คอลัมน์ “เรื่องเล่าสะใภ้ญี่ปุ่น” โดย “ซาระซัง”
ในญี่ปุ่นมีมานานแล้วที่พ่อหรือแม่พาลูกหนีคู่สมรสของตัวเองและไม่ยอมให้อีกฝ่ายได้พบหน้าค่าตาลูกอีก แม้อีกฝ่ายจะฟ้องร้องอย่างไรก็ไม่เป็นผล เรื่องนี้ยังเป็นประเด็นร้อนข้ามชาติด้วยเมื่อสามีต่างชาติหลายคนถูกภรรยาชาวญี่ปุ่นแอบหอบลูกหนีกลับญี่ปุ่นทำให้ญี่ปุ่นถูกขนานนามว่าเป็น “อาณาจักรแห่งการลักพาตัวเด็ก”
สภาพการณ์ของการลักพาตัวลูกในญี่ปุ่น
เมื่อต้นสัปดาห์มีข่าวคุณพ่อชาวฝรั่งเศสซึ่งอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นมาสิบกว่าปีประท้วงอดอาหารเพื่อให้นานาชาติได้รับรู้ถึงปัญหาการลักพาตัวลูกที่เขาต้องเผชิญในญี่ปุ่น ตัวเขาเองถูกภรรยาชาวญี่ปุ่นพาลูกหนีไป ทีแรกภรรยากล่าวหาเขาว่าก่อความรุนแรงในครอบครัวซึ่งเขาสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองได้สำเร็จด้วยแสดงหลักฐานใบเสร็จ สเตทเมนท์ธนาคาร (รายงานการเคลื่อนไหวทางบัญชี) และรูปถ่ายซึ่งบ่งบอกว่าในช่วงสองสัปดาห์ที่ภรรยาอ้างว่าถูกขังไว้นั้น เธอไปช้อปปิ้งและรับประทานอาหารนอกบ้าน
แม้ภรรยาจะกล่าวหาเท็จและไม่ให้เขาได้เจอหน้าลูกแต่ภรรยากลับไม่มีความผิด ศาลยังตัดสินไม่ให้สามีได้อำนาจปกครองบุตรเพราะภรรยาเป็นฝ่ายดูแลลูกมาระยะพอสมควรแล้วด้วยตัวคนเดียว แม้เขาจะพยายามหาทางติดต่อลูกแต่ดูเหมือนว่าภรรยาเขา ศาลและตำรวจจะกีดกันเขาไว้ทุกวิถีทาง
เหตุการณ์ลักษณะเดียวกันยังเกิดขึ้นแก่ครอบครัวชาวญี่ปุ่นไม่ต่ำกว่าหลักหมื่นครอบครัวรวมทั้งชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นหรือในต่างประเทศอีกจำนวนไม่น้อยซึ่งถูกคู่สมรสชาวญี่ปุ่น (ส่วนใหญ่คือภรรยา) พาตัวลูกหนีไป ส่วนใหญ่พอถูกพาตัวไปแล้วก็แทบไม่มีโอกาสได้เจอลูกอีก
เหตุใดญี่ปุ่นจึงปล่อยให้เกิดกรณีเช่นนี้ขึ้น
การพาตัวลูกหนีจากคู่สมรสไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายนั้น ภาษาอังกฤษจะเรียกว่าเป็น “abduction” คือเป็นการลักพาตัวแต่ญี่ปุ่นไม่ได้มองในลักษณะนั้น อีกทั้งยังไม่ได้ถือเป็นการกระทำผิดทางกฎหมายด้วย ทนายความคนหนึ่งถึงกับกล่าวว่าเวลามีคนมาปรึกษาทนายเรื่องหย่าและต้องการให้แน่ใจว่าได้อำนาจปกครองบุตรจะทำอย่างไร ทนายจะบอกว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ พาลูกหนี
เมื่อเอาผิดทางกฎหมายไม่ได้เช่นนี้ ทางศาลและตำรวจจึงไม่แทรกแซงแต่หากฝ่ายที่ถูกกระทำพยายามไปเอาตัวลูกกลับคืนมาจะกลายเป็นฝ่ายมีความผิดทางกฎหมายไปแทน ดังนั้นคนที่เอาตัวลูกไปก่อนจึงได้เปรียบและยิ่งพาลูกจากไปนานเท่าไหร่ อีกฝ่ายก็ยิ่งอยู่ในฐานะเสียเปรียบมากเท่านั้นเพราะเมื่อเด็กชินกับสภาพแวดล้อมใหม่แล้ว ศาลจะมองว่าเป็นการดีต่อเด็กมากกว่าที่จะให้อยู่ในความปกครองของคนที่ดูแลอยู่ก่อนแล้วจึงให้อำนาจปกครองบุตรแก่คนที่เป็นฝ่าย “ลักพาตัว” ไปแทน
