คุณผู้อ่านทราบไหมครับว่า คนในโลกยุคหลายพันปีก่อนรู้จักสีน้ำเงินน้อยมากทั้งที่เป็นหนึ่งในแม่สี (น้ำเงิน เหลือง แดง) จนสมัยหนึ่งนักวิชาการเชื่อว่า คนโบราณอาจมองไม่เห็นสีดังกล่าว เพราะในบันทึกหลายๆ ภาษา ทั้งฟากตะวันออกและตะวันตก แทบไม่มีคำว่า “สีน้ำเงิน” อยู่เลย
แต่กลับกันก็มีหลักฐานบ่งชี้ว่า สีแรกที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมาได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ก็คือ "สีน้ำเงิน" นี่แหละ
เรื่องราวเป็นยังไงมายังไง เราจะไปดูกันครับ
หลายพันปีมาแล้ว แม้จะมีอารยธรรมยิ่งใหญ่เกิดขึ้นบนโลกมากมาย กลับมีสิ่งหนึ่งที่ขาดหายไป สิ่งที่อาจดูธรรมดา แต่ก็สำคัญจนจินตนาการไม่ออกว่าหากไม่มีมันแล้วจะเป็นยังไง… สิ่งนั้นคือ “คำเรียกสีน้ำเงิน”
ในสมัยโบราณ มีเพียงไม่กี่อารยธรรมเท่านั้นที่มีคำเรียกสีดังกล่าว ทำให้เกิดข้อสงสัยในหมู่นักวิชาการขึ้นมาว่า คนสมัยก่อนตาบอดสีหรือไม่?
ภาพแนบ: วิลเลียม แกลดสโตน ต่อมาไปได้รุ่งกับการเมือง และได้เป็นนายกสหราชอาณาจักรในปี 1868
ในปี 1858 นักวิชาการนาม วิลเลียม แกลดสโตน เสนอทฤษฎีขึ้นมาว่าคนยุคก่อนอาจมีปัญหาทางสายตา เพราะในมหากาพย์ Odyssey ของโฮเมอร์ ไม่มีการพูดถึงสีน้ำเงินเลย แม้กระทั่งกับทะเลยังเป็นสีแดงไวน์ และพอเขาไปหางานเขียนสมัยกรีกโบราณอื่นๆ มาอ่าน ก็ไม่เจอคำว่าสีน้ำเงินเช่นกัน
ล่วงไปปี 1880 นักปรัชญาชาวยิวเยอรมันลาซารัส ไกเกอร์ ค้นข้อมูลลึกลงไปอีก แล้วพบว่าไม่ใช่แค่ชาวกรีกในช่วงเวลานั้นหรอกที่ไม่มีสีน้ำเงิน ในวรรณคดียุคโบราณของหลายๆ ชาติก็แทบไม่มีสีน้ำเงินปรากฏ
ไกเกอร์พบด้วยว่า แทบทุกภาษามีคำเรียกสีเริ่มจากขาวและดำ แทนแสงสว่างและความมืด ต่อด้วยสีแดง เหลือง เขียว ซึ่งเป็นสีของดินและพืช โดยสีน้ำเงินปรากฏขึ้นมาสุดท้าย เพราะไม่ได้มีตามธรรมชาติ (เชื่อกันว่าคนโบราณส่วนมากอาจมองท้องฟ้าเป็นสีขาว)
อีกทั้งในสมัยโบราณ ไม่ได้มีการแบ่งคำเรียกสีละเอียดเหมือนสมัยนี้ อย่างชาวกรีกก็มักมีแค่คำแยกสีอ่อนสีเข้ม เช่น “เคเนออส” (kyaneos) อาจหมายถึงได้ทั้งสีน้ำเงินเข้ม สีเขียวเข้ม หรือสีม่วงเข้ม ส่วนคำว่า สีฟ้า “กลาวคอส” (glaukos) อาจหมายถึงได้ทั้งสีฟ้า เขียวอ่อน เทา ฯลฯ
แต่มีอารยธรรมโบราณอยู่อารยธรรมหนึ่งที่มีคำเรียกสีน้ำเงิน อีกยังใช้สีน้ำเงินทั้งในสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมอย่างมากมายจนเป็นเอกลักษณ์ ...ได้แก่อียิปต์
ภาพแนบ: แร่ลาพิสและสีที่สกัดออกมาได้
