มดลูกบีบตัวบ่อย เป็นอาการที่เกิดกับคุณแม่ใกล้คลอด ในช่วงเดือนที่ 7-9 หรือไตรมาสสุดท้าย หลายท่านสงสัยว่าหากมีอาการแบบนี้เป็นเรื่องผิดปกติหรืออันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ ถ้าการที่มดลูกบีบรัดตัวเป็นจังหวะบ่อยเกินไป ร่วมกับหน้าท้องแข็ง คุณแม่ควรทำอย่างไรบ้าง
มดลูกบีบตัวบ่อย เกิดจากอะไร
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับอาการ มดลูกบีบตัวบ่อย เสียก่อน ว่ามีลักษณะอย่างไร ซึ่งการที่มดลูกบีบตัว เกิดจากกล้ามเนื้อของมดลูก หดรัดตัว บีบตัว เป็นจังหวะนาน 30-60 วินาที ร่วมกับอาการท้องแข็งนาน 10 นาที และจะมีอาการร่วมกันอย่างนี้ วันละ 4-5 ครั้งต่อวัน ดังนั้น หากคุณแม่รู้สึกว่า ท้องแข็ง ให้สังเกตว่ามดลูกบีบตัวไหม แล้วนานเท่าไหร่ หากมีมูกเลือดปน ออกจากปากช่องคลอดด้วย ควรไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
คุณแม่ท้องจะทราบได้อย่างไรว่า มดลูกบีบตัว
ก่อนอื่นเรามาสังเกตอาการเบื้องต้นกันค่ะ ว่าคุณแม่จะทราบได้อย่างไรบ้าง
- คุณแม่ท้องจะปวดท้องน้อย ซึ่งเป็นตำแหน่งของมดลูก ลองคลำดูจะรู้สึกปวดตุ๊บๆ เจ็บไม่มาก
- บริเวณขาหนีบเจ็บหรือไม่ คุณแม่ลองสังเกตช่วงบริเวณเชิงกรานลงไปยังขาหนีบว่า ปวดๆ หายๆ หรือเปล่า
- มดลูกบีบตัวบ่อย แต่จะไม่ถี่มาก แรกๆ อาจจะรู้สึกสงสัยและรำคาญจนคุณแม่อาจวิตกว่า จะคลอดหรือเปล่า
- บางครั้งอาจปวดไม่มาก แค่รู้สึกหน่วงๆ แต่รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว
- อาการมดลูกบีบตัวบ่อยจะสังเกตได้ง่ายในเวลากลางคืน เนื่องจากปัสสาวะเต็มกระเพาะและร่างกายไม่ได้ดื่มน้ำ
อาการท้องแข็งคือหนึ่งในสาเหตุ มดลูกบีบตัว
อาการมดลูกบีบตัว สามารถเกิดขึ้นได้จากอีกหนึ่งสาเหตุคือ อาการ “ท้องแข็ง” ซึ่งคุณแม่จะรู้สึกปวดท้องน้อย แถวๆ มดลูกบริเวณหัวหน่าวอวัยวะเพศ จึงทำให้รู้สึกถึงการบีบตัวของมดลูกที่รัดตัวจนแข็งเป็นก้อนกลม ซึ่งหากชะล่าใจ คิดว่าเป็นอาการปกติ อาจส่งผลให้มดลูกขยายตัว ปากมดลูกเปิด อันเป็นสาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดได้ ซึ่งอาการท้องแข็งมาจากสาเหตุดังนี้
- คุณแม่ท้องกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ เนื่องจากคนท้องฉี่บ่อยจนไม่อยากเข้าห้องน้ำ
- เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- มีการร่วมเพศกับสามีรุนแรงเกินไป
- คุณแม่ขาดการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ทำงานหนัก ออกกำลังกายหนักเกินไป
อาการท้องแข็งจนมดลูกหดตัวบ่อยๆ อาจทำให้คุณแม่เกิดภาวะแท้งลูกหรือคลอดก่อนกำหนดได้ คุณแม่ต้องสังเหตุตัวเองว่า อาการท้องแข็งเกิดมาจากเหตุผลข้างต้น เพราะเวลาพลิกตัวหรือลูกดิ้น ก็อาจทำให้มีหน้าท้องแข็งตัวบ่อยๆ ดังนั้น หากมีอาการดังกล่าวบวกกับมดลูกบีบตัวทุกครึ่งชั่วโมง ยาวนานไปถึง 3-4 ชั่วโมง ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์ค่ะ
วิธีลดอาการเจ็บปวดเมื่ออยู่ในภาวะมดลูกบีบตัว
คุณแม่ที่มีอาการมดลูกบีบตัวเป็นระยะๆ เมื่อไปหาคุณหมดและปรึกษาอาการดังกล่าวแล้ว พบว่าไม่มีอะไรน่ากังวลถึงการคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นคุณแม่หมออาจจะแนะนำให้คุณแม่เปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เนื่องจากการเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 และใกล้คลอด ท้องเริ่มใหญ่ขึ้น ไปเบียดตัวกับมดลูกมากขึ้นจนมดลูกอึดอัด เรามาดูว่า จะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดเหล่านี้
1. ปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน
ก่อนหน้านี้เราเคยได้รับคำแนะนำมาว่า คุณแม่สามารถเดิน ออกกำลังกายได้ แต่อย่าลืมว่า ร่างกายของคุณแม่ท้องแต่ละท่านนั้น มีภาวะแตกต่างกัน บางคนแข็งแรงทำงานได้จนถึงวันคลอด แต่กับบางคน ต้องอยู่นิ่งๆ เคลื่อนไหวได้ไม่เยอะ ดังนั้น หากคุณแม่เคยทำงานหนัก ลองลดกิจกรรมต่าง ๆ ให้น้อยลง พักผ่อนให้มากขึ้น
2. นอนหลับให้เยอะขึ้น
ว่ากันว่า ยิ่งแม่ท้องออกกำลังกายมากจะคลอดง่าย อย่างที่บอกไว้ว่าใช้ไม่ได้กับคุณแม่ท้องทุกคน แต่อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่กำลังจะเตรียมตัวคลอดบุตรใน 1-2 เดือนข้างหน้า ควรนอนหลับเยอะๆ กลางวันหาเวลางีบบ้าง ช่วงกลางคืนพยายามนอนให้มากที่สุดในท่วงท่าที่สบายๆ หาหมอนมารองปลายเท้า มาก่ายในท่าที่สบายไม่ทับท้องตัวเอง จะทำให้หลับนานขึ้นค่ะ
3. ดื่มน้ำเปล่ามากๆ
ช่วงเวลากลางคืนคือช่วงที่ร่างกายขาดน้ำ และเป็นเวลาที่คุณแม่ท้องไม่สามารถลุกไปปัสสาวะได้ จึงทำให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม สาเหตุนี้จะส่งผลให้มดลูกบีบตัวได้ค่ะ ดังนั้นช่วงเวลากลางวัน จึงควรดื่มน้ำ เยอะๆ ตลอดทั้งวัน เพื่อกักเก็บความชุ่มชื้นในร่างกายไปใช้ช่วงนอนหลับ
4. หัดนั่งสมาธิบ่อยๆ
การนั่งสมาธิจะช่วยให้คุณแม่กำหนดลมหายใจได้ดี ควรนั่งในท่าสบายๆ บนเก้าอี้ หรือบนเตียงก็ได้ค่ะ หลังพิงพนัก ปล่อยตัวตามสบาย แล้วหายใจเข้า-ออก ลึกๆ ยาวๆ อย่าหายใจสั้นๆ นะคะ ซึ่งการหายใจยาวๆ จะทำให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้น รับออกซิเจนได้เต็มปอด ซึ่งวิธีนี้ส่งผลทำให้คุณแม่คลอดง่ายอีกด้วย ลองไปทำกันดูค่ะ
เจ็บเพราะ “มดลูกบีบตัวบ่อย” และเจ็บเพราะ “ใกล้คลอด”
เมื่อมีอาการมดลูกบีบตัวเป็นระยะๆ แถมเจ็บหน่วงๆ คุณแม่จะตั้งคำถามทันทีเลยว่า “นี่ฉันกำลังเจ็บท้องคลอดหรือเปล่า” เนื่องจากช่วงเวลาใกล้คลอด 9 เดือน คุณแม่ท้องจะเจ็บมดลูกมากขึ้น
1. มดลูกบีบตัวหรือเจ็บท้องหลอก
