ฆ่าตัวตาย: ตัวเลขคนไทยฆ่าตัวตายกำลังไต่ระดับสูงขึ้นในช่วงปีที่เจอการระบาดของโควิด-19
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6492162
“ฝากหน่อยนะครับ มีลูกสาวอยู่สองคน น้องสองคนเรียนเก่งมาก คือตอนนี้ผมอยู่สู้ไม่ไหวแล้ว” คำพูดของชายพ่อค้าขายหมึกย่างที่อยุธยา พ่อของลูกสาววัย 8 และ 9 ขวบ ก่อนเลือกกินยาล้างห้องน้ำหวังจบชีวิต เพราะหมดหนทางทำกินทุกอย่างแล้ว
โพสต์สุดท้ายของนักร้องสาวยูทูบเบอร์ประกายฟ้า ก่อนกระโดดลงจากอาคารจอดรถของห้างสรรพสินค้าบอกว่า
“
เราเป็นนักร้องอาชีพที่ตกงานมาแล้ว 2 เดือน ทุกงานแคนเซิลหมด รายได้ = 0”
นักธุรกิจเครียดพิษโควิด-19 จุดไฟเผาตัวเอง สื่อสำนักหนึ่งรายงานเมื่อวันสงกรานต์ที่ผ่านมา และอีกไม่กี่วันต่อมาก็มีข่าวตำรวจรถไฟที่ติดเชื้อโควิด ผูกคอตายในห้องของโรงพยาบาลตำรวจที่เขาเข้ารับการรักษาตัว
5 พ.ค. สื่อออนไลน์รายงาน “
พิษโควิดขายของไม่ได้ ผัว-เมีย ผูกคอหนีหนี้”
คนขับแท็กซี่วัย 63 ที่ทิ้งข้อความสุดท้ายไว้ว่า
“
ผมสู้ชีวิตไม่ไหวแล้ว ให้เจ้าของอู่รถแท็กซี่มาเอารถคืนที่กลางสะพานพระราม 7” ก่อนกระโดดแม่น้ำเจ้าพระยาเสียชีวิต
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข่าวการจบชีวิตของผู้คนระหว่างเดือน เม.ย.- มิ.ย. ของปีนี้ สถานการณ์ดูคล้ายหนังที่วนมาฉายซ้ำ เมื่อครั้งการระบาดของโควิดระลอกแรกเมื่อปีที่แล้ว ที่ในช่วงเวลาเพียง 6 เดือนแรกของปี 2563 มีคนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายประมาณ 2,551 ราย ตามการเปิดเผยของกรมสุขภาพจิต
นี่คือภาพเมื่อเดือน เม.ย. ปี 2563 ผู้มีรายได้น้อยและผู้ตกงานซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ต่อแถวรับการบริจาคอาหารที่วัดแห่งหนึ่งกลางกรุงเทพฯ
หลังจากการระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านไปกว่าหนึ่งปี กรมสุขภาพจิตรายงานว่าอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของคนไทยอยู่ที่ 7.37 คน ต่อประชากร 1 แสนคน ในปี 2563 และเมื่อดูจากกราฟสถิติ เส้นดังกล่าวค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้นเรื่อย ๆ จาก 2-3 ปีก่อนหน้านั้น
สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขให้ตัวเลขไว้ว่าในทุก ๆ 40 วินาที มีคนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย 1 คน เกิดอะไรขึ้นกับชีวิตที่สะท้อนออกมาในตัวเลขเหล่านี้
โรคระบาด ปิดเมือง ปากท้อง เศรษฐกิจ
หลังจากตั้งใจบวชให้พ่อแม่นาน 3 พรรษา
พระพงศ์พิเชรษฐ์ หรือ
พระบิ๊ก กลับต้องเปล่งสวดบทอภิธรรมศพให้พ่อและแม่ของเขาเองในพรรษาสุดท้าย
ศพของทั้งคู่ที่จบชีวิตด้วยการผูกคอตายในห้องเช่าเล็ก ๆ ใน จ.นครปฐม ตั้งสวดในวัดเมื่อต้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา วัดที่เมื่อไม่กี่ปีก่อนนี้ โยมแม่เป็นผู้พาพระบิ๊กมาดูฤกษ์บวช
“
แบตสำรองอยู่ในเก๊ะ ในชั้นที่บ้าน มีเงินอยู่ 200 และบอกผมว่าดูแลตัวเองดี ๆ นะ” คือคำพูดสุดท้ายที่
