คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ทำไมตอนที่นางได้ครอบครองปรปักษ์ คุณไม่แบ่งที่ดินเป็นอีกโฉนดให้เรียบร้อยละคะ เอาแค่ 100 ตารางวาตามคำสั่งศาลให้น้าไป คุณจะมาให้น้าลงชื่อมีกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดทำไม
คำสั่งศาลตัดสินให้น้าได้ครอบครองปรปักษ์ ยังเก็บไว้อยู่ไหมคะ ก่อนศาลตัดสินยึดที่ดินทั้งหมด คุณได้เอาคำสั่งศาลให้น้าครอบครองปรปักษ์ตัวนี้ให้ศาลท่านดูหรือเปล่า เราเข้าใจว่าถ้าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วม กว่าจะมีคำสั่งศาลยึดที่ดินทั้งหมดได้น่าจะมีจดหมายเรียกผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดไปศาลแล้วหลายครั้ง มันจะไม่ใช่จู่ๆ มีจดหมายจากกรมบังคับคดีมาจะยึดทรัพย์เลย มันต้องผ่านขั้นตอนมากกว่านั้นหลายอย่าง คุณเคยได้รับหนังสืออะไรจากศาลไหม ไปศาลตามนัดหรือเปล่า ทำไมถึงปล่อยให้ล่วงเลยมาจนโดนยึดโฉนดได้
หรือจริงๆแล้วศาลไม่ได้ตัดสินให้น้าได้ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และก็ไม่ใช่ 100 ตารางวา น้าเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมได้ และมีสิทธิ์ในที่ดินมากกว่า 100 ตารางวา คุณเอาคำสั่งศาลที่ให้ครอบครองปรปักษ์ตัวนั้น มาอ่านอย่างละเอียดๆอีกทีสิคะว่าศาลตัดสินว่ายังไงกันแน่
คำสั่งศาลตัดสินให้น้าได้ครอบครองปรปักษ์ ยังเก็บไว้อยู่ไหมคะ ก่อนศาลตัดสินยึดที่ดินทั้งหมด คุณได้เอาคำสั่งศาลให้น้าครอบครองปรปักษ์ตัวนี้ให้ศาลท่านดูหรือเปล่า เราเข้าใจว่าถ้าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วม กว่าจะมีคำสั่งศาลยึดที่ดินทั้งหมดได้น่าจะมีจดหมายเรียกผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดไปศาลแล้วหลายครั้ง มันจะไม่ใช่จู่ๆ มีจดหมายจากกรมบังคับคดีมาจะยึดทรัพย์เลย มันต้องผ่านขั้นตอนมากกว่านั้นหลายอย่าง คุณเคยได้รับหนังสืออะไรจากศาลไหม ไปศาลตามนัดหรือเปล่า ทำไมถึงปล่อยให้ล่วงเลยมาจนโดนยึดโฉนดได้
หรือจริงๆแล้วศาลไม่ได้ตัดสินให้น้าได้ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และก็ไม่ใช่ 100 ตารางวา น้าเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมได้ และมีสิทธิ์ในที่ดินมากกว่า 100 ตารางวา คุณเอาคำสั่งศาลที่ให้ครอบครองปรปักษ์ตัวนั้น มาอ่านอย่างละเอียดๆอีกทีสิคะว่าศาลตัดสินว่ายังไงกันแน่
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 19
มีคำถามว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรกันแน่ คนตอบต้องรู้ให้ชัดเจนเสมอไม่งั้นตอบไม่ได้ถูกต้องหรอก
คนที่มาตอบ ๆ กันนี่ไม่ค่อยรู้เรื่องวิธีการจดทะเบียนที่กฎกระทรวงมหาดไทยที่มีการกำหนดไว้ใน
กฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 7 กันเลย เรื่องนี้เป็นอย่างที่เคยบอกมาหลายหนแล้วว่าเรื่องพวกนี้
เป็นการดำเนินการเฉพาะด้าน คนเรียนกฎหมายจะเรียนกฎหมายที่ดินแบบผิวเผินแทบทั้งนั้น
เรียกว่าตั้งคำถามจี้ลงไปก็มักตอบไม่ได้หรอก เพราะมันมีกฎกระทรวง ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดิน
แห่งชาติ ระเบียบกรมทีดิน เรื่องพวกนี้ต้องศึกษาต่างหากแบบเอาจริงเอาจังและต้องปฏิบัติโดยตรง
ถึงจะพอทราบได้ ที่บอกอย่างนี้ก็เพราะว่าคนทำงานเองก็ไม่รู้หมดหรอกนะ สิ่งพิสูจน์ก็คือ
พอมีการสอบเลื่อนซี เลื่อนตำแหน่งจะมีคนสอบตกเยอะมาก บางทีสอบได้ไม่ถึงครึ่งก็มี
ที่บอกได้เพราะมีประสบการณ์ทั้งเคยสอบ ออกข้อสอบ ตรวจข้อสอบและสัมภาษณ์คนเข้าสอบก็
มีพอควร เพราะฉะนั้นจึงได้แนะนำเสมอว่าหากมีปัญหาเรื่องที่ดิน ให้ไปปรึกษาสำนักงานที่ดินก่อนเลย
และต้องถามหลายคนหรือหลายที่ก็ได้ เพราะคนตอบก็ไม่ใช่ว่าจะรู้จริงทุกคน มีการปฏิบัติไม่เหมือนกัน
ให้บ่อยไป
สำหรับเรื่องนี้มีอะไรที่ไม่ชัดเจนในการปฏฺบัติก็เลยบอกไม่ได้ว่ามันทำผิดกันอย่างไร
เอากฎกระทรวงเรื่องการจดทะเบียนการได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
เสียก่อน นั่นคือกฎกระทรวงฉงบับที่ 7 ไปคลิกดาวน์โหลดได้ตามนี้
https://www.dol.go.th/Pages/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87.aspx
ให้อ่านข้อ 8 มันเป็นหัวใจเลย โดยเฉพาะ (3)
(๓) [b]ถ้าโฉนดที่ดินมีชื่อบุคคลคนเดียวหรือหลายคนแต่ผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด ให้สอบสวนว่าต่างฝ่ายต่างจะยอมให้ผู้ได้มามีชื่อร่วมในโฉนดที่ดินหรือไม่ ถ้าตกลงกัน ก็ให้จดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครอง โดยเติมชื่อผู้ได้มาลงไปในโฉนด ถ้าไม่ตกลงกันก็ให้แบ่งแยกส่วนของผู้ได้มาออก โดยให้ผู้ได้มาและผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินยังมีกรรมสิทธิ์อยู่ไปดูและระวังเขตที่ดินในกรรมสิทธิ์ของตน แล้วจดทะเบียนในประเภทแบ่งได้มาโดยการครอบครอง
เรื่องนี้หากได้ทำตามกฎกระทรวงฉบับนี้มันก็คงไม่ยุ่งยากอะไร ที่จริงเจ้าหน้าที่จะให้ทำตามนี้แหละแต่เราไปทำกันอีท่าไหนมากว่า
ถ้าหากให้แบ่งออกไปก็ทำได้อยู่แล้วและควรเป็นอย่างนั้น แต่หากให้เอาชื่อรวมเข้าโฉนดเดียวกันมันก็ได้เหมือนกัน แต่มันเป็น
เรื่องที่ไม่ควรทำเลย ควรทำกฎกระทรวงช้อ 8(3) จะดีสุด เมื่อไม่ทำมันก็ยุ่งไงเล่า ส่วนเรื่องการขายทอดตลาดอะไรนั่นไม่รู้เกิดอะไร
มีการฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมใช่ไหมแต่ตกลงกันไม่ได้ศาลเลยให้ขายเอาเงินมาแบ่งกันหรือเปล่า หรือมีคนอื่นเขาฟ้องให้คนนั้น