สาเหตุที่มีการลักพาตัวลูกกันอย่างอุกอาจเช่นนี้ ว่ากันว่าเป็นเพราะญี่ปุ่นไม่มีการให้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันแต่ให้เฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ต่อให้ทั้งพ่อและแม่มีบทบาทในการเลี้ยงลูกมากเท่ากัน เมื่อหย่ากันแล้วอำนาจปกครองบุตรจะตกอยู่กับเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น กระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่นยังอ้างว่ากฎหมายที่มีอยู่เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กเองอีกด้วย
มีการประมาณการณ์ว่าทุกปีจะมีเด็กราว 150,000 คนทีเดียวที่ถูกตัดขาดจากพ่อหรือแม่หลังการหย่า บางคนเล่ากว่าตัวเองจะได้เจอหน้าแม่อีกครั้งก็ผ่านไปเกือบสี่สิบปี
ผลกระทบต่อลูกและพ่อ/แม่ที่ถูกกีดกัน
มีการศึกษาพบว่าการปิดกั้นไม่ให้เด็กได้พบเจอพ่อหรือแม่จะสร้างผลกระทบด้านจิตใจอย่างรุนแรงแก่เด็ก อาจารย์โอดางิริ โนริโกะ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็กกล่าวว่า เด็กจะรู้สึกเหมือนถูกอีกฝ่ายทิ้งและคิดว่าฝ่ายนั้นไม่ได้รักเขาอีกแล้ว เด็กเล็กจะมีปัญหาความประพฤติและรู้สึกสิ้นหวัง เด็กวัยรุ่นมักออกจากโรงเรียนกลางคัน หลายคนมีความนับถือตัวเองต่ำและจากการศึกษาบางส่วนในต่างประเทศยังพบว่าเด็กจะมีความกังวลใจลึก ๆ อยู่เสมอหรือรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมายและยังมีคนที่พยายามฆ่าตัวตายหลายครั้งด้วย
”การลักพาตัวเด็กโดยพ่อแม่เป็นการทำทารุณต่อเด็ก”
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่านับวันปัญหาการกระทำรุนแรงต่อเด็กโดยฝ่ายที่มีอำนาจปกครองบุตรยังเลวร้ายขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเพราะเมื่อลูกเหลือผู้ปกครองเพียงคนเดียว และหากผู้ปกครองนั้นกระทำรุนแรง เด็กก็จะไม่เหลือที่พึ่งเลย ในญี่ปุ่นพบว่าร้อยละ 80 ของคนที่ได้อำนาจปกครองบุตรคือฝ่ายแม่ อีกทั้งสังคมญี่ปุ่นก็นิยมมองว่าการเลี้ยงลูกเป็นหน้าที่แม่อีกเช่นกันแต่ในขณะเดียวกันสถิติของกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นกลับพบว่า คนที่กระทำรุนแรงต่อเด็กมากที่สุดมักเป็นแม่แท้ ๆ ยิ่งกว่าพ่อแท้ ๆ เสียอีก
ข้ออ้างที่พบบ่อยเวลาแม่พาลูกหนีสามีคือ “ถูกกระทำรุนแรง” ซึ่งมักทำให้สังคมเห็นใจและโทษฝ่ายชายโดยที่ไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อกล่าวหานั้นอย่างเป็นระบบ อีกทั้งข้อกล่าวหานั้นยังเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายที่กล่าวหาอย่างยิ่งคือทำให้ตัวเองมีข้ออ้างอันชอบธรรมที่จะไม่ให้อีกฝ่ายเจอลูกและเมื่อเวลาผ่านไปช่วงหนึ่งก็จะได้อำนาจปกครองลูกแต่ผู้เดียว