พระบิ๊กได้ฟังทางโทรศัพท์ อีก 1 ชั่วโมงถัดมา พ่อและแม่ของเขาได้ฆ่าตัวตาย เขามารู้ที่หลังว่าวันนั้นเป็นวันครบกำหนดที่พ่อแม่ต้องจ่ายหนี้นอกระบบคืนให้เจ้าหนี้ 56,000 บาท
ธนรักษ์ และ
สรินทร์ดา พิทยสีห์นาค พ่อและแม่ของพระบิ๊ก อาชีพสุดท้ายคือตระเวนขายผลไม้ตามหมู่บ้าน ก่อนหน้านี้ขายอยู่ที่ตลาดบางใหญ่ จ.นนทบุรี แต่ด้วยเศรษฐกิจที่ย่ำแย่หลังจากการระบาดของโควิดรอบแรกเมื่อปีที่แล้ว ทำให้ขายของไม่ได้ จึงเปลี่ยนมาขับรถขายตามบ้าน ทั้งคู่ลงทุนซื้อผลไม้มาขายครั้งละกว่า 15,000 บาท กลายเป็นหนี้สินที่สะสมขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งรถที่ยังผ่อนไม่หมด ถูกยึดเมื่อไม่นานมานี้
“
พ่อแม่ทำงานหนักมาตลอด แต่ก่อนขายมาทุกอย่าง บ๊ะจ่าง กิฟต์ช็อป เสื้อผ้า ก็เปลี่ยนมาทุกอย่าง ที่ผมโตมาหลัก ๆ เลยก็คือ ขายผลไม้”
พระบิ๊กบอกว่าในแต่ละช่วงที่ลำบากขายของที่พอขายเป็นมือสองได้ กระทั่งเสื้อผ้าก็ถูกนำไปขายตามตลาดนัด เราถามว่า แล้วพวกธนาคารของรัฐพอจะช่วยได้หรือไม่ คำตอบของเขาอาจเป็นตัวแทนของคนค้าขายอีกหลาย ๆ คน
“กู้กับธนาคารไม่ได้เลย มันยุ่งยาก รัฐก็ไม่เอื้อเฟื้อให้กู้ได้ ทางค้าขายมันกู้ได้ยากอยู่ครับ อาชีพอื่นจะกู้ได้มากกว่า” พระบิ๊กเล่าถึงอาชีพของพ่อแม่ที่ไม่เคยเข้าถึงกลไกการช่วยเหลือจากรัฐ รวมทั้งมาตรการเยียวยาจากรัฐบาลเมื่อปีที่แล้ว ที่ครอบครัวของเขาไม่เคยได้
ตัวเลขสถิติอีกเสี้ยวหนึ่งภายหลังการปิดเมืองล็อกดาวน์ของรัฐบาลเมื่อปีก่อน โดยคณะนักวิจัย “
โครงการวิจัยคนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง” รวบรวมกรณีการฆ่าตัวตายจากวิกฤตโควิด-19 ที่ปรากฏในสื่อระหว่างวันที่ 1-20 เม.ย. 2563 ไว้ได้ 38 กรณี ส่วนของปีนี้ยังไม่มีหน่วยงานไหนรวบรวม รวมถึงกรมสุขภาพจิตที่บีบีซีไทยขอข้อมูลไป
ปีที่แล้ว รศ.
สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หนึ่งในคณะนักวิจัย บอกกับบีบีซีไทยว่า การเก็บรวบรวมตัวเลขนี้ ต้องการชี้ให้เห็นว่า “
ฟางเส้นสุดท้ายของผู้คนกำลังกดทับจนไม่สามารถที่จะมองหาทางออกในชีวิตได้” และ “
ไม่ควรมีใครจะต้องตายจากนโยบายหรือมาตรการของรัฐ” แม้จะถูกวิจารณ์จากบางฝ่ายว่าขาดการเปรียบเทียบกับข้อมูลเดือนหรือปีอื่น ๆ และกรมสุขภาพจิตออกมาบอกว่านี่เป็นเพียงมุมมองจากสื่อมวลชนที่ไม่อาจสรุปการฆ่าตัวตายว่ามาจากปัจจัยใดเพียงอย่างเดียวได้
อย่างไรก็ตาม การนำเสนอข้อมูลชุดนี้ เกิดขึ้นในขณะที่มีข่าวการฆ่าตัวตายรายวัน และผู้คนจำนวนมากตกหล่นจากการเยียวยาของรัฐในช่วงการระบาดใหม่ ๆ เงินช่วยเหลือจากโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ที่จ่ายให้เดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ไม่กี่เดือนหลังจากนั้น กระทรวงการคลังยอมรับว่ามีผู้ตกหล่นจากระบบที่รัฐต้องมาจ่ายย้อนหลังในครึ่งปีหลังอีก 302,160 ราย
ใน 3 แสนกว่ารายนี้ เป็นผู้ตกหล่นที่ผ่านการคัดกรองจากผู้คนอีก 1.7 ล้านราย
ผู้คนที่รู้สึกสิ้นหวัง