ใช้หนี้ ที่มาตอบนี่ไม่ได้ไปอ่านที่ตอบ ๆ กันและไม่ได้ดูว่าคนถามตอบอะไรมาด้วย ขี้เกียจอ่านนั่นเอง แค่จะมาบอกว่าการจดทะเบียน
พวกนี้ให้ทำตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 นี้เอง อะไรทำตามนี้หรือไม่ทำตามนี้ก็ไม่ได้สนใจจะตอบให้นะ สำหรับในตอนนี้
แต่หากสนใจจะมาตอบก็อาจมาตอบเพิ่มได้ เพราะนี่แค่อ่านห้วข้อคำถามแล้วก็มาตอบเลย ขอให้เข้าใจตามนี้ด้วย
ปล. อาจมีปัญหาการดาวน์โหลด เลยอาข้อความมาให้อ่านทั้งหมดเลยดีกว่า
ข้อ ๘. การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ซึ่งได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒ ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ผู้ได้มาต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยคำพิพากษา หรือคำสั่งศาลอันถึงที่สุด แสดงว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวนั้น
(๒) ถ้าผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมาเต็มตามโฉนดที่ดิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครอง
(๓) ถ้าโฉนดที่ดินมีชื่อบุคคลคนเดียวหรือหลายคนแต่ผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด ให้สอบสวนว่าต่างฝ่ายต่างจะยอมให้ผู้ได้มามีชื่อร่วมในโฉนดที่ดินหรือไม่ ถ้าตกลงกัน ก็ให้จดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครอง โดยเติมชื่อผู้ได้มาลงไปในโฉนด ถ้าไม่ตกลงกันก็ให้แบ่งแยกส่วนของผู้ได้มาออก โดยให้ผู้ได้มาและผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินยังมีกรรมสิทธิ์อยู่ไปดูและระวังเขตที่ดินในกรรมสิทธิ์ของตน แล้วจดทะเบียนในประเภทแบ่งได้มาโดยการครอบครอง
ถ้าผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนไม่เต็มตามโฉนดที่ดิน ให้จดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครองเฉพาะส่วน
(๔) ในกรณีตาม (๑) (๒) และ (๓) ถ้าไม่ได้โฉนดที่ดินมาให้ถือว่า โฉนดที่ดินสูญหายให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดิน แล้วดำเนินการจดทะเบียนต่อไปตามควรแก่กรณี ในกรณีเช่นว่านี้ โฉนดที่ดินเดิมเป็นอันใช้ไม่ได้ต่อไป
(๕) ถ้าผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์มาไม่ตรงตามโฉนดที่ดินให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้ใหม่
เมื่อออกโฉนดที่ดินให้ใหม่แล้ว ถ้าได้โฉนดที่ดินเดิมมา ให้หมายเหตุด้วยหมึกแดง ลงไว้ในด้านหน้าของโฉนดเดิมแสดงว่าโฉนดที่ดินฉบับนั้นได้มีการออกโฉนดใหม่แล้ว สำหรับกรณีไม่ได้โฉนดที่ดินเดิมมา ให้ระบุไว้ในประกาศแจกโฉนดที่ดิน แสดงว่าไม่ได้โฉนดที่ดินมาด้วย
(๖) ถ้าโฉนดที่ดินนั้นมีการจดทะเบียนผูกพัน เช่น จำนอง เช่า ภารจำยอม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ศาลทราบ เมื่อศาลแจ้งมาอย่างไร ให้ปฏิบัติตามควรแก่กรณี