นอกจากนี้ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร คนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำรุนแรงก็ถูกสังคมรังเกียจและตัวผู้ถูกกล่าวหาก็กลัวเสี่ยงต้องออกจากงานด้วยจึงทำให้ผู้ชายหลายคนไม่กล้าสู้คดีหรือเปิดเผยเรื่องราวให้คนอื่นรับรู้ ได้แต่ต้องปิดปากเงียบยอมรับชะตากรรม
มาตรการทางกฎหมายเรื่องการลักพาตัวลูก
หลังถูกกดดันอย่างหนักจากสหรัฐฯ และยุโรป ญี่ปุ่นจึงยอมลงนามเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยลักษณะทางแพ่งในการลักพาเด็กข้ามชาติ เมื่อ พ.ศ. 2557 นี้เอง อนุสัญญานี้เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศให้ส่งตัวเด็กคืนสู่ประเทศที่เด็กอยู่อาศัย หากถูกพาตัวข้ามชาติไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ การลงนามของญี่ปุ่นในอนุสัญญานี้ช่วยให้เด็กจำนวนมากที่ถูกพาตัวไปยังญี่ปุ่นถูกส่งตัวกลับคืนสู่มาตุภูมิ
“การลักพาตัวเด็กเป็นอาชญากรรม การลักพาตัวเด็กข้ามชาติโดยพ่อแม่เป็นอาชญากรรมในสหรัฐฯ และสามารถส่งผลกระทบระยะยาวต่อคุณและครอบครัวคุณได้”
อย่างไรก็ดีหากเป็นกรณีที่เกิดขึ้นภายในญี่ปุ่นแล้ว ต่อให้คู่สมรสอีกฝ่ายเป็นต่างชาติก็ไม่สามารถบังคับใช้อนุสัญญาที่ว่านี้ได้ บรรดาคู่สมรสต่างชาติจำนวนหนึ่งจึงทำได้เพียงร้องเรียนไปยังคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติว่าญี่ปุ่นละเมิดกติการะหว่างประเทศที่ตัวเองลงนามได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและอนุสัญญาว่าด้วยลักษณะทางแพ่งในการลักพาเด็กข้ามชาติ รวมทั้งกดดันรัฐบาลประเทศตนให้กดดันรัฐบาลญี่ปุ่นอีกต่อหนึ่งแต่ก็ยังไม่เกิดความคืบหน้าในทางปฏิบัติเท่าใดนัก
ผู้เชี่ยวชาญกรณีดังกล่าวในญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งให้ความเห็นว่า ญี่ปุ่นควรนิยามการ “พาลูกหนี” โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสว่าเป็นการ “ลักพาตัว” รวมทั้งออกกฎหมายเพื่อให้การลักพาตัวลูกเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วย
อำนาจปกครองบุตรร่วมกัน
หลายฝ่ายคิดว่าการให้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะที่ผ่านมาเด็กจำนวนมากถูกตัดขาดจากพ่อหรือแม่ก็จากการที่ญี่ปุ่นไม่ให้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันนี้เอง ทำให้ฝ่ายที่ได้ตัวลูกไปอ้างสิทธิ์ที่จะไม่ให้ลูกเจอกับอดีตคู่สมรสของตัวเองอีกหรือหลงคิดไปว่าอดีตคู่สมรสไม่ใช่พ่อหรือแม่ของเด็กอีกต่อไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่สำหรับเด็กแล้วพ่อก็ยังเป็นพ่อของตน แม่ก็ยังเป็นแม่ของตนเหมือนเดิม
