‘Home Isolation’ ผู้ป่วยโควิดแยกกักตัวอยู่บ้าน ต้องทำอย่างไร?
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้น ทำให้มีผู้ติดเชื้อหลายพันคนต่อวัน จนทำให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ อีกทั้งผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลในระยะเวลาสั้นๆ และไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานที่ที่รัฐจัดให้ได้
เช็กอาการป่วยเป็นโควิด-19 ตอนนี้คุณอยู่ระดับไหน?
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งระดับอาการผู้ป่วยโควิด-19 ตามระดับอาการป่วยออกเป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง เพื่อการดูแลรักษาอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
จึงทำให้เกิดแนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิดที่บ้าน Home Isolation หรือ การแยกกักตัวที่บ้านแต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การพิจารณาของแพทย์ และอยู่ในระบบการตรวจสอบ ติดตามอาการ หากอาการเปลี่ยนแปลงก็มีระบบส่งต่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
Home Isolation หรือการแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่อยู่ในเกณฑ์ดังนี้
· ผู้ป่วยที่กำลังรอ Admit หรือรอเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลและแพทย์พิจารณาแล้วว่าสามารถรักษาตัวที่บ้านได้
· ผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาล หรือสถานที่ที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 10 วันแล้ว และแพทย์พิจารณาว่าสามารถทำ Home Isolation ต่อได้
โดยผู้ที่เข้าเกณฑ์ในการทำ Home Isolation ได้นั้น
1. เป็นผู้ติดเชื้อที่สบายดี หรือไม่มีอาการ (asymptomatic cases)
2. มีอายุน้อยกว่า 60 ปี
3. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
4. ยินยอมแยกกักตัวในที่พักของตัวเอง
5. อยู่คนเดียวหรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน
6. ต้องไม่มีภาวะอ้วน (ดัชนีมวลกาย>30 กก./ม.2 หรือ น้ำหนักตัว>90 กก.)
7. ไม่มีโรคร่วม ดังต่อไปนี้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD), โรคไตเรื้อรัง (CKD ระยะที่ 3,4),โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือโรคอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
สถานที่ ถ้าบ้านมีพื้นที่เพียงพอ ก็ให้ผู้ป่วยแยกไปอยู่ในห้องส่วนตัวคนเดียว ถ้าเป็นไปได้ควรเป็นห้องที่มีห้องน้ำในตัวแยกภาชนะของใช้ส่วนตัวส่วนเวลาทานข้าวให้เอามาวางไว้ให้ตรงหน้าห้องแล้วไลน์บอก เพื่อให้ผู้ป่วยเปิดประตูมาหยิบข้าวไปทานเองเพื่อหลีกเลี่ยงการพูดคุยหรือการสัมผัสให้มากที่สุด หรือถ้าเป็นข้าวกล่องได้ก็จะดีมาก เพราะถ้าหยิบจานมาล้างอาจเสี่ยงสัมผัสเชื้อได้ หรือถ้าที่อยู่อาศัยเป็นคอนโด ห้องเช่า แฟลต ไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะแยกออกเป็นห้องชัดเจน เพื่อความปลอดภัย แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องคนเดียว และคนอื่นที่ไม่ติดเชื้อให้ไปพักอาศัยที่อื่นเป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับคนในครอบครัว
การปฎิบัติตัวของผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อทำ Home Isolation
* แยกห้องพัก ของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น หากแยกไม่ได้ควรแยกให้ห่างจากผู้อื่นให้มากที่สุด และควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
* ห้ามออกจากที่พัก และห้ามใครมาเยี่ยมที่บ้าน
* ห้ามเข้าใกล้หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร
* ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากไม่ได้อยู่คนเดียว
* ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทุกครั้งที่สัมผัสกับของใช้ต่าง ๆ
* ห้ามทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
