"ยิ่งลักษณ์" หวังรบ.ใจกว้างนำนโยบายแท็บเล็ตพีซี เรียนออนไลน์ มาใช้อย่างจริงจัง
“ยิ่งลักษณ์” หวังรบ.ใจกว้างนำนโยบายแท็บเล็ตพีซี เรียนออนไลน์ มาใช้อย่างจริงจัง
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม น.ส.
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์เฟซบุ๊ก
Yingluck Shinawatra แนะรัฐบาลนำนโยบายแท็บเล็ตพีซีและการเรียนออนไลน์ มาใช้ในสถานศึกษาอย่างจริงจัง ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในตอนนี้ เพื่อพัฒนาตัวนักเรียน
โดย น.ส.
ยิ่งลักษณ์ ได้แชร์ลิงค์จากเฟซบุ๊ก “
THINK คิด เพื่อ ไทย” ที่โพสต์เรื่อง
“การเรียนออนไลน์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์แถลงนโยบายเอาไว้เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว !”
โดยน.ส.
ยิ่งลักษณ์ระบุในเฟซบุ๊กของตัวเองว่า
“ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางทั่วโลกรวมถึงในบ้านเรา การปรับตัวเพื่อเรียนออนไลน์จึงมีความจำเป็นเพื่อเน้นความปลอดภัยจากการติดเชื้อและให้การเรียนการสอนของนักเรียนดำเนินไปได้โดยไม่ติดขัด แท็บเล็ตพีซีจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีในการเรียนรู้ แต่ยังเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการเรียนการสอนในปัจจุบัน โดยพัฒนาให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง รู้จักแสวงหาความรู้ และแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง พร้อมกับปรับบทบาทครูเป็นผู้อำนวยการสอนเท่านั้น
ดิฉันจึงหวังว่ารัฐบาลจะใจกว้างนำนโยบายแท็บเล็ตพีซีและการเรียนออนไลน์เข้ามาใช้ในสถานศึกษาอย่างจริงจังและลงทุนให้ทุกโรงเรียนของรัฐมีอุปกรณ์การเรียนการสอนทั้งครูผู้สอนและนักเรียนค่ะ “
"เรียนออนไลน์" พบปัญหาอื้อ เด็กซึมเศร้า พ่อแม่แบกหนี้หลังอาน ครูขาดอุปกรณ์!
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6490052
อรุณี เปิดคลับเฮาส์ถกเดือดครู-นักเรียนปมเรียนออนไลน์ ชี้กระทบทุกฝ่าย เด็กซึมเศร้า พ่อแม่แบกหนี้หลังอาน ครูขาดอุปกรณ์ จ่อดันชั้น อนุ กมธ. แก้ปัญหาต่อ
เมื่อวันที่ 4 ก.ค. น.ส.
อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย และที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการวิสามัญ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2565 ด้านการศึกษา เปิดคลับเฮาส์ในหัวข้อ “
เปิดโรงเรียนไม่ได้ กระทบการศึกษายังไง” เมื่อวันที่ 4 ก.ค. โดยมีนักวิชาการ ครู นักเรียน และผู้สนใจร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สะท้อนปัญหา และทางออกจำนวนมาก
เช่น นาย
อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
ครูทิว-ธนวรรธน์ สุวรรณปาล ครูโรงเรียนวัดธาตุทอง ตัวแทนจากกลุ่มนักเรียนเลว ตัวแทนกลุ่มเด็ก 64 และนักเรียนจากสถานศึกษาหลายแห่ง พบว่าการเรียนออนไลน์ทำให้ทั้งครูนักเรียนและผู้ปกครองเกิดความเหนื่อยล้า เครียดสะสม เกิดภาวะซึมเศร้าจากการเรียนการสอน เกิดผลกระทบต่อเนื่องแบบลูกโซ่
โดยในส่วนของผู้เรียนพบว่ามีความไม่พร้อมของอุปกรณ์และสัญญาณอินเตอร์เน็ต เด็กถูกผลักภาระจนกระทบกับสุขภาพ การบ้านมากเกินไป เรียนหน้าจอนานจนเหนื่อยล้า ปวดหัว สายตาพร่ามัว เกิดภาวะเครียด เรียนได้ไม่เต็มที่ ในส่วนของผู้ปกครอง พบว่า ต้องแบกรับหนี้สินจากการจัดหาอุปกรณ์ แบ่งเวลาในการร่วมเรียนออนไลน์ไปพร้อมกับการทำงานหาเลี้ยงชีพ
ขณะที่ครูประสบปัญหาขาดอุปกรณ์เพื่อจัดการสอน ไม่มีงบประมาณสนับสนุน ครูต้องจัดหากันเอง ต้องเตรียมการสอนมากขึ้น ค้นหารูปแบบการสอนและเทคนิคที่จูงใจด้วยตัวเอง ถูกผลักเป็นเหยื่อรับบาป สังคมตราหน้าเพราะจัดการเรียนไม่ดี ภาระงานเพิ่มขึ้นจากนโยบายให้อิสระของกระทรวง แต่คำว่า อิสระ กลับกลายเป็นบ่วงที่ทำให้ราชการกลัว ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่กล้าปรับเปลี่ยน
น.ส.
อรุณี กล่าวอีกว่า การจัดทำงบประมาณด้านการศึกษาปี 2565 นอกจากตัดลดงบประมาณในส่วนสำคัญลง ยังไม่มีการวางงบประมาณเพื่อสอดรับกับสถานการณ์การเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงที่เกิดโรคระบาด มากไปกว่านั้นคือกระทรวงศึกษาธิการกลับตั้งเป้ายกระดับ PISA หรือโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติให้เข้มข้นขึ้นในสถานการณ์นี้
ซึ่งสวนกระแสโลกที่แต่ละประเทศมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์เปราะบางให้มีคุณภาพ ไม่ทิ้งเด็ก ครู และผู้ปกครองไว้ข้างหลัง ซึ่งประเด็นเหล่านี้ตนจะนำไปผลักดันต่อในชั้นคณะอนุกรรมาธิการงบประมาณด้านการศึกษา ร่วมกับส.ส.รวมทั้งสมาชิกพรรคเพื่อไทยในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2565 ต่อไป
ไหนว่าช่วย! สลด 136 แรงงาน ถูกทิ้งวอนขอข้าวยื้อชีวิต หลังรัฐสั่งปิดแคมป์เกือบสัปดาห์
https://www.matichon.co.th/social/news_2811039
ไหนว่าช่วย! สลด 136แรงงาน ถูกทิ้งวอนขอข้าวยื้อชีวิต หลังรัฐสั่งปิดแคมป์เกือบสัปดาห์
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “
อันปัน ค้า” ได้โพสต์ภาพแคมป์คนงานแห่งหนึ่งย่านพระราม 3 กรุงเทพฯ พบคนงาน 136 ชีวิต ร้องขออาหาร เนื่องจากไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาช่วยเหลือ
ทั้งนี้ผู้โพสต์ระบุว่า
