รับไม่ได้!จี้รัฐแก้ปัญหาเตียงไม่พอ ต้องนอนสนามหญ้า
https://www.dailynews.co.th/politics/851562
พท.วอนรัฐแก้ปัญหาเตียงไม่พอ หลังพบผู้ติดเชื้อโควิดแฟลตดินแดง กางเต็นท์นอนสนามหญ้าระหว่างรอส่งตัวไปรักษา
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. นาย
วิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานโซน 3 ทีมผู้สมัคร ส.ก. พรรคเพื่อไทย (พท.) เปิดเผยว่า หลังจาก ศบค. ออกมายอมรับว่าตอนนี้ระบบสาธารณสุขไทยตึงเครียด ทุกคนต้องช่วยกันลดยอดผู้ติดเชื้อใหม่ ได้กระทบมาถึงกลุ่มผู้อาศัยในแฟลตดินแดงแล้ว โดยพบว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 7 ราย ซึ่งได้พยายามแจ้งไปยังสายด่วน 1668 กรมการแพทย์ และสายด่วนหมายเลข 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติแล้ว แต่ได้รับการแจ้งว่าให้รอกักตัวอยู่บ้าน ผู้ติดเชื้อโควิดเกรงว่าตนเองจะแพร่เชื้อให้คนในครอบครัว จึงได้พากันย้ายลงมากางเต็นท์นอนที่สนามหญ้าหน้าแฟลต พร้อมกั้นเชือกอาณาเขตให้คนในชุมชนทราบ จากนั้นเจ้าหน้าที่การเคหะฯ ได้ประสานงานขอให้เก็บเต็นท์และย้ายผู้ป่วยขึ้นไปอยู่บนแฟลตชั้น 2 ที่ว่างอยู่แทน และพยายามประสานรถพยาบาล จนในที่สุดก็สามารถหาเตียงในโรงพยาบาล และพาผู้ติดเชื้อทั้ง 7 คน ไปรับการรักษาตามขั้นตอนได้
นาย
วิชาญ กล่าวต่อว่า สถานการณ์การส่งตัวผู้ติดเชื้อในขณะนี้น่าเป็นห่วงมาก โดยสัปดาห์ที่ผ่านมาได้รับรายงานว่า แทบทุกเขตในกรุงเทพมหานคร พบเคสระบาดภายในครอบครัวโดยเริ่มจากผู้ติดเชื้อ 1 คน แพร่เชื้อให้ทุกคนในบ้าน กลายเป็นติดเชื้อยกบ้าน ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการต้องรอเตียง หากไม่รีบแก้ปัญหาแยกผู้ติดเชื้อออกจากชุมชนให้เร็วที่สุด การระบาดจะลุกลามจนเกินความสามารถของระบบสาธารณสุขไทยจะรับมือไหว.
เตียง รพ.ในเขตกทม. น่าห่วง! เหลือเตียงรับผู้ป่วยโควิด-19 ระดับวิกฤต 20 เตียง
https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/149988
กรมการแพทย์ เผย สถานการณ์เตียงในเขตกทม. น่าเป็นห่วง เหลือเตียงรับผู้ป่วยโควิด-19 ระดับวิกฤต 20 เตียง อาการไม่รุนแรง (ระดับสีเหลือง) เหลือ 300 เตียง
นพ.
สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในเขต กทม. และปริมณฑล ผู้ป่วยใหม่จำนวนมากส่งผลต่อสถานการณ์เตียงในโรงพยาบาล
โดยข้อมูลวันที่ 21 มิ.ย. 64 ขณะนี้เตียงในสถานพยาบาล ภาครัฐ ผู้ป่วยโควิด สีแดง (อาการหนักจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ) มีจำนวนครองเตียงอยู่ที่ 409 ราย เหลือเตียงสำหรับการรองรับผู้ป่วยโควิดสีแดงเพียงประมาณ 20 เตียงเท่านั้น ซึ่งต้องเก็บไว้สำหรับรองรับผู้ป่วยโควิดที่มีภาวะฉุกเฉินหรือต้องรับการผ่าตัดหรือการช่วยเหลือเร่งด่วน
ขณะที่ผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเหลืองมีจำนวนครองเตียงอยู่ที่ 3,937 ราย เหลือเตียงสำหรับการรองรับผู้ป่วยโควิดสีเหลืองอีกประมาณ 300 รายเท่านั้น
ทั้งที่กลุ่มผู้ป่วย สีเหลือง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอาการปานกลาง หรือ มีปัจจัยเสี่ยงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มเติม มีความต้องการเตียงในกลุ่มนี้สูงขึ้น
จากสถานการณ์ที่จำนวนเตียงเหลือน้อยในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อการประสานงานผ่านระบบจัดหาเตียง 1668 มีความล่าช้าบ้าง เนื่องจากต้องบริหารเตียงที่เหลืออยู่ก่อนจึงจะสามารถรับผู้ป่วยรายใหม่ได้ ทำให้สถานการณ์เตียงโรคโควิด 19 ในเขตกทม. ขณะนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วงอย่างมาก แต่ขอยืนยันว่าทุกภาคส่วนได้ร่วมมือทำงานอย่างบูรณาการ เพื่อให้ผู้ป่วยโควิด 19 ได้รับการรักษาอย่างเร็วที่สุด
ทั้งนี้ ระดับสีของผู้ป่วยโควิด-19 แบ่งเป็น
“กลุ่มสีเขียว” ส่วนใหญ่ส่งเข้าโรงพยาบาล (รพ.) สนาม และฮอสพิเทล (Hospitel) ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง ผื่นขึ้นถ่ายเหลว
“กลุ่มสีเหลือง” ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เป็นกลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีความเสี่ยงหรือมีโรคร่วมที่สำคัญ เช่น
1.อายุมากกว่า 60 ปี
2.โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (รวมโรคปอดอื่นๆ)
3.โรคไตเรื้อรัง
4 โรคหัวใจและหลอดเลือด (รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด)
5.โรคหลอดเลือดสมอง
6.เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
7.ภาวะอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม
8.ตับแข็ง
และ 9.ภูมิคุ้มกันต่ำ (เซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 1,000 cell/mms)
“กลุ่มสีแดง” ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก เอ็กซเรย์ พบปอดอักเสบรุนแรง มีภาวะปอดบวม (ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือ ความอิ่มตัวของเลือดลดลงมากกว่า 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกหลังออกแรง (Exercise – induced Hyoixemia)
‘สหภาพคนทำงาน’ ร้อง ‘นายกฯ’ จ่ายชดเชยทุกกลุ่มอาชีพ จนกว่าจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2788875
‘สหภาพคนทำงาน’ ร้อง ‘นายกฯ’ จ่ายชดเชยทุกกลุ่มอาชีพ จนกว่าจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล นาย
ฉัตรชัย พุ่มพวง ตัวแทนสหภาพคนทำงานยื่นหนังสือถึง พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 เรียกร้องให้การพิจารณาแก้ไขร่างพระราชบัญญัติงบประมาณปี 2565 นำมาใช้เพื่อลดภาระความเดือดร้อนของประชาชนและกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด โควิด- 19
โดยเห็นว่า รัฐบาลจะต้องพิจารณาปรับลดงบประมาณส่วนที่ไม่จำเป็น เพื่อนำมาชดเชยประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้เพียงพอและครอบคลุมทุกกลุ่มคนทำงานที่อาศัยอยู่ในประเทศ โดยเสนอให้ชดเชยรายได้พื้นฐานแก่แรงงานทุกคนในประเทศตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป จนกว่าจะยกเลิกการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และชดเชยรายได้คนทำงานที่ต้องหยุดตามมาตรการของรัฐ ทั้งการปิดชั่วคราว และขาดรายได้จากการเลิกจ้างงาน ทั้งแรงงานสัญชาติไทยและแรงงานข้ามชาติ รวมไปถึงคนทำงานไร้สัญชาติ
นอกจากนี้ยังเสนอชดเชยรายได้สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 กรณีนายจ้างสั่งหยุดงานชั่วคราวโดยไม่ใช่เหตุสุดวิสัย โดยให้รัฐบาลจ่ายเงินส่วนต่างให้แก่ลูกจ้างอีกร้อยละ 25 ชดเชยเงินสมทบสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 โดยรัฐต้องสมทบเงินทุนเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้ประกันตน เต็มอัตรา เพื่อไม่ให้กระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน
พร้อมให้ชดเชยเงินสมทบในกลุ่มแรงงานภาคการเกษตรกลุ่มคนทำงานอิสระและกลุ่มคนทำงานกลางคืนที่ไม่ได้อยู่ในหลักประกันสังคม และชดเชยเงินสมทบแก่กลุ่มธุรกิจส่งอาหาร ส่งพัสดุ พนักงานทำความสะอาด ชดเชยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขอใบอนุญาต หรือดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตทํางานวีซ่า การตรวจสุขภาพและค่าธรรมเนียมอื่นของแรงงานข้ามชาติ รวมไปถึงชดเชยการพักหนี้กองทุนเพื่อการศึกษาหรือกยศ. ชดเชยการพักหนี้ให้กับประชาชนอย่างน้อย 1 ปี และชดเชยค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็ก และการศึกษาของเด็กในครัวเรือนแบบทั่วหน้าและมีมาตรการพิเศษสำหรับบิดามารดาที่ต้องเลี้ยงดูบุตรหรือผู้สูงอายุแต่เพียงลำพัง และชดเชยรวมไปถึงควบคุมราคาสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน
JJNY : เตียงไม่พอ ต้องนอนสนามหญ้า│เตียงรพ.เขตกทม.น่าห่วง!│‘สหภาพคนทำงาน’ร้องจ่ายชดเชย│“หมอธีระ”เตือนเปิดปท. ระลอกสี่
https://www.dailynews.co.th/politics/851562
พท.วอนรัฐแก้ปัญหาเตียงไม่พอ หลังพบผู้ติดเชื้อโควิดแฟลตดินแดง กางเต็นท์นอนสนามหญ้าระหว่างรอส่งตัวไปรักษา
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานโซน 3 ทีมผู้สมัคร ส.ก. พรรคเพื่อไทย (พท.) เปิดเผยว่า หลังจาก ศบค. ออกมายอมรับว่าตอนนี้ระบบสาธารณสุขไทยตึงเครียด ทุกคนต้องช่วยกันลดยอดผู้ติดเชื้อใหม่ ได้กระทบมาถึงกลุ่มผู้อาศัยในแฟลตดินแดงแล้ว โดยพบว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 7 ราย ซึ่งได้พยายามแจ้งไปยังสายด่วน 1668 กรมการแพทย์ และสายด่วนหมายเลข 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติแล้ว แต่ได้รับการแจ้งว่าให้รอกักตัวอยู่บ้าน ผู้ติดเชื้อโควิดเกรงว่าตนเองจะแพร่เชื้อให้คนในครอบครัว จึงได้พากันย้ายลงมากางเต็นท์นอนที่สนามหญ้าหน้าแฟลต พร้อมกั้นเชือกอาณาเขตให้คนในชุมชนทราบ จากนั้นเจ้าหน้าที่การเคหะฯ ได้ประสานงานขอให้เก็บเต็นท์และย้ายผู้ป่วยขึ้นไปอยู่บนแฟลตชั้น 2 ที่ว่างอยู่แทน และพยายามประสานรถพยาบาล จนในที่สุดก็สามารถหาเตียงในโรงพยาบาล และพาผู้ติดเชื้อทั้ง 7 คน ไปรับการรักษาตามขั้นตอนได้
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า สถานการณ์การส่งตัวผู้ติดเชื้อในขณะนี้น่าเป็นห่วงมาก โดยสัปดาห์ที่ผ่านมาได้รับรายงานว่า แทบทุกเขตในกรุงเทพมหานคร พบเคสระบาดภายในครอบครัวโดยเริ่มจากผู้ติดเชื้อ 1 คน แพร่เชื้อให้ทุกคนในบ้าน กลายเป็นติดเชื้อยกบ้าน ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการต้องรอเตียง หากไม่รีบแก้ปัญหาแยกผู้ติดเชื้อออกจากชุมชนให้เร็วที่สุด การระบาดจะลุกลามจนเกินความสามารถของระบบสาธารณสุขไทยจะรับมือไหว.
เตียง รพ.ในเขตกทม. น่าห่วง! เหลือเตียงรับผู้ป่วยโควิด-19 ระดับวิกฤต 20 เตียง
https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/149988
กรมการแพทย์ เผย สถานการณ์เตียงในเขตกทม. น่าเป็นห่วง เหลือเตียงรับผู้ป่วยโควิด-19 ระดับวิกฤต 20 เตียง อาการไม่รุนแรง (ระดับสีเหลือง) เหลือ 300 เตียง
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในเขต กทม. และปริมณฑล ผู้ป่วยใหม่จำนวนมากส่งผลต่อสถานการณ์เตียงในโรงพยาบาล
โดยข้อมูลวันที่ 21 มิ.ย. 64 ขณะนี้เตียงในสถานพยาบาล ภาครัฐ ผู้ป่วยโควิด สีแดง (อาการหนักจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ) มีจำนวนครองเตียงอยู่ที่ 409 ราย เหลือเตียงสำหรับการรองรับผู้ป่วยโควิดสีแดงเพียงประมาณ 20 เตียงเท่านั้น ซึ่งต้องเก็บไว้สำหรับรองรับผู้ป่วยโควิดที่มีภาวะฉุกเฉินหรือต้องรับการผ่าตัดหรือการช่วยเหลือเร่งด่วน
ขณะที่ผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเหลืองมีจำนวนครองเตียงอยู่ที่ 3,937 ราย เหลือเตียงสำหรับการรองรับผู้ป่วยโควิดสีเหลืองอีกประมาณ 300 รายเท่านั้น
ทั้งที่กลุ่มผู้ป่วย สีเหลือง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอาการปานกลาง หรือ มีปัจจัยเสี่ยงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มเติม มีความต้องการเตียงในกลุ่มนี้สูงขึ้น
จากสถานการณ์ที่จำนวนเตียงเหลือน้อยในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อการประสานงานผ่านระบบจัดหาเตียง 1668 มีความล่าช้าบ้าง เนื่องจากต้องบริหารเตียงที่เหลืออยู่ก่อนจึงจะสามารถรับผู้ป่วยรายใหม่ได้ ทำให้สถานการณ์เตียงโรคโควิด 19 ในเขตกทม. ขณะนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วงอย่างมาก แต่ขอยืนยันว่าทุกภาคส่วนได้ร่วมมือทำงานอย่างบูรณาการ เพื่อให้ผู้ป่วยโควิด 19 ได้รับการรักษาอย่างเร็วที่สุด
ทั้งนี้ ระดับสีของผู้ป่วยโควิด-19 แบ่งเป็น
“กลุ่มสีเขียว” ส่วนใหญ่ส่งเข้าโรงพยาบาล (รพ.) สนาม และฮอสพิเทล (Hospitel) ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง ผื่นขึ้นถ่ายเหลว
“กลุ่มสีเหลือง” ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เป็นกลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีความเสี่ยงหรือมีโรคร่วมที่สำคัญ เช่น
1.อายุมากกว่า 60 ปี
2.โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (รวมโรคปอดอื่นๆ)
3.โรคไตเรื้อรัง
4 โรคหัวใจและหลอดเลือด (รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด)
5.โรคหลอดเลือดสมอง
6.เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
7.ภาวะอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม
8.ตับแข็ง
และ 9.ภูมิคุ้มกันต่ำ (เซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 1,000 cell/mms)
“กลุ่มสีแดง” ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก เอ็กซเรย์ พบปอดอักเสบรุนแรง มีภาวะปอดบวม (ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือ ความอิ่มตัวของเลือดลดลงมากกว่า 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกหลังออกแรง (Exercise – induced Hyoixemia)
‘สหภาพคนทำงาน’ ร้อง ‘นายกฯ’ จ่ายชดเชยทุกกลุ่มอาชีพ จนกว่าจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2788875
‘สหภาพคนทำงาน’ ร้อง ‘นายกฯ’ จ่ายชดเชยทุกกลุ่มอาชีพ จนกว่าจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล นายฉัตรชัย พุ่มพวง ตัวแทนสหภาพคนทำงานยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 เรียกร้องให้การพิจารณาแก้ไขร่างพระราชบัญญัติงบประมาณปี 2565 นำมาใช้เพื่อลดภาระความเดือดร้อนของประชาชนและกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด โควิด- 19
โดยเห็นว่า รัฐบาลจะต้องพิจารณาปรับลดงบประมาณส่วนที่ไม่จำเป็น เพื่อนำมาชดเชยประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้เพียงพอและครอบคลุมทุกกลุ่มคนทำงานที่อาศัยอยู่ในประเทศ โดยเสนอให้ชดเชยรายได้พื้นฐานแก่แรงงานทุกคนในประเทศตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป จนกว่าจะยกเลิกการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และชดเชยรายได้คนทำงานที่ต้องหยุดตามมาตรการของรัฐ ทั้งการปิดชั่วคราว และขาดรายได้จากการเลิกจ้างงาน ทั้งแรงงานสัญชาติไทยและแรงงานข้ามชาติ รวมไปถึงคนทำงานไร้สัญชาติ
นอกจากนี้ยังเสนอชดเชยรายได้สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 กรณีนายจ้างสั่งหยุดงานชั่วคราวโดยไม่ใช่เหตุสุดวิสัย โดยให้รัฐบาลจ่ายเงินส่วนต่างให้แก่ลูกจ้างอีกร้อยละ 25 ชดเชยเงินสมทบสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 โดยรัฐต้องสมทบเงินทุนเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้ประกันตน เต็มอัตรา เพื่อไม่ให้กระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน
พร้อมให้ชดเชยเงินสมทบในกลุ่มแรงงานภาคการเกษตรกลุ่มคนทำงานอิสระและกลุ่มคนทำงานกลางคืนที่ไม่ได้อยู่ในหลักประกันสังคม และชดเชยเงินสมทบแก่กลุ่มธุรกิจส่งอาหาร ส่งพัสดุ พนักงานทำความสะอาด ชดเชยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขอใบอนุญาต หรือดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตทํางานวีซ่า การตรวจสุขภาพและค่าธรรมเนียมอื่นของแรงงานข้ามชาติ รวมไปถึงชดเชยการพักหนี้กองทุนเพื่อการศึกษาหรือกยศ. ชดเชยการพักหนี้ให้กับประชาชนอย่างน้อย 1 ปี และชดเชยค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็ก และการศึกษาของเด็กในครัวเรือนแบบทั่วหน้าและมีมาตรการพิเศษสำหรับบิดามารดาที่ต้องเลี้ยงดูบุตรหรือผู้สูงอายุแต่เพียงลำพัง และชดเชยรวมไปถึงควบคุมราคาสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน