🇹🇭มาลาริน🔮วันนี้(17ก.ค.)ป่วย10,082คน หายป่วย6,327คน เสียชีวิต141คน/เตรียมเสนอ‘ปิดเมืองเต็มรูปแบบ’ลดการแพร่เชื้อโควิด

เพี้ยนปักหมุดสถานการณ์ โควิด19วันนี้ (17 ก.ค. 64)
• ทั่วโลก
สูงขึ้นเล็กน้อย ประเทศเพื่อนบ้านพบผู้ที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้น
• ประเทศไทย
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบทุกพื้นที่
1) กทม. ปริมณฑล พบผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตจำนวนมากในพื้นที่และพบการระบาดของโรคในชุมชน ครอบครัว ในวงกว้าง
2) ต่างจังหวัด พบผู้ติดเชื้อจากเดินทางกลับภูมิลำเนาต่อเนื่อง และพบผู้ติดเชื้อในครอบครัวบ้าง
3) ภาคกลางและตะวันออก พบการระบาดในโรงงานต่อเนื่อง การตรวจด้วย ATK และใช้มาตรการ BB&S เพื่อการควบคุมโรค

- พบผู้ป่วยอาการหนัก ใช้ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกทม. ปริมณฑล
- สถานที่เสี่ยง ยังคงเป็นหน่วยงาน/ที่ทำงาน โรงงาน โรงเรียน ในบ้าน ตลาด สถานที่ชุมชน และแคมป์ก่อสร้าง




จํานวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่ วันที่ 17 กรกฎาคม 2564 ตรวจสอบ 10 จังหวัดอันดับแรก



ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร หรือ กทม. ยังคงติดเชื้อโควิดสูงสุด อันดับ 1 ของประเทศ จับตาปริมณฑล สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี ยอดเพิ่มขึ้นน่าวิตก ขณะที่ สมุทรสาคร ชลบุรี สงขลา ฉะเชิงเทรา และยะลา ยอดรายวันยังสูง



https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/949526

เพี้ยนแคปเจอร์!เตรียมเสนอยาแรง ‘ปิดเมืองเต็มรูปแบบ’ลดการแพร่ระบาดโควิด
ศปก.ศบค.เตรียมเสนอนายกใช้ยาแรงปิดเมืองทั้งหมด สั่งงดเว้นการเดินทางกิจกรรมทั้งหมด ทำงานที่บ้าน 100% เร่งตรวจหาเชื้อ ฉีดวัคซีน



วันที่ 17 ก.ค. การประชุมด่วนศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) ได้มีการพิจารณาเพิ่มมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ที่ระบาดอย่างหนักมากขึ้น โดยทางเจ้าหน้าที่แพทย์และสาธารณสุขที่ร่วมประชุมด้วย ได้เสนอแนะการลดการเคลื่อนที่ให้มากขึ้น โดยเสนอให้งดกิจกรรมทุกอย่างในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งหมด ยกเว้นการขนส่งสินค้า อาหาร ยา วัคซีน สื่อสารและสาธารณูปโภค โดยแนะนำให้รัฐมีความชัดเจนเรื่องการตรวจหาเชื้อ รักษาและสนับสนุนการดำรงชีพ พร้อมทั้งควบคุมการเดินทางข้ามจังหวัดอย่างเคร่งครัดด้วย และเฝ้าระวังที่ชายแดนคนเข้าออกอย่างเข้มงวด นอกจากนี้จะให้มีการทำงานที่บ้าน (Work from home) แบบ 100% ทันที 

นอกจากนี้ยังมีการเสนอให้เร่งรัดการฉีดวัคซีนแก่ผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังมากยิ่งขึ้น มีการบริหารจัดการระบบทีมเคลื่อนที่เร็วแบบเบ็ดเสร็จ (Covid-19 Comprehensive Response Team: CCRT) มาตรการแยกกักที่บ้าน (Home Isolation) มาตรการแยกกักในชุมชน (Community Isolation) และบริหารจัดการโรงพยาบาล ลดความซ้ำซ้อนและสามารถทำการดูแลรักษาได้อย่างครอบคลุมจํานวนผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงให้มากที่สุด
ส่วนสถานประกอบการ โรงงาน จะให้ใช้วิธีการตรวจด้วยแอนติเจน เทสต์ คิต (Antigen test kit: ATK) และใช้มาตรารบับเบิล แอนด์ ซีล (Bubble and seal) เพื่อควบคุมโรค  

ทั้งนี้ในข้อเสนอแนะนำเรื่องการสื่อสารการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน เพื่อให้ทราบสถานการณ์และมาตรการที่จะดำเนินการ รวมทั้งลดความตระหนก เพื่อให้เกิดความร่วมมือจากประชาชน ซึ่งข้อเสนอแนะทั้งหมดนี้จะมีการนำเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็น ผอ.ศบค. และประธานการประชุมในเร็วๆ นี้

อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/news/64652/

ให้กำลังใจทุกๆฝ่ายที่กำลังทำงานสู้โควิดค่ะ...💞💞💞💞💞💞

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 36

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
"อว. เผยฉีดวัคซีนของไทย ณ วันที่ 16 กรกฎาคม ฉีดวัคซีนแล้ว 13,823,355 โดส และทั่วโลกแล้ว 3,544 ล้านโดส ใน 201 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 122.65 ล้านโดส โดยจังหวัดของไทยที่ฉีดมากที่สุด คือ ภูเก็ต โดยฉีดวัคซีนเข็มแรกกว่า 72.0%”

(16 กรกฎาคม 2564) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 3,544 ล้านโดส ใน 201 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 31 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 336 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 160 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว"

ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 122.65 ล้านโดส โดยสิงคโปร์ฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (68.8% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 56.169 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 13,823,355 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 50.3%

ในการฉีดวัคซีน จำนวน 3,544 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ

1) ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2564
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 13,823,355 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 10,424925 โดส (15.8% ของประชากร)
-เข็มสอง 2 3,398,430 โดส (5.1% ของประชากร)

2) จำนวนวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.- 16 ก.ค. 64 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 13,823,355 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 263,960 โดส/วัน ประกอบด้วย
วัคซีน Sinopharm
- เข็มที่ 1 352,992 โดส
- เข็มที่ 2 652 โดส
วัคซีน AstraZeneca
- เข็มที่ 1 5,988,367 โดส
- เข็มที่ 2 86,607 โดส
วัคซีน Sinovac
- เข็มที่ 1 4,083,566 โดส
- เข็มที่ 2 3,311,171 โดส

3) รายงานผู้มีอาการข้างเคียงภายหลังได้รับการฉีดวัคซีน
- 95.68% ไม่มีผลข้างเคียง
- 4.32% มีผลข้างเคียงไม่รุนแรง ประกอบด้วย
- ปวดกล้ามเนื้อ 1.04%
- ปวดศีรษะ 0.77%
- ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด 0.55%
- เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 0.50%
- ไข้ 0.34%
- คลื่นไส้ 0.23%
- ท้องเสีย 0.15%
- ผื่น 0.13%
- ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง 0.10%
- อาเจียน 0.06%
- อื่น ๆ 0.44%

4) การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย
- บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่1 111% เข็มที่2 97.4%
- อสม เข็มที่1 39.7% เข็มที่2 19.4%
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 16.9% เข็มที่2 1.1%
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่1 20.5% เข็มที่1 4.1%
- เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เข็มที่1 41% เข็มที่2 24.9%
- ประชาชนทั่วไป เข็มที่1 18.4% เข็มที่2 5.9%
รวม เข็มที่1 20.8% เข็มที่2 6.8%

5) จังหวัดที่ฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 แบ่งเป็น 2 ชุดข้อมูล
กรุงเทพฯ และปริมณฑล เข็มที่1 33.0% เข็มที่2 9.30% ประกอบด้วย
- กรุงเทพฯ เข็มที่1 44.59% เข็มที่2 11.97%
- สมุทรสาคร เข็มที่1 24.24% เข็มที่2 12.96%
- นนทบุรี เข็มที่1 24.85% เข็มที่2 9.33%
- สมุทรปราการ เข็มที่1 24.48% เข็มที่2 4.81%
- ปทุมธานี เข็มที่1 16.33% เข็มที่2 4.26%
- นครปฐม เข็มที่1 10.13% เข็มที่2 2.43%

จังหวัดอื่น ๆ 71 จังหวัด เข็มที่1 8.33% เข็มที่2 2.84%
- ภูเก็ต เข็มที่1 72.0% เข็มที่2 57.99%
- ระนอง เข็มที่1 31.59% เข็มที่2 8.99%
- สุราษฎร์ธานี เข็มที่1 16.78% เข็มที่2 7.08%
    - เกาะสมุย เข็มที่1 64.68% เข็มที่2 42.68%
    - เกาะเต่า เข็มที่1 72.92% เข็มที่2 15.41%
    - เกาะพะงัน เข็มที่1 51.97% เข็มที่2 7.31%

6) ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 122,652,436 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 56,169,540 โดส (14.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
2. ฟิลิปปินส์ จำนวน 14,074,514 โดส (9.1%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna และ AstraZeneca
3. ไทย จำนวน 13,823,355 โดส (15.8%* ของประชากร)  ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
4. มาเลเซีย จำนวน 13,823,355 โดส (27,4%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
5. กัมพูชา จำนวน 9,453,858 โดส (32%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca และ Sinovac
6. สิงคโปร์ จำนวน 6,473,258 โดส (68.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
7. เวียดนาม จำนวน 4,185,623 โดส (4.0%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
8. พม่า จำนวน 3,500,000 โดส (N/A* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
9. ลาว จำนวน 1,746,331 โดส (14.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V และ AstraZeneca
10. บรูไน จำนวน 121,241 โดส (23.3%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร/2 เหมือนกันทุกประเทศ

7) จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 63.97%
2. อเมริกาเหนือ 12.97%
3. ยุโรป 15.02%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 6.16%
5. แอฟริกา 1.56%
6. โอเชียเนีย 0.32%

8) ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 4 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 1,414.61 ล้านโดส (50.5% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก)
2. อินเดีย จำนวน 394.98 ล้านโดส (14.4%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 336.05 ล้านโดส (52.5%)
4. บราซิล จำนวน 119.02 ล้านโดส (29.2%)

9) ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. มัลดีฟส์ (75.5% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinopharm)
2. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (75.3%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
3. บาห์เรน (71.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
4. ชิลี (63.5%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, CanSino, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
5. อุรุกวัย (63.1%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
6. กาตาร์ (62.2%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)  
7. สหราชอาณาจักร (61%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford Moderna และ Pfizer/BioNTech)
8. อิสราเอล (60.5%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
9. มองโกเลีย (59.1%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และSputnik V)
10. แคนาดา (58.8%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford Moderna และ Pfizer/BioNTech)

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/3978115798980629


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 16 ก.ค. 2564)
รวม 14,130,489 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 16 กรกฎาคม 2564
ยอดฉีดทั่วประเทศ 307,134 โดส

เข็มที่ 1 : 272,653 ราย
เข็มที่ 2 : 34,481 ราย

----------------------------

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 10,697,578 ราย
(จำนวนผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมด)

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 3,432,911 ราย
(จำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์)
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/366600311624966


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ราชกิจจานุเบกษาประกาศ

ห้ามชุมนุม - ห้ามทำกิจกรรม-มั่วสุม  ป้องกันโควิด
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ห้ามชุมนุม ทำกิจกรรม มั่วสุม ที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ทั่วประเทศ มีผลตั้งแต่ 16 ก.ค. 64  เป็นต้นไป หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่านประกาศฯ ฉบับเต็ม คลิก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/159/T_0029.PDF

ที่มา : ไทยคู่ฟ้า
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/366628718288792


Update ข้อมูล วันที่ 17 กรกฎาคม 2564!!
3 จุดตรวจโควิด แบบ Walk in ได้แก่

1. สนามกีฬาธูปะเตมีย์
2. สนามราชมังคลากีฬาสถาน
3. ลานจอดรถชั้น 1 อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ

โดยรับวันละ 1,500 คน  รู้ผลภายใน 30 นาที ไม่มีค่าใช้จ่าย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/366646718286992


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กทม. ประกาศปิด "ตลาดนัดจตุจักร" ชั่วคราว
เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ที่ทวีความรุนแรงขึ้น มีผลตั้งแต่ วันที่ 16-29 ก.ค. 64

ที่มา : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/366657774952553


สธ. ขอความร่วมมือประชาชนเพิ่มมาตรการ
ร่วมมือปกป้องครอบครัว และคนที่คุณรัก

- เพิ่ม Work From Home ให้มากที่สุด
- งดสังสรรค์ ทานอาหารร่วมกัน
- งดเดินทางข้ามจังหวัด
- พาผู้สูงอายุ และ 7 กลุ่มโรคเสี่ยง ไปฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรค

มาตรการในครอบครัว คือ สิ่งสำคัญที่จะช่วยยับยั้ง
การแพร่ระบาดโควิดรอบนี้

#อยู่บ้านอยู่ห่างหยุดเชื้อเพื่อเรา

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/366795798272084
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่