เป็นสถานที่ซึ่งเปิดให้คนสูงวัยมาทำกิจกรรมและแลกเปลี่ยนสุนทรียทางอารมณ์
อยู่ ณ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ทางไป Chiang Mai Airport
อันที่จริงเป็นสถานที่ที่มาเดินเล่นได้ทั้งเด็กๆ เพราะมีโซนเด็กๆ ด้วย และก็มีโซนอื่นๆ อีกมากมาย
ที่นี่แต่เดิมจัดเป็นตลาดนัดเสาร์-อาทิตย์ต้นเดือนเท่านั้น เรียกว่าเดือนละครั้ง ๆ ละ 2 วันเท่านั้น
แต่ปัจจุบันตั้งแต่ กรกฎาคม 2564 ได้เริ่มเปลี่ยนมาเป็น ทุกๆ สัปดาห์ที่ 1 และ 3 ซึ่งก็ยังคงจัดในวันเสาร์-อาทิตย์ เช่นเดิม
จัดตั้งแต่ 8.00-14.00 น. มีทั้งอาหารคาว หวาน เครื่องแต่งกาย ของใช้จิปาถะ ผัก ผลไม้
สินค้าหลายอย่างอาจแปลกตาและไม่คุ้นเคย เพราะห่างหายไปจากสังคมมากพอสมควร
เช่น ขนมหวานชื่อ พระพาย อันเป็นขนมมงคลที่ใช้ในพิธีแต่งงานสมัยโบราณ
มุมนี้ทั้งน่ารัก และน่าถ่ายภาพกับร้านนี้มากๆ ครับ
จุดล้างมือ บริเวณทางเข้า "เกษียณ Market" ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่สวยงามจดอดใจเก็บภาพไม่ได้เลยครับ
ของกินบางร้าน เป็นของกินที่ทำโดยชาวต่างชาติที่มาตั้งรกรากในเชียงใหม่ เช่น ไส้กรอกเยอรมัน เป็นต้น
โอวต้าภูเก็ต-เป็นของกินอีกอย่างใน "เกษียณ Market" ที่ชื่อไม่คุ้นหูนัก แต่ก็ดูน่าสนใจมากๆ ครับ
เต้าหู้ยัดไส้ภูเก็ต-นี่ก็เป็นอีกรายการหนึ่งที่น่าสนใจครับ
ลองเดินชมดูก็จะรู้สึกถึงคำว่าแปลกใจ
การเดินภายในอาคารนั้นต้องระมัดระวังศีรษะด้วยนะครับ เพราะอาจเดินชน เนื่องจากจัดอยู่ภายใต้เรือนไทย ซึ่งใต้ถุนไม่สูงมาก
สถานที่ร่มรื่น มีที่น่าพักผ่อนจัดแบบแปลกตา เพราะนอกจากที่นั่ง มีหมอนอิง มีโตกให้ด้วยเป็นสำรับ
ภายในสถานที่ยังมีเพลงกล่อม ซึ่งขับขานจากผู้สูงวัย และเพลงอันสอดคล้องกับวัยเสียจริงๆ เรียกว่า ได้บรรยากาศแห่ง "เกษียณ" เสียจริงๆ ครับ
นอกจากนี้ ยังมีจุดที่น่าถ่ายรูป หลายต่อหลายจุด ทั้งแปลงปลูกดอกไม้ และร้านกาแฟริมบึง ที่ปลีกวิเวกออกมา ทำให้รู้สึกถึงความเป็นส่วนตัวทีเดียว
บรรยากาศที่นี่แวดล้อมไปด้วยเหล่าผู้เกษียณ และสินค้าที่หลากหลาย จนทำให้มีความรู้สึกร่วมวัยร่วมสมัยไปกับสภาพแวดล้อมกันเลยครับ
แต่เดิมเมื่อครั้งเปิด "เกษียณ Market" ใหม่ๆ นั้น ด้านหลังจะมีสถานที่น่านั่งจิบกาแฟที่มีบรรยากาศน่ารื่นรมย์มากๆ ครับ
แต่หลังจากปิดช่วงโควิดแล้วกลับมาเปิดในเดือนกรกฎาคม 2564 ปรากฏว่าร้านกาแฟบริเวณบึงน้ำนั้นได้หายไปเสียแล้วครับ
แต่ผมบันทึกไว้เป็นวีดีโอ ก็นำเรื่องราวเมื่อครั้งเปิดแรกๆ มาให้รับชมในส่วนท้ายนี้แทนก็แล้วกันครับ