ตอนแรกสุดนั้น ชาวอียิปต์น่าจะใช้สีน้ำเงินจากแร่อซูไรต์ แต่ปรากฏว่าพอโดนอากาศเข้าไป มันก็เกิดปฏิกิริยา เปลี่ยนเป็นสีเขียว พวกเขาจึงหันไปนิยมสกัดสีออกมาจากแร่ลาพิส ลาซูลี ซึ่งจะคงสีน้ำเงินไว
...ทว่าแร่ลาพิสหาได้ยากมาก ต้องไปขุดไกลถึงอัฟกานิสถาน แล้วก็ได้มาทีละน้อย คนอียิปต์เลยคิดทำสิ่งที่ไม่มีใครทำมาก่อน ได้แก่การสังเคราะห์สีน้ำเงินขึ้นมาเอง
ภาพแนบ: ถาดสีน้ำเงินอียิปต์
แม้วิธีการผลิตสีที่ว่าจะสูญหายไปกับกาลเวลา แต่จากการตรวจสอบหลักฐานของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน พบว่าสีดังกล่าวมีส่วนผสมของทรายแก้ว ทองแดง แคลเซียมคาร์โบเนต และสารอัลคาไลน์ที่โดนความร้อนกว่า 800 องศาเซลเซียส
สีนี้เองที่ถูกขนานนามว่า “สีน้ำเงินอียิปต์” (Egyptian Blue) และได้ชื่อว่าเป็นการสังเคราะห์สีครั้งแรกของโลก
จริงๆ แล้ว ถึงชาติอื่นๆ จะไม่มีคำเรียกสีน้ำเงิน แต่ก็ใช้ว่าไม่มีใช้ ตัวอย่างเห็นได้จากแหล่งอารยธรรมคนอสซอสบนเกาะครีตของกรีก ก็มีการพบจิตรกรรมฝาผนังระบายสีน้ำเงินอยู่จำนวนหนึ่ง
และแน่นอนว่าในฝั่งเอเชีย จีนก็รู้จักใช้แร่โคบอลต์วาดลวดลายสีน้ำเงินสวยงามลงบนเครื่องลายครามที่เราคุ้นตามานับพันๆ ปีแล้ว
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการไม่มีชื่อเรียกแน่นอนให้สีในสมัยก่อน ก็ส่งผลให้เกิดปริศนาบางประการมาจนถึงปัจจุบัน...
ภาพแนบ: ธงต่างๆ ของอิสราเอล
ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับฮิบรูหรือ “ทานัคห์” มีการระบุให้สี “เทเคเลต” เป็นสีศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งประเด็นคือ คำแปลของเทเคเลตนั้นเป็นได้ทั้งสีม่วง สีเขียวอมฟ้า
สีน้ำเงิน แม้ตอนนี้จะยอมรับกันแพร่หลายว่าเทเคเลตเป็นสีน้ำเงิน แต่พวกเขาก็ยังไม่ทราบว่าเฉดไหน ดังนั้นหากเราไปดูสีที่ใช้ในประเทศอิสราเอล ทั้งบนธงชาติ ธงกองทัพ ธงการค้า ก็จะพบว่าสีน้ำเงินนั้นมีเฉดต่างกันไป บ้างเข้มบ้างอ่อน
ภาพแนบ: สีที่ได้จากทากทะเล
แรบไบอิสอัค เฮอร์ซอก แห่งไอร์แลนด์ทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ แล้วสันนิษฐานว่าต้นกำเนิดสีน้ำเงินในศาสนาน่าจะมาจากทากทะเลวงศ์ Hexaplex trunculus ซึ่งเมื่อนำสีจากทากนี้มาย้อมแล้วบางทีก็ให้สีน้ำเงินสด บางทีก็ให้สีม่วง
ส่วนศาสตราจารย์ซีฟ โคเรน ประจำมหาวิทยาลัยเชนคาร์ อิสราเอล คิดว่ามันน่าจะเป็นสีน้ำเงินเข้มที่เรียกว่า midnight blue ซึ่งผสมทั้งสีน้ำเงินและม่วงรวมกันมากกว่า ต่อมาช่วงหลังๆ ยังมีผู้เสนอทฤษฎีใหม่เรื่อยๆ เช่นนักวิทยาศาสตร์อิสราเอลก็มีทฤษฎีว่าเทเคเลตอาจเป็นสีน้ำเงินมาจากหอยทากก็เป็นได้
น่าสนใจว่า ภาษาดูจะเป็นส่วนสำคัญในการรับรู้ แยกแยะ และจดจำสี ...ซึ่งก็ไม่ได้จำกัดแค่ยุคโบราณ แต่รวมถึงปัจจุบันด้วย
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***
*** เรื่องของสีน้ำเงินที่หายไป ***
แต่กลับกันก็มีหลักฐานบ่งชี้ว่า สีแรกที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมาได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ก็คือ "สีน้ำเงิน" นี่แหละ
เรื่องราวเป็นยังไงมายังไง เราจะไปดูกันครับ
หลายพันปีมาแล้ว แม้จะมีอารยธรรมยิ่งใหญ่เกิดขึ้นบนโลกมากมาย กลับมีสิ่งหนึ่งที่ขาดหายไป สิ่งที่อาจดูธรรมดา แต่ก็สำคัญจนจินตนาการไม่ออกว่าหากไม่มีมันแล้วจะเป็นยังไง… สิ่งนั้นคือ “คำเรียกสีน้ำเงิน”
ในสมัยโบราณ มีเพียงไม่กี่อารยธรรมเท่านั้นที่มีคำเรียกสีดังกล่าว ทำให้เกิดข้อสงสัยในหมู่นักวิชาการขึ้นมาว่า คนสมัยก่อนตาบอดสีหรือไม่?
ภาพแนบ: วิลเลียม แกลดสโตน ต่อมาไปได้รุ่งกับการเมือง และได้เป็นนายกสหราชอาณาจักรในปี 1868
ในปี 1858 นักวิชาการนาม วิลเลียม แกลดสโตน เสนอทฤษฎีขึ้นมาว่าคนยุคก่อนอาจมีปัญหาทางสายตา เพราะในมหากาพย์ Odyssey ของโฮเมอร์ ไม่มีการพูดถึงสีน้ำเงินเลย แม้กระทั่งกับทะเลยังเป็นสีแดงไวน์ และพอเขาไปหางานเขียนสมัยกรีกโบราณอื่นๆ มาอ่าน ก็ไม่เจอคำว่าสีน้ำเงินเช่นกัน
ล่วงไปปี 1880 นักปรัชญาชาวยิวเยอรมันลาซารัส ไกเกอร์ ค้นข้อมูลลึกลงไปอีก แล้วพบว่าไม่ใช่แค่ชาวกรีกในช่วงเวลานั้นหรอกที่ไม่มีสีน้ำเงิน ในวรรณคดียุคโบราณของหลายๆ ชาติก็แทบไม่มีสีน้ำเงินปรากฏ
ไกเกอร์พบด้วยว่า แทบทุกภาษามีคำเรียกสีเริ่มจากขาวและดำ แทนแสงสว่างและความมืด ต่อด้วยสีแดง เหลือง เขียว ซึ่งเป็นสีของดินและพืช โดยสีน้ำเงินปรากฏขึ้นมาสุดท้าย เพราะไม่ได้มีตามธรรมชาติ (เชื่อกันว่าคนโบราณส่วนมากอาจมองท้องฟ้าเป็นสีขาว)
อีกทั้งในสมัยโบราณ ไม่ได้มีการแบ่งคำเรียกสีละเอียดเหมือนสมัยนี้ อย่างชาวกรีกก็มักมีแค่คำแยกสีอ่อนสีเข้ม เช่น “เคเนออส” (kyaneos) อาจหมายถึงได้ทั้งสีน้ำเงินเข้ม สีเขียวเข้ม หรือสีม่วงเข้ม ส่วนคำว่า สีฟ้า “กลาวคอส” (glaukos) อาจหมายถึงได้ทั้งสีฟ้า เขียวอ่อน เทา ฯลฯ
แต่มีอารยธรรมโบราณอยู่อารยธรรมหนึ่งที่มีคำเรียกสีน้ำเงิน อีกยังใช้สีน้ำเงินทั้งในสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมอย่างมากมายจนเป็นเอกลักษณ์ ...ได้แก่อียิปต์
ภาพแนบ: แร่ลาพิสและสีที่สกัดออกมาได้
ตอนแรกสุดนั้น ชาวอียิปต์น่าจะใช้สีน้ำเงินจากแร่อซูไรต์ แต่ปรากฏว่าพอโดนอากาศเข้าไป มันก็เกิดปฏิกิริยา เปลี่ยนเป็นสีเขียว พวกเขาจึงหันไปนิยมสกัดสีออกมาจากแร่ลาพิส ลาซูลี ซึ่งจะคงสีน้ำเงินไว