“ช่วงปีที่แล้วที่มันเกิดการล็อกดาวน์ใหม่ ๆ ช่วงนั้นโทรศัพท์เข้ามาเยอะอย่างก้าวกระโดด” นาย
ตระการ เชนศรี นายกสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย บอกกับบีบีซีไทย
สถิติที่สมาคมเก็บรวบรวมระหว่างเดือน เม.ย. 2563 ชี้ว่าร้อยละ 25 ของผู้ที่โทรเข้ามาขอความช่วยเหลือกับสมาคมมีความคิดอยากจะจบชีวิตตัวเอง และร้อยละ 70 มีปัญหาเรื่องเงิน
“ช่วงนั้นมันจะมีเคสที่คนรู้สึกว่ามันสิ้นหวังมาก ๆ อย่างเช่น ทั้งบ้านเหลือเงิน 30 บาท เคสประมาณนี้มีเยอะมาก และมันเป็นภาวะสิ้นหวัง” ตระการกล่าว
สำหรับปีนี้ นายกสมาคมสะมาริตันส์ฯ บอกว่า แนวโน้มของผู้คนรู้สึกว่าการระบาดระลอกแรกคือเรื่องใหม่ เมื่อเกิดระลอกที่ 2หนี้สินยังไม่ทันใช้หมด เมื่อมาเผชิญกับระลอกที่ 3 พวกเขารู้สึกว่ายิ่งโดนซ้ำเติม
ด้าน
พรทิพย์ (ขอสงวนนามสกุล) ซึ่งเป็นอาสาสมัครเป็นผู้รับเรื่องของสมาคมสะมาริตันส์มาตั้งแต่ปี 2529 บอกว่า เมื่อปีที่แล้วคนที่โทรเข้ามาปรึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาจากระบบความช่วยเหลือของรัฐ ปัญหาความสัมพันธ์ของคนในบ้าน เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ที่รัฐรณรงค์ให้คนหยุดอยู่บ้าน คนที่กลับประเทศไม่ได้จากการปิดน่านฟ้า กระทั่งการต้องเรียนผ่านทางออนไลน์ คนที่โทรหรือส่งข้อความเข้ามามีเพิ่มมากขึ้น บางทีต้องคุยพร้อมกัน 4-5 คน และบางครั้ง 7 คนที่เธอต้องสลับกันเพื่อรับฟัง
“อย่างเรื่องระบบช่วยเหลือของรัฐ เขาก็เขียนมาทำนองว่า ลงทะเบียนยังไง ตอนนั้นที่มีลงทะเบียน บางคนได้บางคนไม่ได้ แล้วลงไม่ได้ต้องติดต่อใคร เพราะอะไรถึงไม่ผ่าน เขาก็คงเข้าใจว่าเราเป็นหน่วยงานรัฐ เขาก็เขียนมาหาเรา หรือว่าอาจจะไม่มีช่องทางอื่นที่หาได้”
พรทิพย์บอกว่าในทัศนะของเธอเห็นว่าคนที่มีความคิดฆ่าตัวตายมีภาวะของความโดดเดี่ยว ไม่มีใครช่วยได้ สิ่งที่อาสาสมัครทำได้คือการรับฟังและบอกว่า
“มันยังมีทางออก”
“ปีนี้เริ่มมีคนที่เขียนทำนองแบบว่า หรือว่าจะตายด้วยโควิดไปดี อยากจะให้ตายด้วยโควิด หรือว่าพูดว่า กลับบ้านไปไม่รู้จะตายด้วยโควิดหรือเปล่า เอาโควิดมาเป็นตัวหนึ่งในการจะฆ่าตัวตาย มันสวนทางกับตอนเวลาที่เกิดภัยสงครามที่คนเราอยากจะมีชีวิตรอด”
กรมสุขภาพจิต: อัตราฆ่าตัวตายปี 2563 “ต่ำกว่าตัวเลขประมาณการเดิม”
รายงานการฆ่าตัวตายระหว่างเดือน เม.ย.-มิ.ย. ที่ปรากฏให้เห็นมากขึ้น รวมถึงตัวเลขการฆ่าตัวตายในปีที่แล้วกำลังบอกอะไรเกี่ยวกับภาวะสุขภาพจิตของคนในสังคมไทย
บีบีซีไทยขอข้อมูลและคำอธิบายจากกรมสุขภาพจิต และได้รับคำอธิบายเป็นเอกสารข่าวกรมสุขภาพจิตที่เผยแพร่เมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมาว่า อัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายของประเทศไทยในปี 2563 ต่ำกว่าตัวเลขที่กรมสุขภาพจิตประมาณการเดิมที่ 8.0 ต่อแสนประชากร ขณะที่ตัวเลขของปี 2563 อัตราของการฆ่าตัวตายของคนไทยในประชากร 1 แสนคน มีคนฆ่าตัวตายสำเร็จ 7.37 คน
เอกสารข่าวอ้างคำพูดของ พญ.
พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิตที่ระบุว่า สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในทุกประเทศทั่วโลก ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต เศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงอัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้นในหลายประเทศ
สำหรับประเทศไทย กรมสุขภาพจิตเคยศึกษาและประมาณการช่วงต้นปี 2563 ว่าปัญหาโรคระบาดใหม่และแนวโน้มการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลง อาจเพิ่มอัตราการเสียชีวิตจากปี 2562 ที่ 6.64 ต่อแสนประชากรต่อปี เป็น 8.00 ต่อแสนประชากรต่อปีในปี 2563 ที่ผ่านมา
ทว่าตัวเลข 7.37 คน นั้นก็เป็นตัวเลขที่ไต่ระดับขึ้นเรื่อย ๆ จาก 2-3 ปีก่อนหน้านั้น ซึ่งคล้ายกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจขอวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งปี 2541 อัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยเท่ากับ 8.12 ต่อแสนประชากร และเพิ่มขึ้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ ภายหลังวิกฤตปี 2540 คือ 8.59 และ 8.40 ต่อแสนประชากรในปี 2542 และ 2543 ตามลำดับ
3 ปี หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง อัตราฆ่าตัวตายเพิ่ม 20-30%
อัตราการฆ่าตัวตายของครึ่งปีแรกในปี 2563 เพิ่มขึ้น 22% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2562 ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนี้ ถูกอธิบายจาก นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต เมื่อครั้งยังเป็นอธิบดีกรมสุขภาพจิต เมื่อปีที่แล้วว่า
“การเพิ่มขึ้นในอัตรานี้มีความคล้ายคลึงกับการเพิ่มขึ้นในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อ 23 ปีก่อน ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นประมาณ 20-30% ในช่วง 3 ปีหลังเกิดวิกฤต”
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งก่อตั้งโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่บทความที่เขียนโดยธนิสา ทวิชศรี และบุญธิดา เสงี่ยมเนตร นักวิจัยของสถาบัน ระบุว่าว่าแม้ยังไม่มีการเผยแพร่ตัวเลขทางการของสภาวะสุขภาพจิตหลังจากวิกฤตโควิด-19 แต่งานศึกษาในอดีตและตัวเลขจากแหล่งอื่นได้เตือนว่า “
วิกฤตครั้งนี้น่าจะทำให้ปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”
บทความนี้ระบุผลการศึกษาของปัญหาสุขภาพจิตที่มีปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมมาเกี่ยวข้องในต่างประเทศว่า งานวิจัยในปี 2010 ที่สนับสนุนโดยกระทรวงการพัฒนาระหว่างประเทศของรัฐบาลสหราชอาณาจักร ได้ทบทวนงานศึกษา 115 ชิ้นในประเทศกลุ่มรายได้ขั้นกลางหรือต่ำ พบว่า 70% พบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างความผิดปกติทางจิตกับความยากจน
นอกจากนี้ยังอ้างอิงงานวิจัยอีกชิ้นด้วยว่า คนที่เผชิญกับความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสถานการณ์การจ้างงานและบทบาททางอาชีพ มักรายงานว่าสุขภาพจิตของตนเองแย่ลงมากกว่ากลุ่มอื่น และความกังวลทางด้านการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ยากจน ทำให้ประสิทธิภาพในการรับรู้และการตัดสินใจลดลง
