
-ศูนย์ต่อสู้แบบปรับได้
สำหรับขนาดกระสุน สั่งไปทั้ง .45 ออโต, 9 มม. พาราฯ และ .38 ซูเปอร์ ที่เป็น กระบอกนายแบบนี้ ตัวเลขที่สลักไว้บนรังเพลิง คือ .355 (หน่วยนิ้ว) ซึ่งเป็นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำกล้อง เท่ากับ 9 มิลลิ เมตร เป็นมาตรฐานของ ชูมานน์ ผู้ผลิตลำกล้อง ซึ่งช่างแต่งปืนจะคว้านรังเพลิงเป็น 9 มม. พาราฯ หรือ .38 ซูเปอร์ ได้ตามต้องการ วิธีสังเกตอย่าง หนึ่ง คือแม็กกาซีนของ 9 มม. พาราฯ จะมีแผ่นหนุนด้านหลัง เนื่องจากตัวกระสุนสั้นกว่า .38 ซูเปอร์ แต่ความจุกระสุนเท่ากัน คือแม็กฯ 126 มิลลิเมตร ยาวเพียงเสมอด้าม จะจุ 17 นัด ถ้าใช้แม็กฯ ยาวขึ้นเป็น 140 มิลลิเมตร พ้นบ่อแม็กเล็กน้อยจะจุได้ถึง 21 นัด
โดยรวม STI Back Up เป็นปืนสั่งพิเศษ ชิ้นส่วนทุกชิ้นคุณภาพสูงสุด ลักษณะตัวปืนเหมาะกับการพกซองนอก แต่ลำกล้องที่สั้นกว่าช่วยเพิ่มความคล่องตัว กระสุน .38 ซูเปอร์ แรงกว่า 9 มม. พาราฯ ขึ้นไปอีกระดับ แต่มีข้อควรพิจารณาคือหาซื้อกระสุนซ้อมตามสนามยากกว่า ต้องหาซื้อจากร้านค้าในตลาดปืนหลังวังบูรพาโดยตรง.
https://www.dailynews.co.th/article/554607/
....................................
ดร.ผณิศวร ชํานาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 684 สั่งพิเศษจากเอสทีไอ STI Back Up .38 Super
คำว่า คัสตอม จากภาษาอังกฤษ custom เป็นคำนาม แปลว่า “ธรรมเนียมปฏิบัติ” เพียงเติม s เป็น customs ความหมายเปลี่ยนเป็น “ภาษีศุลกากร” แต่ถ้าเติม er คือ customer กลายเป็น “ลูกค้า” ส่วนเมื่อเป็นคำกริยา customize แปลว่าปรับแต่งสินค้าให้แตกต่างจากมาตรฐานปกติ เพื่อให้ถูกใจลูกค้ารายใดรายหนึ่งเป็นพิเศษ หรือเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานเฉพาะกิจ
สำหรับวงการปืน คัสตอม หรือ คัสตอมเมด (custom made) แต่เดิมคือปืนสั่งทำพิเศษ อาศัยฝีมือช่างค่อย ๆ แต่งชิ้นส่วนอย่างประณีต ประกอบทีละกระบอก ช่างที่มีความชำนาญหาได้ยาก ทำปืนได้จำนวนไม่มาก ราคาจึงแพงกว่าปืนตลาดหลายเท่าตัว ใช้ชื่อช่างติดเป็นยี่ห้อ ที่บ้านเรารู้จัก เช่น Clark, Wilson, Volquartsen เป็นต้น ต่อมาช่างหลายรายขยายงาน อาศัยเทคโนโลยีการผลิตคุมด้วยคอมพิวเตอร์ที่เที่ยงตรงแม่นยำ ปรับขยับขึ้น เป็นโรงงานทันสมัย มีทั้งปืนในสายการผลิตปกติ และรับใบสั่งทำพิเศษ จำนวนผลิตไม่มากเหมือนรายใหญ่ที่ตั้งใจทำขายให้กองทัพ
