ตลาดธนบุรี สนามหลวง 2 ผ่านมาก 23 ปี ที่ไม่มีการพัฒนา
ตลาดนี้เปิดเมื่อ พฤษภาคม 2543 เป็นตลาดที่ กทม. เปิดมาเพื่อให้เป็นพื้นที่ค้าขายใหม่ของประชาชน สร้างให้ประชาชนมีรายได้
การคมนาคมของตลาดนี้ มีรถประจำทาง ขสมก. จำนวน 1 สายถ้วน คือ 91ก.สนามหลวง2-ม.กรุงเทพธนบุรี-ท่าพระ ที่เหลือเป็นรถสองแถวที่ผ่านหน้าทางเข้าตลาด ตลาดพุทธ-บางแค
ตลาดนี้อยู่ในความดูแลของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร สิทธิ์การจองแผงค้า เมื่อก่อนวันเปิดตลาด 1 ชื่อ/1สิทธิ์ในการจอง/1แผงค้า หากต้องการมากกว่า 1 แผงต้องหาคนมาจองเพิ่ม จองแล้วไม่ได้เลย ต้องรอจับสลากว่าได้สิทธิ์ทำการค้าหรือไม่ เมื่อจองสำเร็จ ต้องชำระเงินค้ามัดจำแผงค้า 900 บาท/1แผงค้า (มีแผงค้าเท่าไรก็คูณเพิ่มเข้าไป)
ต่อมาประมาณ ปี 2546 มีการก่อสร้างอาคารถาวรเพื่อทำการค้า โดยค่าก่อสร้างทั้งหมดเงินของพ่อค้า-แม่ค้าออกเอง (1 แผงค้า=2X2 เมตร ค่าก่อสร้าง ณ ตอนประมาณปี 2546 แผงค้า 40,000 บาท) แล้วลงนามยกแผงค้าทั้งหมดที่ก่อสร้างด้วยเงินของพ่อค้า-แม่ค้าเป็นของ กทม.
ปัญหามากมายที่เกิดขึ้นในตลาดแห่งนี้และไม่ได้รับการแก้ไข
1.ที่จอดรถ การจับจองพื้นที่ เพื่อให้รถของผู้ค้าได้จอดในพื้นที่ ที่ตัวเองต้องการ ทั้งเก้าอี้ รถเข็น ต้นไม้ ข้าวของเอามาวองจับจ้องไว้ การจัดการบริหารพื้นที่จอดรถ ไม่มีความจริงจังในการจัดการเรื่องนี้เลย ปล่อยให้รถจักรยานยนต์จอดในที่รถยนต์ นำรถจักรยานยนต์มาจอดหน้าแผงค้าตนเองกีดขวางทางเดิน การปล่อยให้พื้นที่จอดรถเป็นพื้นที่ค้าขายของพ่อค้า-แม่ค้าอื่นๆ
2.การตั้งวางร้าน-สิ่งขอ ลุกล้ำพื้นที่สาธารณะ เกินออกมานอกพื้นที่ร้าน กีดขวางทางเดิน ที่จอดรถ ไม่ได้มีการแก้ไขอย่างจริงจัง บ้างร้านติดตั้งหลังค้า พื้นแบบถาวร โดยไม่ได้เสียค่าเช่าแม้แต่บาทเดียว (จริงๆพื้นที่ที่ลุกล้ำนี้ถือว่าเป็นทำเลค้าขายหากคิดเป็นค่าเช่าต้องเก็บแพงกว่าปกติหลายเท่า)
3.สิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับกลุ่มผู้ค้าต่างๆ ที่ได้ใช้พื้นที่ที่ไม่ได้ชำระค่าเช่า เพื่อทำการค้า
4.ปัญหาน้ำท่วมหลังฝนตก ฝนตกทุกครั้งน้ำท่วมขังจนเดินไม่ได้ทำการค้าไม่ได้ เป็นมาตั้งแต่เริ่มเปิดตลาดจนถึงปัจจุบัน ก็แก้ไขไม่ได้สักที ใครเคยไปตอนฝนตกจะรับรู้ได้ดี น้ำที่ท่วมขังก็ไม่ได้สะอาด แมลง สัตว์ต่างๆที่หนีน้ำก็มีมากกมาย