เชียงใหม่-เดินเล่นเกษียณ Market ทั้งกิน ทั้งฟังเพลง ทั้งเสวนา พบกับอาหารที่หากินไม่ง่ายนัก
เป็นสถานที่ซึ่งเปิดให้คนสูงวัยมาทำกิจกรรมและแลกเปลี่ยนสุนทรียทางอารมณ์
อยู่ ณ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ทางไป Chiang Mai Airport
อันที่จริงเป็นสถานที่ที่มาเดินเล่นได้ทั้งเด็กๆ เพราะมีโซนเด็กๆ ด้วย และก็มีโซนอื่นๆ อีกมากมาย
ที่นี่แต่เดิมจัดเป็นตลาดนัดเสาร์-อาทิตย์ต้นเดือนเท่านั้น เรียกว่าเดือนละครั้ง ๆ ละ 2 วันเท่านั้น
แต่ปัจจุบันตั้งแต่ กรกฎาคม 2564 ได้เริ่มเปลี่ยนมาเป็น ทุกๆ สัปดาห์ที่ 1 และ 3 ซึ่งก็ยังคงจัดในวันเสาร์-อาทิตย์ เช่นเดิม
จัดตั้งแต่ 8.00-14.00 น. มีทั้งอาหารคาว หวาน เครื่องแต่งกาย ของใช้จิปาถะ ผัก ผลไม้
สินค้าหลายอย่างอาจแปลกตาและไม่คุ้นเคย เพราะห่างหายไปจากสังคมมากพอสมควร
เช่น ขนมหวานชื่อ พระพาย อันเป็นขนมมงคลที่ใช้ในพิธีแต่งงานสมัยโบราณ
มุมนี้ทั้งน่ารัก และน่าถ่ายภาพกับร้านนี้มากๆ ครับ
จุดล้างมือ บริเวณทางเข้า "เกษียณ Market" ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่สวยงามจดอดใจเก็บภาพไม่ได้เลยครับ
ของกินบางร้าน เป็นของกินที่ทำโดยชาวต่างชาติที่มาตั้งรกรากในเชียงใหม่ เช่น ไส้กรอกเยอรมัน เป็นต้น
โอวต้าภูเก็ต-เป็นของกินอีกอย่างใน "เกษียณ Market" ที่ชื่อไม่คุ้นหูนัก แต่ก็ดูน่าสนใจมากๆ ครับ
เต้าหู้ยัดไส้ภูเก็ต-นี่ก็เป็นอีกรายการหนึ่งที่น่าสนใจครับ
ลองเดินชมดูก็จะรู้สึกถึงคำว่าแปลกใจ
การเดินภายในอาคารนั้นต้องระมัดระวังศีรษะด้วยนะครับ เพราะอาจเดินชน เนื่องจากจัดอยู่ภายใต้เรือนไทย ซึ่งใต้ถุนไม่สูงมาก
สถานที่ร่มรื่น มีที่น่าพักผ่อนจัดแบบแปลกตา เพราะนอกจากที่นั่ง มีหมอนอิง มีโตกให้ด้วยเป็นสำรับ
ภายในสถานที่ยังมีเพลงกล่อม ซึ่งขับขานจากผู้สูงวัย และเพลงอันสอดคล้องกับวัยเสียจริงๆ เรียกว่า ได้บรรยากาศแห่ง "เกษียณ" เสียจริงๆ ครับ
นอกจากนี้ ยังมีจุดที่น่าถ่ายรูป หลายต่อหลายจุด ทั้งแปลงปลูกดอกไม้ และร้านกาแฟริมบึง ที่ปลีกวิเวกออกมา ทำให้รู้สึกถึงความเป็นส่วนตัวทีเดียว
บรรยากาศที่นี่แวดล้อมไปด้วยเหล่าผู้เกษียณ และสินค้าที่หลากหลาย จนทำให้มีความรู้สึกร่วมวัยร่วมสมัยไปกับสภาพแวดล้อมกันเลยครับ
แต่เดิมเมื่อครั้งเปิด "เกษียณ Market" ใหม่ๆ นั้น ด้านหลังจะมีสถานที่น่านั่งจิบกาแฟที่มีบรรยากาศน่ารื่นรมย์มากๆ ครับ
แต่หลังจากปิดช่วงโควิดแล้วกลับมาเปิดในเดือนกรกฎาคม 2564 ปรากฏว่าร้านกาแฟบริเวณบึงน้ำนั้นได้หายไปเสียแล้วครับ
แต่ผมบันทึกไว้เป็นวีดีโอ ก็นำเรื่องราวเมื่อครั้งเปิดแรกๆ มาให้รับชมในส่วนท้ายนี้แทนก็แล้วกันครับ