พยายามจะหาข้อมูลที่เคยได้รับจาก อ.หมอ ท่านต่าง ๆ จาก ศบค. สาธารณสุข รวมถึงข้อแนะนำ ที่นำเสนอเพื่อสนับสนุนการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ให้ได้ผลสำเร็จในการมุ่งหน้าสู่การเปิดประเทศอย่างปลอดภัย อีกทั้งอาจมีการวิพาษณ์วิจารณ์ และชื่นชมแนวทางการทำงานทั้งฝ่ายภาครัฐและเอกชน ประชาชนแต่ละกลุ่ม
ข้อมูล ข้อเสนอแนะ อ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ ศบค. สธ. และหากมีแหล่งข้อมูลอื่นที่ดีก็จะอ้างอิงประกอบกัน รวมถึงกราฟทั้งจากต่างประเทศ ในประเทศ (90) และข้อเสนอแนะ กราฟที่อาจจะมี จัดทำเอง (10)
กระทู้เปิดยาว 3 เดือน กรุณาอย่าปาดกระทู้ หากต้องการแลกเปลี่ยน สนทนา สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในความเห็นย่อย จะเขียนให้ถึง 104 ข้อก่อนปิดกระทู้ หากไม่ถึงก็จะพยายามให้ได้อย่างน้อย 99 ข้อ
ขอแสดงความคิดเห็นด้วยความสุภาพ ไม่เสนอข้อความ เนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว เจตนาใส่ความบุคคลอื่น
ข้อมูล COVID-19 แนวทางควบคุมการติดเชื้อ กราฟ วัคซีน การฉีด รวม 104 ข้อสรุป ข้อเสนอ สู่ปฐมบทการเดินหน้าการเปิดประเทศ
1. วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ป้องกันสายพันธุ์ดั้งเดิมตลอดจนเดลต้าได้ผลดี ควรยึดตาม U.K. model เพื่อฉีดให้ประชากรให้เร็วที่สุดไม่เกินระยะ 3 เดือนนี้ก่อนเดินหน้าสู่การฉีดเข็มสอง
2. อธิบายให้ AZ เข้าใจถึงความตั้งใจที่ไทยต้องการให้ AZ เป็นศูนย์กลางการผลิตวัคซีนในภูมิภาคอาเซียน เมื่อสำเร็จตามแผน สามารถผลิตวัคซีนที่ได้คุณภาพตามเกณฑ์ของ AZ ซึ่งมีมาตรฐานที่สูงได้สำเร็จ AZ ควรให้ความสำคัญกับการจัดส่งวัคซีนให้กับประเทศไทยในยอดการสั่งล็อตแรก 26 ล้านโดสเป็นอันดับแรก
3. ในอาเซียน ประเทศที่จำเป็นต้องได้รับวัคซีนเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดระดับรุนแรงมีสามประเทศ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ซึ่งเริ่มเข้าถึงวัคซีนชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech ได้ ซึ่งสามารถช่วยเสริมประสิทธิภาพในการควบคุมการระบาดได้เร็วไม่แตกต่างจาก AstraZeneca
4. ประเทศไทยได้รับวัคซีน Pfizer-BioNTech ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้และ Moderna จะมาในไตรมาส 4/64 และ 1/65 ทั้งสองชนิดให้ผลเร็วในการควบคุมการระบาดพอ ๆ กับ AstraZeneca คือสร้างภูมิที่ดีใน 1 เดือนหลังเข็มแรก ทำให้เดือน ก.ค. นี้จำเป็นต้องมีฉีด AZ ให้มากที่สุดในพื้นที่การระบาดทั้ง กรุงเทพฯ ปริมณฑลและ 4 จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคเรื้อรัง
5. จึงควรเจรจากับ AZ ให้ได้วัคซีนอย่างน้อย 10 ล้านโดสต่อเดือนในเดือน ก.ค. และ ส.ค. 64 และจะควบคุมการระบาดทั้งสายพันธุ์อัลฟาและเดลตาได้อย่างเห็นผล หากจำเป็นต้องลดจำนวนการจัดส่งควรทำหลัง ก.ย. เป็นต้นไป แต่ไม่ควรต่ำกว่า 7.5 ล้านโดสต่อเดือน ควรเจรจา ร้องขอ ขอร้อง AZ ให้เข้าใจถึงความสำคัญดังกล่าว เพราะหากจัดส่งได้เพียง 5 ล้านโดสต่อเดือนจะทำให้เกิดความยากลำบากในการควบคุมการระบาดและสุ่มเสี่ยงที่จะมีผู้เสียชีวิตในสัดส่วนที่สูงกว่าปัจจุบัน
