"น้อยหน่า" ผลไม้หน้าฝนรสหวาน คนท้องกินได้ไหม ดีต่อครรภ์ด้วยหรือเปล่า?

น้อยหน่า เป็นผลไม้ที่หลายคนได้กินกันตอนเด็ก ๆ มีรสหวาน เนื้ออ่อน เคี้ยวง่าย หลายคนชอบ นี่ก็เริ่มจะเข้าสู่ช่วงที่น้อยหน่าออกผลแล้ว คุณแม่อาจจะกำลังสงสัยว่าคนท้องกินน้อยหน่าได้หรือเปล่า วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันค่ะ
 
น้อยหน่า มาจากไหน
น้อยหน่าเป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง ที่มีต้นกำเนิดมาจากอเมริกาใต้ ว่ากันว่าเริ่มเข้ามาในไทยช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเดิมชื่อว่า อะโนน่า สันนิษฐานกันว่าคนโปรตุเกสเป็นคนนำเข้ามาจากประเทศอินเดีย ปัจจุบันน้อยหน่าเป็นผลไม้ที่หาทานได้ง่ายทั่วประเทศ มักเกิดในที่ที่แห้งแล้ง ปลูกได้ทุกฤดู และดูแลไม่ยาก โดยปกติจะออกผลช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม นอกจากนี้ น้อยหน่ายังเป็นพืชเศรษฐกิจของหลาย ๆ ประเทศ เช่น อิสราเอล อียิปต์ แอฟริกากลาง อินเดีย บราซิล และประเทศแถบเอเชีย เป็นต้น

 
 
 
 
น้อยหน่า เป็นผลไม้ที่รสชาติอร่อย ราคาไม่แพง แถมยังมีประโยชน์หลากหลาย คนไทยมักนำรากน้อยหน่าไปทำยาสมุนไพร เพื่อช่วยในการขับถ่าย ขับพยาธิ แก้อาการบวมช้ำ รักษาโรคกลากเกลื้อน รวมทั้งเมล็ดน้อยหน่ายังสามารถนำไปทำปุ๋ยและสบู่ได้อีกด้วย
 
น้อยหน่าขนาด 100 กรัม จะให้สารอาหารดังนี้
 - พลังงาน 94 แคลอรี่
 - คาร์โบไฮเดรต 23.64 กรัม
 - ไขมัน 0.29 กรัม
 - โปรตีน 2.06 กรัม
 - วิตามินบี 1 0.11 กรัม
 - วิตามินบี 6 0.2 กรัม
 - โฟเลต 14 ไมโครกรัม
 - แคลเซียม 24 กรัม
 - แมกนีเซียม 21 กรัม
 - โพแทสเซียม 247 มิลลิกรัม

ท้องอยู่ กินน้อยหน่าได้หรือเปล่า
ในช่วงท้อง คุณแม่หลายคน อาจจะอยากกินนั่นกินนี่เยอะแยะไปหมด บางคนก็อยากกินของที่ไม่เคยกินมาก่อน บางคนอยากกินน้อยหน่า จริง ๆ แล้วคนท้องกินน้อยหน่าได้ไม่ผิด เพราะน้อยหน่าเป็นผลไม้ที่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่และเด็กทารก ดังนี้
 
 - ช่วยลดอาการปวดเมื่อย หากคุณแม่ปวดเมื่อยร่างกายในช่วงที่ตั้งครรภ์ การรับประทานน้อยหน่าอาจช่วยได้ ว่ากันว่าน้อยหน่าช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย แถมยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้อีกด้วย

 - ลดอาการท้องผูก น้อยหน่าเป็นผลไม้ที่มีเส้นใยสูง ช่วยให้ขับถ่ายได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งแม่ ๆ หลายคน ก็คงท้องผูกกันบ่อย ๆ หากใครที่ท้องผูกอยู่ แนะนำให้ลองซื้อน้อยหน่ามาทานได้

 - รักษาอาการปวดฟัน มีงานวิจัยชี้ว่า น้อยหน่าช่วยลดอาการปวดฟันและเหงือกอักเสบ ที่มักเกิดกับหญิงที่ตั้งครรภ์