นอกจากนี้หากพ่อแม่มีสิทธิ์เลี้ยงลูกร่วมกัน เด็กก็จะไม่รู้สึกขาดความรักจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และได้เรียนรู้ต้นแบบจากทั้งพ่อทั้งแม่ซึ่งเป็นชายและหญิง รวมทั้งไม่ต้องเป็นปมด้อยเวลาคุยกับเพื่อนเรื่องพ่อแม่ ส่วนพ่อแม่ก็จะไม่ต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับภาระเลี้ยงดูลูกอยู่คนเดียว ไม่ว่าจะเรื่องเวลาหรือค่าใช้จ่ายและหากเกิดอะไรขึ้นกับตน อย่างน้อยลูกก็ยังเหลือพ่อหรือแม่อยู่อีกคนหนึ่งคอยดูแล
ดังนั้นถึงแม้ว่าพ่อแม่จะหย่าขาดจากความเป็นสามีภรรยาไปแล้วแต่ก็ยังสามารถเป็นผู้ปกครองลูกร่วมกันได้ หรือถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกลียดอีกฝ่ายมาก คิดว่าอย่างไรก็ไม่ขอเจอกันอีก ก็อาจจะหาคนกลางช่วย การที่พ่อแม่ยังมีส่วนแบ่งในการเลี้ยงลูกทั้งคู่เช่นนี้ จะช่วยให้เด็กไม่ต้องรับเคราะห์เพราะปัญหาส่วนตัวของพ่อแม่เกินจำเป็น ไม่ต้องถูกตัดขาดจากคนใดคนหนึ่งอย่างไม่ยุติธรรม
ถ้าหากสังคมญี่ปุ่นเห็นความสำคัญของเด็กและสถาบันครอบครัวจริง รวมทั้งไม่มองว่าปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาภายในครอบครัวแต่เป็นปัญหาสังคมที่ต้องช่วยกันแก้ไข ก็อาจพอเป็นไปได้บ้างที่ญี่ปุ่นจะปรับเปลี่ยนกฎหมายซึ่งน่าจะช่วยให้เด็กจำนวนมากไม่ต้องสูญเสียพ่อหรือแม่ไปตลอดชีวิตอย่างที่ผ่านมาอีก แต่หากญี่ปุ่นยังคงปิดหูปิดตาอยู่เช่นเดิมก็นับเป็นความสูญเสียของญี่ปุ่นเองที่ยืนหยัดสร้างรากฐานสังคมบนสถาบันครอบครัวอันแตกร้าว
Credit:
https://mgronline.com/japan/detail/9640000069509
อ่านเเล้วน่าเศร้านะ
พ่อแม่ลักพาตัวลูก" ความผิดปกติที่ปกติในญี่ปุ่น
ในญี่ปุ่นมีมานานแล้วที่พ่อหรือแม่พาลูกหนีคู่สมรสของตัวเองและไม่ยอมให้อีกฝ่ายได้พบหน้าค่าตาลูกอีก แม้อีกฝ่ายจะฟ้องร้องอย่างไรก็ไม่เป็นผล เรื่องนี้ยังเป็นประเด็นร้อนข้ามชาติด้วยเมื่อสามีต่างชาติหลายคนถูกภรรยาชาวญี่ปุ่นแอบหอบลูกหนีกลับญี่ปุ่นทำให้ญี่ปุ่นถูกขนานนามว่าเป็น “อาณาจักรแห่งการลักพาตัวเด็ก”
สภาพการณ์ของการลักพาตัวลูกในญี่ปุ่น
เมื่อต้นสัปดาห์มีข่าวคุณพ่อชาวฝรั่งเศสซึ่งอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นมาสิบกว่าปีประท้วงอดอาหารเพื่อให้นานาชาติได้รับรู้ถึงปัญหาการลักพาตัวลูกที่เขาต้องเผชิญในญี่ปุ่น ตัวเขาเองถูกภรรยาชาวญี่ปุ่นพาลูกหนีไป ทีแรกภรรยากล่าวหาเขาว่าก่อความรุนแรงในครอบครัวซึ่งเขาสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองได้สำเร็จด้วยแสดงหลักฐานใบเสร็จ สเตทเมนท์ธนาคาร (รายงานการเคลื่อนไหวทางบัญชี) และรูปถ่ายซึ่งบ่งบอกว่าในช่วงสองสัปดาห์ที่ภรรยาอ้างว่าถูกขังไว้นั้น เธอไปช้อปปิ้งและรับประทานอาหารนอกบ้าน
แม้ภรรยาจะกล่าวหาเท็จและไม่ให้เขาได้เจอหน้าลูกแต่ภรรยากลับไม่มีความผิด ศาลยังตัดสินไม่ให้สามีได้อำนาจปกครองบุตรเพราะภรรยาเป็นฝ่ายดูแลลูกมาระยะพอสมควรแล้วด้วยตัวคนเดียว แม้เขาจะพยายามหาทางติดต่อลูกแต่ดูเหมือนว่าภรรยาเขา ศาลและตำรวจจะกีดกันเขาไว้ทุกวิถีทาง
