โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่มีอารมณ์เศร้าหรือความสุขหายไปเป็นอาการเด่น เกิดจากการที่มีความผิดปกติในการหลั่งสารเคมีของสมองบริเวณส่วนของความคิด อารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรม ส่วนใหญ่จะเริ่มพบได้ในช่วงวัยรุ่น โดยเฉพาะผู้ที่มีความเครียดและวิตกกังวลสูง พบได้ทั้งในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดยโรคที่เกี่ยวกับอารมณ์ซึมเศร้าแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
โรคซึมเศร้า หรือ MDD (Major Depressive Disorder) เป็นอาการซึมเศร้าที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างรุนแรง เช่น รู้สึกท้อแท้ เศร้า นอนน้อยหรือมากจนเกินไป น้ำหนักขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็ว เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการหลักของคนที่ป่วยด้วยโรคนี้ โดยจะมีอาการติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์
โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Persistent Depressive Disorder) จะมีอาการอ่อนแรง สิ้นหวัง ไม่อยากอาหารหรือกินมากเกินไป นอนหลับน้อยหรือมากเกินไป ซึ่งอาการและความรุนแรงน้อยกว่าโรคซึมเศร้าแบบ MDD แต่อาการจะอยู่กับผู้ป่วยยาวนานมากกว่า 2 ปีขึ้นไป
อาการซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Depression) ผู้หญิงบางคนจะมีอาการคล้ายกับโรคซึมเศร้าในช่วงก่อนมีประจำเดือนจากภาวะการเปลี่ยนของร่างกาย เช่น รู้สึกเศร้า อ่อนไหวง่าย เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย พฤติกรรมการนอนผิดแปลกจากเดิม เป็นต้น ส่วนมากอาการจะดีขึ้นหลังมีประจำเดือน 2 – 3 วัน แต่อาจต้องเผชิญกับสภาวะเช่นนี้เป็นประจำทุกเดือน
ทั้งนี้ยังพบอาการซึมเศร้าในภาวะอื่น ๆ ได้อีก เช่น ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ภาวะซึมเศร้าจากการใช้สารเสพติด ภาวะซึมเศร้าจากปัญหาโรคทางกายหรือสมองอื่น ๆ เป็นต้นไม่ว่าจะเป็นปัญหาซึมเศร้าประเภทไหนก็ตาม จำเป็นต้องปรึกษาและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจากแพทย์เฉพาะทาง เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้นและนำไปสู่การสูญเสียได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
การเปลี่ยนของสังคมและสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ส่งผลให้คนป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามากขึ้น บางคนที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีภาวะซึมเศร้าสามารถสังเกตอาการ ได้ดังนี้
1. ไม่ค่อยสนใจหรือไม่ค่อยมีความสุขกับสิ่งรอบตัวหรือกิจกรรมที่เคยชอบ
2. รู้สึกเศร้า เบื่อ หรือหงุดหงิดตลอดทั้งวัน
3. น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พฤติกรรมการกินเปลี่ยน
4. อ่อนแรง ไม่อยากทำอะไรเลย
5. เชื่องช้าหรือกระวนกระวายอย่างเห็นได้ชัด
6. นอนไม่หลับหรือนอนหลับมากผิดปกติ
7. สมาธิลดลง ใจลอย มีปัญหาเรื่องการตัดสินใจ
8. รู้สึกตัวเองไร้ค่า โทษตัวเองทุกเรื่อง
9. คิดเรื่องความตายหรือไม่อยากมีชีวิตอยู่บ่อยครั้ง
หากมีอาการเหล่านี้เกิน 5 ข้อหรือครบทุกข้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์ อาจบอกได้ว่าคุณกำลังเสี่ยงกับโรคซึมเศร้า หากไม่แน่ใจสามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง
ข้อมูลโดย นพ. อภิชาติ จริยาวิลาศ
อ่านเพิ่มเติม ทำความรู้จักโรคซึมเศร้ากันเถอะ 9 วิธีสังเกตตัวเองว่าเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า
ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้ากันเถอะ
โรคซึมเศร้า หรือ MDD (Major Depressive Disorder) เป็นอาการซึมเศร้าที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างรุนแรง เช่น รู้สึกท้อแท้ เศร้า นอนน้อยหรือมากจนเกินไป น้ำหนักขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็ว เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการหลักของคนที่ป่วยด้วยโรคนี้ โดยจะมีอาการติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์
โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Persistent Depressive Disorder) จะมีอาการอ่อนแรง สิ้นหวัง ไม่อยากอาหารหรือกินมากเกินไป นอนหลับน้อยหรือมากเกินไป ซึ่งอาการและความรุนแรงน้อยกว่าโรคซึมเศร้าแบบ MDD แต่อาการจะอยู่กับผู้ป่วยยาวนานมากกว่า 2 ปีขึ้นไป
อาการซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Depression) ผู้หญิงบางคนจะมีอาการคล้ายกับโรคซึมเศร้าในช่วงก่อนมีประจำเดือนจากภาวะการเปลี่ยนของร่างกาย เช่น รู้สึกเศร้า อ่อนไหวง่าย เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย พฤติกรรมการนอนผิดแปลกจากเดิม เป็นต้น ส่วนมากอาการจะดีขึ้นหลังมีประจำเดือน 2 – 3 วัน แต่อาจต้องเผชิญกับสภาวะเช่นนี้เป็นประจำทุกเดือน
ทั้งนี้ยังพบอาการซึมเศร้าในภาวะอื่น ๆ ได้อีก เช่น ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ภาวะซึมเศร้าจากการใช้สารเสพติด ภาวะซึมเศร้าจากปัญหาโรคทางกายหรือสมองอื่น ๆ เป็นต้นไม่ว่าจะเป็นปัญหาซึมเศร้าประเภทไหนก็ตาม จำเป็นต้องปรึกษาและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจากแพทย์เฉพาะทาง เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้นและนำไปสู่การสูญเสียได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
1. ไม่ค่อยสนใจหรือไม่ค่อยมีความสุขกับสิ่งรอบตัวหรือกิจกรรมที่เคยชอบ
2. รู้สึกเศร้า เบื่อ หรือหงุดหงิดตลอดทั้งวัน
3. น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พฤติกรรมการกินเปลี่ยน
4. อ่อนแรง ไม่อยากทำอะไรเลย
5. เชื่องช้าหรือกระวนกระวายอย่างเห็นได้ชัด
6. นอนไม่หลับหรือนอนหลับมากผิดปกติ
7. สมาธิลดลง ใจลอย มีปัญหาเรื่องการตัดสินใจ
8. รู้สึกตัวเองไร้ค่า โทษตัวเองทุกเรื่อง
9. คิดเรื่องความตายหรือไม่อยากมีชีวิตอยู่บ่อยครั้ง
หากมีอาการเหล่านี้เกิน 5 ข้อหรือครบทุกข้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์ อาจบอกได้ว่าคุณกำลังเสี่ยงกับโรคซึมเศร้า หากไม่แน่ใจสามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง
ข้อมูลโดย นพ. อภิชาติ จริยาวิลาศ
อ่านเพิ่มเติม ทำความรู้จักโรคซึมเศร้ากันเถอะ 9 วิธีสังเกตตัวเองว่าเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า