“สวัสดีค่ะ ขออนุญาตขอความช่วยเหลือจากแคมป์คนงานในพื้นที่ย่านพระราม 3 ซอย 75 แยก 1 ติดทางด่วน ตอนนี้เราต้องการความช่วยเหลือ #แมส #ข้าวสาร #อาหารแห้ง #ไข่ #มาม่า #ปลากระป๋อง #ของสด #หมูไก่ผัก #น้ำดื่ม สบู่ ยาสีฟัน ผ้าอนามัย #นมผง #นมกล่อง #แพมเพิสให้เด็ก คนงานภายในแคมป์มี 136 คน เนื่องจากรัฐออกมาตการปิดแคมป์คนงาน โดยวันนี้เป็นวันที่ 6 แล้วยังไม่มีหน่วยงานไหนยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเลยค่ะ อะไรก็ได้ที่ประทังชีวิตต่อไปได้ขอบคุณค่ะ เบอร์ติดต่อ 091837xxxx แม่บ้านเภา เบอร์ติดต่อ 081141xxxx หัวหน้าอู๋ และยังมีแคมป์ที่ต้องการความช่วยเหลืออยู่ย่านทองหล่อที่มีเด็กเล็กเหมือนกัน ที่ห่างไกลชุมชน”
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1169320126901474&id=100014704938216
เมียคาใจสามีวัย 74 ปี ชาวพัทลุง เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนได้ 10 วัน ยืนยันก่อนหน้าร่างกายยังแข็งแรง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2810921
เมียคาใจ ลุงวัย 74 ปี ชาวพัทลุง เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนได้ 10 วัน ยืนยันก่อนหน้าร่างกายยังแข็งแรงช่วยงานก่อสร้างปลูกพืชผักได้ปกติ ข้องใจรัฐไม่รับผิดชอบ
วันที่ 4 กรกฎาคม 2564 นาง
สมศรี ขำแก้ว อายุ 71 ปี อยู่บ้านเลขที่ 131 / 2 หมู่ 8 ตำบลพนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง พร้อมบุตรสาวและญาติ ๆ ร้องขอความเป็นธรรมผ่านสื่อหลังคาใจสาเหตุการเสียชีวิตของนาย
จำเริญ ขำแก้ว อายุ 74 ปี สามี หลังจากที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 เข็มแรกได้เพียง 10วัน
นาง
สมศรี เล่าว่า นาย
จำเริญ ได้ลงทะเบียนหมอพร้อม เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ตามนโยบายรัฐบาล โดยไปฉีดวัคซีน เเอสตร้าเซเนก้า ที่โรงพยาบาลพัทลุง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมาหลังฉีด1 วัน นาย
จำเริญ ฯ มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ต่อมามีอาการไข้สูงติดต่อกัน 3 วัน หมอบอกให้กินยาพาราเพื่อลดไข้ พร้อมมีอาการไม่มีเรี่ยวแรง ทั้งที่ก่อนหน้าตลอดระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่ปี 2558 ที่นาย
จำเริญไปทำบอลลูน หัวใจมา ก็มีร่างกายปกติ ไม่เคยป่วย ไม่เคยไป รพ.และยังสามารถช่วยทำงานก่อสร้างหลานชาย และยังขุดดินยกร่องปลูกพืชผัก ได้ตามปกติ
จนกระทั่งมาฉีดวัคซีน สภาพร่างกายของลุง
จำเริญก็เปลี่ยนไป โดยจะมีอาการอ่อนเพลียไม่มีแรง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ลุง
จำเริญ บ่นกับญาติ ว่ารู้สึกผิดที่ไปฉีดวัคซีน ร่างกายตนเองไม่ดีเลย จนกระทั่งในช่วงค่ำวันที่ 20 มิถุนายน นาย
จำเริญ บอกนาง
สมศรี ภรรยา ว่า รู้สึกปวดบริเวณหน้าอกนาง
สมศรี จึงบอกให้นาย
จำเริญไปนอนพักผ่อน โดยแยกกันนอนคนละที่ จนกระทั่งตอนเช้านาง
สมศรี สังเกต นาย
จำเริญ ไม่ตื่น จึงให้หลานสาววัย 10 ขวบไปเรียกแต่พบว่าเสียชีวิต แล้ว
หลังเสียชีวิตญาติทำเรื่องขอเยียวยาไปยัง สปสช. แต่กลับได้รับคำตอบว่า ผู้ป่วยอายุ และมีโรคประจำตัว ทั้งเมื่อมีอาการไม่ไปหาหมอ ที่สำคัญไม่มีใบรับรองการแพทย์ว่ามีอาการแพ้ และไม่ได้ลงในหมอพร้อมว่ามีอาการอะไรบ้างหลังฉีด
นาง