5.พื้นที่ทำการค้าหลายโซนถูกปิดตาย เนื่องจากไม่มีผู้ค้ามาทำการค้า เกิดเป็นแหล่งมั่วสุม อันตราย
6.ห้องน้ำ ค่าใช้บริการครั้งละ 5 บาท แต่สภาพไม่น่าใช้บริการ กลิ่นเหม็น อุดตัน ปัจจุบันเห็นว่า สำนักงานตลาดฯมีปัญหากับเจ้าของสัมปทาน ทำให้ไม่มีคนดูแลต้องจ้างคนอื่นมาดูแล และ ทำตู้ขอบริจาคเงินเพื่อซื้อน้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ
7.หลายโซนที่เป็นพื้นที่เสื่อมโทรม เช่น โซนสัตว์เลี้ยง มีปิดตายหลายซอย ซอยที่ปิดกลายเป็นที่วางของ ห้องน้ำช่วงคราว เหม็นและสกปรกเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค โซนปลาสวยงาม ท่อน้ำอุดตัน น้ำท่วงขัง ผู้ค้าต้องนำอิฐ มาวางเป็นทางเดิน
นี่แค่คร่าวๆที่ได้สัมผัสและหาข้อมูลมา ทำไม ตลาดแห่งนี้ไม่มีการพัฒนา ไม่ทำให้เป็นที่เชิดหน้าชูตาของฝั่งธน การเดินทางของลูกค้าที่จะมาซื้อของต้องมีรถของตัวเองเท่านั้น เพราะถ้าจะมารถสาธารณะคงต้องต่อหลายต่อจนหน้ามืด ตลาดไม่มีการประชาสัมพันธ์ ไม่มีการโฆษณา ชักจูง เชิญชวน ให้คนมาใช้บริการ เพื่อให้พ่อค้า-แม่ค้าในตลาดอยู่รอด ผู้นำตลาดไม่มีวิสัยทัศน์ ไม่มองการทำงานที่เป็นรูปธรรม ไม่ลงมาดูพื้นที่จริงในการทำงาน จนปัจจุบันตลาดเปิดหใม่อย่าง เวิล์ด มาเก็ต ที่เพิ่งเปิดได้ไม่นาน ก็แซงหน้าสนามหลวง2 ไปแล้ว
ตลาดธนบุรี สนามหลวง2 ครบ 23ปี พัฒนาขึ้นหรือแย่ลง
ตลาดนี้เปิดเมื่อ พฤษภาคม 2543 เป็นตลาดที่ กทม. เปิดมาเพื่อให้เป็นพื้นที่ค้าขายใหม่ของประชาชน สร้างให้ประชาชนมีรายได้
การคมนาคมของตลาดนี้ มีรถประจำทาง ขสมก. จำนวน 1 สายถ้วน คือ 91ก.สนามหลวง2-ม.กรุงเทพธนบุรี-ท่าพระ ที่เหลือเป็นรถสองแถวที่ผ่านหน้าทางเข้าตลาด ตลาดพุทธ-บางแค
ตลาดนี้อยู่ในความดูแลของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร สิทธิ์การจองแผงค้า เมื่อก่อนวันเปิดตลาด 1 ชื่อ/1สิทธิ์ในการจอง/1แผงค้า หากต้องการมากกว่า 1 แผงต้องหาคนมาจองเพิ่ม จองแล้วไม่ได้เลย ต้องรอจับสลากว่าได้สิทธิ์ทำการค้าหรือไม่ เมื่อจองสำเร็จ ต้องชำระเงินค้ามัดจำแผงค้า 900 บาท/1แผงค้า (มีแผงค้าเท่าไรก็คูณเพิ่มเข้าไป)
ต่อมาประมาณ ปี 2546 มีการก่อสร้างอาคารถาวรเพื่อทำการค้า โดยค่าก่อสร้างทั้งหมดเงินของพ่อค้า-แม่ค้าออกเอง (1 แผงค้า=2X2 เมตร ค่าก่อสร้าง ณ ตอนประมาณปี 2546 แผงค้า 40,000 บาท) แล้วลงนามยกแผงค้าทั้งหมดที่ก่อสร้างด้วยเงินของพ่อค้า-แม่ค้าเป็นของ กทม.