เมื่อเป็นสถานการณ์ในไทย นักวิจัยได้ใช้เครื่องมือดัชนีสืบค้น หรือ Google Search Index ซึ่งอาจสามารถนำมาใช้ในการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตเนื่องจากเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน มีค่าใช้จ่ายต่ำ และครอบคลุมผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล พบว่าประชากรชายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะพบปัญหาด้านสุขภาพจิตมากกว่าหญิง ช่วงอายุ 30-49 ปี เป็นกลุ่มที่มีอัตราฆ่าตัวตายและภาวะซึมเศร้าสูงกว่ากลุ่มอื่น ผู้ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวกับสมาชิกหลายคนมีสัดส่วนการป่วยด้วยโรคซึมเศร้า และจิตเภทน้อยกลุ่มอื่น
JJNY : ตัวเลขคนไทยฆ่าตัวตายกำลังไต่สูงขึ้น│'นพดล'ชมอสส.│ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯมิ.ย.ลดฮวบ3ด.ติด│'ป๋าเต็ด'เหน็บแรง เพิ่งเข้าใจ
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6492162
“ฝากหน่อยนะครับ มีลูกสาวอยู่สองคน น้องสองคนเรียนเก่งมาก คือตอนนี้ผมอยู่สู้ไม่ไหวแล้ว” คำพูดของชายพ่อค้าขายหมึกย่างที่อยุธยา พ่อของลูกสาววัย 8 และ 9 ขวบ ก่อนเลือกกินยาล้างห้องน้ำหวังจบชีวิต เพราะหมดหนทางทำกินทุกอย่างแล้ว
โพสต์สุดท้ายของนักร้องสาวยูทูบเบอร์ประกายฟ้า ก่อนกระโดดลงจากอาคารจอดรถของห้างสรรพสินค้าบอกว่า
“เราเป็นนักร้องอาชีพที่ตกงานมาแล้ว 2 เดือน ทุกงานแคนเซิลหมด รายได้ = 0”
นักธุรกิจเครียดพิษโควิด-19 จุดไฟเผาตัวเอง สื่อสำนักหนึ่งรายงานเมื่อวันสงกรานต์ที่ผ่านมา และอีกไม่กี่วันต่อมาก็มีข่าวตำรวจรถไฟที่ติดเชื้อโควิด ผูกคอตายในห้องของโรงพยาบาลตำรวจที่เขาเข้ารับการรักษาตัว
5 พ.ค. สื่อออนไลน์รายงาน “พิษโควิดขายของไม่ได้ ผัว-เมีย ผูกคอหนีหนี้”
คนขับแท็กซี่วัย 63 ที่ทิ้งข้อความสุดท้ายไว้ว่า
“ผมสู้ชีวิตไม่ไหวแล้ว ให้เจ้าของอู่รถแท็กซี่มาเอารถคืนที่กลางสะพานพระราม 7” ก่อนกระโดดแม่น้ำเจ้าพระยาเสียชีวิต
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข่าวการจบชีวิตของผู้คนระหว่างเดือน เม.ย.- มิ.ย. ของปีนี้ สถานการณ์ดูคล้ายหนังที่วนมาฉายซ้ำ เมื่อครั้งการระบาดของโควิดระลอกแรกเมื่อปีที่แล้ว ที่ในช่วงเวลาเพียง 6 เดือนแรกของปี 2563 มีคนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายประมาณ 2,551 ราย ตามการเปิดเผยของกรมสุขภาพจิต
นี่คือภาพเมื่อเดือน เม.ย. ปี 2563 ผู้มีรายได้น้อยและผู้ตกงานซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ต่อแถวรับการบริจาคอาหารที่วัดแห่งหนึ่งกลางกรุงเทพฯ
หลังจากการระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านไปกว่าหนึ่งปี กรมสุขภาพจิตรายงานว่าอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของคนไทยอยู่ที่ 7.37 คน ต่อประชากร 1 แสนคน ในปี 2563 และเมื่อดูจากกราฟสถิติ เส้นดังกล่าวค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้นเรื่อย ๆ จาก 2-3 ปีก่อนหน้านั้น
สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขให้ตัวเลขไว้ว่าในทุก ๆ 40 วินาที มีคนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย 1 คน เกิดอะไรขึ้นกับชีวิตที่สะท้อนออกมาในตัวเลขเหล่านี้
โรคระบาด ปิดเมือง ปากท้อง เศรษฐกิจ
หลังจากตั้งใจบวชให้พ่อแม่นาน 3 พรรษา พระพงศ์พิเชรษฐ์ หรือ พระบิ๊ก กลับต้องเปล่งสวดบทอภิธรรมศพให้พ่อและแม่ของเขาเองในพรรษาสุดท้าย