6. หากมีผลการวิจัยของศูนย์เชี่ยวชาญฯ ให้ผลออกมาที่ดีในการให้วัคซีน AZ เป็นเข็มสามสำหรับผู้ได้รับวัคซีน Sinovac Sinopharm และ AstraZeneca ครบสองเข็มก่อนหน้า หากการระบาดยังสูงอยู่หรือมีทิศทางที่สูงขึ้นก็จะเป็นทางเลือกที่จะฉีดเพื่อเสริมภูมิให้บางกลุ่ม อาทิ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จนท.ด่านหน้า กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้มีโรคเรื้อรัง หากไม่รวม HCW FLW ในผู้ที่รับวัคซีนเป็นกลุ่มแรก ๆ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง การฉีดกระตุ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้มีโรคเรื้อรัง อาจทำได้แต่ไม่เร็วกว่าไตรมาสสุดท้ายของปี ขึ้นกับผลของงานวิจัยที่อาจจะมีออกมาในอนาคต
7. ปัจจุบันมีการวิจัยสำหรับการสลับวัคซีนของไทย ข้อมูลปัจจุบันยังไม่แนะนำให้มีการฉีดสลับวัคซีน แต่มีไว้เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่แพ้วัคซีนเข็มแรก
8. เมื่อประเทศไทยสามารถเข้าถึงวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นาได้ในไตรมาสสุดท้าย หากจะลดการจัดส่งเหลือ 5 ล้านโดสต่อเดือนตั้งแต่ ต.ค. 64 เป็นต้นไป ก็จะสอดคล้อง
9. วัคซีนชนิดเชื้อตายทั้ง ซิโนแวคและซิโนฟาร์มเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยสูงที่สุดในด้านของผลข้างเคียงจากการฉีด แต่ใช้เวลาในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันช้ากว่าวัคซีนประเภทอื่นและต้องฉีดให้ครบสองโดสตามกำหนดเป็นเวลา 14 วัน จำเป็นต้องใช้ในพื้นที่ที่มีการระบาดไม่รุนแรงรวมถึงผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงจากวัคซีนชนิดอื่น
10. ประโยคคลาสสิค วัคซีนทุกชนิดฉีดแล้วยังสามารถติดเชื้อและแพร่ต่อได้ เมื่อได้รับวัคซีนครบถ้วนแล้ว ยังจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ สธ. เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
11. ฉีดวัคซีนใดต้องปฏิบัติตัวตามต้นแบบ ฉีด SV SPH ต้องพยายามไม่ให้การระบาดสูงกว่าปัจจุบัน หากความเสี่ยงต่อการติดเชื้อยังคงอยู่ในระดับปัจจุบัน ทั้ง SV และ SPH จะมีประสิทธิผลสูงถึง 70 ถึงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ได้ พื้นที่ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ได้รับ SV และ SPH ในปัจจุบันคือที่ภูเก็ตตามมาตรการนำร่องเพื่อส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวแบบ Sandbox ที่มีการฉีดเกิน 70% ของจำนวนประชากรในพื้นที่แล้วในปัจจุบัน
12. ผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต้องป้องกันตนเอง ทำสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยสูงสุด ทั้งระบบระบายอากาศ ระบบฆ่าเชื้อ การทำความสะอาดพื้นผิว การใช้เวลาในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อให้สั้นที่สุด เช่น พื้นที่ตลาด พื้นที่ที่มีคนอยู่จำนวนมาก หากไม่ใช่ จนท.ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยหรือตรวจหาเชื้อ ควรเลี่ยงความเสี่ยงให้มากที่สุดโดยเฉพาะในระยะ 1-2 เดือนนี้