ข้อ ๙. การจดทะเบียนสิทธิในที่ดินโดยประการอื่นนอกจากนิติกรรม ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ผู้ได้มาต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยเอกสารแสดงสิทธิการได้มาและโฉนดที่ดิน
(๒) ถ้าเป็นกรณีได้มาโดยศาลสั่ง ให้จดทะเบียนในประเภทโอนตามคำสั่งศาล โดยระบุคำสั่งศาลไว้ด้วย
(๓) ถ้าเป็นกรณีได้มาโดยประการอื่น ให้ปฏิบัติตามความใน (๒) โดยอนุโลม
(๔) ถ้าโฉนดที่ดินมีชื่อไม่ตรงกับกรณีศาลสั่งมาหรือมีการจดทะเบียนผูกพันอยู่เช่นจำนอง เช่า ภารจำยอม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ศาลทราบ เมื่อศาลแจ้งมาอย่างไร ให้ปฏิบัติตามควรแก่กรณี
คนที่มาตอบ ๆ กันนี่ไม่ค่อยรู้เรื่องวิธีการจดทะเบียนที่กฎกระทรวงมหาดไทยที่มีการกำหนดไว้ใน
กฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 7 กันเลย เรื่องนี้เป็นอย่างที่เคยบอกมาหลายหนแล้วว่าเรื่องพวกนี้
เป็นการดำเนินการเฉพาะด้าน คนเรียนกฎหมายจะเรียนกฎหมายที่ดินแบบผิวเผินแทบทั้งนั้น
เรียกว่าตั้งคำถามจี้ลงไปก็มักตอบไม่ได้หรอก เพราะมันมีกฎกระทรวง ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดิน
แห่งชาติ ระเบียบกรมทีดิน เรื่องพวกนี้ต้องศึกษาต่างหากแบบเอาจริงเอาจังและต้องปฏิบัติโดยตรง
ถึงจะพอทราบได้ ที่บอกอย่างนี้ก็เพราะว่าคนทำงานเองก็ไม่รู้หมดหรอกนะ สิ่งพิสูจน์ก็คือ
พอมีการสอบเลื่อนซี เลื่อนตำแหน่งจะมีคนสอบตกเยอะมาก บางทีสอบได้ไม่ถึงครึ่งก็มี
ที่บอกได้เพราะมีประสบการณ์ทั้งเคยสอบ ออกข้อสอบ ตรวจข้อสอบและสัมภาษณ์คนเข้าสอบก็
มีพอควร เพราะฉะนั้นจึงได้แนะนำเสมอว่าหากมีปัญหาเรื่องที่ดิน ให้ไปปรึกษาสำนักงานที่ดินก่อนเลย
และต้องถามหลายคนหรือหลายที่ก็ได้ เพราะคนตอบก็ไม่ใช่ว่าจะรู้จริงทุกคน มีการปฏิบัติไม่เหมือนกัน
ให้บ่อยไป
สำหรับเรื่องนี้มีอะไรที่ไม่ชัดเจนในการปฏฺบัติก็เลยบอกไม่ได้ว่ามันทำผิดกันอย่างไร
เอากฎกระทรวงเรื่องการจดทะเบียนการได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
เสียก่อน นั่นคือกฎกระทรวงฉงบับที่ 7 ไปคลิกดาวน์โหลดได้ตามนี้
https://www.dol.go.th/Pages/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87.aspx
ให้อ่านข้อ 8 มันเป็นหัวใจเลย โดยเฉพาะ (3)
(๓) [b]ถ้าโฉนดที่ดินมีชื่อบุคคลคนเดียวหรือหลายคนแต่ผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด ให้สอบสวนว่าต่างฝ่ายต่างจะยอมให้ผู้ได้มามีชื่อร่วมในโฉนดที่ดินหรือไม่ ถ้าตกลงกัน ก็ให้จดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครอง โดยเติมชื่อผู้ได้มาลงไปในโฉนด ถ้าไม่ตกลงกันก็ให้แบ่งแยกส่วนของผู้ได้มาออก โดยให้ผู้ได้มาและผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินยังมีกรรมสิทธิ์อยู่ไปดูและระวังเขตที่ดินในกรรมสิทธิ์ของตน แล้วจดทะเบียนในประเภทแบ่งได้มาโดยการครอบครอง