สมศรี บอกอีกว่า ยังทำใจยอมรับไม่ได้กับการเสียชีวิตของผู้เป็นสามี สามีเป็นเสาหลักของครอบครัว ช่วยหลานทำงานก่อสร้าง ปลูกพืชผักกินในครอบครัวเหลือแบ่งขาย นำรายได้มาใช้จ่ายส่วนตัวจากที่ลูก ๆ ส่งให้ในแต่ละเดือน ก่อนหน้าไปฉีดวัคซีน สามีมีสภาพร่างกายแข็งแรงปกติ ไม่มีอาการป่วย ใดๆ และตลอดระยะเวลา 6 ปีไม่มีอาการป่วยและไม่เคยเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเลย เชื่อมั่นว่า สามีเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน และสิ่งที่เริ่มกังวลตอนนี้เพราะตนฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้วด้วย หลังจากที่สามีฉีด 6 วัน ล่าสุดรู้สึกปวดเมื่อยและตาพร่ามัว และยืนยันว่าจะไม่ไปฉีดเข็มที่สองแล้ว เพราะกลัวผลข้างเคียง
ด้าน นาง
ปริชาติ เพ็งสมมุติ อายุ 47 ปี บุตรสาวนาย
จำเริญ ผู้เสียชีวิตกล่าวพร้อมด้วยน้ำตาว่า ตนและญาติคาใจถึงสาเหตุการเสียชีวิตของพ่อ และในความรู้สึกของตน เชื่อว่า น่าจะมาจากการฉีดวัคซีนเพราะก่อนหน้านี้พ่อมีสภาพร่างกายที่แข็งแรงดีอยู่ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไม รัฐบาลไม่รับผิดชอบอย่างที่มี
นโยบาย รัฐเอาแต่รณรงค์ให้คนฉีดวัคซีน แต่เมื่อเกิดผลข้างเคียง กลับปฏิเสธ และส่วนใหญ่บอกว่า เสียชีวิตเพราะโรคประจำตัว ที่สำคัญหลังจากพ่อของตนเสียชีวิต คนในหมู่บ้านก็ไม่มีใครกล้าไปฉีดวัคซีน
JJNY : 5in1 ยิ่งลักษณ์หวังรบ.ใจกว้าง│เรียนออนไลน์ปัญหาอื้อ│สลด136แรงงานถูกทิ้ง│สามีเสียหลังฉีดวัคซีน│ดัชนีท่องเที่ยวร่วง
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Yingluck Shinawatra แนะรัฐบาลนำนโยบายแท็บเล็ตพีซีและการเรียนออนไลน์ มาใช้ในสถานศึกษาอย่างจริงจัง ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในตอนนี้ เพื่อพัฒนาตัวนักเรียน
โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้แชร์ลิงค์จากเฟซบุ๊ก “THINK คิด เพื่อ ไทย” ที่โพสต์เรื่อง “การเรียนออนไลน์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์แถลงนโยบายเอาไว้เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว !”
โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ระบุในเฟซบุ๊กของตัวเองว่า
“ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางทั่วโลกรวมถึงในบ้านเรา การปรับตัวเพื่อเรียนออนไลน์จึงมีความจำเป็นเพื่อเน้นความปลอดภัยจากการติดเชื้อและให้การเรียนการสอนของนักเรียนดำเนินไปได้โดยไม่ติดขัด แท็บเล็ตพีซีจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีในการเรียนรู้ แต่ยังเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการเรียนการสอนในปัจจุบัน โดยพัฒนาให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง รู้จักแสวงหาความรู้ และแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง พร้อมกับปรับบทบาทครูเป็นผู้อำนวยการสอนเท่านั้น
ดิฉันจึงหวังว่ารัฐบาลจะใจกว้างนำนโยบายแท็บเล็ตพีซีและการเรียนออนไลน์เข้ามาใช้ในสถานศึกษาอย่างจริงจังและลงทุนให้ทุกโรงเรียนของรัฐมีอุปกรณ์การเรียนการสอนทั้งครูผู้สอนและนักเรียนค่ะ “
"เรียนออนไลน์" พบปัญหาอื้อ เด็กซึมเศร้า พ่อแม่แบกหนี้หลังอาน ครูขาดอุปกรณ์!
