ทราบมาว่ามีกลุ่มที่ต้องการแก้ไขกฏหมายความเท่าเทียมกันทางเพศ โดยเฉพาะกฎหมายรับรองเพศที่สาม จึงอยากจะเสนอคำที่ใช้นำหน้าเพศต่างๆในประเทศไทยใหม่ทั้งหมดเพื่อความเท่าเทียมกันดังนี้
1.เพศชาย
เด็กชาย(ใช้ก่อนอายุ15ปี) - มานพ(15ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) - นาย(เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว)
2.เพศหญิง
เด็กหญิง(ใช้ก่อนอายุ15ปี) - นางสาว(15ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) - นาง(เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว)
3.เพศที่สาม
เด็กชายหรือเด็กหญิงตามอวัยวะเพศ(ใช้ก่อนอายุ15ปี) - ทวิ(15ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) - ตรี(เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว)
* แต่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบเพศจากนักจิตวิทยา และผู้ปกครองต้องยินยอม
จากการแก้กฎหมายคราวก่อนที่อนุญาตให้ผู้หญิงที่จดทะเบียนสมรสแล้วเลือกได้ว่าจะใช้คำนำหน้าว่านางสาวหรือนางก็ได้นั้น ไม่ได้แก้ปัญหาความเท่าเทียมกันระหว่างเพศได้เลย การจะแก้ปัญหานี้ได้ควรจะบัญญัติคำที่ระบุเพศในแต่ละสถานะให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนหรือเป็นช่องว่างในการนำไปใช้ในทางมิชอบ อีกทั้งภาษาไทยเรามีคำมากมายให้เลือกมาใช้ได้โดยที่ไม่กระทบกระเทือนจิตใจของทุกเพศ และไม่ซ้ำกับคำทั่วไปที่มีใช้กันอยู่
จึงอยากจะเสนอคำว่า
"มานพ" เพื่อใช้นำหน้าชื่อเพศชายที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส คำว่า มานพ มีความหมายถึงเพศชาย ชายหนุ่ม ตัวอย่างเช่น เด็กชายเก่งกาจ - มานพเก่งกาจ - นายเก่งกาจ ตามลำดับ
"ทวิ" เพื่อใช้นำหน้าชื่อเพศที่สาม ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส คำว่า ทวิ ความหมายทั่วไป หมายถึง สอง หรือต่างจากทั่วไป
มีการนำไปใช้เช่น ทวิภาคี หมายถึงเยาวชนที่เข้าร่วมฝึกอาชีพในโครงการอาชีวศึกษาที่มี 2 สถานภาพในบุคคลเดียวกัน คือ เป็นนักเรียน นักศึกษาในโรงเรียน และในขณะเดียวกันก็เป็นพนักงานฝึกอาชีพของสถานประกอบการด้วย
และมีความใกล้เคียงกับคำว่าสาวประเภทสอง ทวิ จึงพออนุมานและเข้าใจได้ว่าไม่ใช่เพศชาย หรือเพศหญิง
"ตรี" เพื่อใช้นำหน้าชื่อเพศที่สาม ที่ได้จดทะเบียนสมรสแล้ว คำว่า ตรี เหมาะที่จะนำมาใช้เพราะต่อเนื่องจากสถานะภาพ "ทวิ" ถ้าแต่งงานแล้วก็ควรเป็นตรี(อาจจำความหมายง่ายๆว่า ตีตราจองแล้ว หรือแต่งงานแล้วนั่นเอง)
เช่น เด็กชาย/เด็กหญิงวรารินทร์ - ทวิวรารินทร์ - ตรีวรารินทร์ ตามลำดับ
หากระบุคำนำหน้าเพศดังที่ได้เสนอนี้ จะเกิดความเสมอภาคในทุกเพศ ทุกสถานะ เป็นการรับรองการมีตัวตนและให้เกียรติเพศทุกเพศของมนุษยชนคนไทย