เรื่องนี้หากได้ทำตามกฎกระทรวงฉบับนี้มันก็คงไม่ยุ่งยากอะไร ที่จริงเจ้าหน้าที่จะให้ทำตามนี้แหละแต่เราไปทำกันอีท่าไหนมากว่า
ถ้าหากให้แบ่งออกไปก็ทำได้อยู่แล้วและควรเป็นอย่างนั้น แต่หากให้เอาชื่อรวมเข้าโฉนดเดียวกันมันก็ได้เหมือนกัน แต่มันเป็น
เรื่องที่ไม่ควรทำเลย ควรทำกฎกระทรวงช้อ 8(3) จะดีสุด เมื่อไม่ทำมันก็ยุ่งไงเล่า ส่วนเรื่องการขายทอดตลาดอะไรนั่นไม่รู้เกิดอะไร
มีการฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมใช่ไหมแต่ตกลงกันไม่ได้ศาลเลยให้ขายเอาเงินมาแบ่งกันหรือเปล่า หรือมีคนอื่นเขาฟ้องให้คนนั้น
ใช้หนี้ ที่มาตอบนี่ไม่ได้ไปอ่านที่ตอบ ๆ กันและไม่ได้ดูว่าคนถามตอบอะไรมาด้วย ขี้เกียจอ่านนั่นเอง แค่จะมาบอกว่าการจดทะเบียน
พวกนี้ให้ทำตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 นี้เอง อะไรทำตามนี้หรือไม่ทำตามนี้ก็ไม่ได้สนใจจะตอบให้นะ สำหรับในตอนนี้
แต่หากสนใจจะมาตอบก็อาจมาตอบเพิ่มได้ เพราะนี่แค่อ่านห้วข้อคำถามแล้วก็มาตอบเลย ขอให้เข้าใจตามนี้ด้วย
ปล. อาจมีปัญหาการดาวน์โหลด เลยอาข้อความมาให้อ่านทั้งหมดเลยดีกว่า
ข้อ ๘. การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ซึ่งได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒ ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ผู้ได้มาต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยคำพิพากษา หรือคำสั่งศาลอันถึงที่สุด แสดงว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวนั้น
(๒) ถ้าผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมาเต็มตามโฉนดที่ดิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครอง
(๓) ถ้าโฉนดที่ดินมีชื่อบุคคลคนเดียวหรือหลายคนแต่ผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด ให้สอบสวนว่าต่างฝ่ายต่างจะยอมให้ผู้ได้มามีชื่อร่วมในโฉนดที่ดินหรือไม่ ถ้าตกลงกัน ก็ให้จดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครอง โดยเติมชื่อผู้ได้มาลงไปในโฉนด ถ้าไม่ตกลงกันก็ให้แบ่งแยกส่วนของผู้ได้มาออก โดยให้ผู้ได้มาและผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินยังมีกรรมสิทธิ์อยู่ไปดูและระวังเขตที่ดินในกรรมสิทธิ์ของตน แล้วจดทะเบียนในประเภทแบ่งได้มาโดยการครอบครอง
ถ้าผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนไม่เต็มตามโฉนดที่ดิน ให้จดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครองเฉพาะส่วน