คุณแม่จะมีความรู้สึกว่ามดลูกบีบตัวมากขึ้น เจ็บเป็นช่วงๆ แต่ไม่ถี่ติดๆ กัน ปวดไม่มาก อาการแบบนี้เกิดจากปากมดลูกเริ่มขยาย อ่อนตัวเพื่อง่ายต่อการคลอด แต่จริงๆ แล้ว คุณแม่ยังไม่ถึงเวลาที่จะคลอดค่ะ อาการนี้ เขาเรียกว่า “เจ็บท้องหลอก” โดยจะรู้สึกปวดตุ๊บๆ เป็นระยะๆ บางคนปวดแรงขึ้นและนานขึ้น แต่พอไปหาคุณหมอแล้วก็ยังไม่ถึงเวลาคลอดค่ะ
2. มดลูกบีบตัวเพราะใกล้คลอด
คุณแม่ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ มักจะมีอาการเจ็บมดลูกที่บีบตัวบ่อย เลยคิดว่า นี่คือสัญญาณใกล้คลอดแน่ๆ แต่หลายครั้งที่อาการนี้ไม่ใช่การคลอดก่อนกำหนด หากคุณแม่แน่ใจว่า มดลูกบีบตัวบ่อยเกินไป ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบคุณหมอด่วนเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ หากเป็นสัญญาณคลอดก่อนกำหนด จะได้รักษาชีวิตของทารกน้อยไว้ได้ทัน
สัญญาณบอกว่า คุณแม่ท้องควรไปพบแพทย์
1. คุณแม่อายุครรภ์น้อยว่า 37 สัปดาห์
หากคุณแม่มีอายุครรภ์ยังไม่ถึง 37 สัปดาห์หรือ 9 เดือน มีอาการมดลูกบีบตัวบ่อย เป็นจังหวะสม่ำเสมอ มีความเจ็บปวดที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ให้เตรียมจับเวลาและจดบันทึกอาการดังนี้ค่ะ
- หากคุณแม่รู้สึกปวดหน่วงๆ บริเวณท้องน้อยคล้ายกับตอนมีประจำเดือน
- เกิดการบีบตัวของมดลูกเป็นจังหวะใน 30-60 วินาที แล้วหยุด จากนั้นรู้สึกมีอาการเช่นนี้ 6 ครั้งใน 1 ชั่วโมง หรือทุกๆ 10 นาที
- มีมูกเลือดออกมาจากช่องคลอด อย่าลืมสังเกตกางเกงในดูนะคะ
- มีตกขาวมากกว่าปกติ และมีสีเปลี่ยนไป เช่น ตกขาวสีน้ำตาล หรือปนเลือด
- บริเวณกระดูกเชิงกรานมีความรู้สึก ตุ่ยๆ เหมือนมีก้อนบางอย่างดันออกมา
- แถวบั้นเอว บริเวณหลังล่าง มีอาการปวดแบบรำคาญ ไม่สบายตัว ปวดกล้ามเนื้อและรู้สึกมีอาการมดลุกบีบตัวร่วมด้วย
2. คุณแม่อายุครรภ์มากกว่า 37 สัปดาห์
หากคุณแม่มีอายุครรภ์มากกว่า 9 เดือน 1 สัปดาห์หรือเกิน 37 สัปดาห์ ลองสังเกตอาการกันว่า เจ็บเพราะมดลูกบีบตัวแบบไหนควรรับไปพบแพทย์
- เมื่อคุณแม่รู้สึกเจ็บจากอาการมดลูกบีบตัวนานเกิน 1 นาที หรือตั้งแต่ 30-90 วินาที
- รู้สึกว่ามดลูกบีบตัวและปวดบ่อยมากขึ้น มากกว่า 4-5 ครั้งต่อวัน หรือทุก 5 นาที
- มีน้ำเดิน หรือเกิดจากถุงน้ำคร่ำแตก อาการนี้สามารถเป็นได้โดยไม่รู้ตัว
- ปวดท้องอย่างรุนแรง เตรียมตัวคลอดได้เลยค่ะ
ช่วงไตมาสสุดท้ายนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์หมั่นสังเกต ความผิดปกติและอาการหลายๆ อย่าง เพราะยิ่งใกล้คลอดมากเท่าไหร่ ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายยิ่งเพิ่มขึ้น อาจทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้เหมือนเดิม อีกทั้งต้องระวังเรื่องอาหารการกินและการพักผ่อน ที่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากท้องที่โตขึ้นอย่างรวดเร็วและคุณก็สามารถคลอดก่อนกำหนดได้คลอดเวลาค่ะ อย่างไรก็ตาม การสังเกตความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของตนเองจะนำมาซึ่งความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยค่ะ
