เราขอมาตอบในฐานะของคนที่ได้ชื่อว่าเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง คนที่ชอบเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางมันก็คืออาการป่วยอย่างหนึ่ง คนที่เป็นมักจะไม่รู้ว่าตัวเองเป็น แต่คนอื่นรู้ จิตแพทย์รู้ เพราะมันแสดงออกผ่านคำพูดและพฤติกรรม
เวลาคนเป็นโรคนี้ถูกคนอื่นพูดว่าเป็นพวกชอบเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง เราเชื่อว่าส่วนใหญ่คือโกรธหรือน้อยใจ คนเหล่านี้เขาถือความคิดตัวเองเป็นใหญ่ การถูกขัดใจ มีคนไม่เห็นด้วย หรือถูกต่อต้าน ก็มักจะมีปฏิกิริยาตอบกลับคนเหล่านั้นเพื่อต้องการให้ตัวเองเป็นผู้ชนะ วัตถุประสงค์ก็แค่นี้แหละ คือต้องการเอาชนะ ต้องการอยู่เหนือทุกคน มีแนวความคิดที่เป็นเผด็จการก็คงไม่ผิด
อีกสิ่งที่คนเหล่านี้ไม่ชอบมากที่สุดคือการถูกเปรียบเทียบ โดยเฉพาะการเปรียบเทียบกับแฟนเก่า อย่างที่บอกว่าคนเหล่านี้มักจะคิดว่าความคิดตัวเองเป็นใหญ่ เวลาได้ยินการเปรียบเทียบว่าคนก่อนดีอย่างไร เขาไม่เคยทำอะไรแบบนี้ ก็ต้องมีปฏิกิริยาตอบโต้ ถ้าเป็นคนอารมณ์ร้ายก็อาจจะโวยวาย ทะเลาะ หรือถึงขั้นทำร้ายร่างกาย บางคนที่อารมณ์เปราะบาง ก็มักจะน้อยใจ ร้องไห้ฟูมฟาย ตัดพ้อชีวิตนั่นนี่ หรือเรียกว่า เรียกร้องความสนใจ อีกเรื่องที่ก็เป็นปัญหาคือการเปรียบเทียบในอาชีพการงานที่ทำอยู่ มันก็เป็นธรรมดาที่เรากับแฟนต่างคนต่างก็ทำงาน บางคนต้องเข้าเวร ต้องไปต่างจังหวัดต่างประเทศเป็นเดือน ๆ หรือเลิกงานดึกแล้วต้องรีบตื่นแต่เช้า ในเมื่องานที่เราทำไม่เหมือนกัน เวลาว่างก็อาจไม่ตรงกัน ว่างของเราอาจจะไม่ว่างสำหรับเขา พอเขาไม่รับโทรศัพท์ ไม่ตอบแชทตอบไลน์ก็จะคิดไปต่าง ๆ นานา จนกระทั่งมาพูดว่า ทักมาอะไรนักหนา นี่ต้องเข้าเวร เวลาจะนอนก็ไม่มีแล้ว ก็จะเกิดปฏิกิริยาอีก
หลายคนที่มาตอบว่าคนที่ชอบเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง มีพฤติกรรมหึงหวง หรือคบกับแฟนไม่ได้เพราะรัก แค่ต้องการทดแทนสิ่งที่ขาดหาย เราขอตอบในฐานะที่รู้ว่าตัวเองเป็นและกำลังรักษาอยู่ คนที่มีพฤติกรรมเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง เขาไม่ใช่คนที่รู้สึกขาดหาย ในทางกลับกันเขามีความมั่นใจในตัวเองสูงมากกว่าคนทั่วไปด้วยซ้ำ ถ้าเป็นงานประเภทใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือนำเสนอผลงาน งานที่ใช้จินตนาการหรือความคิดที่ไร้ขีดจำกัด คนเหล่านี้ทำได้สบาย ๆ แต่อย่าให้เป็นหัวหน้าหรือเป็นที่ปรึกษาเสนอความคิดเห็นเด็ดขาด เพราะบอกแล้วว่าคนเหล่านี้ค้านไม่ได้
ส่วนเรื่องความหึงหวง ก็ไม่ปฏิเสธว่าพฤติกรรมที่แสดงมันคือความหึงหวง แต่ภายนอกที่หลายคนมองว่าเป็นความหึงหวง จริง ๆ แล้วมันคือการใส่ใจแต่แสดงออกไม่ถูกวิธีต่างหาก ด้วยการโทรจิก แชทรัว ๆ ถามเซ้าซี้ หรือเป็นแบบอยากทำดีกับแฟนแต่เล่นใหญ่เกินอะไรประมาณนี้ ถ้าเขาเลิกพฤติกรรมดังกล่าวได้คุณจะสบายใจและสบายตัวขึ้น แต่เราอยากจะบอกว่าคนเหล่านี้ที่เขาไม่ทำแบบนั้นหมายความว่าเขาหมดความสนใจในตัวคุณแล้ว หลังจากนี้จะทำอะไรก็ทำ หรือถ้าอยากเลิกราก็ทำได้ เพราะฉะนั้นคนเหล่านี้ที่เขาทำไป ถ้าไม่รักเขาคงไม่ทำ แต่ในเมื่อรู้ว่าทำแล้วจะได้ผลลัพธ์อย่างไร ทำไมยังจะทำ 1. รักมากเกินไป 2. คิดว่าเป็นคำตอบสุดท้าย ไม่มีทางเลือก ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว 3. ต้องการความรักความเข้าใจแบบที่คุณเคยมีให้เขามาก่อน อย่างเหตุผลในข้อ 3 คุณคงเคยได้ยินว่าช่วงโปรโมชั่น ตอนจีบกันแรก ๆ ก็ทักหาตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลางานก็ยอมโดนเจ้านายตำหนิ แสดงความรักอย่างหวานชื่น แต่พอหมดโปรโมชั่นทุกอย่างก็เป็นความขมขื่น เขาแค่ต้องการความเสมอต้นเสมอปลายเท่านั้น นี่แหละคือภายในอารมณ์หึงหวงที่ผมคิดว่าคนทั่วไปควรจะเข้าใจ
การรับมือกับคนที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือฟัง อย่าตอบโต้ ยิ่งตอบโต้ก็เหมือนเอาน้ำมันราดไฟ ถ้าเราไม่ตอบโต้ทำได้อย่างมากก็คือพูด เมื่อเราฟังเขาพูด ถ้าเขาถามให้ตอบ อย่านิ่งเงียบ มีเหตุผลอะไรก็อธิบายไป ไม่รู้ก็ตอบไม่รู้ คนเหล่านี้จะเป็นประเภทสงสัยกับทุกสิ่งทุกอย่างหรืออะไรที่ไม่เป็นดังใจก็จะมีแต่ทำไม แล้วก็ทำไม พยายามตอบด้วยความเป็นจริง ไม่พูดอ้อมค้อม เพราะคนเหล่านี้เขาชอบถามตรง ๆ แต่ตรงกับแรงมันก็แค่เส้นบาง ๆ ที่กั้นอยู่ ไม่พูดประชด เปรียบเทียบ และกวน พวกคำพูดเหน็บแนมแรง ๆ เพราะคนเหล่านี้ก็จะไปสรรหาคำพูดแบบเดียวกันมาพูดใส่คุณเช่นกัน แทนที่จะคุยกันกลายเป็นทำสงครามน้ำลายใส่กัน
สุดท้ายที่บอกไปตอนต้นว่าเป็นอาการป่วยอย่างหนึ่ง เราก็อยากให้ทุกคนได้เข้าใจคนกลุ่ม ๆ นี้ และถ้าเป็นไปด้วย ควรให้เข้าได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ อาการแบบนี้คือส่วนหนึ่งของโรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์ ฉะนั้นการให้เขาได้รักษาจะเป็นผลดี ทำให้เขามีชีวิตที่ดีและอยู่ร่วมกับผู้คนในสังคมได้อย่างสงบสุขต่อไป...
คนเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง กับอีกด้านที่อยากให้ทุกคนเข้าใจ
เวลาคนเป็นโรคนี้ถูกคนอื่นพูดว่าเป็นพวกชอบเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง เราเชื่อว่าส่วนใหญ่คือโกรธหรือน้อยใจ คนเหล่านี้เขาถือความคิดตัวเองเป็นใหญ่ การถูกขัดใจ มีคนไม่เห็นด้วย หรือถูกต่อต้าน ก็มักจะมีปฏิกิริยาตอบกลับคนเหล่านั้นเพื่อต้องการให้ตัวเองเป็นผู้ชนะ วัตถุประสงค์ก็แค่นี้แหละ คือต้องการเอาชนะ ต้องการอยู่เหนือทุกคน มีแนวความคิดที่เป็นเผด็จการก็คงไม่ผิด
อีกสิ่งที่คนเหล่านี้ไม่ชอบมากที่สุดคือการถูกเปรียบเทียบ โดยเฉพาะการเปรียบเทียบกับแฟนเก่า อย่างที่บอกว่าคนเหล่านี้มักจะคิดว่าความคิดตัวเองเป็นใหญ่ เวลาได้ยินการเปรียบเทียบว่าคนก่อนดีอย่างไร เขาไม่เคยทำอะไรแบบนี้ ก็ต้องมีปฏิกิริยาตอบโต้ ถ้าเป็นคนอารมณ์ร้ายก็อาจจะโวยวาย ทะเลาะ หรือถึงขั้นทำร้ายร่างกาย บางคนที่อารมณ์เปราะบาง ก็มักจะน้อยใจ ร้องไห้ฟูมฟาย ตัดพ้อชีวิตนั่นนี่ หรือเรียกว่า เรียกร้องความสนใจ อีกเรื่องที่ก็เป็นปัญหาคือการเปรียบเทียบในอาชีพการงานที่ทำอยู่ มันก็เป็นธรรมดาที่เรากับแฟนต่างคนต่างก็ทำงาน บางคนต้องเข้าเวร ต้องไปต่างจังหวัดต่างประเทศเป็นเดือน ๆ หรือเลิกงานดึกแล้วต้องรีบตื่นแต่เช้า ในเมื่องานที่เราทำไม่เหมือนกัน เวลาว่างก็อาจไม่ตรงกัน ว่างของเราอาจจะไม่ว่างสำหรับเขา พอเขาไม่รับโทรศัพท์ ไม่ตอบแชทตอบไลน์ก็จะคิดไปต่าง ๆ นานา จนกระทั่งมาพูดว่า ทักมาอะไรนักหนา นี่ต้องเข้าเวร เวลาจะนอนก็ไม่มีแล้ว ก็จะเกิดปฏิกิริยาอีก
หลายคนที่มาตอบว่าคนที่ชอบเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง มีพฤติกรรมหึงหวง หรือคบกับแฟนไม่ได้เพราะรัก แค่ต้องการทดแทนสิ่งที่ขาดหาย เราขอตอบในฐานะที่รู้ว่าตัวเองเป็นและกำลังรักษาอยู่ คนที่มีพฤติกรรมเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง เขาไม่ใช่คนที่รู้สึกขาดหาย ในทางกลับกันเขามีความมั่นใจในตัวเองสูงมากกว่าคนทั่วไปด้วยซ้ำ ถ้าเป็นงานประเภทใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือนำเสนอผลงาน งานที่ใช้จินตนาการหรือความคิดที่ไร้ขีดจำกัด คนเหล่านี้ทำได้สบาย ๆ แต่อย่าให้เป็นหัวหน้าหรือเป็นที่ปรึกษาเสนอความคิดเห็นเด็ดขาด เพราะบอกแล้วว่าคนเหล่านี้ค้านไม่ได้
ส่วนเรื่องความหึงหวง ก็ไม่ปฏิเสธว่าพฤติกรรมที่แสดงมันคือความหึงหวง แต่ภายนอกที่หลายคนมองว่าเป็นความหึงหวง จริง ๆ แล้วมันคือการใส่ใจแต่แสดงออกไม่ถูกวิธีต่างหาก ด้วยการโทรจิก แชทรัว ๆ ถามเซ้าซี้ หรือเป็นแบบอยากทำดีกับแฟนแต่เล่นใหญ่เกินอะไรประมาณนี้ ถ้าเขาเลิกพฤติกรรมดังกล่าวได้คุณจะสบายใจและสบายตัวขึ้น แต่เราอยากจะบอกว่าคนเหล่านี้ที่เขาไม่ทำแบบนั้นหมายความว่าเขาหมดความสนใจในตัวคุณแล้ว หลังจากนี้จะทำอะไรก็ทำ หรือถ้าอยากเลิกราก็ทำได้ เพราะฉะนั้นคนเหล่านี้ที่เขาทำไป ถ้าไม่รักเขาคงไม่ทำ แต่ในเมื่อรู้ว่าทำแล้วจะได้ผลลัพธ์อย่างไร ทำไมยังจะทำ 1. รักมากเกินไป 2. คิดว่าเป็นคำตอบสุดท้าย ไม่มีทางเลือก ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว 3. ต้องการความรักความเข้าใจแบบที่คุณเคยมีให้เขามาก่อน อย่างเหตุผลในข้อ 3 คุณคงเคยได้ยินว่าช่วงโปรโมชั่น ตอนจีบกันแรก ๆ ก็ทักหาตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลางานก็ยอมโดนเจ้านายตำหนิ แสดงความรักอย่างหวานชื่น แต่พอหมดโปรโมชั่นทุกอย่างก็เป็นความขมขื่น เขาแค่ต้องการความเสมอต้นเสมอปลายเท่านั้น นี่แหละคือภายในอารมณ์หึงหวงที่ผมคิดว่าคนทั่วไปควรจะเข้าใจ
การรับมือกับคนที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือฟัง อย่าตอบโต้ ยิ่งตอบโต้ก็เหมือนเอาน้ำมันราดไฟ ถ้าเราไม่ตอบโต้ทำได้อย่างมากก็คือพูด เมื่อเราฟังเขาพูด ถ้าเขาถามให้ตอบ อย่านิ่งเงียบ มีเหตุผลอะไรก็อธิบายไป ไม่รู้ก็ตอบไม่รู้ คนเหล่านี้จะเป็นประเภทสงสัยกับทุกสิ่งทุกอย่างหรืออะไรที่ไม่เป็นดังใจก็จะมีแต่ทำไม แล้วก็ทำไม พยายามตอบด้วยความเป็นจริง ไม่พูดอ้อมค้อม เพราะคนเหล่านี้เขาชอบถามตรง ๆ แต่ตรงกับแรงมันก็แค่เส้นบาง ๆ ที่กั้นอยู่ ไม่พูดประชด เปรียบเทียบ และกวน พวกคำพูดเหน็บแนมแรง ๆ เพราะคนเหล่านี้ก็จะไปสรรหาคำพูดแบบเดียวกันมาพูดใส่คุณเช่นกัน แทนที่จะคุยกันกลายเป็นทำสงครามน้ำลายใส่กัน
สุดท้ายที่บอกไปตอนต้นว่าเป็นอาการป่วยอย่างหนึ่ง เราก็อยากให้ทุกคนได้เข้าใจคนกลุ่ม ๆ นี้ และถ้าเป็นไปด้วย ควรให้เข้าได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ อาการแบบนี้คือส่วนหนึ่งของโรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์ ฉะนั้นการให้เขาได้รักษาจะเป็นผลดี ทำให้เขามีชีวิตที่ดีและอยู่ร่วมกับผู้คนในสังคมได้อย่างสงบสุขต่อไป...