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6490052
อรุณี เปิดคลับเฮาส์ถกเดือดครู-นักเรียนปมเรียนออนไลน์ ชี้กระทบทุกฝ่าย เด็กซึมเศร้า พ่อแม่แบกหนี้หลังอาน ครูขาดอุปกรณ์ จ่อดันชั้น อนุ กมธ. แก้ปัญหาต่อ
เมื่อวันที่ 4 ก.ค. น.ส.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย และที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการวิสามัญ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2565 ด้านการศึกษา เปิดคลับเฮาส์ในหัวข้อ “เปิดโรงเรียนไม่ได้ กระทบการศึกษายังไง” เมื่อวันที่ 4 ก.ค. โดยมีนักวิชาการ ครู นักเรียน และผู้สนใจร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สะท้อนปัญหา และทางออกจำนวนมาก
เช่น นายอรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ครูทิว-ธนวรรธน์ สุวรรณปาล ครูโรงเรียนวัดธาตุทอง ตัวแทนจากกลุ่มนักเรียนเลว ตัวแทนกลุ่มเด็ก 64 และนักเรียนจากสถานศึกษาหลายแห่ง พบว่าการเรียนออนไลน์ทำให้ทั้งครูนักเรียนและผู้ปกครองเกิดความเหนื่อยล้า เครียดสะสม เกิดภาวะซึมเศร้าจากการเรียนการสอน เกิดผลกระทบต่อเนื่องแบบลูกโซ่
โดยในส่วนของผู้เรียนพบว่ามีความไม่พร้อมของอุปกรณ์และสัญญาณอินเตอร์เน็ต เด็กถูกผลักภาระจนกระทบกับสุขภาพ การบ้านมากเกินไป เรียนหน้าจอนานจนเหนื่อยล้า ปวดหัว สายตาพร่ามัว เกิดภาวะเครียด เรียนได้ไม่เต็มที่ ในส่วนของผู้ปกครอง พบว่า ต้องแบกรับหนี้สินจากการจัดหาอุปกรณ์ แบ่งเวลาในการร่วมเรียนออนไลน์ไปพร้อมกับการทำงานหาเลี้ยงชีพ
ขณะที่ครูประสบปัญหาขาดอุปกรณ์เพื่อจัดการสอน ไม่มีงบประมาณสนับสนุน ครูต้องจัดหากันเอง ต้องเตรียมการสอนมากขึ้น ค้นหารูปแบบการสอนและเทคนิคที่จูงใจด้วยตัวเอง ถูกผลักเป็นเหยื่อรับบาป สังคมตราหน้าเพราะจัดการเรียนไม่ดี ภาระงานเพิ่มขึ้นจากนโยบายให้อิสระของกระทรวง แต่คำว่า อิสระ กลับกลายเป็นบ่วงที่ทำให้ราชการกลัว ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่กล้าปรับเปลี่ยน
น.ส.อรุณี กล่าวอีกว่า การจัดทำงบประมาณด้านการศึกษาปี 2565 นอกจากตัดลดงบประมาณในส่วนสำคัญลง ยังไม่มีการวางงบประมาณเพื่อสอดรับกับสถานการณ์การเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงที่เกิดโรคระบาด มากไปกว่านั้นคือกระทรวงศึกษาธิการกลับตั้งเป้ายกระดับ PISA หรือโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติให้เข้มข้นขึ้นในสถานการณ์นี้
ซึ่งสวนกระแสโลกที่แต่ละประเทศมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์เปราะบางให้มีคุณภาพ ไม่ทิ้งเด็ก ครู และผู้ปกครองไว้ข้างหลัง ซึ่งประเด็นเหล่านี้ตนจะนำไปผลักดันต่อในชั้นคณะอนุกรรมาธิการงบประมาณด้านการศึกษา ร่วมกับส.ส.รวมทั้งสมาชิกพรรคเพื่อไทยในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2565 ต่อไป