ศพของทั้งคู่ที่จบชีวิตด้วยการผูกคอตายในห้องเช่าเล็ก ๆ ใน จ.นครปฐม ตั้งสวดในวัดเมื่อต้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา วัดที่เมื่อไม่กี่ปีก่อนนี้ โยมแม่เป็นผู้พาพระบิ๊กมาดูฤกษ์บวช
“แบตสำรองอยู่ในเก๊ะ ในชั้นที่บ้าน มีเงินอยู่ 200 และบอกผมว่าดูแลตัวเองดี ๆ นะ” คือคำพูดสุดท้ายที่พระบิ๊กได้ฟังทางโทรศัพท์ อีก 1 ชั่วโมงถัดมา พ่อและแม่ของเขาได้ฆ่าตัวตาย เขามารู้ที่หลังว่าวันนั้นเป็นวันครบกำหนดที่พ่อแม่ต้องจ่ายหนี้นอกระบบคืนให้เจ้าหนี้ 56,000 บาท
ธนรักษ์ และสรินทร์ดา พิทยสีห์นาค พ่อและแม่ของพระบิ๊ก อาชีพสุดท้ายคือตระเวนขายผลไม้ตามหมู่บ้าน ก่อนหน้านี้ขายอยู่ที่ตลาดบางใหญ่ จ.นนทบุรี แต่ด้วยเศรษฐกิจที่ย่ำแย่หลังจากการระบาดของโควิดรอบแรกเมื่อปีที่แล้ว ทำให้ขายของไม่ได้ จึงเปลี่ยนมาขับรถขายตามบ้าน ทั้งคู่ลงทุนซื้อผลไม้มาขายครั้งละกว่า 15,000 บาท กลายเป็นหนี้สินที่สะสมขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งรถที่ยังผ่อนไม่หมด ถูกยึดเมื่อไม่นานมานี้
“พ่อแม่ทำงานหนักมาตลอด แต่ก่อนขายมาทุกอย่าง บ๊ะจ่าง กิฟต์ช็อป เสื้อผ้า ก็เปลี่ยนมาทุกอย่าง ที่ผมโตมาหลัก ๆ เลยก็คือ ขายผลไม้”
พระบิ๊กบอกว่าในแต่ละช่วงที่ลำบากขายของที่พอขายเป็นมือสองได้ กระทั่งเสื้อผ้าก็ถูกนำไปขายตามตลาดนัด เราถามว่า แล้วพวกธนาคารของรัฐพอจะช่วยได้หรือไม่ คำตอบของเขาอาจเป็นตัวแทนของคนค้าขายอีกหลาย ๆ คน
“กู้กับธนาคารไม่ได้เลย มันยุ่งยาก รัฐก็ไม่เอื้อเฟื้อให้กู้ได้ ทางค้าขายมันกู้ได้ยากอยู่ครับ อาชีพอื่นจะกู้ได้มากกว่า” พระบิ๊กเล่าถึงอาชีพของพ่อแม่ที่ไม่เคยเข้าถึงกลไกการช่วยเหลือจากรัฐ รวมทั้งมาตรการเยียวยาจากรัฐบาลเมื่อปีที่แล้ว ที่ครอบครัวของเขาไม่เคยได้
ตัวเลขสถิติอีกเสี้ยวหนึ่งภายหลังการปิดเมืองล็อกดาวน์ของรัฐบาลเมื่อปีก่อน โดยคณะนักวิจัย “โครงการวิจัยคนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง” รวบรวมกรณีการฆ่าตัวตายจากวิกฤตโควิด-19 ที่ปรากฏในสื่อระหว่างวันที่ 1-20 เม.ย. 2563 ไว้ได้ 38 กรณี ส่วนของปีนี้ยังไม่มีหน่วยงานไหนรวบรวม รวมถึงกรมสุขภาพจิตที่บีบีซีไทยขอข้อมูลไป
ปีที่แล้ว รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หนึ่งในคณะนักวิจัย บอกกับบีบีซีไทยว่า การเก็บรวบรวมตัวเลขนี้ ต้องการชี้ให้เห็นว่า “ฟางเส้นสุดท้ายของผู้คนกำลังกดทับจนไม่สามารถที่จะมองหาทางออกในชีวิตได้” และ “ไม่ควรมีใครจะต้องตายจากนโยบายหรือมาตรการของรัฐ” แม้จะถูกวิจารณ์จากบางฝ่ายว่าขาดการเปรียบเทียบกับข้อมูลเดือนหรือปีอื่น ๆ และกรมสุขภาพจิตออกมาบอกว่านี่เป็นเพียงมุมมองจากสื่อมวลชนที่ไม่อาจสรุปการฆ่าตัวตายว่ามาจากปัจจัยใดเพียงอย่างเดียวได้
อย่างไรก็ตาม การนำเสนอข้อมูลชุดนี้ เกิดขึ้นในขณะที่มีข่าวการฆ่าตัวตายรายวัน และผู้คนจำนวนมากตกหล่นจากการเยียวยาของรัฐในช่วงการระบาดใหม่ ๆ เงินช่วยเหลือจากโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ที่จ่ายให้เดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ไม่กี่เดือนหลังจากนั้น กระทรวงการคลังยอมรับว่ามีผู้ตกหล่นจากระบบที่รัฐต้องมาจ่ายย้อนหลังในครึ่งปีหลังอีก 302,160 ราย
ใน 3 แสนกว่ารายนี้ เป็นผู้ตกหล่นที่ผ่านการคัดกรองจากผู้คนอีก 1.7 ล้านราย
ผู้คนที่รู้สึกสิ้นหวัง
“ช่วงปีที่แล้วที่มันเกิดการล็อกดาวน์ใหม่ ๆ ช่วงนั้นโทรศัพท์เข้ามาเยอะอย่างก้าวกระโดด” นายตระการ เชนศรี นายกสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย บอกกับบีบีซีไทย