ข้อมูล COVID-19 แนวทางควบคุมการติดเชื้อ กราฟ วัคซีน การฉีด รวม 104 ข้อสรุป ข้อเสนอ สู่ปฐมบทการเดินหน้าการเปิดประเทศ
ข้อมูล ข้อเสนอแนะ อ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ ศบค. สธ. และหากมีแหล่งข้อมูลอื่นที่ดีก็จะอ้างอิงประกอบกัน รวมถึงกราฟทั้งจากต่างประเทศ ในประเทศ (90) และข้อเสนอแนะ กราฟที่อาจจะมี จัดทำเอง (10)
กระทู้เปิดยาว 3 เดือน กรุณาอย่าปาดกระทู้ หากต้องการแลกเปลี่ยน สนทนา สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในความเห็นย่อย จะเขียนให้ถึง 104 ข้อก่อนปิดกระทู้ หากไม่ถึงก็จะพยายามให้ได้อย่างน้อย 99 ข้อ
ขอแสดงความคิดเห็นด้วยความสุภาพ ไม่เสนอข้อความ เนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว เจตนาใส่ความบุคคลอื่น
ข้อมูล COVID-19 แนวทางควบคุมการติดเชื้อ กราฟ วัคซีน การฉีด รวม 104 ข้อสรุป ข้อเสนอ สู่ปฐมบทการเดินหน้าการเปิดประเทศ
1. วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ป้องกันสายพันธุ์ดั้งเดิมตลอดจนเดลต้าได้ผลดี ควรยึดตาม U.K. model เพื่อฉีดให้ประชากรให้เร็วที่สุดไม่เกินระยะ 3 เดือนนี้ก่อนเดินหน้าสู่การฉีดเข็มสอง
2. อธิบายให้ AZ เข้าใจถึงความตั้งใจที่ไทยต้องการให้ AZ เป็นศูนย์กลางการผลิตวัคซีนในภูมิภาคอาเซียน เมื่อสำเร็จตามแผน สามารถผลิตวัคซีนที่ได้คุณภาพตามเกณฑ์ของ AZ ซึ่งมีมาตรฐานที่สูงได้สำเร็จ AZ ควรให้ความสำคัญกับการจัดส่งวัคซีนให้กับประเทศไทยในยอดการสั่งล็อตแรก 26 ล้านโดสเป็นอันดับแรก
3. ในอาเซียน ประเทศที่จำเป็นต้องได้รับวัคซีนเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดระดับรุนแรงมีสามประเทศ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ซึ่งเริ่มเข้าถึงวัคซีนชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech ได้ ซึ่งสามารถช่วยเสริมประสิทธิภาพในการควบคุมการระบาดได้เร็วไม่แตกต่างจาก AstraZeneca
4. ประเทศไทยได้รับวัคซีน Pfizer-BioNTech ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้และ Moderna จะมาในไตรมาส 4/64 และ 1/65 ทั้งสองชนิดให้ผลเร็วในการควบคุมการระบาดพอ ๆ กับ AstraZeneca คือสร้างภูมิที่ดีใน 1 เดือนหลังเข็มแรก ทำให้เดือน ก.ค. นี้จำเป็นต้องมีฉีด AZ ให้มากที่สุดในพื้นที่การระบาดทั้ง กรุงเทพฯ ปริมณฑลและ 4 จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคเรื้อรัง
5. จึงควรเจรจากับ AZ ให้ได้วัคซีนอย่างน้อย 10 ล้านโดสต่อเดือนในเดือน ก.ค. และ ส.ค. 64 และจะควบคุมการระบาดทั้งสายพันธุ์อัลฟาและเดลตาได้อย่างเห็นผล หากจำเป็นต้องลดจำนวนการจัดส่งควรทำหลัง ก.ย. เป็นต้นไป แต่ไม่ควรต่ำกว่า 7.5 ล้านโดสต่อเดือน ควรเจรจา ร้องขอ ขอร้อง AZ ให้เข้าใจถึงความสำคัญดังกล่าว เพราะหากจัดส่งได้เพียง 5 ล้านโดสต่อเดือนจะทำให้เกิดความยากลำบากในการควบคุมการระบาดและสุ่มเสี่ยงที่จะมีผู้เสียชีวิตในสัดส่วนที่สูงกว่าปัจจุบัน
6. หากมีผลการวิจัยของศูนย์เชี่ยวชาญฯ ให้ผลออกมาที่ดีในการให้วัคซีน AZ เป็นเข็มสามสำหรับผู้ได้รับวัคซีน Sinovac Sinopharm และ AstraZeneca ครบสองเข็มก่อนหน้า หากการระบาดยังสูงอยู่หรือมีทิศทางที่สูงขึ้นก็จะเป็นทางเลือกที่จะฉีดเพื่อเสริมภูมิให้บางกลุ่ม อาทิ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จนท.ด่านหน้า กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้มีโรคเรื้อรัง หากไม่รวม HCW FLW ในผู้ที่รับวัคซีนเป็นกลุ่มแรก ๆ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง การฉีดกระตุ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้มีโรคเรื้อรัง อาจทำได้แต่ไม่เร็วกว่าไตรมาสสุดท้ายของปี ขึ้นกับผลของงานวิจัยที่อาจจะมีออกมาในอนาคต
7. ปัจจุบันมีการวิจัยสำหรับการสลับวัคซีนของไทย ข้อมูลปัจจุบันยังไม่แนะนำให้มีการฉีดสลับวัคซีน แต่มีไว้เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่แพ้วัคซีนเข็มแรก
8. เมื่อประเทศไทยสามารถเข้าถึงวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นาได้ในไตรมาสสุดท้าย หากจะลดการจัดส่งเหลือ 5 ล้านโดสต่อเดือนตั้งแต่ ต.ค. 64 เป็นต้นไป ก็จะสอดคล้อง
9. วัคซีนชนิดเชื้อตายทั้ง ซิโนแวคและซิโนฟาร์มเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยสูงที่สุดในด้านของผลข้างเคียงจากการฉีด แต่ใช้เวลาในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันช้ากว่าวัคซีนประเภทอื่นและต้องฉีดให้ครบสองโดสตามกำหนดเป็นเวลา 14 วัน จำเป็นต้องใช้ในพื้นที่ที่มีการระบาดไม่รุนแรงรวมถึงผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงจากวัคซีนชนิดอื่น
10. ประโยคคลาสสิค วัคซีนทุกชนิดฉีดแล้วยังสามารถติดเชื้อและแพร่ต่อได้ เมื่อได้รับวัคซีนครบถ้วนแล้ว ยังจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ สธ. เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
11. ฉีดวัคซีนใดต้องปฏิบัติตัวตามต้นแบบ ฉีด SV SPH ต้องพยายามไม่ให้การระบาดสูงกว่าปัจจุบัน หากความเสี่ยงต่อการติดเชื้อยังคงอยู่ในระดับปัจจุบัน ทั้ง SV และ SPH จะมีประสิทธิผลสูงถึง 70 ถึงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ได้ พื้นที่ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ได้รับ SV และ SPH ในปัจจุบันคือที่ภูเก็ตตามมาตรการนำร่องเพื่อส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวแบบ Sandbox ที่มีการฉีดเกิน 70% ของจำนวนประชากรในพื้นที่แล้วในปัจจุบัน
12. ผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต้องป้องกันตนเอง ทำสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยสูงสุด ทั้งระบบระบายอากาศ ระบบฆ่าเชื้อ การทำความสะอาดพื้นผิว การใช้เวลาในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อให้สั้นที่สุด เช่น พื้นที่ตลาด พื้นที่ที่มีคนอยู่จำนวนมาก หากไม่ใช่ จนท.ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยหรือตรวจหาเชื้อ ควรเลี่ยงความเสี่ยงให้มากที่สุดโดยเฉพาะในระยะ 1-2 เดือนนี้