 - ลดอาการแพ้ท้อง น้อยหน่ามีวิตามินบี 6 ซึ่งแพทย์เชื่อกันว่าสามารถช่วยให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ แพ้ท้องและคลื่นไส้ได้น้อยลง

 - กำจัดสารพิษในร่างกาย น้อยหน่ามีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ค่อนข้างสูง ดังนั้น จึงอาจช่วยชะล้างสารพิษที่อยู่ภายในร่างกายเราได้

 - ช่วยลดอาการชา หากคุณแม่คนไหนรู้สึกชาตามร่างกายอยู่บ่อย ๆ ข่าวดีก็คือว่า น้อยหน่าอาจช่วยลดอาการชาได้ หากไม่อยากทานยา แนะนำให้ลองซื้อน้อยหน่ามาทานดูได้

 - ช่วยให้ทารกเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม น้อยหน่ามีวิตามินซี และวิตามินเอ ซึ่งช่วยให้ระบบประสาทของทารกทำงานได้ดี แถมยังช่วยให้เด็กเจริญเติบโตในครรภ์อย่างสมวัยอีกด้วย

 - ช่วยลดอาการ mood swing หากรู้สึกตัวเองอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่คงที่ เหวี่ยงคนนั้นคนนี้ไปเรื่อย แต่ก็ไม่อยากทานยา ให้ลองทานน้อยหน่าแทนได้ เพราะน้อยหน่ามีส่วนช่วยทำให้อารมณ์คงที่มากยิ่งขึ้น

 - ดีต่อสายตา วิตามินเอที่อยู่ในน้อยหน่า ช่วยบำรุงสายตาและการมองเห็น แถมยังช่วยบำรุงเส้นผมและผิวได้ด้วย

 - ช่วยรักษาโรคทางผิวหนัง เนื้อน้อยหน่า นำมารักษาโรคทางผิวหนังได้ หากใครเป็นฝีและแผลพุพองอยู่ ให้ลองเอาเนื้อน้อยหน่ามาทาที่แผลสักวันละ 2 ครั้ง เพื่อลดความรุนแรงของแผล

 - ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายยิ่งขึ้น น้อยหน่ามีสารอาหารอย่างแมกนีเซียม ที่จำเป็นต่อผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและทำให้กล้ามเนื้อร่างกายผ่อนคลายมากขึ้น ไม่แข็งเกร็ง

 - ลดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด น้อยหน่ามีสารทองแดง ที่ช่วยให้เม็ดเลือดฮีโมโกลบินในร่างกายทำงานได้ดี ซึ่งช่วยคุณแม่ลดความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดได้ นอกจากนี้ ทองแดงยังช่วยบำรุงผิวหนัง กล้ามเนื้อ และหลอดเลือดของทารกในครรภ์ได้อีกด้วย
 
กินน้อยหน่าอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
วิธีกินน้อยหน่าให้ได้ประโยชน์ คือให้หั่นหรือแบ่งน้อยหน่าออกเป็น 2 ส่วน จากนั้นใช้ช้อนคว้านเนื้อน้อยหน่าออกมา และหยิบเมล็ดออกก่อน เพื่อไม่ให้เผลอกินเมล็ดเข้าไป จากนั้นสามารถรับประทานได้เลย หรือจะนำไปปั่นให้ละเอียดดื่มเป็นน้ำผลไม้แทนก็ได้ ทั้งนี้ อาจจะลองเติมน้ำมะนาว เพื่อเพิ่มรสชาติด้วยก็ได้

ตอนนี้ คุณแม่หลาย ๆ ท่านคงเริ่มคิดกันแล้ว ว่าจะไปซื้อน้อยหน่าจากที่ไหนดี การทานน้อยหน่าให้ได้ประโยชน์นั้น ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็อย่าลืมนะคะ ว่าต้องทานในปริมาณที่เหมาะสม พอเหมาะพอควร เพราะน้อยหน่าเป็นผลไม้ที่รสหวาน น้ำตาลสูง ทานมากไป ย่อมไม่ดีต่อร่างกาย

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ตั้งครรภ์ อาหารสำหรับคนตั้งครรภ์ สังคมคุณแม่
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่