สถิติที่สมาคมเก็บรวบรวมระหว่างเดือน เม.ย. 2563 ชี้ว่าร้อยละ 25 ของผู้ที่โทรเข้ามาขอความช่วยเหลือกับสมาคมมีความคิดอยากจะจบชีวิตตัวเอง และร้อยละ 70 มีปัญหาเรื่องเงิน
“ช่วงนั้นมันจะมีเคสที่คนรู้สึกว่ามันสิ้นหวังมาก ๆ อย่างเช่น ทั้งบ้านเหลือเงิน 30 บาท เคสประมาณนี้มีเยอะมาก และมันเป็นภาวะสิ้นหวัง” ตระการกล่าว
สำหรับปีนี้ นายกสมาคมสะมาริตันส์ฯ บอกว่า แนวโน้มของผู้คนรู้สึกว่าการระบาดระลอกแรกคือเรื่องใหม่ เมื่อเกิดระลอกที่ 2หนี้สินยังไม่ทันใช้หมด เมื่อมาเผชิญกับระลอกที่ 3 พวกเขารู้สึกว่ายิ่งโดนซ้ำเติม
ด้านพรทิพย์ (ขอสงวนนามสกุล) ซึ่งเป็นอาสาสมัครเป็นผู้รับเรื่องของสมาคมสะมาริตันส์มาตั้งแต่ปี 2529 บอกว่า เมื่อปีที่แล้วคนที่โทรเข้ามาปรึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาจากระบบความช่วยเหลือของรัฐ ปัญหาความสัมพันธ์ของคนในบ้าน เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ที่รัฐรณรงค์ให้คนหยุดอยู่บ้าน คนที่กลับประเทศไม่ได้จากการปิดน่านฟ้า กระทั่งการต้องเรียนผ่านทางออนไลน์ คนที่โทรหรือส่งข้อความเข้ามามีเพิ่มมากขึ้น บางทีต้องคุยพร้อมกัน 4-5 คน และบางครั้ง 7 คนที่เธอต้องสลับกันเพื่อรับฟัง
“อย่างเรื่องระบบช่วยเหลือของรัฐ เขาก็เขียนมาทำนองว่า ลงทะเบียนยังไง ตอนนั้นที่มีลงทะเบียน บางคนได้บางคนไม่ได้ แล้วลงไม่ได้ต้องติดต่อใคร เพราะอะไรถึงไม่ผ่าน เขาก็คงเข้าใจว่าเราเป็นหน่วยงานรัฐ เขาก็เขียนมาหาเรา หรือว่าอาจจะไม่มีช่องทางอื่นที่หาได้”
พรทิพย์บอกว่าในทัศนะของเธอเห็นว่าคนที่มีความคิดฆ่าตัวตายมีภาวะของความโดดเดี่ยว ไม่มีใครช่วยได้ สิ่งที่อาสาสมัครทำได้คือการรับฟังและบอกว่า “มันยังมีทางออก”
“ปีนี้เริ่มมีคนที่เขียนทำนองแบบว่า หรือว่าจะตายด้วยโควิดไปดี อยากจะให้ตายด้วยโควิด หรือว่าพูดว่า กลับบ้านไปไม่รู้จะตายด้วยโควิดหรือเปล่า เอาโควิดมาเป็นตัวหนึ่งในการจะฆ่าตัวตาย มันสวนทางกับตอนเวลาที่เกิดภัยสงครามที่คนเราอยากจะมีชีวิตรอด”
กรมสุขภาพจิต: อัตราฆ่าตัวตายปี 2563 “ต่ำกว่าตัวเลขประมาณการเดิม”
รายงานการฆ่าตัวตายระหว่างเดือน เม.ย.-มิ.ย. ที่ปรากฏให้เห็นมากขึ้น รวมถึงตัวเลขการฆ่าตัวตายในปีที่แล้วกำลังบอกอะไรเกี่ยวกับภาวะสุขภาพจิตของคนในสังคมไทย
บีบีซีไทยขอข้อมูลและคำอธิบายจากกรมสุขภาพจิต และได้รับคำอธิบายเป็นเอกสารข่าวกรมสุขภาพจิตที่เผยแพร่เมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมาว่า อัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายของประเทศไทยในปี 2563 ต่ำกว่าตัวเลขที่กรมสุขภาพจิตประมาณการเดิมที่ 8.0 ต่อแสนประชากร ขณะที่ตัวเลขของปี 2563 อัตราของการฆ่าตัวตายของคนไทยในประชากร 1 แสนคน มีคนฆ่าตัวตายสำเร็จ 7.37 คน
เอกสารข่าวอ้างคำพูดของ พญ. พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิตที่ระบุว่า สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในทุกประเทศทั่วโลก ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต เศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงอัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้นในหลายประเทศ
สำหรับประเทศไทย กรมสุขภาพจิตเคยศึกษาและประมาณการช่วงต้นปี 2563 ว่าปัญหาโรคระบาดใหม่และแนวโน้มการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลง อาจเพิ่มอัตราการเสียชีวิตจากปี 2562 ที่ 6.64 ต่อแสนประชากรต่อปี เป็น 8.00 ต่อแสนประชากรต่อปีในปี 2563 ที่ผ่านมา