https://th.theasianparent.com/contraction-of-the-uterus
มดลูกบีบตัวบ่อย คืออาการเจ็บท้องคลอดหรือไม่ เป็นอันตรายต่อทารกไหม
มดลูกบีบตัวบ่อย เกิดจากอะไร
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับอาการ มดลูกบีบตัวบ่อย เสียก่อน ว่ามีลักษณะอย่างไร ซึ่งการที่มดลูกบีบตัว เกิดจากกล้ามเนื้อของมดลูก หดรัดตัว บีบตัว เป็นจังหวะนาน 30-60 วินาที ร่วมกับอาการท้องแข็งนาน 10 นาที และจะมีอาการร่วมกันอย่างนี้ วันละ 4-5 ครั้งต่อวัน ดังนั้น หากคุณแม่รู้สึกว่า ท้องแข็ง ให้สังเกตว่ามดลูกบีบตัวไหม แล้วนานเท่าไหร่ หากมีมูกเลือดปน ออกจากปากช่องคลอดด้วย ควรไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
คุณแม่ท้องจะทราบได้อย่างไรว่า มดลูกบีบตัว
ก่อนอื่นเรามาสังเกตอาการเบื้องต้นกันค่ะ ว่าคุณแม่จะทราบได้อย่างไรบ้าง
- คุณแม่ท้องจะปวดท้องน้อย ซึ่งเป็นตำแหน่งของมดลูก ลองคลำดูจะรู้สึกปวดตุ๊บๆ เจ็บไม่มาก
- บริเวณขาหนีบเจ็บหรือไม่ คุณแม่ลองสังเกตช่วงบริเวณเชิงกรานลงไปยังขาหนีบว่า ปวดๆ หายๆ หรือเปล่า
- มดลูกบีบตัวบ่อย แต่จะไม่ถี่มาก แรกๆ อาจจะรู้สึกสงสัยและรำคาญจนคุณแม่อาจวิตกว่า จะคลอดหรือเปล่า
- บางครั้งอาจปวดไม่มาก แค่รู้สึกหน่วงๆ แต่รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว
- อาการมดลูกบีบตัวบ่อยจะสังเกตได้ง่ายในเวลากลางคืน เนื่องจากปัสสาวะเต็มกระเพาะและร่างกายไม่ได้ดื่มน้ำ
อาการท้องแข็งคือหนึ่งในสาเหตุ มดลูกบีบตัว
อาการมดลูกบีบตัว สามารถเกิดขึ้นได้จากอีกหนึ่งสาเหตุคือ อาการ “ท้องแข็ง” ซึ่งคุณแม่จะรู้สึกปวดท้องน้อย แถวๆ มดลูกบริเวณหัวหน่าวอวัยวะเพศ จึงทำให้รู้สึกถึงการบีบตัวของมดลูกที่รัดตัวจนแข็งเป็นก้อนกลม ซึ่งหากชะล่าใจ คิดว่าเป็นอาการปกติ อาจส่งผลให้มดลูกขยายตัว ปากมดลูกเปิด อันเป็นสาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดได้ ซึ่งอาการท้องแข็งมาจากสาเหตุดังนี้
- คุณแม่ท้องกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ เนื่องจากคนท้องฉี่บ่อยจนไม่อยากเข้าห้องน้ำ
- เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- มีการร่วมเพศกับสามีรุนแรงเกินไป
- คุณแม่ขาดการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ทำงานหนัก ออกกำลังกายหนักเกินไป
อาการท้องแข็งจนมดลูกหดตัวบ่อยๆ อาจทำให้คุณแม่เกิดภาวะแท้งลูกหรือคลอดก่อนกำหนดได้ คุณแม่ต้องสังเหตุตัวเองว่า อาการท้องแข็งเกิดมาจากเหตุผลข้างต้น เพราะเวลาพลิกตัวหรือลูกดิ้น ก็อาจทำให้มีหน้าท้องแข็งตัวบ่อยๆ ดังนั้น หากมีอาการดังกล่าวบวกกับมดลูกบีบตัวทุกครึ่งชั่วโมง ยาวนานไปถึง 3-4 ชั่วโมง ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์ค่ะ
วิธีลดอาการเจ็บปวดเมื่ออยู่ในภาวะมดลูกบีบตัว
