ประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

โดยทั่วไป การพิจารณาว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต้องจ่ายภาษีเท่าใด ให้พิจารณาตามการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น เช่น ใช้เพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพื่อพักอาศัย เพื่อการอื่น หรือทิ้งไว้ว่างเปล่า

     ทั้งนี้มีการตีความการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ให้พิจารณาจากการประโยชน์ที่ปลายทางเช่น หากเจ้าของห้องแถวหรืออาคารพาณิชย์ให้บุคคลเช่าเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย จึงพิจารณาตามหลักการข้างต้นว่า ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย

1. แต่ผมมีประเด็นข้อสงสัย กล่าวคือ เจ้าของอพาร์ทเม้นท์หรือหอพัก ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการให้เช่าเพื่อการอยู่อาศัย จะตีความตามหลักการข้างต้นได้หรือไม่ว่า ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย ทั้งที่ผู้สร้างมีวัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อการให้เช่า

2. อีกหนึ่งประเด็นข้อสงสัย กล่าวคือ กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับนี้กำหนดกรณีมีการใช้ประโยชน์หลายอย่างในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเดียวกัน กฎหมายจึงกำหนดให้คำนวณแยกการใช้ประโยชน์เป็นสัดส่วนให้ชัดเจน แล้วประเมินภาษีตามการใช้ประโยชน์แต่ละประเภทตามสัดส่วนที่คำนวณได้นั้น (ม.38)

ประเด็นที่สงสัยคือ ผู้เช่าห้องแถวหรืออาคารพาณิชย์ใช้ชั้นล่างเปิดร้านขายของ ส่วนชั้นบนทุกชั้นใช้เป็นที่อยู่อาศัย คำถามคือ สามารถคำนวณแยกการใช้ประโยชน์เป็นสัดส่วนเพื่อการประเมินภาษีตามที่บัญญัติกฎหมายไว้ข้างต้น คือ ประเมินภาษีชั้นล่างกรณีใช้เพื่อประโยชน์อื่น และประเมินภาษีชั้นอื่นๆกรณีใช้เพื่อการอยู่อาศัย ได้หรือไม่ครับ

ขอรบกวนประเด็นนี้จริงๆครับ

ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่