จากอีกด้านหนึ่ง โรงงานขนาดใหญ่ เริ่มทำปืนระดับที่เรียกว่า “factory custom” คือปืนที่กำหนดมาตรฐานสูงกว่าปืนในสาการผลิตปกติ เลือกใช้ชิ้นส่วนคุณภาพดีกว่า ให้ ช่างฝีมือตรวจวัดและประกอบอย่างประณีตทีละกระบอก ขาย “ตลาดบน” แพงกว่าปืนรุ่นใช้งานธรรมดา หน่วยแต่งปืนนี้ใช้ชื่อ
“คัสตอมช็อป” (Custom Shop) มีแทบทุกยี่ห้อ เช่น คิมเบอร์, ซิก, สปริงฟีลด์, เอสทีไอ เป็นต้น หรืออาจเรียกแตก ต่างไปบ้าง เช่น สมิธฯ ใช้คำว่า “ศูนย์เพิ่มสมรรถนะ” (Performance Centre) แทน
สำหรับปืนนายแบบสัปดาห์นี้ คือ STI Back Up เป็นปืนสั่งพิเศษโดยร้านปืนไทย ที่เชี่ยวชาญด้านการแต่งปืน 1911 กำหนดสเปกเลือกชิ้นส่วนที่ต้องการ แล้วสั่งผ่านช่องทาง SRA (Special Request Authorization) ของเอสทีไอ เมื่อทางโรงงานพิจารณาว่าทำได้ จึงรับใบสั่ง มอบงานให้ คัสตอมช็อป ดำเนินการ ทำให้ลูกค้ารายเดียวลอตเดียว ไม่มีในแค็ตตาล็อกของเอสทีไอ สิ่งที่ร้านไทยกำหนดไปคือ :
ใช้ลำกล้อง Ultimatch ของ Shuemann ยาว 3.75 นิ้ว
-รางปืนแบบเต็ม ยาวตลอดถึงปลาย ลำกล้อง
-ด้ามมาตรฐาน (Full size) ติดบ่อแม็ก Krebs Custom
-ชุดลั่นไก Cylinder & Slide เหล็กกล้าระดับมีดกลึง
-สไลด์แกะลายกันลื่น “เขี้ยวเสือ” (Sabertooth)
-ศูนย์ต่อสู้แบบปรับได้
สำหรับขนาดกระสุน สั่งไปทั้ง .45 ออโต, 9 มม. พาราฯ และ .38 ซูเปอร์ ที่เป็น กระบอกนายแบบนี้ ตัวเลขที่สลักไว้บนรังเพลิง คือ .355 (หน่วยนิ้ว) ซึ่งเป็นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำกล้อง เท่ากับ 9 มิลลิ เมตร เป็นมาตรฐานของ ชูมานน์ ผู้ผลิตลำกล้อง ซึ่งช่างแต่งปืนจะคว้านรังเพลิงเป็น 9 มม. พาราฯ หรือ .38 ซูเปอร์ ได้ตามต้องการ วิธีสังเกตอย่าง หนึ่ง คือแม็กกาซีนของ 9 มม. พาราฯ จะมีแผ่นหนุนด้านหลัง เนื่องจากตัวกระสุนสั้นกว่า .38 ซูเปอร์ แต่ความจุกระสุนเท่ากัน คือแม็กฯ 126 มิลลิเมตร ยาวเพียงเสมอด้าม จะจุ 17 นัด ถ้าใช้แม็กฯ ยาวขึ้นเป็น 140 มิลลิเมตร พ้นบ่อแม็กเล็กน้อยจะจุได้ถึง 21 นัด
โดยรวม STI Back Up เป็นปืนสั่งพิเศษ ชิ้นส่วนทุกชิ้นคุณภาพสูงสุด ลักษณะตัวปืนเหมาะกับการพกซองนอก แต่ลำกล้องที่สั้นกว่าช่วยเพิ่มความคล่องตัว กระสุน .38 ซูเปอร์ แรงกว่า 9 มม. พาราฯ ขึ้นไปอีกระดับ แต่มีข้อควรพิจารณาคือหาซื้อกระสุนซ้อมตามสนามยากกว่า ต้องหาซื้อจากร้านค้าในตลาดปืนหลังวังบูรพาโดยตรง.
https://www.dailynews.co.th/article/554607/
....................................
ดร.ผณิศวร ชํานาญเวช