ไหนว่าช่วย! สลด 136 แรงงาน ถูกทิ้งวอนขอข้าวยื้อชีวิต หลังรัฐสั่งปิดแคมป์เกือบสัปดาห์
https://www.matichon.co.th/social/news_2811039
ไหนว่าช่วย! สลด 136แรงงาน ถูกทิ้งวอนขอข้าวยื้อชีวิต หลังรัฐสั่งปิดแคมป์เกือบสัปดาห์
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “อันปัน ค้า” ได้โพสต์ภาพแคมป์คนงานแห่งหนึ่งย่านพระราม 3 กรุงเทพฯ พบคนงาน 136 ชีวิต ร้องขออาหาร เนื่องจากไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาช่วยเหลือ
ทั้งนี้ผู้โพสต์ระบุว่า
“สวัสดีค่ะ ขออนุญาตขอความช่วยเหลือจากแคมป์คนงานในพื้นที่ย่านพระราม 3 ซอย 75 แยก 1 ติดทางด่วน ตอนนี้เราต้องการความช่วยเหลือ #แมส #ข้าวสาร #อาหารแห้ง #ไข่ #มาม่า #ปลากระป๋อง #ของสด #หมูไก่ผัก #น้ำดื่ม สบู่ ยาสีฟัน ผ้าอนามัย #นมผง #นมกล่อง #แพมเพิสให้เด็ก คนงานภายในแคมป์มี 136 คน เนื่องจากรัฐออกมาตการปิดแคมป์คนงาน โดยวันนี้เป็นวันที่ 6 แล้วยังไม่มีหน่วยงานไหนยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเลยค่ะ อะไรก็ได้ที่ประทังชีวิตต่อไปได้ขอบคุณค่ะ เบอร์ติดต่อ 091837xxxx แม่บ้านเภา เบอร์ติดต่อ 081141xxxx หัวหน้าอู๋ และยังมีแคมป์ที่ต้องการความช่วยเหลืออยู่ย่านทองหล่อที่มีเด็กเล็กเหมือนกัน ที่ห่างไกลชุมชน”
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1169320126901474&id=100014704938216
เมียคาใจสามีวัย 74 ปี ชาวพัทลุง เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนได้ 10 วัน ยืนยันก่อนหน้าร่างกายยังแข็งแรง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2810921
เมียคาใจ ลุงวัย 74 ปี ชาวพัทลุง เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนได้ 10 วัน ยืนยันก่อนหน้าร่างกายยังแข็งแรงช่วยงานก่อสร้างปลูกพืชผักได้ปกติ ข้องใจรัฐไม่รับผิดชอบ
วันที่ 4 กรกฎาคม 2564 นางสมศรี ขำแก้ว อายุ 71 ปี อยู่บ้านเลขที่ 131 / 2 หมู่ 8 ตำบลพนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง พร้อมบุตรสาวและญาติ ๆ ร้องขอความเป็นธรรมผ่านสื่อหลังคาใจสาเหตุการเสียชีวิตของนายจำเริญ ขำแก้ว อายุ 74 ปี สามี หลังจากที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 เข็มแรกได้เพียง 10วัน
