[24/06/64] ข่าวรอบโควิด: รพ.จุฬาปิดคัดกรองโควิด 4 วัน, โควิดในประเทศที่รับวัคซีนจากจีน, Long Covid

มาดูกันครับ เริ่มพิมพ์ตอน 22.55 น. จะจบตอนกี่โมง จะพยายามรายงานให้กระชับและได้ใจความครับ
 
1.สรุปโควิดรายวัน
- ผู้ติดเชื้อเพิ่ม 4,108 คน
- เสียชีวิตเพิ่ม 31 คน (กทม. 28, อยุธยา 2, ลพบุรี 1)
- อยู่ระหว่างรักษาตัว 39,517 คน 
- อาการหนัก 1,564 คน
- ใส่เครื่องช่วยหายใจ 445 คน

2. คลัสเตอร์ใหม่
- กทม: 1) แคมป์ก่อสร้าง ซอยรามคำแหง 7 เขตบางกระปิ
           2) แคป์ก่อสร้าง สีลม ซอย 9 เขตบางรัก
           3) บริษัทผลิดหมวกกันน็อก เขตบางขุนเทียน
- สมุทรสาคร: 1) โรงงานผลิตภัณฑ์ยาง อำเภอเมือง
                    2) โรงงานกุ้ง อำเภอเมือง
- นนทบุรี: 1) โรงงานสาหร่ายแปรรูป อำเภอปากเกร็ด
- ปทุมธานี: 1) บ้านเด็กอ่อนรังสิต อำเภอธัญบุรี (น่าเป็นห่วง เพราะผู้ป่วยคือเด็กอายุ 3-6 ปี 33 คน ผู้ดูแล 6 คน)
ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

3. รพ.จุฬาปิดคัดกรองโควิด 24-27 มิ.ย.
1) หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาฯ โพสต์เฟซบุ๊ค สรุปได้ดังนี้
- ปิดคัดกรองรพ. จุฬา 3 วัน เพราะไม่มีเตียงรับ และเตียง ICU แน่นแทบทุกรพ.ในกทม. ผู้ป่วยมาฉุกเฉินจึงมักมีอาการหนัก แต่ไม่มีเตียงให้
- ควรเปิดรพ.สนามสีแดง (อาการหนัก - สอดท่อเครื่องช่วยหายใจ) แต่ปัญหาตือไม่มีหมอ/พยาบาล/เจ้าหน้าที่ทำตรงนี้
- จังหวัดอื่นๆเตรียมตัวรับเหตุการณ์แบบนี้ได้ในอีกไม่นาน
- ตัดกรองทั้งเชิงรับ-รุก ป้องกันการระบาดไม่ได้
- วัคซีนที่ฉีด ฉีดแล้วเห็นว่าติดได้ ถึงน้อยลง แต่ติดแล้วแพร่ต่อได้สูงมาก
- ควรเรียนรู้จากความผิดพลาด ไม่ใช่หาแต่ความสำเร็จ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

2) อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาฯ โพสต์เฟซบุ๊ก สรุปได้ดังนี้
- เชื่อว่ายอดติดเชื้อใหม่มากกว่า 4,000 คน เพราะบางรพ.ไม่กล้าตรวจ เนื่องจากต้องหาเตียงให้ ทั้งๆที่ในรพ.ไม่มีเตียงให้แล้ว กลายเป็น"ผึ้งแตกรัง"
- ทำไมไม่หาวัคซีนอย่าง Pfizer/Moderna/JJ
- เนื้อหาสุดท้ายของโพสต์ สรุปไว้ว่า “ทีมบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้ากำลังต่อสู้สงครามประหนึ่งชาวบ้านบางระจัน ที่ใส่ชุดตะเบงมานและเอาจอบ ขวาน มีด มาสู้ศึก ขอปืนใหญ่ไปแต่ไม่ได้มา ได้แต่ปืนแก๊บ และตอนนี้พยายามหล่อปืน ตีดาบใช้ตามมีตามเกิด”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