...ทว่าแร่ลาพิสหาได้ยากมาก ต้องไปขุดไกลถึงอัฟกานิสถาน แล้วก็ได้มาทีละน้อย คนอียิปต์เลยคิดทำสิ่งที่ไม่มีใครทำมาก่อน ได้แก่การสังเคราะห์สีน้ำเงินขึ้นมาเอง
ภาพแนบ: ถาดสีน้ำเงินอียิปต์
แม้วิธีการผลิตสีที่ว่าจะสูญหายไปกับกาลเวลา แต่จากการตรวจสอบหลักฐานของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน พบว่าสีดังกล่าวมีส่วนผสมของทรายแก้ว ทองแดง แคลเซียมคาร์โบเนต และสารอัลคาไลน์ที่โดนความร้อนกว่า 800 องศาเซลเซียส
สีนี้เองที่ถูกขนานนามว่า “สีน้ำเงินอียิปต์” (Egyptian Blue) และได้ชื่อว่าเป็นการสังเคราะห์สีครั้งแรกของโลก
จริงๆ แล้ว ถึงชาติอื่นๆ จะไม่มีคำเรียกสีน้ำเงิน แต่ก็ใช้ว่าไม่มีใช้ ตัวอย่างเห็นได้จากแหล่งอารยธรรมคนอสซอสบนเกาะครีตของกรีก ก็มีการพบจิตรกรรมฝาผนังระบายสีน้ำเงินอยู่จำนวนหนึ่ง
และแน่นอนว่าในฝั่งเอเชีย จีนก็รู้จักใช้แร่โคบอลต์วาดลวดลายสีน้ำเงินสวยงามลงบนเครื่องลายครามที่เราคุ้นตามานับพันๆ ปีแล้ว
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการไม่มีชื่อเรียกแน่นอนให้สีในสมัยก่อน ก็ส่งผลให้เกิดปริศนาบางประการมาจนถึงปัจจุบัน...
ภาพแนบ: ธงต่างๆ ของอิสราเอล
ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับฮิบรูหรือ “ทานัคห์” มีการระบุให้สี “เทเคเลต” เป็นสีศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งประเด็นคือ คำแปลของเทเคเลตนั้นเป็นได้ทั้งสีม่วง สีเขียวอมฟ้า
สีน้ำเงิน แม้ตอนนี้จะยอมรับกันแพร่หลายว่าเทเคเลตเป็นสีน้ำเงิน แต่พวกเขาก็ยังไม่ทราบว่าเฉดไหน ดังนั้นหากเราไปดูสีที่ใช้ในประเทศอิสราเอล ทั้งบนธงชาติ ธงกองทัพ ธงการค้า ก็จะพบว่าสีน้ำเงินนั้นมีเฉดต่างกันไป บ้างเข้มบ้างอ่อน
ภาพแนบ: สีที่ได้จากทากทะเล
แรบไบอิสอัค เฮอร์ซอก แห่งไอร์แลนด์ทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ แล้วสันนิษฐานว่าต้นกำเนิดสีน้ำเงินในศาสนาน่าจะมาจากทากทะเลวงศ์ Hexaplex trunculus ซึ่งเมื่อนำสีจากทากนี้มาย้อมแล้วบางทีก็ให้สีน้ำเงินสด บางทีก็ให้สีม่วง
ส่วนศาสตราจารย์ซีฟ โคเรน ประจำมหาวิทยาลัยเชนคาร์ อิสราเอล คิดว่ามันน่าจะเป็นสีน้ำเงินเข้มที่เรียกว่า midnight blue ซึ่งผสมทั้งสีน้ำเงินและม่วงรวมกันมากกว่า ต่อมาช่วงหลังๆ ยังมีผู้เสนอทฤษฎีใหม่เรื่อยๆ เช่นนักวิทยาศาสตร์อิสราเอลก็มีทฤษฎีว่าเทเคเลตอาจเป็นสีน้ำเงินมาจากหอยทากก็เป็นได้
น่าสนใจว่า ภาษาดูจะเป็นส่วนสำคัญในการรับรู้ แยกแยะ และจดจำสี ...ซึ่งก็ไม่ได้จำกัดแค่ยุคโบราณ แต่รวมถึงปัจจุบันด้วย
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***