เหตุการณ์ลักษณะเดียวกันยังเกิดขึ้นแก่ครอบครัวชาวญี่ปุ่นไม่ต่ำกว่าหลักหมื่นครอบครัวรวมทั้งชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นหรือในต่างประเทศอีกจำนวนไม่น้อยซึ่งถูกคู่สมรสชาวญี่ปุ่น (ส่วนใหญ่คือภรรยา) พาตัวลูกหนีไป ส่วนใหญ่พอถูกพาตัวไปแล้วก็แทบไม่มีโอกาสได้เจอลูกอีก
เหตุใดญี่ปุ่นจึงปล่อยให้เกิดกรณีเช่นนี้ขึ้น
การพาตัวลูกหนีจากคู่สมรสไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายนั้น ภาษาอังกฤษจะเรียกว่าเป็น “abduction” คือเป็นการลักพาตัวแต่ญี่ปุ่นไม่ได้มองในลักษณะนั้น อีกทั้งยังไม่ได้ถือเป็นการกระทำผิดทางกฎหมายด้วย ทนายความคนหนึ่งถึงกับกล่าวว่าเวลามีคนมาปรึกษาทนายเรื่องหย่าและต้องการให้แน่ใจว่าได้อำนาจปกครองบุตรจะทำอย่างไร ทนายจะบอกว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ พาลูกหนี
เมื่อเอาผิดทางกฎหมายไม่ได้เช่นนี้ ทางศาลและตำรวจจึงไม่แทรกแซงแต่หากฝ่ายที่ถูกกระทำพยายามไปเอาตัวลูกกลับคืนมาจะกลายเป็นฝ่ายมีความผิดทางกฎหมายไปแทน ดังนั้นคนที่เอาตัวลูกไปก่อนจึงได้เปรียบและยิ่งพาลูกจากไปนานเท่าไหร่ อีกฝ่ายก็ยิ่งอยู่ในฐานะเสียเปรียบมากเท่านั้นเพราะเมื่อเด็กชินกับสภาพแวดล้อมใหม่แล้ว ศาลจะมองว่าเป็นการดีต่อเด็กมากกว่าที่จะให้อยู่ในความปกครองของคนที่ดูแลอยู่ก่อนแล้วจึงให้อำนาจปกครองบุตรแก่คนที่เป็นฝ่าย “ลักพาตัว” ไปแทน
สาเหตุที่มีการลักพาตัวลูกกันอย่างอุกอาจเช่นนี้ ว่ากันว่าเป็นเพราะญี่ปุ่นไม่มีการให้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันแต่ให้เฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ต่อให้ทั้งพ่อและแม่มีบทบาทในการเลี้ยงลูกมากเท่ากัน เมื่อหย่ากันแล้วอำนาจปกครองบุตรจะตกอยู่กับเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น กระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่นยังอ้างว่ากฎหมายที่มีอยู่เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กเองอีกด้วย
มีการประมาณการณ์ว่าทุกปีจะมีเด็กราว 150,000 คนทีเดียวที่ถูกตัดขาดจากพ่อหรือแม่หลังการหย่า บางคนเล่ากว่าตัวเองจะได้เจอหน้าแม่อีกครั้งก็ผ่านไปเกือบสี่สิบปี
ผลกระทบต่อลูกและพ่อ/แม่ที่ถูกกีดกัน
มีการศึกษาพบว่าการปิดกั้นไม่ให้เด็กได้พบเจอพ่อหรือแม่จะสร้างผลกระทบด้านจิตใจอย่างรุนแรงแก่เด็ก อาจารย์โอดางิริ โนริโกะ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็กกล่าวว่า เด็กจะรู้สึกเหมือนถูกอีกฝ่ายทิ้งและคิดว่าฝ่ายนั้นไม่ได้รักเขาอีกแล้ว เด็กเล็กจะมีปัญหาความประพฤติและรู้สึกสิ้นหวัง เด็กวัยรุ่นมักออกจากโรงเรียนกลางคัน หลายคนมีความนับถือตัวเองต่ำและจากการศึกษาบางส่วนในต่างประเทศยังพบว่าเด็กจะมีความกังวลใจลึก ๆ อยู่เสมอหรือรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมายและยังมีคนที่พยายามฆ่าตัวตายหลายครั้งด้วย
”การลักพาตัวเด็กโดยพ่อแม่เป็นการทำทารุณต่อเด็ก”
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่านับวันปัญหาการกระทำรุนแรงต่อเด็กโดยฝ่ายที่มีอำนาจปกครองบุตรยังเลวร้ายขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเพราะเมื่อลูกเหลือผู้ปกครองเพียงคนเดียว และหากผู้ปกครองนั้นกระทำรุนแรง เด็กก็จะไม่เหลือที่พึ่งเลย ในญี่ปุ่นพบว่าร้อยละ 80 ของคนที่ได้อำนาจปกครองบุตรคือฝ่ายแม่ อีกทั้งสังคมญี่ปุ่นก็นิยมมองว่าการเลี้ยงลูกเป็นหน้าที่แม่อีกเช่นกันแต่ในขณะเดียวกันสถิติของกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นกลับพบว่า คนที่กระทำรุนแรงต่อเด็กมากที่สุดมักเป็นแม่แท้ ๆ ยิ่งกว่าพ่อแท้ ๆ เสียอีก
ข้ออ้างที่พบบ่อยเวลาแม่พาลูกหนีสามีคือ “ถูกกระทำรุนแรง” ซึ่งมักทำให้สังคมเห็นใจและโทษฝ่ายชายโดยที่ไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อกล่าวหานั้นอย่างเป็นระบบ อีกทั้งข้อกล่าวหานั้นยังเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายที่กล่าวหาอย่างยิ่งคือทำให้ตัวเองมีข้ออ้างอันชอบธรรมที่จะไม่ให้อีกฝ่ายเจอลูกและเมื่อเวลาผ่านไปช่วงหนึ่งก็จะได้อำนาจปกครองลูกแต่ผู้เดียว
นอกจากนี้ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร คนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำรุนแรงก็ถูกสังคมรังเกียจและตัวผู้ถูกกล่าวหาก็กลัวเสี่ยงต้องออกจากงานด้วยจึงทำให้ผู้ชายหลายคนไม่กล้าสู้คดีหรือเปิดเผยเรื่องราวให้คนอื่นรับรู้ ได้แต่ต้องปิดปากเงียบยอมรับชะตากรรม
มาตรการทางกฎหมายเรื่องการลักพาตัวลูก
หลังถูกกดดันอย่างหนักจากสหรัฐฯ และยุโรป ญี่ปุ่นจึงยอมลงนามเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยลักษณะทางแพ่งในการลักพาเด็กข้ามชาติ เมื่อ พ.ศ. 2557 นี้เอง อนุสัญญานี้เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศให้ส่งตัวเด็กคืนสู่ประเทศที่เด็กอยู่อาศัย หากถูกพาตัวข้ามชาติไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ การลงนามของญี่ปุ่นในอนุสัญญานี้ช่วยให้เด็กจำนวนมากที่ถูกพาตัวไปยังญี่ปุ่นถูกส่งตัวกลับคืนสู่มาตุภูมิ
“การลักพาตัวเด็กเป็นอาชญากรรม การลักพาตัวเด็กข้ามชาติโดยพ่อแม่เป็นอาชญากรรมในสหรัฐฯ และสามารถส่งผลกระทบระยะยาวต่อคุณและครอบครัวคุณได้”
อย่างไรก็ดีหากเป็นกรณีที่เกิดขึ้นภายในญี่ปุ่นแล้ว ต่อให้คู่สมรสอีกฝ่ายเป็นต่างชาติก็ไม่สามารถบังคับใช้อนุสัญญาที่ว่านี้ได้ บรรดาคู่สมรสต่างชาติจำนวนหนึ่งจึงทำได้เพียงร้องเรียนไปยังคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติว่าญี่ปุ่นละเมิดกติการะหว่างประเทศที่ตัวเองลงนามได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและอนุสัญญาว่าด้วยลักษณะทางแพ่งในการลักพาเด็กข้ามชาติ รวมทั้งกดดันรัฐบาลประเทศตนให้กดดันรัฐบาลญี่ปุ่นอีกต่อหนึ่งแต่ก็ยังไม่เกิดความคืบหน้าในทางปฏิบัติเท่าใดนัก
ผู้เชี่ยวชาญกรณีดังกล่าวในญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งให้ความเห็นว่า ญี่ปุ่นควรนิยามการ “พาลูกหนี” โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสว่าเป็นการ “ลักพาตัว” รวมทั้งออกกฎหมายเพื่อให้การลักพาตัวลูกเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วย
อำนาจปกครองบุตรร่วมกัน
หลายฝ่ายคิดว่าการให้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะที่ผ่านมาเด็กจำนวนมากถูกตัดขาดจากพ่อหรือแม่ก็จากการที่ญี่ปุ่นไม่ให้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันนี้เอง ทำให้ฝ่ายที่ได้ตัวลูกไปอ้างสิทธิ์ที่จะไม่ให้ลูกเจอกับอดีตคู่สมรสของตัวเองอีกหรือหลงคิดไปว่าอดีตคู่สมรสไม่ใช่พ่อหรือแม่ของเด็กอีกต่อไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่สำหรับเด็กแล้วพ่อก็ยังเป็นพ่อของตน แม่ก็ยังเป็นแม่ของตนเหมือนเดิม
นอกจากนี้หากพ่อแม่มีสิทธิ์เลี้ยงลูกร่วมกัน เด็กก็จะไม่รู้สึกขาดความรักจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และได้เรียนรู้ต้นแบบจากทั้งพ่อทั้งแม่ซึ่งเป็นชายและหญิง รวมทั้งไม่ต้องเป็นปมด้อยเวลาคุยกับเพื่อนเรื่องพ่อแม่ ส่วนพ่อแม่ก็จะไม่ต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับภาระเลี้ยงดูลูกอยู่คนเดียว ไม่ว่าจะเรื่องเวลาหรือค่าใช้จ่ายและหากเกิดอะไรขึ้นกับตน อย่างน้อยลูกก็ยังเหลือพ่อหรือแม่อยู่อีกคนหนึ่งคอยดูแล
ดังนั้นถึงแม้ว่าพ่อแม่จะหย่าขาดจากความเป็นสามีภรรยาไปแล้วแต่ก็ยังสามารถเป็นผู้ปกครองลูกร่วมกันได้ หรือถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกลียดอีกฝ่ายมาก คิดว่าอย่างไรก็ไม่ขอเจอกันอีก ก็อาจจะหาคนกลางช่วย การที่พ่อแม่ยังมีส่วนแบ่งในการเลี้ยงลูกทั้งคู่เช่นนี้ จะช่วยให้เด็กไม่ต้องรับเคราะห์เพราะปัญหาส่วนตัวของพ่อแม่เกินจำเป็น ไม่ต้องถูกตัดขาดจากคนใดคนหนึ่งอย่างไม่ยุติธรรม
ถ้าหากสังคมญี่ปุ่นเห็นความสำคัญของเด็กและสถาบันครอบครัวจริง รวมทั้งไม่มองว่าปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาภายในครอบครัวแต่เป็นปัญหาสังคมที่ต้องช่วยกันแก้ไข ก็อาจพอเป็นไปได้บ้างที่ญี่ปุ่นจะปรับเปลี่ยนกฎหมายซึ่งน่าจะช่วยให้เด็กจำนวนมากไม่ต้องสูญเสียพ่อหรือแม่ไปตลอดชีวิตอย่างที่ผ่านมาอีก แต่หากญี่ปุ่นยังคงปิดหูปิดตาอยู่เช่นเดิมก็นับเป็นความสูญเสียของญี่ปุ่นเองที่ยืนหยัดสร้างรากฐานสังคมบนสถาบันครอบครัวอันแตกร้าว
Credit: https://mgronline.com/japan/detail/9640000069509
อ่านเเล้วน่าเศร้านะ