ถ้าของวิเศษเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้นจริง คุณอยากเห็นแก็ดเจ็ตใดเกิดขึ้นในโลกก่อน??

ถ้าของวิเศษเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้นจริง คุณอยากเห็นแก็ดเจ็ตใดเกิดขึ้นในโลกก่อน??



1. เครื่องวาร์ป:
การเดินทางด้วยความเร็วเหนือแสง เหมือนในหนังไซไฟ อาจไม่ไกลเหนือความคาดหมายแล้ว  การวิจัยล่าสุด อธิบายแผนการเดินทางด้วยความเร็วเหนือแสง ผ่านการสร้างคลื่นโซลิตอน (soliton) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เอริค เลนท์ซ (Erik Lentz) เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า เทคโนโลยี "วาร์ปไดรฟ์" (warp drive) จะสามารถลดเวลาเดินทางข้ามจักรวางที่ห่างไกลได้ เขายกตัวอย่างดวงดาวที่ใกล้กับระบบสุริยะที่สุด คือ ดาว Proxima Centauri ซึ่งหากใช้การเดินทางด้วยยานอวกาศทั่วไป จะใช้เวลาประมาณ 50,000-70,000 ปีกว่าจะไปถึง แต่ด้วยเทคโนโลยีความเร็วเหนือแสงนี้ จะใช้เวลาประมาณ 4 ปี กับอีก 3 เดือนเพื่อไปถึงที่นั่นได้

2. ไทม์แมชชีน:
การเดินทางข้ามเวลาในรูปแบบนี้จะอิงอาศัยสมการทางฟิสิกส์ของอัจฉริยะตลอดกาลอย่างอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งบ่งชี้ว่าปริภูมิ (Space) 3 มิติในจักรวาล ทั้งความกว้าง ความยาว และความสูง มีความเชื่อมโยงกับมิติที่ 4 คือเวลา (Time) อย่างแน่นแฟ้น ปัจจุบัน ศ. มัลเลตต์พบหลักการสร้างเครื่องไทม์แมชชีนที่เป็นไปได้ โดยเขาสร้างอุปกรณ์ตั้งโต๊ะขนาดย่อมขึ้นมาสาธิต มีการสร้างลำแสงเลเซอร์ที่หมุนวนเป็นวงกลมในอุปกรณ์ดังกล่าวได้หลายรอบ ซึ่งภายในวงแหวนเลเซอร์นี้ปริภูมิ (Space) จะถูกบิดให้ผิดรูปไปจากเดิมเหมือนกับการคนกาแฟในแก้ว หากปริภูมิและเวลามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจริงแล้ว เวลาในวงแหวนเลเซอร์ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย โดยจะเกิดสภาพเวลาที่หมุนวนเป็นรอบจากอดีตไปสู่อนาคตและย้อนกลับสู่อดีตอีกครั้ง

3. ยาอมตะ:
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า คณะนักโบราณคดีในมณฑลเหอหนาน ทางจีนตอนกลาง เปิดเผยว่า ของเหลวที่พบอยู่ในหม้อสัมฤทธิ์ ซึ่งขุดค้นได้จากสุสานยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (202 ปีก่อนค.ศ.-ค.ศ.8) เป็น “ยาอายุวัฒนะ” ตามบันทึกโบราณของลัทธิเต๋า ผลการวิจัยของห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า ของเหลวมีส่วนประกอบหลักเป็นโพแทสเซียมไนเตรตและสารส้ม ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของยาอายุวัฒนะที่เขียนไว้ในบันทึกโบราณของลัทธิเต๋า

4. ผ้าคลุมล่องหน:
นักฟิสิกส์พัฒนาเทคนิคสร้าง “ผ้าคลุมล่องหน” ซึ่งสามารถซ่อนคนในผืนผ้าใต้แสงปกติได้ โดยทีมวิจัยได้ผลิตวัสดุชนิดใหม่ที่ใช้เทคนิคคลุมคลื่นแสงทั้งหมด ไม่ให้สะท้อนแสงออกจากวัตถุที่ถูกคลุม ทำให้ไม่มีคลื่นแสงเล็ดลอดไปถึงตาของผู้สังเกต  แอนเดรีย อะลู (Andrea Alu) นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเทกซัสในออสติน (University of Texas at Austin) แถลงว่า เมื่อแสงที่กระเจิงจากผ้าคลุมและวัตถุแทรกสอดกัน ก็จะหักล้างแสงซึ่งกันและกันออก กลายเป็นความโปร่งใสและมองไม่เห็นในมุมที่สังเกต  การทดลองในห้องปฏิบัติการนั้นอะลูและคณะประสบความสำเร็จในการซ่อนแท่งทรงกระบอกยาว 18 เซนติเมตร จากการมองผ่านแสงไมโครเวฟ และด้วยเทคนิคเดียวกันนี้พวกเขาระบุว่า ใช้ในการซ่อนวัตถุรูปทรงแปลกๆ และมีรูปร่างไม่สมมาตรได้เช่นกัน

5. ไฟฉายย่อส่วน:
MIT พบวิธีหดวัตถุจิ๋วระดับนาโน ศาสตราจารย์เอ็ดเวิร์ด บอยด์เดน (Edward Boyden) ระบุว่า เทคโนโลยีย่อส่วนนี้มีชื่อเรียกว่า “อิมโพลชัน แฟบริเคชัน” (implosion fabrication) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวัสดุใดก็ได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการพัฒนาสร้างหุ่นยนต์ขนาดเล็ก หลักการทำงานของเทคโนโลยีนี้เริ่มด้วยการยิงเลเซอร์แล้วสร้างโครงสร้างสิ่งของนั้นด้วยเจลดูดซับ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการเขียนด้วยปากกาในระบบขึ้นรูป 3 มิติ จากนั้น จึงแนบวัสดุ เช่น โลหะ ดีเอ็นเอ หรืออนุภาค “ควอนตัมดอท” สุดจิ๋วเข้ากับโครงสร้าง สุดท้าย สิ่งของเหล่านี้ก็จะหดโครงสร้างลงได้ในขนาดสุดมินิ  MIT เชื่อว่าจะตอบโจทย์นักวิทยาศาสตร์ที่กำลัหาวิธีพัฒนาหุ่นยนต์จิ๋วเพื่อค้นหาเซลล์มะเร็งในร่างกายมนุษย์

ขอบคุณข้อมูลจาก
1. https://www.voathai.com/a/physicist-found-the-way-to-travel-at-light-speed-03182021/5819874.html
2. https://www.bbc.com/thai/international-45146624
3. https://www.sanook.com/news/7698850/
4. https://mgronline.com/science/detail/9560000037347
5. https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000125283
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่