คุณแม่ที่มีอาการมดลูกบีบตัวเป็นระยะๆ เมื่อไปหาคุณหมดและปรึกษาอาการดังกล่าวแล้ว พบว่าไม่มีอะไรน่ากังวลถึงการคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นคุณแม่หมออาจจะแนะนำให้คุณแม่เปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เนื่องจากการเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 และใกล้คลอด ท้องเริ่มใหญ่ขึ้น ไปเบียดตัวกับมดลูกมากขึ้นจนมดลูกอึดอัด เรามาดูว่า จะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดเหล่านี้
1. ปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน
ก่อนหน้านี้เราเคยได้รับคำแนะนำมาว่า คุณแม่สามารถเดิน ออกกำลังกายได้ แต่อย่าลืมว่า ร่างกายของคุณแม่ท้องแต่ละท่านนั้น มีภาวะแตกต่างกัน บางคนแข็งแรงทำงานได้จนถึงวันคลอด แต่กับบางคน ต้องอยู่นิ่งๆ เคลื่อนไหวได้ไม่เยอะ ดังนั้น หากคุณแม่เคยทำงานหนัก ลองลดกิจกรรมต่าง ๆ ให้น้อยลง พักผ่อนให้มากขึ้น
2. นอนหลับให้เยอะขึ้น
ว่ากันว่า ยิ่งแม่ท้องออกกำลังกายมากจะคลอดง่าย อย่างที่บอกไว้ว่าใช้ไม่ได้กับคุณแม่ท้องทุกคน แต่อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่กำลังจะเตรียมตัวคลอดบุตรใน 1-2 เดือนข้างหน้า ควรนอนหลับเยอะๆ กลางวันหาเวลางีบบ้าง ช่วงกลางคืนพยายามนอนให้มากที่สุดในท่วงท่าที่สบายๆ หาหมอนมารองปลายเท้า มาก่ายในท่าที่สบายไม่ทับท้องตัวเอง จะทำให้หลับนานขึ้นค่ะ
3. ดื่มน้ำเปล่ามากๆ
ช่วงเวลากลางคืนคือช่วงที่ร่างกายขาดน้ำ และเป็นเวลาที่คุณแม่ท้องไม่สามารถลุกไปปัสสาวะได้ จึงทำให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม สาเหตุนี้จะส่งผลให้มดลูกบีบตัวได้ค่ะ ดังนั้นช่วงเวลากลางวัน จึงควรดื่มน้ำ เยอะๆ ตลอดทั้งวัน เพื่อกักเก็บความชุ่มชื้นในร่างกายไปใช้ช่วงนอนหลับ
4. หัดนั่งสมาธิบ่อยๆ
การนั่งสมาธิจะช่วยให้คุณแม่กำหนดลมหายใจได้ดี ควรนั่งในท่าสบายๆ บนเก้าอี้ หรือบนเตียงก็ได้ค่ะ หลังพิงพนัก ปล่อยตัวตามสบาย แล้วหายใจเข้า-ออก ลึกๆ ยาวๆ อย่าหายใจสั้นๆ นะคะ ซึ่งการหายใจยาวๆ จะทำให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้น รับออกซิเจนได้เต็มปอด ซึ่งวิธีนี้ส่งผลทำให้คุณแม่คลอดง่ายอีกด้วย ลองไปทำกันดูค่ะ
เจ็บเพราะ “มดลูกบีบตัวบ่อย” และเจ็บเพราะ “ใกล้คลอด”
เมื่อมีอาการมดลูกบีบตัวเป็นระยะๆ แถมเจ็บหน่วงๆ คุณแม่จะตั้งคำถามทันทีเลยว่า “นี่ฉันกำลังเจ็บท้องคลอดหรือเปล่า” เนื่องจากช่วงเวลาใกล้คลอด 9 เดือน คุณแม่ท้องจะเจ็บมดลูกมากขึ้น
1. มดลูกบีบตัวหรือเจ็บท้องหลอก
คุณแม่จะมีความรู้สึกว่ามดลูกบีบตัวมากขึ้น เจ็บเป็นช่วงๆ แต่ไม่ถี่ติดๆ กัน ปวดไม่มาก อาการแบบนี้เกิดจากปากมดลูกเริ่มขยาย อ่อนตัวเพื่อง่ายต่อการคลอด แต่จริงๆ แล้ว คุณแม่ยังไม่ถึงเวลาที่จะคลอดค่ะ อาการนี้ เขาเรียกว่า “เจ็บท้องหลอก” โดยจะรู้สึกปวดตุ๊บๆ เป็นระยะๆ บางคนปวดแรงขึ้นและนานขึ้น แต่พอไปหาคุณหมอแล้วก็ยังไม่ถึงเวลาคลอดค่ะ