ขอเสนอ คำนำหน้าชื่อ เพศที่สาม LGBT และ ชาย หญิง
ทราบมาว่ามีกลุ่มที่ต้องการแก้ไขกฏหมายความเท่าเทียมกันทางเพศ โดยเฉพาะกฎหมายรับรองเพศที่สาม จึงอยากจะเสนอคำที่ใช้นำหน้าเพศต่างๆในประเทศไทยใหม่ทั้งหมดเพื่อความเท่าเทียมกันดังนี้
1.เพศชาย
เด็กชาย(ใช้ก่อนอายุ15ปี) - มานพ(15ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) - นาย(เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว)
2.เพศหญิง
เด็กหญิง(ใช้ก่อนอายุ15ปี) - นางสาว(15ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) - นาง(เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว)
3.เพศที่สาม
เด็กชายหรือเด็กหญิงตามอวัยวะเพศ(ใช้ก่อนอายุ15ปี) - ทวิ(15ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) - ตรี(เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว)
* แต่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบเพศจากนักจิตวิทยา และผู้ปกครองต้องยินยอม
จากการแก้กฎหมายคราวก่อนที่อนุญาตให้ผู้หญิงที่จดทะเบียนสมรสแล้วเลือกได้ว่าจะใช้คำนำหน้าว่านางสาวหรือนางก็ได้นั้น ไม่ได้แก้ปัญหาความเท่าเทียมกันระหว่างเพศได้เลย การจะแก้ปัญหานี้ได้ควรจะบัญญัติคำที่ระบุเพศในแต่ละสถานะให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนหรือเป็นช่องว่างในการนำไปใช้ในทางมิชอบ อีกทั้งภาษาไทยเรามีคำมากมายให้เลือกมาใช้ได้โดยที่ไม่กระทบกระเทือนจิตใจของทุกเพศ และไม่ซ้ำกับคำทั่วไปที่มีใช้กันอยู่
จึงอยากจะเสนอคำว่า
"มานพ" เพื่อใช้นำหน้าชื่อเพศชายที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส คำว่า มานพ มีความหมายถึงเพศชาย ชายหนุ่ม ตัวอย่างเช่น เด็กชายเก่งกาจ - มานพเก่งกาจ - นายเก่งกาจ ตามลำดับ
"ทวิ" เพื่อใช้นำหน้าชื่อเพศที่สาม ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส คำว่า ทวิ ความหมายทั่วไป หมายถึง สอง หรือต่างจากทั่วไป
มีการนำไปใช้เช่น ทวิภาคี หมายถึงเยาวชนที่เข้าร่วมฝึกอาชีพในโครงการอาชีวศึกษาที่มี 2 สถานภาพในบุคคลเดียวกัน คือ เป็นนักเรียน นักศึกษาในโรงเรียน และในขณะเดียวกันก็เป็นพนักงานฝึกอาชีพของสถานประกอบการด้วย
และมีความใกล้เคียงกับคำว่าสาวประเภทสอง ทวิ จึงพออนุมานและเข้าใจได้ว่าไม่ใช่เพศชาย หรือเพศหญิง
"ตรี" เพื่อใช้นำหน้าชื่อเพศที่สาม ที่ได้จดทะเบียนสมรสแล้ว คำว่า ตรี เหมาะที่จะนำมาใช้เพราะต่อเนื่องจากสถานะภาพ "ทวิ" ถ้าแต่งงานแล้วก็ควรเป็นตรี(อาจจำความหมายง่ายๆว่า ตีตราจองแล้ว หรือแต่งงานแล้วนั่นเอง)
เช่น เด็กชาย/เด็กหญิงวรารินทร์ - ทวิวรารินทร์ - ตรีวรารินทร์ ตามลำดับ
หากระบุคำนำหน้าเพศดังที่ได้เสนอนี้ จะเกิดความเสมอภาคในทุกเพศ ทุกสถานะ เป็นการรับรองการมีตัวตนและให้เกียรติเพศทุกเพศของมนุษยชนคนไทย