* แยกซักเสื้อผ้า และเครื่องนอน ด้วยน้ำสบู่หรือผงซักฟอกใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น และแยกทิ้งขยะ โดยมัดปากถุงขยะให้แน่น
ของที่ต้องใช้ อุปกรณ์สำคัญที่ควรมีติดตัวไว้เพื่อช่วยในการประเมินอาการเบื้องต้น คือเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อบันทึกในแต่ละวัน อีกอันคือเครื่องบอกระดับออกซิเจนในเลือดแบบหนีบนิ้ว ตัวนี้จะเป็นตัวประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดเราว่ายังไหวมั้ย ปกติเลขควรอยู่ที่ประมาณ 97-100% ถ้าเลขแตะ 94% หรือต่ำกว่าให้เฝ้าระวังทันที เพราะมีแนวโน้มที่โควิดจะลงปอดแล้วซึ่งขณะพักอยู่ที่บ้านจะมีเจ้าหน้าที่และคุณหมอคอยมอนิเตอร์ผ่านเทเลเมดตลอดเวลา ถ้าอาการแย่ลงจะมีรถโรงพยาบาลไปรับและนำส่งโรงพยาบาลทันที
สิ่งที่ผู้ป่วยโควิด-19 จะได้รับการสนับสนุนเมื่อต้องทำ Home Isolation
* อาหารสามมื้อและการติดตามประเมินอาการ ให้คำปรึกษา
* อุปกรณ์ประเมินอาการ ได้แก่ ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนในเลือดแบบหนีบนิ้ว เพื่อประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดว่าปกติดีหรือไม่ ค่าปกติจะอยู่ที่ประมาณ 97-100% ถ้าตัวเลขอยู่ที่ 94% หรือต่ำกว่านั้น คืออยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะมีแนวโน้มที่เชื้อโควิด-19 จะลงปอด
* ประเมินอาการผ่านระบบเทเลเมด หรือ การนําเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ Real-timeโดยแพทย์และพยาบาลทุกวัน
* การให้ยากับผู้ป่วยในแต่ละวัน ประเมินตามอาการขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
* หากมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือแย่ลงให้แจ้งทีมแพทย์ และรีบนำส่งโรงพยาบาล
สิ่งสำคัญ คือต้องหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง วัดอุณหภูมิทุกวัน หากอาการแย่ลง เช่น หอบ เหนื่อย มีไข้สูง ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ให้รีบติดต่อโรงพยาบาลที่รักษาอยู่ ทางโรงพยาบาลจะมีรถไปรับเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือหากจำเป็นต้องเดินทางมาโรงพยาบาลด้วยตัวเอง แนะนำให้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ไม่ใช้รถสาธารณะ และใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากมีผู้ร่วมยานพาหนะมาด้วยให้เปิดหน้าต่างรถเพิ่มการระบายอากาศ เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เดินทางไปด้วย
ยาที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและอยู่ระหว่างรอเตียง อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่นอนโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่และคุณหมอคงดูแลเรื่องนี้อย่างรอบคอบอยู่แล้ว แต่คนติดเชื้อที่ทำ Home Isolation แล้วอาจไม่เคยทราบข้อมูลมาก่อน ว่ายาประเภทไหนตอนเราเป็นโควิดควรเลี่ยงบ้างหลักๆ ก็มี 2 กลุ่มที่ต้องระวังด้วยกัน คือ
1. กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ระหว่างรอเตียง) วิธีดูแลเบื้องต้นคือ พยายามตรวจน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ ถ้าเห็นว่าน้ำตาลสูง ก็สามารถใช้ยาเดิมที่หมอจ่ายไว้ให้ได้ไม่มีปัญหา แต่ถ้าน้ำตาลต่ำอยู่แล้ว อันนี้คงต้องงดอินซูลิน หรือพวกยากินไปก่อน เพราะถ้าเป็นโควิดแล้วน้ำตาลต่ำมันค่อนข้างอันตรายกว่าปกติ
2. กลุ่มที่ทานยาขับปัสสาวะ อันนี้ในกรณีที่เราดื่มน้ำน้อยก็ควรงดหรือลดไปก่อน เพราะการปัสสาวะออกมา โดยที่ไม่มีอะไรเติมเข้ามันจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและขาดน้ำได้ ยิ่งถ้ามีไข้ร่วมด้วย ร่างกายก็จะใช้พลังงานมาก และจะยิ่งเพลียมากขึ้นไปอีก
** ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
‘Home Isolation’ ผู้ป่วยโควิดแยกกักตัวอยู่บ้าน ต้องทำอย่างไร?