นางสมศรี เล่าว่า นายจำเริญ ได้ลงทะเบียนหมอพร้อม เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ตามนโยบายรัฐบาล โดยไปฉีดวัคซีน เเอสตร้าเซเนก้า ที่โรงพยาบาลพัทลุง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมาหลังฉีด1 วัน นายจำเริญ ฯ มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ต่อมามีอาการไข้สูงติดต่อกัน 3 วัน หมอบอกให้กินยาพาราเพื่อลดไข้ พร้อมมีอาการไม่มีเรี่ยวแรง ทั้งที่ก่อนหน้าตลอดระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่ปี 2558 ที่นายจำเริญไปทำบอลลูน หัวใจมา ก็มีร่างกายปกติ ไม่เคยป่วย ไม่เคยไป รพ.และยังสามารถช่วยทำงานก่อสร้างหลานชาย และยังขุดดินยกร่องปลูกพืชผัก ได้ตามปกติ
จนกระทั่งมาฉีดวัคซีน สภาพร่างกายของลุงจำเริญก็เปลี่ยนไป โดยจะมีอาการอ่อนเพลียไม่มีแรง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ลุงจำเริญ บ่นกับญาติ ว่ารู้สึกผิดที่ไปฉีดวัคซีน ร่างกายตนเองไม่ดีเลย จนกระทั่งในช่วงค่ำวันที่ 20 มิถุนายน นายจำเริญ บอกนางสมศรี ภรรยา ว่า รู้สึกปวดบริเวณหน้าอกนางสมศรี จึงบอกให้นายจำเริญไปนอนพักผ่อน โดยแยกกันนอนคนละที่ จนกระทั่งตอนเช้านางสมศรี สังเกต นายจำเริญ ไม่ตื่น จึงให้หลานสาววัย 10 ขวบไปเรียกแต่พบว่าเสียชีวิต แล้ว
หลังเสียชีวิตญาติทำเรื่องขอเยียวยาไปยัง สปสช. แต่กลับได้รับคำตอบว่า ผู้ป่วยอายุ และมีโรคประจำตัว ทั้งเมื่อมีอาการไม่ไปหาหมอ ที่สำคัญไม่มีใบรับรองการแพทย์ว่ามีอาการแพ้ และไม่ได้ลงในหมอพร้อมว่ามีอาการอะไรบ้างหลังฉีด
นางสมศรี บอกอีกว่า ยังทำใจยอมรับไม่ได้กับการเสียชีวิตของผู้เป็นสามี สามีเป็นเสาหลักของครอบครัว ช่วยหลานทำงานก่อสร้าง ปลูกพืชผักกินในครอบครัวเหลือแบ่งขาย นำรายได้มาใช้จ่ายส่วนตัวจากที่ลูก ๆ ส่งให้ในแต่ละเดือน ก่อนหน้าไปฉีดวัคซีน สามีมีสภาพร่างกายแข็งแรงปกติ ไม่มีอาการป่วย ใดๆ และตลอดระยะเวลา 6 ปีไม่มีอาการป่วยและไม่เคยเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเลย เชื่อมั่นว่า สามีเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน และสิ่งที่เริ่มกังวลตอนนี้เพราะตนฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้วด้วย หลังจากที่สามีฉีด 6 วัน ล่าสุดรู้สึกปวดเมื่อยและตาพร่ามัว และยืนยันว่าจะไม่ไปฉีดเข็มที่สองแล้ว เพราะกลัวผลข้างเคียง
ด้าน นางปริชาติ เพ็งสมมุติ อายุ 47 ปี บุตรสาวนายจำเริญ ผู้เสียชีวิตกล่าวพร้อมด้วยน้ำตาว่า ตนและญาติคาใจถึงสาเหตุการเสียชีวิตของพ่อ และในความรู้สึกของตน เชื่อว่า น่าจะมาจากการฉีดวัคซีนเพราะก่อนหน้านี้พ่อมีสภาพร่างกายที่แข็งแรงดีอยู่ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไม รัฐบาลไม่รับผิดชอบอย่างที่มี
นโยบาย รัฐเอาแต่รณรงค์ให้คนฉีดวัคซีน แต่เมื่อเกิดผลข้างเคียง กลับปฏิเสธ และส่วนใหญ่บอกว่า เสียชีวิตเพราะโรคประจำตัว ที่สำคัญหลังจากพ่อของตนเสียชีวิต คนในหมู่บ้านก็ไม่มีใครกล้าไปฉีดวัคซีน