3) รมว.สาธารณสุขกล่าวถึงเนื้อหาเรื่องโควิดสรุปได้ดังนี้
- ตั้งรพ.สนามสีเหลือง (รพ.บุษราคัม) อาจะเปิดในพื้นที่สี่มุมเมือง รองรับผู้ป่วยสีเหลืองไม่ให้กลายเป็นสีแดงมาขึ้น
- ตั้งได้ใน 7 วัน มีเครื่องช่วยหายใจ และยา ยกเว้นเพียง ICU

ที่มาของหัวข้อ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

4. ผลวิจัยฉีด sinovac 2 เข็ม ยับยั้งเชื้อโควิด 19 ในห้องทดลองได้ 95% (แต่ไม่ได้ระบุชนิดของการกลายพันธุ์)
ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

5. นายกสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ออกประกาศ 5 ข้อ รับมือโควิด กทม.- ปริมณฑล
1) เร่งรัดฉีดและหาวัคซีนโควิด 19 เพื่อลดความรุนแรงและเสียชีวิต
2) รับวัคซีนแล้วยังต้องรักษามาตรการป้องเข้มงวดต่อไป
3) ให้เจ้าของกิจการ/คอนโด ให้ทำแบบสอบถามไทยเซฟไทยของกรมอนามัย[1]
4) ทำสุ่มตรวจเผ้าระวัง ในพื้นที่ยังไม่ระบาด อย่างน้อยเดือนละครั้ง/ไม่น้อยกว่า 75 คน/แห่ง และถ้าพบติดเชื้อ>2 ให้ทำ active case finding
5) พื้นที่ กทม.และปริมณฑล จัดทีมหน่วยสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว เขตละ 3 ทีม ทีมละ 4 คน หากพบการระบาด สอบสวนโรคให้เสร็จใน 24 ชม.

 *[1] เป็นแบบประเมินความเสี่ยงด้วยตัวเอง มีหัวข้อความเสี่ยงในจังหวัดสีต่างๆ/สัมผัสผู้ป่วย/ผลตรวจจากรพ.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

6. ปรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยสีต่างๆ
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวไว้ดังนี้
- ผู้ป่วยสีเขียว นอนรพ. จาก 14 วัน -> 10 วันในกรณีการบริหารเตียงมีปัญหา
- ปรับแผนบริหารการจัดการเตียงคาดว่าได้ผลสรุปในพรุ่งนี้

ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

หมวดต่างประเทศ

7. กรณีศึกษาในโลกจริง หลายประเทศใช้วัคซีนจีนสู้โควิด-19 แต่การระบาดยังเลวร้าย
- ชิลี, เกาะเซเชลส์, บาห์เรน และมองโกเลีย ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว 50-68% ของประชากร ซึ่งสูงกว่าสหรัฐฯ แต่ข้อมูล Our World in Data พบว่า ทั้ง 4 ประเทศนี้ ติด 10 อันดับแรก และทั้ง 4 ประเทศได้รับวัคซีน Sinopharm และ Sinovac Biotech
- มองโกเลียวัคซีน Sinopharm หลายล้านโดส ประชาชนได้รับวัคซีน 52% ของประชากร แต่เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,400 คน ซึ่งเพิ่มขึ้น 4 เท่าจากเดือนก่อน
- เทียบกับสหรัฐฯ มีประชากรที่ได้รับวัคซีนครบโดสราว 45% ซึ่งส่วนใหญ่ใช้วัคซีนของ Pfizer-BioNTech และ Moderna พบว่าติดเชื้อรายใหม่ลดลง 94% ใน 6 เดือนที่ผ่านมา
- อิสราเอลใช้ pfizer เป็นหลักเละอัตราฉีดวัคซีนสูงเป็นอันดับ 2 พบติดเชื้อใหม่รายวันอยู่ที่ 4.95 คน/ 1 ล้านคน เทียบกับเกาะเชเชลส์ อัตราการฉีดวัคซีนสูงเป็นอันดับ 1 แต่พบติดเชื้อรายวันอยู่ที่ 716 คน/ 1 ล้านคน
- เกิดความเหลื่อมล้ำ 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มประเทศร่ำรวยใช้ Pfizer/ Moderna เป็นหลัก 2) กลุ่มประเทศยากจนไม่สามารถฉีดวัคซีนให้คนกลุ่มใหญ่ได้ 3) กลุ่มที่ได้วัคซีนจากจีนและฉีดวัคซีนได้ครบ แต่ป้องกันได้แค่บางส่วน
- บาห์เรน และสหรัฐอารับเอมิเรตส์ เป็น 2 ประเทศที่ใช้วัคซีน Sinopharm เป็นกรณีฉุกเฉิน และรัฐบาลบาห์เรนยืนยันว่า การฉีดวัคซีนในประเทศประสบความสำเร็จ แต่ยังพบการผู้ป่วยใหม่อยู่ต่อเนื่อง และเดือนที่แล้วทั้ง 2 ประเทศ ประกาศอาจะเสนอให้ฉีด เข็ม 3 เป็น Pfizer หรือ Sinopharm

ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

8. สิงคโปร์เตรียมแผนเปิดประเทศ เร่งเดินหน้าฉีดวัคซีน ตั้งเป้า 2 ใน 3 ของพลเมือง ก่อนวันชาติ 9 สิงหาคมนี้
- นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ระบุว่า เดินหน้าฉีดซีนต้านโควิด ให้กับพลเมืองเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้สิงคโปร์กลับมาเปิดประเทศได้อีกครั้ง รวมถึงผ่อนคลายมาตรการรับมือโควิด-19 ต่างๆ ทั้งการสวม mask, social distancing และมาตรการจำกัดการเดินทาง
- ฉีดวัคซีนเป็นประเทศแรกในอาเซียน พลเมืองราว 52% รับวัคซีน 1 โดส, 36% ของพลเมืองเข้ารับวัคซีนครบโดส
ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

9. อิสราเอลเผยยอดติดเชื้อโควิด-19 พุ่ง 125 รายในวันเดียว สูงสุดในรอบหลายเดือน
- สาเหตุมาจากผู้เดินทางจากต่างประเทศ แล้วไม่กักตัว
- ผู้ฝ่าฝืนกฎระเบียบการกักตัวถูกปรับเป็นเงิน 5,000 นิวเชเกลอิสราเอล (NIS) หรือประมาณ 49,000 บาท
- เตรียมปรับเงินอีก 5,000 นิวเชเกลอิสราเอล สำหรับผู้ที่เดินทางไป 6 ประเทศที่มีการระบาดรุนแรง คือ รัสเซีย อินเดีย เม็กซิโก บราซิล อาร์เจนตินา และแอฟริกาใต้
- รัฐบาลอิสราเอลได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการกักตัว ใครก็ตามที่ติดต่อใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ Delta เป็นเวลา 14 วัน แม้ว่าเคยรับวัคซีนหรือหายป่วยจากติดเชื้อโควิด-19 แล้ว
- ประชาชนได้รับวัคซีน Pfizer ครบทั้ง 2 โดสมากกว่า 55% จากประชากรราว 9.3 ล้านคน และได้เริ่มมาตรการป้องกันส่วนใหญ่ เพื่อพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

10. ผู้เชี่ยวชาญคาด ผู้ติดโควิด-19 สายพันธ์ุเดลตา จะเพิ่มเป็น 90% ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ในยุโรป ภายในสิงหาคมนี้
- ผู้เชี่ยวชาญประจำศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งยุโรป (ECDC) คาดการณ์ว่า สายพันธ์ุ Delta แพร่กระจายเชื้อได้ดีกว่า สายพันธ์ุ Alpha ที่แพร่ระบาดขณะนี้ราว 40-60% และเชื้อสายพันธุ์ Delta มีโอกาสติดเชื้อสูงขึ้น ส่งผลให้หลายรัฐบาลกังวลต่อสถานการณ์แพร่ระบาดในประเทศ จึงเดินหน้าฉีดวัคซีนห้กับประชาชนจำนวนมากเร็วที่สุด
- เบื้องต้น ECDC เผยว่า พลเมืองยุโรปที่อายุมากกว่า 80 ปีราว 30% และอายุมากกว่า 60 ปีกว่า 40% ยังไม่ได้เข้ารับวัคซีนครบ 2 โดส
- ECDC ระบุว่า วัคซีนจาก Pfizer และ AstraZeneca ยังมีประสิทธิภาพสูงในการต้านเชื้อกลายพันธ์ุ รวมถึงลดโอกาสนอนโรงพยาบาลเนื่องจากติดเชื้อสายพันธ์ุเดลตาได้สูงกว่า 90% 

ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

11. ผลวิจัย ชาวอังกฤษราว 2 ล้านคน พบอาการเรื้อรังหลังการติดเชื้อโควิด -19 หรือเรียกว่า "Long Covid"
- ภาวะ Long Covid เป็นปรากฎการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้น และไม่เข้าใจภาวะนี้ รวมถึงไม่มีคำนิยาม
- ภาวะนี้เกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อ Covid ซึ่งมีอาการ เพลีย, ไอ, แน่นหน้าอก, ปวดหัว และปวดกล้ามเนื้อ
- ผลการศึกษาวิจัย ชื่อว่า Real Assessment of Community Transmission 2 (REACT-2)
- สำรวจประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 508,707 คน ระหว่างเดือน ก.ย. 2020 - ก.พ. 2021
- ใช้วิธีสุ่มถามผู้ที่มีผลตรวจเลือดว่าติดเชื้อ หรือสงสัยว่าติดเชื้อ ถามถึงอาการและระยะเวลาของ Long Covid ที่มีถึง 29 อาการ(ในบทความไม่ได้ระบุ)
- จากการศึกษาพบข้อมูลดังนี้
   1) ผู้ป่วย 37% ที่บอกว่าเคยติดเชื้อโควิด มีอาการอย่างน้อย 1 อย่าง ที่มีอาการนานถึง 12 สัปดาห์หรือมากกว่า
   2) ผู้ป่วยเกือบ 15% มีอาการอย่างน้อย 3 อย่างหรือมากกว่า เป็นเวลาอย่างน้อย 12 สัปดาห์
   3) ผู้หญิงพบอาการมากกว่า และอาการมากขึ้นตามอายุที่สูงขึ้น
   4) ผู้ที่น้ำหนักเกิน, สูบบุหรี่, รายได้น้อย, มีโรคเรื้อรัง และนอนรพ.จากโควิด พบความเกี่ยวข้องว่า่ มีโอกาสสูงที่พบภาวะนี้
   5) อาการเหนื่อน เป็นอาการที่พบมากที่สุด ส่วนผู้ป่วยติดเชื้อโควิดและมีอาการหนัก พบอาการหายใจลำบากเป็นอาการเด่น
- ผู้วิจัยยังไม่ได้เปรียบเทียบผลกับกลุ่มไม่เคยติดเชื้อ เพื่อเปรียบภาวะนี้ว่าเกิดจากโรคอื่นหรือสาเหตุอื่นหรือไม่ และต้องศึกษาอีกจำนวนมากเพื่อทำความเข้าใจ
- ผู้วิจัยชี้ว่า ไม่มีวิธีวัดความรุนแรงและช่วงอาการต่าง เช่นบางคนมีอาการน้อยและเป็นต่อเนื่อง จึงไม่คิดว่าตัวเองมี Long Covid
* การศึกษานี้ช่วยให้เห็นภาพชัดขึ้นของอาการเรื้อรังหลังการติดเชื้อโควิด
* ผู้วิจัยระบุว่า ภาวะ Long Covid ยังเข้าใจกันน้อย แต่เชื่อวาการศึกษานี้ช่วยระบุและจัดการกับภาวะนี้ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการศึกษานี้และการศึกษาอื่นๆ อาจมีผลต่อผู้คนนับล้านใน UK

**เนื่องจากอ่านบทความภาษาไทยค่อนข้างไม่เข้าใจ จึงค้นหาลิ้งค์ต้นทางและแปลด้วยความง่วงของจขกท.เอง ส่วนมี * หน้าประโยค คือแปลลวกน้ำร้อน 3 วิ
ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ข่าววันนี้ค่อนข้างเห็นความลำบากของบุคคลากรการแพทย์ และหน่วยงานต่างๆที่พยายามช่วยเหลือออกมาตรการต่างๆ และข่าวของประเทศอื่นๆที่ประสบปัญหาคล้ายกับประเทศเรา หวังว่าผู้อ่าน อ่านแล้วคงเข้าใจสถานการณ์โควิดไม่มากก็น้อยครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่