‘Home Isolation’ ผู้ป่วยโควิดแยกกักตัวอยู่บ้าน ต้องทำอย่างไร?
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้น ทำให้มีผู้ติดเชื้อหลายพันคนต่อวัน จนทำให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ อีกทั้งผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลในระยะเวลาสั้นๆ และไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานที่ที่รัฐจัดให้ได้
เช็กอาการป่วยเป็นโควิด-19 ตอนนี้คุณอยู่ระดับไหน?
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งระดับอาการผู้ป่วยโควิด-19 ตามระดับอาการป่วยออกเป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง เพื่อการดูแลรักษาอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
จึงทำให้เกิดแนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิดที่บ้าน Home Isolation หรือ การแยกกักตัวที่บ้านแต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การพิจารณาของแพทย์ และอยู่ในระบบการตรวจสอบ ติดตามอาการ หากอาการเปลี่ยนแปลงก็มีระบบส่งต่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
Home Isolation หรือการแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่อยู่ในเกณฑ์ดังนี้
· ผู้ป่วยที่กำลังรอ Admit หรือรอเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลและแพทย์พิจารณาแล้วว่าสามารถรักษาตัวที่บ้านได้
· ผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาล หรือสถานที่ที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 10 วันแล้ว และแพทย์พิจารณาว่าสามารถทำ Home Isolation ต่อได้
โดยผู้ที่เข้าเกณฑ์ในการทำ Home Isolation ได้นั้น
1. เป็นผู้ติดเชื้อที่สบายดี หรือไม่มีอาการ (asymptomatic cases)
2. มีอายุน้อยกว่า 60 ปี
3. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
4. ยินยอมแยกกักตัวในที่พักของตัวเอง
5. อยู่คนเดียวหรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน
6. ต้องไม่มีภาวะอ้วน (ดัชนีมวลกาย>30 กก./ม.2 หรือ น้ำหนักตัว>90 กก.)
7. ไม่มีโรคร่วม ดังต่อไปนี้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD), โรคไตเรื้อรัง (CKD ระยะที่ 3,4),โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือโรคอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
สถานที่ ถ้าบ้านมีพื้นที่เพียงพอ ก็ให้ผู้ป่วยแยกไปอยู่ในห้องส่วนตัวคนเดียว ถ้าเป็นไปได้ควรเป็นห้องที่มีห้องน้ำในตัวแยกภาชนะของใช้ส่วนตัวส่วนเวลาทานข้าวให้เอามาวางไว้ให้ตรงหน้าห้องแล้วไลน์บอก เพื่อให้ผู้ป่วยเปิดประตูมาหยิบข้าวไปทานเองเพื่อหลีกเลี่ยงการพูดคุยหรือการสัมผัสให้มากที่สุด หรือถ้าเป็นข้าวกล่องได้ก็จะดีมาก เพราะถ้าหยิบจานมาล้างอาจเสี่ยงสัมผัสเชื้อได้ หรือถ้าที่อยู่อาศัยเป็นคอนโด ห้องเช่า แฟลต ไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะแยกออกเป็นห้องชัดเจน เพื่อความปลอดภัย แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องคนเดียว และคนอื่นที่ไม่ติดเชื้อให้ไปพักอาศัยที่อื่นเป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับคนในครอบครัว
การปฎิบัติตัวของผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อทำ Home Isolation
* แยกห้องพัก ของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น หากแยกไม่ได้ควรแยกให้ห่างจากผู้อื่นให้มากที่สุด และควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
* ห้ามออกจากที่พัก และห้ามใครมาเยี่ยมที่บ้าน
* ห้ามเข้าใกล้หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร
* ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากไม่ได้อยู่คนเดียว
* ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทุกครั้งที่สัมผัสกับของใช้ต่าง ๆ