ปัญหามากมายที่เกิดขึ้นในตลาดแห่งนี้และไม่ได้รับการแก้ไข
1.ที่จอดรถ การจับจองพื้นที่ เพื่อให้รถของผู้ค้าได้จอดในพื้นที่ ที่ตัวเองต้องการ ทั้งเก้าอี้ รถเข็น ต้นไม้ ข้าวของเอามาวองจับจ้องไว้ การจัดการบริหารพื้นที่จอดรถ ไม่มีความจริงจังในการจัดการเรื่องนี้เลย ปล่อยให้รถจักรยานยนต์จอดในที่รถยนต์ นำรถจักรยานยนต์มาจอดหน้าแผงค้าตนเองกีดขวางทางเดิน การปล่อยให้พื้นที่จอดรถเป็นพื้นที่ค้าขายของพ่อค้า-แม่ค้าอื่นๆ
2.การตั้งวางร้าน-สิ่งขอ ลุกล้ำพื้นที่สาธารณะ เกินออกมานอกพื้นที่ร้าน กีดขวางทางเดิน ที่จอดรถ ไม่ได้มีการแก้ไขอย่างจริงจัง บ้างร้านติดตั้งหลังค้า พื้นแบบถาวร โดยไม่ได้เสียค่าเช่าแม้แต่บาทเดียว (จริงๆพื้นที่ที่ลุกล้ำนี้ถือว่าเป็นทำเลค้าขายหากคิดเป็นค่าเช่าต้องเก็บแพงกว่าปกติหลายเท่า)
3.สิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับกลุ่มผู้ค้าต่างๆ ที่ได้ใช้พื้นที่ที่ไม่ได้ชำระค่าเช่า เพื่อทำการค้า
4.ปัญหาน้ำท่วมหลังฝนตก ฝนตกทุกครั้งน้ำท่วมขังจนเดินไม่ได้ทำการค้าไม่ได้ เป็นมาตั้งแต่เริ่มเปิดตลาดจนถึงปัจจุบัน ก็แก้ไขไม่ได้สักที ใครเคยไปตอนฝนตกจะรับรู้ได้ดี น้ำที่ท่วมขังก็ไม่ได้สะอาด แมลง สัตว์ต่างๆที่หนีน้ำก็มีมากกมาย
5.พื้นที่ทำการค้าหลายโซนถูกปิดตาย เนื่องจากไม่มีผู้ค้ามาทำการค้า เกิดเป็นแหล่งมั่วสุม อันตราย
6.ห้องน้ำ ค่าใช้บริการครั้งละ 5 บาท แต่สภาพไม่น่าใช้บริการ กลิ่นเหม็น อุดตัน ปัจจุบันเห็นว่า สำนักงานตลาดฯมีปัญหากับเจ้าของสัมปทาน ทำให้ไม่มีคนดูแลต้องจ้างคนอื่นมาดูแล และ ทำตู้ขอบริจาคเงินเพื่อซื้อน้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ
7.หลายโซนที่เป็นพื้นที่เสื่อมโทรม เช่น โซนสัตว์เลี้ยง มีปิดตายหลายซอย ซอยที่ปิดกลายเป็นที่วางของ ห้องน้ำช่วงคราว เหม็นและสกปรกเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค โซนปลาสวยงาม ท่อน้ำอุดตัน น้ำท่วงขัง ผู้ค้าต้องนำอิฐ มาวางเป็นทางเดิน
นี่แค่คร่าวๆที่ได้สัมผัสและหาข้อมูลมา ทำไม ตลาดแห่งนี้ไม่มีการพัฒนา ไม่ทำให้เป็นที่เชิดหน้าชูตาของฝั่งธน การเดินทางของลูกค้าที่จะมาซื้อของต้องมีรถของตัวเองเท่านั้น เพราะถ้าจะมารถสาธารณะคงต้องต่อหลายต่อจนหน้ามืด ตลาดไม่มีการประชาสัมพันธ์ ไม่มีการโฆษณา ชักจูง เชิญชวน ให้คนมาใช้บริการ เพื่อให้พ่อค้า-แม่ค้าในตลาดอยู่รอด ผู้นำตลาดไม่มีวิสัยทัศน์ ไม่มองการทำงานที่เป็นรูปธรรม ไม่ลงมาดูพื้นที่จริงในการทำงาน จนปัจจุบันตลาดเปิดหใม่อย่าง เวิล์ด มาเก็ต ที่เพิ่งเปิดได้ไม่นาน ก็แซงหน้าสนามหลวง2 ไปแล้ว