(๔) ในกรณีตาม (๑) (๒) และ (๓) ถ้าไม่ได้โฉนดที่ดินมาให้ถือว่า โฉนดที่ดินสูญหายให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดิน แล้วดำเนินการจดทะเบียนต่อไปตามควรแก่กรณี ในกรณีเช่นว่านี้ โฉนดที่ดินเดิมเป็นอันใช้ไม่ได้ต่อไป
(๕) ถ้าผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์มาไม่ตรงตามโฉนดที่ดินให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้ใหม่
เมื่อออกโฉนดที่ดินให้ใหม่แล้ว ถ้าได้โฉนดที่ดินเดิมมา ให้หมายเหตุด้วยหมึกแดง ลงไว้ในด้านหน้าของโฉนดเดิมแสดงว่าโฉนดที่ดินฉบับนั้นได้มีการออกโฉนดใหม่แล้ว สำหรับกรณีไม่ได้โฉนดที่ดินเดิมมา ให้ระบุไว้ในประกาศแจกโฉนดที่ดิน แสดงว่าไม่ได้โฉนดที่ดินมาด้วย
(๖) ถ้าโฉนดที่ดินนั้นมีการจดทะเบียนผูกพัน เช่น จำนอง เช่า ภารจำยอม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ศาลทราบ เมื่อศาลแจ้งมาอย่างไร ให้ปฏิบัติตามควรแก่กรณี
ข้อ ๙. การจดทะเบียนสิทธิในที่ดินโดยประการอื่นนอกจากนิติกรรม ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ผู้ได้มาต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยเอกสารแสดงสิทธิการได้มาและโฉนดที่ดิน
(๒) ถ้าเป็นกรณีได้มาโดยศาลสั่ง ให้จดทะเบียนในประเภทโอนตามคำสั่งศาล โดยระบุคำสั่งศาลไว้ด้วย
(๓) ถ้าเป็นกรณีได้มาโดยประการอื่น ให้ปฏิบัติตามความใน (๒) โดยอนุโลม
(๔) ถ้าโฉนดที่ดินมีชื่อไม่ตรงกับกรณีศาลสั่งมาหรือมีการจดทะเบียนผูกพันอยู่เช่นจำนอง เช่า ภารจำยอม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ศาลทราบ เมื่อศาลแจ้งมาอย่างไร ให้ปฏิบัติตามควรแก่กรณี
แสดงความคิดเห็น
ฟ้องปรปักษ์ที่ดิน 100 ตรว. ศาลสั่งยึดขายทอดตลาดทั้งแปลง 10 ไร่ มันใช่หรือ?....
เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ จุดประสงค์เพื่อต้องการร้องเรียนและขอความเป็นธรรมจากผู้มีอำนาจ ให้ช่วยเข้ามาดูแลแก้ไขปัญหากรณี คดีความครอบครองปรปักษ์ที่ดิน 100 ตารางวาง แต่กรมบังคับดดีกลับยึดที่ดินทั้งผืนขนาด 10 ไร่ ไปขายทอดตลาด (ทั้งๆที่ที่ดินผื่นนี้ไม่ได้มีภาระหนี้สินใดๆ) ซึ่งในฐานะประชาชนคนธรรมดาเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และไม่ชอบมาพากลอย่างยิ่ง
ย้อนไปเเมื่อ 20 กว่าปีก่อน น้องสาวคนเล็กของแม่ที่แต่งงานแยกครอบครัวออกไปนานแล้ว เลิกลากับสามี และขอเข้ามาปลูกบ้านอยู่บนที่ดินในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของแม่ ด้วยความสงสารแม่จึงยินยอมให้มาอยู่ด้วย (ซึ่งตัวน้าเองก็มีที่ดินที่ตากับยายให้ไว้เป็นจำนวน 5 ไร่ ) ช่วงแรกๆก็ดีอยู่แต่นานวันเข้า แม่กับน้าเริ่มมีปัญหากระทบกระทั้งกัน และน้าชอบด่าทอแม่ด้วยคำหยาบคาย อีกทั้งพวกลูกๆของน้าก็ไม่เคยให้ความเคารพแม่เลยแถมยังช่วยน้ารุมด่าแม่อีกด้วย บางครั้งหนักถึงขั้นขู่จะทำร้ายร่างกาย แม่อยู่กับหลานที่ไม่สมประกอบกันเพียงลำพัง 2 คน เวลามีปัญหาหลานก็ช่วยเหลือไม่ได้ เแม่ทนอยู่ในสภาพนั้นมานานหลายปี จนสุดทนจึงได้ฟ้องร้องขับไล่ที่น้า และสู้คดีกันจนที่สุดฝ่ายน้าชนะได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินบริเวณที่น้าปลูกบ้านอยู่ขนาด 100 ตารางวา
อยู่มาวันหนึ่งแม่ได้รับจดหมายจากกรมบังคับคดี แจ้งยึดที่ดินทั้งแปลง 10 ไร่ เพื่อนำไปขายทอดตลาด (ตามความประสงค์ของน้า) เราพยายามเจรากับน้าและกรมบังคบคดีเพื่อให้ยุติการทำเรื่องขายทอดตลาด เพราะเห็นว่าบ้านป้ากับน้าชายซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินผื่นนี้จะได้รับความเดือดร้อนไปด้วย แต่ก็ไม่เป็นผล ทางกรมบังคดียังคงทำเรื่องขายทอดตลาดต่อ จนมีผลบังคับเริ่มซื้อ-ขายนัดแรกในวันที่ 14 กรกฏาคม 64 นี้ และแน่นอนว่าบ้านเราคงไม่มีเงินมากพอที่จะไปวางศาลเพื่อเข้าร่วมสู้ราคากับพวกนายทุนทั้งหลาย
แม่ ป้า และน้าชายทุกข์ใจเป็นอย่างมาก ถึงกลับล้มป่วย คิดว่าหากย้อนเวลาได้ แม่คงไม่ใจดียอมให้น้าเข้ามาอาศัยปลูกบ้านในที่อย่างแน่นอน แต่เมื่อมันแก้ไขอดีตไม่ได้ ความหวังเดียวของแม่คือ ขอให้ผู้มีอำนาจเข้ามาแก้ไขปัญหา และขอร้องสื่อมวลชนช่วยเป็นกระบอกเสียงร้องทุกข์ไปยังผู้มีอำนาจด้วย และหวังว่าสิ่งที่เราเขียนมานี้จะมีคนช่วยแชร์ เพื่อให้เรื่องไปถึงผู้มีอำนาจได้ทันวันขายทอดตลาด เพราะสิ่งเดียวที่แม่และเราต้องการคือยังต้องการทำมาหากินบนผืนดินที่เป็นสมบัติตกทอดมาจากบรรพบุรุษต่อไป ถึงที่ดินจะมีมูลค่าหลายล้านแต่แม่ป้าและน้าชายไม่ได้ต้องการเงินจำนวนนั้นแต่อย่างใด ขอเพียงได้อยู่อาศัยบนแผ่นดินเกิดตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต และส่งต่อให้กับลูก – หลาน ได้ใช้อยู่อาศัยทำมาหากินบนผืนดินเกิดเท่านั้น
สิ่งที่เราสงสัยและคิดว่าไม่เป็นธรรมกับเราเลย คือ
- ทำไม?.. ศาล ถึงมีคำสั่งให้กรมบังคับคดียึดที่ดินทั้งแปลง 10 ไร่ ไปขายทอดตลาด ทำไมไม่บังคับแค่ที่ปรปักษ์ 100 ตารางวาเท่านั้น
- ที่ดินปืนนี้ นอกจากจะเป็นที่อยู่อาศัยของแม่ ป้า และน้าชายแล้ว ยังเป็นสวนมะพร้าว ใช้ทำมาหากินเลี้ยงชีวิตของทุกคนในครอบครัว การถูกยึดไปขายทอดตลาดยกแปลงแบบนี้มันถูกต้องหรือไม่
- ทำไม?... กฎหมายถึงยุ่งยากซับซ้อน เมื่อรู้ว่าจะทำให้หลายคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีเดือดร้อน ทำไม่ไม่ยอมอนุญาติให้เราเอาโฉนดมาแบ่งแยกส่วนของป้ากับน้าชายออกไป เพื่อกันไม่ให้ได้รับผลกระทบด้วย กลับเป็นว่ายึดไว้แล้วสั่งห้ามทำอะไรกับโฉนดทั้งสิ้น
รบกวนผู้รู้ ช่วยตอบด้วยค่ะ