2. มดลูกบีบตัวเพราะใกล้คลอด
คุณแม่ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ มักจะมีอาการเจ็บมดลูกที่บีบตัวบ่อย เลยคิดว่า นี่คือสัญญาณใกล้คลอดแน่ๆ แต่หลายครั้งที่อาการนี้ไม่ใช่การคลอดก่อนกำหนด หากคุณแม่แน่ใจว่า มดลูกบีบตัวบ่อยเกินไป ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบคุณหมอด่วนเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ หากเป็นสัญญาณคลอดก่อนกำหนด จะได้รักษาชีวิตของทารกน้อยไว้ได้ทัน
สัญญาณบอกว่า คุณแม่ท้องควรไปพบแพทย์
1. คุณแม่อายุครรภ์น้อยว่า 37 สัปดาห์
หากคุณแม่มีอายุครรภ์ยังไม่ถึง 37 สัปดาห์หรือ 9 เดือน มีอาการมดลูกบีบตัวบ่อย เป็นจังหวะสม่ำเสมอ มีความเจ็บปวดที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ให้เตรียมจับเวลาและจดบันทึกอาการดังนี้ค่ะ
- หากคุณแม่รู้สึกปวดหน่วงๆ บริเวณท้องน้อยคล้ายกับตอนมีประจำเดือน
- เกิดการบีบตัวของมดลูกเป็นจังหวะใน 30-60 วินาที แล้วหยุด จากนั้นรู้สึกมีอาการเช่นนี้ 6 ครั้งใน 1 ชั่วโมง หรือทุกๆ 10 นาที
- มีมูกเลือดออกมาจากช่องคลอด อย่าลืมสังเกตกางเกงในดูนะคะ
- มีตกขาวมากกว่าปกติ และมีสีเปลี่ยนไป เช่น ตกขาวสีน้ำตาล หรือปนเลือด
- บริเวณกระดูกเชิงกรานมีความรู้สึก ตุ่ยๆ เหมือนมีก้อนบางอย่างดันออกมา
- แถวบั้นเอว บริเวณหลังล่าง มีอาการปวดแบบรำคาญ ไม่สบายตัว ปวดกล้ามเนื้อและรู้สึกมีอาการมดลุกบีบตัวร่วมด้วย
2. คุณแม่อายุครรภ์มากกว่า 37 สัปดาห์
หากคุณแม่มีอายุครรภ์มากกว่า 9 เดือน 1 สัปดาห์หรือเกิน 37 สัปดาห์ ลองสังเกตอาการกันว่า เจ็บเพราะมดลูกบีบตัวแบบไหนควรรับไปพบแพทย์
- เมื่อคุณแม่รู้สึกเจ็บจากอาการมดลูกบีบตัวนานเกิน 1 นาที หรือตั้งแต่ 30-90 วินาที
- รู้สึกว่ามดลูกบีบตัวและปวดบ่อยมากขึ้น มากกว่า 4-5 ครั้งต่อวัน หรือทุก 5 นาที
- มีน้ำเดิน หรือเกิดจากถุงน้ำคร่ำแตก อาการนี้สามารถเป็นได้โดยไม่รู้ตัว
- ปวดท้องอย่างรุนแรง เตรียมตัวคลอดได้เลยค่ะ
ช่วงไตมาสสุดท้ายนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์หมั่นสังเกต ความผิดปกติและอาการหลายๆ อย่าง เพราะยิ่งใกล้คลอดมากเท่าไหร่ ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายยิ่งเพิ่มขึ้น อาจทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้เหมือนเดิม อีกทั้งต้องระวังเรื่องอาหารการกินและการพักผ่อน ที่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากท้องที่โตขึ้นอย่างรวดเร็วและคุณก็สามารถคลอดก่อนกำหนดได้คลอดเวลาค่ะ อย่างไรก็ตาม การสังเกตความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของตนเองจะนำมาซึ่งความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยค่ะ
https://th.theasianparent.com/contraction-of-the-uterus