ทว่าตัวเลข 7.37 คน นั้นก็เป็นตัวเลขที่ไต่ระดับขึ้นเรื่อย ๆ จาก 2-3 ปีก่อนหน้านั้น ซึ่งคล้ายกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจขอวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งปี 2541 อัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยเท่ากับ 8.12 ต่อแสนประชากร และเพิ่มขึ้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ ภายหลังวิกฤตปี 2540 คือ 8.59 และ 8.40 ต่อแสนประชากรในปี 2542 และ 2543 ตามลำดับ
3 ปี หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง อัตราฆ่าตัวตายเพิ่ม 20-30%
อัตราการฆ่าตัวตายของครึ่งปีแรกในปี 2563 เพิ่มขึ้น 22% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2562 ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนี้ ถูกอธิบายจาก นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต เมื่อครั้งยังเป็นอธิบดีกรมสุขภาพจิต เมื่อปีที่แล้วว่า “การเพิ่มขึ้นในอัตรานี้มีความคล้ายคลึงกับการเพิ่มขึ้นในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อ 23 ปีก่อน ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นประมาณ 20-30% ในช่วง 3 ปีหลังเกิดวิกฤต”
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งก่อตั้งโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่บทความที่เขียนโดยธนิสา ทวิชศรี และบุญธิดา เสงี่ยมเนตร นักวิจัยของสถาบัน ระบุว่าว่าแม้ยังไม่มีการเผยแพร่ตัวเลขทางการของสภาวะสุขภาพจิตหลังจากวิกฤตโควิด-19 แต่งานศึกษาในอดีตและตัวเลขจากแหล่งอื่นได้เตือนว่า “วิกฤตครั้งนี้น่าจะทำให้ปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”
บทความนี้ระบุผลการศึกษาของปัญหาสุขภาพจิตที่มีปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมมาเกี่ยวข้องในต่างประเทศว่า งานวิจัยในปี 2010 ที่สนับสนุนโดยกระทรวงการพัฒนาระหว่างประเทศของรัฐบาลสหราชอาณาจักร ได้ทบทวนงานศึกษา 115 ชิ้นในประเทศกลุ่มรายได้ขั้นกลางหรือต่ำ พบว่า 70% พบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างความผิดปกติทางจิตกับความยากจน
นอกจากนี้ยังอ้างอิงงานวิจัยอีกชิ้นด้วยว่า คนที่เผชิญกับความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสถานการณ์การจ้างงานและบทบาททางอาชีพ มักรายงานว่าสุขภาพจิตของตนเองแย่ลงมากกว่ากลุ่มอื่น และความกังวลทางด้านการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ยากจน ทำให้ประสิทธิภาพในการรับรู้และการตัดสินใจลดลง
เมื่อเป็นสถานการณ์ในไทย นักวิจัยได้ใช้เครื่องมือดัชนีสืบค้น หรือ Google Search Index ซึ่งอาจสามารถนำมาใช้ในการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตเนื่องจากเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน มีค่าใช้จ่ายต่ำ และครอบคลุมผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล พบว่าประชากรชายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะพบปัญหาด้านสุขภาพจิตมากกว่าหญิง ช่วงอายุ 30-49 ปี เป็นกลุ่มที่มีอัตราฆ่าตัวตายและภาวะซึมเศร้าสูงกว่ากลุ่มอื่น ผู้ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวกับสมาชิกหลายคนมีสัดส่วนการป่วยด้วยโรคซึมเศร้า และจิตเภทน้อยกลุ่มอื่น