https://www.fm91bkk.com/fm104228
กรุงเทพมหานคร ได้รายงานความคืบหน้า การเปิดศูนย์พักคอยได้แล้ว 17 แห่ง เพื่อรับผู้ติดเชื้อตามพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ มาแยกกักรักษาระหว่างรอการส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งศูนย์พักคอยทุกแห่ง ได้จัดสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก พร้อมดูแลอาการเจ็บป่วยไม่ให้รุนแรงขึ้น โดยจะมีการให้ ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาฟ้าทะลายโจร มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องวัดออกซิเจน และอยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์บริการสาธารณสุข
สำหรับศูนย์พักคอยทั้ง 17 แห่งในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต รองรับผู้ป่วยอยู่ที่ 2,560 คน และกำลังจะเร่งเปิดศูนย์ให้ครบ 20 แห่ง โดยมีโรงพยาบาลในสังกัด กทม. ดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิดเบื้องต้น ในศูนย์พักคอยทั้ง 17 แห่ง ประกอบด้วย
• กรุงเทพเหนือ (รพ.กลาง ดูแล) รวม 4 แห่ง 610 เตียง
1.เขตบางเขน ศูนย์กีฬารามอินทรา 150 เตียง
2.เขตจตุจักร ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ 190 เตียง
3.เขตจตุจักร ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตจตุจักร 120 เตียง
4.เขตดอนเมือง ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตดอนเมือง 150 เตียง
• กรุงเทพกลาง (รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ ดูแล) รวม 2 แห่ง 320 เตียง
5. เขตพระนคร วัดอินทรวิหาร (อาคารปฏิบัติธรรม) 170 เตียง
6. เขตดินแดง ศูนย์กีฬาเวสน์ 2 (ศูนย์เยาวชนฯ ไทย- ญี่ปุ่น) 150 เตียง
• กรุงเทพใต้ (รพ.สิรินธร ดูแล) รวม 2 แห่ง 420 เตียง
7.เขตคลองเตย วัดสะพาน 250 เตียง เป็นศูนย์ฯ แรกต้นแบบ
8.เขตสวนหลวง ศูนย์ปฏิบัติธรรม วัดปากบ่อ 170 เตียง
• กรุงเทพตะวันออก (รพ.เวชการุณย์รัศมิ์ ดูแล) รวม 4 แห่ง 620 เตียง
9.เขตหนองจอก ค่ายลูกเสือกรุงเทพวันวาน 200 เตียง
10.เขตลาดกระบัง ร้านอาหาร Boom Boom 120 เตียง
11.เขตสะพานสูง ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตสะพานสูง 150 เตียง
12.เขตบางกะปิ ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตบางกะปิ 150 เตียง
• กรุงธนเหนือ (รพ.ตากสิน ดูแล) รวม 2 แห่ง 190 เตียง
13.เขตบางกอกน้อย วัดศรีสุดาราม (รพ.ราชพิพัฒน์) 90 เตียง
14.เขตทวีวัฒนา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย (รพ.ตากสิน) 100 เตียง
• กรุงธนใต้ (รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ ดูแล) รวม 3 แห่ง 400 เตียง
15.เขตบางแค ศูนย์สร้างสุขทุกวัย (เรืองสอน) 150 เตียง
16.เขตบางขุนเทียน ศูนย์สร้างสุขทุกวัย (พระราม2 ซ.69) 100 เตียง
17.เขตภาษีเจริญ วัดนิมมานรดี 150 เตียง
กรุงเทพมหานครเปิดศูนย์พักคอย 17 แห่ง เพื่อรับผู้ติดเชื้อในกรุงเทพ
กรุงเทพมหานคร ได้รายงานความคืบหน้า การเปิดศูนย์พักคอยได้แล้ว 17 แห่ง เพื่อรับผู้ติดเชื้อตามพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ มาแยกกักรักษาระหว่างรอการส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งศูนย์พักคอยทุกแห่ง ได้จัดสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก พร้อมดูแลอาการเจ็บป่วยไม่ให้รุนแรงขึ้น โดยจะมีการให้ ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาฟ้าทะลายโจร มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องวัดออกซิเจน และอยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์บริการสาธารณสุข
สำหรับศูนย์พักคอยทั้ง 17 แห่งในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต รองรับผู้ป่วยอยู่ที่ 2,560 คน และกำลังจะเร่งเปิดศูนย์ให้ครบ 20 แห่ง โดยมีโรงพยาบาลในสังกัด กทม. ดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิดเบื้องต้น ในศูนย์พักคอยทั้ง 17 แห่ง ประกอบด้วย
• กรุงเทพเหนือ (รพ.กลาง ดูแล) รวม 4 แห่ง 610 เตียง
1.เขตบางเขน ศูนย์กีฬารามอินทรา 150 เตียง
2.เขตจตุจักร ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ 190 เตียง
3.เขตจตุจักร ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตจตุจักร 120 เตียง
4.เขตดอนเมือง ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตดอนเมือง 150 เตียง
• กรุงเทพกลาง (รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ ดูแล) รวม 2 แห่ง 320 เตียง
5. เขตพระนคร วัดอินทรวิหาร (อาคารปฏิบัติธรรม) 170 เตียง
6. เขตดินแดง ศูนย์กีฬาเวสน์ 2 (ศูนย์เยาวชนฯ ไทย- ญี่ปุ่น) 150 เตียง
• กรุงเทพใต้ (รพ.สิรินธร ดูแล) รวม 2 แห่ง 420 เตียง
7.เขตคลองเตย วัดสะพาน 250 เตียง เป็นศูนย์ฯ แรกต้นแบบ
8.เขตสวนหลวง ศูนย์ปฏิบัติธรรม วัดปากบ่อ 170 เตียง
• กรุงเทพตะวันออก (รพ.เวชการุณย์รัศมิ์ ดูแล) รวม 4 แห่ง 620 เตียง
9.เขตหนองจอก ค่ายลูกเสือกรุงเทพวันวาน 200 เตียง
10.เขตลาดกระบัง ร้านอาหาร Boom Boom 120 เตียง
11.เขตสะพานสูง ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตสะพานสูง 150 เตียง
12.เขตบางกะปิ ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตบางกะปิ 150 เตียง
• กรุงธนเหนือ (รพ.ตากสิน ดูแล) รวม 2 แห่ง 190 เตียง
13.เขตบางกอกน้อย วัดศรีสุดาราม (รพ.ราชพิพัฒน์) 90 เตียง
14.เขตทวีวัฒนา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย (รพ.ตากสิน) 100 เตียง
• กรุงธนใต้ (รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ ดูแล) รวม 3 แห่ง 400 เตียง
15.เขตบางแค ศูนย์สร้างสุขทุกวัย (เรืองสอน) 150 เตียง
16.เขตบางขุนเทียน ศูนย์สร้างสุขทุกวัย (พระราม2 ซ.69) 100 เตียง
17.เขตภาษีเจริญ วัดนิมมานรดี 150 เตียง