* ห้ามทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
* แยกซักเสื้อผ้า และเครื่องนอน ด้วยน้ำสบู่หรือผงซักฟอกใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น และแยกทิ้งขยะ โดยมัดปากถุงขยะให้แน่น
ของที่ต้องใช้ อุปกรณ์สำคัญที่ควรมีติดตัวไว้เพื่อช่วยในการประเมินอาการเบื้องต้น คือเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อบันทึกในแต่ละวัน อีกอันคือเครื่องบอกระดับออกซิเจนในเลือดแบบหนีบนิ้ว ตัวนี้จะเป็นตัวประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดเราว่ายังไหวมั้ย ปกติเลขควรอยู่ที่ประมาณ 97-100% ถ้าเลขแตะ 94% หรือต่ำกว่าให้เฝ้าระวังทันที เพราะมีแนวโน้มที่โควิดจะลงปอดแล้วซึ่งขณะพักอยู่ที่บ้านจะมีเจ้าหน้าที่และคุณหมอคอยมอนิเตอร์ผ่านเทเลเมดตลอดเวลา ถ้าอาการแย่ลงจะมีรถโรงพยาบาลไปรับและนำส่งโรงพยาบาลทันที
สิ่งที่ผู้ป่วยโควิด-19 จะได้รับการสนับสนุนเมื่อต้องทำ Home Isolation
* อาหารสามมื้อและการติดตามประเมินอาการ ให้คำปรึกษา
* อุปกรณ์ประเมินอาการ ได้แก่ ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนในเลือดแบบหนีบนิ้ว เพื่อประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดว่าปกติดีหรือไม่ ค่าปกติจะอยู่ที่ประมาณ 97-100% ถ้าตัวเลขอยู่ที่ 94% หรือต่ำกว่านั้น คืออยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะมีแนวโน้มที่เชื้อโควิด-19 จะลงปอด
* ประเมินอาการผ่านระบบเทเลเมด หรือ การนําเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ Real-timeโดยแพทย์และพยาบาลทุกวัน
* การให้ยากับผู้ป่วยในแต่ละวัน ประเมินตามอาการขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
* หากมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือแย่ลงให้แจ้งทีมแพทย์ และรีบนำส่งโรงพยาบาล
สิ่งสำคัญ คือต้องหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง วัดอุณหภูมิทุกวัน หากอาการแย่ลง เช่น หอบ เหนื่อย มีไข้สูง ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ให้รีบติดต่อโรงพยาบาลที่รักษาอยู่ ทางโรงพยาบาลจะมีรถไปรับเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือหากจำเป็นต้องเดินทางมาโรงพยาบาลด้วยตัวเอง แนะนำให้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ไม่ใช้รถสาธารณะ และใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากมีผู้ร่วมยานพาหนะมาด้วยให้เปิดหน้าต่างรถเพิ่มการระบายอากาศ เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เดินทางไปด้วย
ยาที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและอยู่ระหว่างรอเตียง อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่นอนโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่และคุณหมอคงดูแลเรื่องนี้อย่างรอบคอบอยู่แล้ว แต่คนติดเชื้อที่ทำ Home Isolation แล้วอาจไม่เคยทราบข้อมูลมาก่อน ว่ายาประเภทไหนตอนเราเป็นโควิดควรเลี่ยงบ้างหลักๆ ก็มี 2 กลุ่มที่ต้องระวังด้วยกัน คือ
1. กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ระหว่างรอเตียง) วิธีดูแลเบื้องต้นคือ พยายามตรวจน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ ถ้าเห็นว่าน้ำตาลสูง ก็สามารถใช้ยาเดิมที่หมอจ่ายไว้ให้ได้ไม่มีปัญหา แต่ถ้าน้ำตาลต่ำอยู่แล้ว อันนี้คงต้องงดอินซูลิน หรือพวกยากินไปก่อน เพราะถ้าเป็นโควิดแล้วน้ำตาลต่ำมันค่อนข้างอันตรายกว่าปกติ
2. กลุ่มที่ทานยาขับปัสสาวะ อันนี้ในกรณีที่เราดื่มน้ำน้อยก็ควรงดหรือลดไปก่อน เพราะการปัสสาวะออกมา โดยที่ไม่มีอะไรเติมเข้ามันจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและขาดน้ำได้ ยิ่งถ้ามีไข้ร่วมด้วย ร่างกายก็จะใช้พลังงานมาก และจะยิ่งเพลียมากขึ้นไปอีก
** ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข