ปั่นจักรยานไปบ้านปุ่ง ถ่อแพแม่น้ำงาว เกือบออกแม่น้ำโขง สปป ลาว
ทริปนี้ไปมาตั้งแต่ 9-11 มค 2548 เลยเอามานั่งเขียนเป็นความทรงจำเล็กๆไว้เป็นที่ระลึก และเพื่อเพื่อนๆท่านใดอยากเที่ยวบ้างไว้เป็นข้อมูลครับ
*** รูปจะน้อย เพราะเป็นช่วงของกล้องดิจิตอลใหม่ๆ การ์ดผมมีไม่เยอะ
พิกัดต่างๆ
ตำมิละเกสท์เฮ้าส์
https://goo.gl/maps/QZRUcQ7agQyQnAHQ8
บ้านปุ่ง (ban paung)
20.397347320550097, 100.59266916091306
https://goo.gl/maps/VDVoeCxY4a7eDJoQ7
สะพานสุดทางถ่อแพ(ท่าขึ้นแพ)
20.36386042937264, 100.36844041557315
https://goo.gl/maps/mqk4X4u5b7km1TdEA
เส้นทางเดินทาง ด่านเชียงของ-บ้านปุ่ง (ban paung)
https://goo.gl/maps/AVn9AtfcYPKrAT4C6
ทริปนี้คมสันเป็นคนวางแผนและจัดการ พวกเรานั่งรถจาก กทม ไปยัง บ้านตำมิละ เกสฮ้าส์ เชียงของ (Baan Tammila Guesthouse Chiang Khong) อ.เชียงของ จ.เชียงราย
เชียงของ (คำเมือง: Lanna-Chiang Khong.png)[1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย
ความเป็นมาของอำเภอเชียงของ เชียงของเคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยหิรัญนครเงินยาง (เชียงแสน) ชื่อในภาษาบาลีคือ "ขรราช" ต่อมามีฐานะเป็นเมืองชื่อ "เมืองเชียงของ" ขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองน่าน โดยกษัตริย์น่านได้ตั้งให้เจ้าอริยวงศ์เป็นเจ้าเมืองเชียงของ เมื่อปี พ.ศ. 1805 และปกครองเมืองเชียงของสืบต่อมาจนถึงเจ้าเมืองคนสุดท้าย คือ พญาจิตวงษ์วรยศรังษี ปี พ.ศ. 2453 (รศ.129) และให้มีฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดเชียงรายมาจนถึงปัจจุบัน โดยแต่งตั้งพญาอริยวงษ์ (น้อย จิตตางกูร) เป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2457 นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน อำเภอเชียงของ มี นายอำเภอคนที่ 24 คือ นายศักดิ์ชัย จ.ผลิต ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ วันที่ 11 ธันวาคม 2544 จนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลจาก
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87
-------------------
เชียงของเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับกับเทือกเขา มีพื้นที่ด้านทิศตะวันออกบางส่วนติดกับแม่น้ำโขงซึ่งฝั่งตรงข้าม คือ เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีประชากรหลายเชื้อชาติทั้ง ไทลื้อ ขมุ มูเซอ ทำให้มีอารยะธรรมที่หลากหลายโดยความเป็นนามว่า“เชียงของ” มาจากคำว่า“เชียง”ที่หมายถึงเมือง และ “ของ” ที่เพี้ยนจาก “ขร” ใน “ขรราช”ที่แปลว่า แม่น้ำโขง
ดังนั้น เชียงของ จึงหมายถึง เมืองลุ่มแม่น้ำโขง นั่นเอง
เชียงของยุคตำนาน
จากตำนานพื้นเมือง กลุ่มชนดั่งเดิมที่อาศัยอยู่บริเวณเชียงของ คือ “ตำมิละ” ชาวตำมิละแต่เดิมนับถือผีสาง แต่เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดแล้วจึงนับถือพระพุทธศาสนา
มีเรื่องเล่าว่าในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จข้ามแม่น้ำโขงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้แล้วประทับ ณ บ้านตำมิละ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงพระองค์ทรงได้แสดงธรรมโปรดชาวตำมิละให้ตั้งอยู่ในหลักเบญจศีล ก่อนที่พระองค์จะเสด็จจากไป บ้านตำมิละก็ได้ทูลขอสิ่งที่จะแทนพระองค์ต่อไปในอนาคต พระองค์จึงประทาน พระเกศาสองเส้นให้ และตรัสสั่งให้นำเกศาทั้งสองเส้นไปบรรจุและฝังแยกกันทางซ้ายมือเส้นหนึ่ง ทางขวามือเส้นหนึ่ง (ปัจจุบันเจดีย์ที่บรรจุพระเกศา องค์ซ้าย (เจดีย์วัดหลวง) เจดีย์ที่บรรจุพระเกศา องค์ขวา (เจดีย์วัดแก้ว)) โดยวัดระยะทางให้เท่ากันจากที่พระองค์ประทับอยู่เชื่อว่าที่ที่ฝังกลายเป็นเจดีย์ในสมัยต่อมา บ้านตำมิละร้างไปอย่างไรไม่ปรากฏ เล่าสืบต่อกันมาว่า บริเวณร้างตำมิละก็คือ “บ้านร้อยเต่า”
เชียงของยุคพม่ายึดครอง-ฟื้นฟู
ในประวัติศาสตร์สมัยพระเมกุฏิเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ในยุคนี้เมืองเชียงของก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าแต่ได้กองทัพเมืองเชียงใหม่ร่วมกับกองทัพไทยมาขับไล่พม่าได้สำเร็จ และประมาณ พ.ศ.2358 เมืองเชียงของได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหลังจากที่เจ้านครน่านได้แต่งตั้งให้เจ้ารำมะเสนยกเอาพลเมืองเชียงของที่แตกหนีจากเมืองเชียงของไปอยู่น่านให้มาตั้งเมืองเชียงของใหม่ เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้เชิญเจ้ารำมะเสนมาเป็นเจ้าเมืองเชียงของ
จาก “เมือง” มาเป็น “อำเภอ”
เชียงของมีฐานะเป็น เมือง มาแต่เดิม และมีฐานะอำเภอในปัจจุบันสืบเนื่องมาจากในรัชสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรวบรวมหัวเมืองของอาณาจักรล้านนาเป็นมณฑลพายัพ โดยเมืองเชียงของได้ถูกจัดให้ขึ้นกับพายัพภาคเหนือ และ พ.ศ. 2459 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยน “เมืองเชียงของ”เปลี่ยนเป็น “อำเภอเชียงของ” และขึ้นกับจังหวัดเชียงราย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและได้มีการแต่งตั้ง น้อย จิตตางกูร เป็นในอำเภอคนแรกของอำเภอเชียงของ
ข้อมูลจาก
https://www.museumthailand.com/th/2088/storytelling/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87/
----------------------
มาถึงกับเช้าประมาณ 7 โมง เลยแวะเที่ยวชมวัดในตัวอำเภอหน่อยแวะเที่ยววัดหัวเวียง
🍂วัดหัวเวียง🍂 หมู่๑ ต.เวียง อ.เชียงของ
เป็นวัดประจำของหมู่บ้านหัวเวียง.
เดิมทีวัดตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำโขง(อยู่ตรงข้ามกับบริเวณวัดในปัจจุบัน)มีชื่อว่า"วัดลิ้นช้าง" หันหน้าไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำโขง และอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดจอมเขามณีรัตน์ เมืองห้วยทราย สปป.ลาว โดยมีตุ๊ปู่วงศ์ เป็นพระผู้ใหญ่ดูแลวัด .ต่อมามักประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วมถึงบริเวณวัด.ในปีพศ.๒๔๗๐ จึงได้ย้ายไปอยู่ฝั่งตะวันตกของถนน(สถานที่วัดปัจจุบัน)ซึ่งชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างวัดและกุฏิเสร็จในปี พศ.๒๔๗๓.และได้ชื่อว่า "วัดหัวเวียง"
ข้อมูลจาก
https://web.facebook.com/chiangkhongoldstory/posts/2068512809939731/?_rdc=1&_rdr
จากนั้นค่อยแวะไปกินข้าวและจัดการธุรส่วนตัวที่ ตำมิละเกสท์เฮ้าส์
พิกัด ตำมิละเกสท์เฮ้าส์
https://goo.gl/maps/QZRUcQ7agQyQnAHQ8
เป็นที่พักติดริมแม่น้ำโขง บรรยากาศดี ใครมาเชียงของแนะนำลองมาพักได้ครับ
แวะกินข้าวเช้ากันที่นี่ก่อน เข้าห้องน้ำ จัดการธุระส่วนตัว เดินชมวิว สบายๆริมแม่น้ำโขง และบรรยาสรุปคราวกับการเที่ยวในวันนี้ของพวกเรา
ราคาห้องพัก
ห้องแอร์ อยู่ที่700บาทครับ ห้องพัดลม ธรรมดา อยู่ที่ 450 บาทครับ ไม่รวมอาหารเช้า หนึ่งห้องพักได้สองท่านครับ รูปแบบห้องพัก ชมได้ในอัลบัมที่ปักหมุดไว้ได้เลยครับ (สอบถามเมื่อ 18 มิย 2564)
เพจของ ตำมิละ
https://web.facebook.com/ChiangKhongBaanTammila
กินข้าวเสร็จก็เตรียมตัวเพื่อเดินทางข้ามฝั่งไปยัง เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
อย่างแรกก็คือการเตรียมรถจักรยานให้กับผู้ร่วมทริปทุกคน หมวกกันน๊อก โดยฝั่งลาวได้ติดต่อรถเซอร์วิสไว้แล้ว
หลังจากจัดการเรื่องจักรยานของแต่ละคนเสร็จแล้ว ก็ปั่นไปยัง จุดตรวจคนผ่านเข้าเมืองเชียงของ ซึ่งตอนนี้ได้มีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย) ช่วงที่ผมไปยังต้องนั่งเรือข้ามฝากอยู่
สะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) (ลาว: ຂົວມິດຕະພາບລາວ - ໄທ ແຫ່ງທີ 4) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่หมู่ที่ 9 บ้านดอนมหาวัน ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กับประเทศลาวที่บ้านดอน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ระยะทาง 2.48 กิโลเมตร รูปแบบของสะพานเป็นคอนกรีตรูปกล่อง (Segmental Concrete Box Girder) มีเสา 4 เสา กว้าง 14.70 เมตร เป็นสะพานขนาด 2 เลน แต่ละเลนกว้าง 3.50 เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลาง นอกจากสะพานแล้วยังมีโครงการก่อสร้างถนนไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตรเข้าในเขตเมืองห้วยทราย ซึ่งเป็นถนนลาดยางขนาดสองเลน รวมทั้งมีการก่อสร้างด่านตรวจคนเข้าเมืองด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง เป็นการเชื่อมต่อกับเส้นทางR3A[1][2] ที่เชื่อมต่อระหว่างจีน – ลาว –ไทย
บริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นกลุ่ม CR5-KT Joint Venture ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท China Railway No.5 ของจีนและบริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัดของไทย งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1,624 ล้านบาท โดยการสมทบทุนระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ส่วนรัฐบาลลาวรับผิดชอบค่าชดเชยให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยก่อสร้างตัวสะพานแล้วเสร็จในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ทั้งนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย)[3][4][5] ร่วมกับนายบุนยัง วอละจิต รองประธานประเทศลาว
สำหรับสะพานแห่งนี้ เป็นสะพานที่เชื่อต่อเส้นทางอาร์ 3 เอจากกรุงเทพ - คุณหมิง เพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 เส้นทางอาร์3เอ มีต้นทางเริ่มจากเชียงของ ประเทศไทย-บ่อแก้ว-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น ของประเทศลาว-บ่อหาน-เชียงรุ่งหรือจิ่งหง ในแคว้นสิบสองปันนา-นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ของจีน โดยมีระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงคุนหมิงรวมกว่า 1,800 กิโลเมตร สำหรับการก่อสร้างถนนสายเศรษฐกิจอาร์3เอ เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนับเป็นโครงการบูรณาการเศรษฐกิจในระดับมหภาค ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวนับว่าเป็นโอกาสสูงมากที่ประเทศไทยจะมีช่องทาง โอกาสในการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนตอนใต้ ที่จะเดินทางมาทางรถยนต์และทางเรือเพื่อมาท่องเที่ยวยังจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย
ข้อมูลจาก
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E2%80%93%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7_4_(%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E2%80%93%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2)
[CR] ปั่นจักรยานไปบ้านปุ่ง ban paung ถ่อแพแม่น้ำงาว เกือบออกแม่น้ำโขง สปป ลาว
ทริปนี้ไปมาตั้งแต่ 9-11 มค 2548 เลยเอามานั่งเขียนเป็นความทรงจำเล็กๆไว้เป็นที่ระลึก และเพื่อเพื่อนๆท่านใดอยากเที่ยวบ้างไว้เป็นข้อมูลครับ
*** รูปจะน้อย เพราะเป็นช่วงของกล้องดิจิตอลใหม่ๆ การ์ดผมมีไม่เยอะ
พิกัดต่างๆ
ตำมิละเกสท์เฮ้าส์
https://goo.gl/maps/QZRUcQ7agQyQnAHQ8
บ้านปุ่ง (ban paung)
20.397347320550097, 100.59266916091306
https://goo.gl/maps/VDVoeCxY4a7eDJoQ7
สะพานสุดทางถ่อแพ(ท่าขึ้นแพ)
20.36386042937264, 100.36844041557315
https://goo.gl/maps/mqk4X4u5b7km1TdEA
เส้นทางเดินทาง ด่านเชียงของ-บ้านปุ่ง (ban paung)
https://goo.gl/maps/AVn9AtfcYPKrAT4C6
ทริปนี้คมสันเป็นคนวางแผนและจัดการ พวกเรานั่งรถจาก กทม ไปยัง บ้านตำมิละ เกสฮ้าส์ เชียงของ (Baan Tammila Guesthouse Chiang Khong) อ.เชียงของ จ.เชียงราย
เชียงของ (คำเมือง: Lanna-Chiang Khong.png)[1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย
ความเป็นมาของอำเภอเชียงของ เชียงของเคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยหิรัญนครเงินยาง (เชียงแสน) ชื่อในภาษาบาลีคือ "ขรราช" ต่อมามีฐานะเป็นเมืองชื่อ "เมืองเชียงของ" ขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองน่าน โดยกษัตริย์น่านได้ตั้งให้เจ้าอริยวงศ์เป็นเจ้าเมืองเชียงของ เมื่อปี พ.ศ. 1805 และปกครองเมืองเชียงของสืบต่อมาจนถึงเจ้าเมืองคนสุดท้าย คือ พญาจิตวงษ์วรยศรังษี ปี พ.ศ. 2453 (รศ.129) และให้มีฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดเชียงรายมาจนถึงปัจจุบัน โดยแต่งตั้งพญาอริยวงษ์ (น้อย จิตตางกูร) เป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2457 นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน อำเภอเชียงของ มี นายอำเภอคนที่ 24 คือ นายศักดิ์ชัย จ.ผลิต ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ วันที่ 11 ธันวาคม 2544 จนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลจาก
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87
-------------------
เชียงของเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับกับเทือกเขา มีพื้นที่ด้านทิศตะวันออกบางส่วนติดกับแม่น้ำโขงซึ่งฝั่งตรงข้าม คือ เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีประชากรหลายเชื้อชาติทั้ง ไทลื้อ ขมุ มูเซอ ทำให้มีอารยะธรรมที่หลากหลายโดยความเป็นนามว่า“เชียงของ” มาจากคำว่า“เชียง”ที่หมายถึงเมือง และ “ของ” ที่เพี้ยนจาก “ขร” ใน “ขรราช”ที่แปลว่า แม่น้ำโขง
ดังนั้น เชียงของ จึงหมายถึง เมืองลุ่มแม่น้ำโขง นั่นเอง
เชียงของยุคตำนาน
จากตำนานพื้นเมือง กลุ่มชนดั่งเดิมที่อาศัยอยู่บริเวณเชียงของ คือ “ตำมิละ” ชาวตำมิละแต่เดิมนับถือผีสาง แต่เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดแล้วจึงนับถือพระพุทธศาสนา
มีเรื่องเล่าว่าในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จข้ามแม่น้ำโขงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้แล้วประทับ ณ บ้านตำมิละ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงพระองค์ทรงได้แสดงธรรมโปรดชาวตำมิละให้ตั้งอยู่ในหลักเบญจศีล ก่อนที่พระองค์จะเสด็จจากไป บ้านตำมิละก็ได้ทูลขอสิ่งที่จะแทนพระองค์ต่อไปในอนาคต พระองค์จึงประทาน พระเกศาสองเส้นให้ และตรัสสั่งให้นำเกศาทั้งสองเส้นไปบรรจุและฝังแยกกันทางซ้ายมือเส้นหนึ่ง ทางขวามือเส้นหนึ่ง (ปัจจุบันเจดีย์ที่บรรจุพระเกศา องค์ซ้าย (เจดีย์วัดหลวง) เจดีย์ที่บรรจุพระเกศา องค์ขวา (เจดีย์วัดแก้ว)) โดยวัดระยะทางให้เท่ากันจากที่พระองค์ประทับอยู่เชื่อว่าที่ที่ฝังกลายเป็นเจดีย์ในสมัยต่อมา บ้านตำมิละร้างไปอย่างไรไม่ปรากฏ เล่าสืบต่อกันมาว่า บริเวณร้างตำมิละก็คือ “บ้านร้อยเต่า”
เชียงของยุคพม่ายึดครอง-ฟื้นฟู
ในประวัติศาสตร์สมัยพระเมกุฏิเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ในยุคนี้เมืองเชียงของก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าแต่ได้กองทัพเมืองเชียงใหม่ร่วมกับกองทัพไทยมาขับไล่พม่าได้สำเร็จ และประมาณ พ.ศ.2358 เมืองเชียงของได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหลังจากที่เจ้านครน่านได้แต่งตั้งให้เจ้ารำมะเสนยกเอาพลเมืองเชียงของที่แตกหนีจากเมืองเชียงของไปอยู่น่านให้มาตั้งเมืองเชียงของใหม่ เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้เชิญเจ้ารำมะเสนมาเป็นเจ้าเมืองเชียงของ
จาก “เมือง” มาเป็น “อำเภอ”
เชียงของมีฐานะเป็น เมือง มาแต่เดิม และมีฐานะอำเภอในปัจจุบันสืบเนื่องมาจากในรัชสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรวบรวมหัวเมืองของอาณาจักรล้านนาเป็นมณฑลพายัพ โดยเมืองเชียงของได้ถูกจัดให้ขึ้นกับพายัพภาคเหนือ และ พ.ศ. 2459 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยน “เมืองเชียงของ”เปลี่ยนเป็น “อำเภอเชียงของ” และขึ้นกับจังหวัดเชียงราย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและได้มีการแต่งตั้ง น้อย จิตตางกูร เป็นในอำเภอคนแรกของอำเภอเชียงของ
ข้อมูลจาก
https://www.museumthailand.com/th/2088/storytelling/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87/
----------------------
มาถึงกับเช้าประมาณ 7 โมง เลยแวะเที่ยวชมวัดในตัวอำเภอหน่อยแวะเที่ยววัดหัวเวียง
🍂วัดหัวเวียง🍂 หมู่๑ ต.เวียง อ.เชียงของ
เป็นวัดประจำของหมู่บ้านหัวเวียง.
เดิมทีวัดตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำโขง(อยู่ตรงข้ามกับบริเวณวัดในปัจจุบัน)มีชื่อว่า"วัดลิ้นช้าง" หันหน้าไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำโขง และอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดจอมเขามณีรัตน์ เมืองห้วยทราย สปป.ลาว โดยมีตุ๊ปู่วงศ์ เป็นพระผู้ใหญ่ดูแลวัด .ต่อมามักประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วมถึงบริเวณวัด.ในปีพศ.๒๔๗๐ จึงได้ย้ายไปอยู่ฝั่งตะวันตกของถนน(สถานที่วัดปัจจุบัน)ซึ่งชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างวัดและกุฏิเสร็จในปี พศ.๒๔๗๓.และได้ชื่อว่า "วัดหัวเวียง"
ข้อมูลจาก
https://web.facebook.com/chiangkhongoldstory/posts/2068512809939731/?_rdc=1&_rdr
จากนั้นค่อยแวะไปกินข้าวและจัดการธุรส่วนตัวที่ ตำมิละเกสท์เฮ้าส์
พิกัด ตำมิละเกสท์เฮ้าส์
https://goo.gl/maps/QZRUcQ7agQyQnAHQ8
เป็นที่พักติดริมแม่น้ำโขง บรรยากาศดี ใครมาเชียงของแนะนำลองมาพักได้ครับ
แวะกินข้าวเช้ากันที่นี่ก่อน เข้าห้องน้ำ จัดการธุระส่วนตัว เดินชมวิว สบายๆริมแม่น้ำโขง และบรรยาสรุปคราวกับการเที่ยวในวันนี้ของพวกเรา
ราคาห้องพัก
ห้องแอร์ อยู่ที่700บาทครับ ห้องพัดลม ธรรมดา อยู่ที่ 450 บาทครับ ไม่รวมอาหารเช้า หนึ่งห้องพักได้สองท่านครับ รูปแบบห้องพัก ชมได้ในอัลบัมที่ปักหมุดไว้ได้เลยครับ (สอบถามเมื่อ 18 มิย 2564)
เพจของ ตำมิละ
https://web.facebook.com/ChiangKhongBaanTammila
กินข้าวเสร็จก็เตรียมตัวเพื่อเดินทางข้ามฝั่งไปยัง เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
อย่างแรกก็คือการเตรียมรถจักรยานให้กับผู้ร่วมทริปทุกคน หมวกกันน๊อก โดยฝั่งลาวได้ติดต่อรถเซอร์วิสไว้แล้ว
หลังจากจัดการเรื่องจักรยานของแต่ละคนเสร็จแล้ว ก็ปั่นไปยัง จุดตรวจคนผ่านเข้าเมืองเชียงของ ซึ่งตอนนี้ได้มีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย) ช่วงที่ผมไปยังต้องนั่งเรือข้ามฝากอยู่
สะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) (ลาว: ຂົວມິດຕະພາບລາວ - ໄທ ແຫ່ງທີ 4) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่หมู่ที่ 9 บ้านดอนมหาวัน ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กับประเทศลาวที่บ้านดอน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ระยะทาง 2.48 กิโลเมตร รูปแบบของสะพานเป็นคอนกรีตรูปกล่อง (Segmental Concrete Box Girder) มีเสา 4 เสา กว้าง 14.70 เมตร เป็นสะพานขนาด 2 เลน แต่ละเลนกว้าง 3.50 เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลาง นอกจากสะพานแล้วยังมีโครงการก่อสร้างถนนไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตรเข้าในเขตเมืองห้วยทราย ซึ่งเป็นถนนลาดยางขนาดสองเลน รวมทั้งมีการก่อสร้างด่านตรวจคนเข้าเมืองด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง เป็นการเชื่อมต่อกับเส้นทางR3A[1][2] ที่เชื่อมต่อระหว่างจีน – ลาว –ไทย
บริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นกลุ่ม CR5-KT Joint Venture ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท China Railway No.5 ของจีนและบริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัดของไทย งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1,624 ล้านบาท โดยการสมทบทุนระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ส่วนรัฐบาลลาวรับผิดชอบค่าชดเชยให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยก่อสร้างตัวสะพานแล้วเสร็จในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ทั้งนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย)[3][4][5] ร่วมกับนายบุนยัง วอละจิต รองประธานประเทศลาว
สำหรับสะพานแห่งนี้ เป็นสะพานที่เชื่อต่อเส้นทางอาร์ 3 เอจากกรุงเทพ - คุณหมิง เพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 เส้นทางอาร์3เอ มีต้นทางเริ่มจากเชียงของ ประเทศไทย-บ่อแก้ว-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น ของประเทศลาว-บ่อหาน-เชียงรุ่งหรือจิ่งหง ในแคว้นสิบสองปันนา-นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ของจีน โดยมีระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงคุนหมิงรวมกว่า 1,800 กิโลเมตร สำหรับการก่อสร้างถนนสายเศรษฐกิจอาร์3เอ เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนับเป็นโครงการบูรณาการเศรษฐกิจในระดับมหภาค ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวนับว่าเป็นโอกาสสูงมากที่ประเทศไทยจะมีช่องทาง โอกาสในการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนตอนใต้ ที่จะเดินทางมาทางรถยนต์และทางเรือเพื่อมาท่องเที่ยวยังจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย
ข้อมูลจาก
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E2%80%93%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7_4_(%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E2%80%93%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2)
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้