❀❀ สรุปเกมปิดดีล!! ถ่ายทอดสดยูโร ❀❀



ขอกราบขอบพระคุณทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังในการปิดดีลครั้งนี้ครับ

เพิ่มเติมให้  "ตอนนี้ทางผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการกีฬาอาชีพแจ้งว่า สามารถดูได้ทุกกล่องแล้ว ไม่ติดปัญหาเรื่องของจอดำ"

          สิ่งที่หลายคนเข้าใจผิด คือคิดว่าราคาลิขสิทธิ์ของศึกยูโร ที่ยูฟ่าตั้งไว้ สูงถึงระดับ 1 พันล้านบาท แต่ข้อเท็จจริงคือ ยูฟ่าไม่เคยตั้งราคาสูงขนาดนั้นกับประเทศไทย
ในฟุตบอลโลก 2018 ที่รัสเซีย การตั้งราคาสูงถึง 1 พันล้านบาทจริง นั่นเพราะมันคือฟุตบอลโลก มีโปรแกรมการแข่งขัน 64 แมตช์ นอกจากนั้นยังเป็นรายการที่คนทุกทวีปรู้สึกมีส่วนร่วมหมด มันไม่ใช่แค่อีเวนต์ของคนในยุโรปอย่างเดียว
แต่ในยูโร 2020 มันต่างกันออกไป เพราะจำนวนแมตช์น้อยกว่า (51 นัด) ความรู้สึกอินของคนต่างทวีปก็น้อยกว่าฟุตบอลโลก และที่สำคัญที่สุด มันอยู่กึ่งกลางระหว่างวิกฤติโควิด เป็นไปไม่ได้ ที่จะตั้งราคาแพงขนาดพันล้านแบบนั้น โดยราคาที่ยูฟ่า ตั้งขายในประเทศไทย อยู่ที่ระดับ 10 ล้านยูโร (378 ล้านบาท)
ถามว่าแพงไหม คำตอบก็คือไม่แพงนัก ด้วยราคาระดับสามร้อยล้าน ภาครัฐสามารถจ่ายเงินซื้อได้เลย แล้วนำเอามาแจกจ่าย ให้เอกชนแต่ละช่องกระจายกันไปถ่าย ใช้ระบบทีวีพูลก็ว่ากันไป
แต่ประเด็นสำคัญคือ ทำไมรัฐต้องซื้อล่ะ? ในเมื่อศึกยูโร แม้จะเป็นรายการที่คนไทยชอบดู แต่มันไม่มีข้อบังคับใดๆ ว่ารัฐบาลต้องซื้อ
เพื่ออธิบายถึงความวุ่นวายเรื่องลิขสิทธิ์ทั้งหมด และดราม่ากว่าที่ NBT จะดีลได้สำเร็จในครั้งนี้ เราต้องย้อนกลับไปตั้งแต่แรก
ในอดีต สมัยที่ลิขสิทธิ์ยูโรยังไม่แพงมาก เพราะมีทีมแข่งน้อย แค่ 16 ทีม บรรดาทีวีช่องต่างๆ สามารถไปซื้อลิขสิทธิ์เอามาถ่ายทอดสดเองได้เลย ตัวอย่างเช่น ในยูโร 2000 ช่อง 3 ซื้อลิขสิทธิ์ฉายเต็มทัวร์นาเมนต์ จากนั้นยูโร 2004 ช่อง 3 จับมือกับช่อง 7 แบ่งกันถ่ายตลอดรายการ
จากนั้นพอเข้าสู่ปี 2008 เริ่มมีมิติใหม่เกิดขึ้น เมื่อคนที่ซื้อลิขสิทธิ์ได้ ไม่ใช่เจ้าของสถานีโทรทัศน์ แต่เป็นบริษัท อาร์เอส ของเฮียฮ้อ โดยอาร์เอสซื้อลิขสิทธิ์เอาไว้ จากนั้นก็แบ่งขายให้กับช่อง 7 และ ช่อง 9 ซึ่งก็ถือว่าเป็นไอเดียทำเงินที่น่าสนใจเช่นกัน (ถึงแม้สุดท้ายจะขาดทุนก็ตาม)
เข้าสู่ยูโร 2012 อีกหนึ่งบริษัทมีเดีย อย่าง GMM ตัดสินใจเข้ามาเล่นในตลาดด้วย พวกเขาซื้อลิขสิทธิ์ยูโร 2012 ได้สำเร็จ แต่ GMM ไม่ได้คิดแค่จะแบ่งซอยขายให้ ช่องต่างๆ แบบที่อาร์เอสทำเมื่อ 4 ปีก่อน แต่พวกเขาคิดแผนลึกกว่านั้น คือ
- ไปดีลกับช่อง 3 ช่อง 5 และ ช่อง 9 ไว้ ให้เป็นแชนแนลในการถ่ายทอดสด
- สามารถดูบอลได้ปกติ ถ้าคุณใช้เสาก้างปลา
- แต่ถ้าคุณรับชมผ่านกล่องเคเบิ้ลยี่ห้ออื่น หรือจานดาวเทียมใดๆ คุณจะไม่สามารถรับสัญญาณของฟุตบอลยูโรได้ จะกลายเป็นจอดำ ถ้าคุณอยากดูบอลโดยไม่ต้องใช้เสาก้างปลา ก็ต้องมาซื้อกล่อง GMMZ ของแกรมมี่
คือถามว่าในยุคสมัยใหม่ จะมีสักกี่ครัวเรือน ที่ใช้เสาก้างปลากันอยู่ เท่ากับว่าความรู้สึกของประชาชน เหมือนโดน GMM มัดมือชกให้ซื้อกล่อง GMMZ นั่นแหละ
ถามว่าผิดไหม ที่ GMM ทำแบบนี้ ตามหลักลิขสิทธิ์ก็ไม่ผิด เพราะยูฟ่า ก็ไม่ได้บังคับว่าคนซื้อลิขสิทธิ์จะต้องให้ดูฟรี คุณจะไปเก็บตังค์ใครต่อก็แล้วแต่คุณ จ่ายเงินเราให้ครบก็แล้วกัน
แต่สิ่งที่ GMM คาดไม่ถึงคือ คนไทยคุ้นเคยกับการดูยูโรฟรีมาตลอดชีวิต การต้องจ่ายเงินเพื่อดูอีเวนต์ฟุตบอลแบบนี้ เป็นเรื่องที่ใหม่เกินไป จนนำมาซึ่งการต่อต้านจากแฟนบอลชาวไทย และ GMM ก็โดนกดดันจากผู้ประกอบการเคเบิ้ลทั้งหลาย ให้ปล่อยสัญญาณ เพื่อให้ประชาชนได้ดูบอล แต่ GMM ก็ไม่ยอม
ยื้อกันไปยื้อกันมา GMM ก็โดนด่าฟรี ส่วนประชาชนหลายคน ก็พลาดดูยูโร เพราะจอดำ ยิ่งในยุคก่อน อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงยังไม่แพร่หลาย ไม่มีการดูบอลสดหน้าอินเตอร์เนต บางคนจึงไม่เข้าถึงเกมการแข่งในยูโรครั้งนั้นเลย
เข้าสู่ยูโรปี 2016 GMMB บริษัทลูกของ GMM ไปซื้อลิขสิทธิ์ยูโรมาครองไว้ได้ แต่ธุรกิจเพย์ทีวีของแกรมมี่ขาดทุนหนักมาก ทำให้ฝั่งแกรมมี่ทำการสวอปหุ้น โดยเอา GMMB ไปให้ CTH แลกกับหุ้นส่วนหนึ่งของ CTH
กลายเป็นว่า ลิขสิทธิ์ของยูโร 2016 จากเดิมเคยเป็นของแกรมมี่ ก็เปลี่ยนมาเป็นของ CTH แทน แต่หลังจบยูโร 2016 CTH ก็เจ๊ง ขาดทุนยับ และปิดกิจการไปในที่สุด
ไม่ว่าจะบังเอิญหรือไม่ แต่สิ่งที่ภาคเอกชนเห็นมาตลอดคือ เมื่อไหร่ก็ตามที่ไปยุ่งกับยูโร เมื่อนั้นเจ็บตัวเสมอ
2008- อาร์เอสขาดทุน ไม่สามารถทำเงินได้ตามที่ตั้งไว้
2012 - แกรมมี่โดนคนด่าทั้งประเทศ
2016 - CTH ได้ยูโรมาก็ไม่ได้พลิกเกมอะไรได้ บริษัทปิดตัวอยู่ดี
ยูโรนั้นต่างจากฟุตบอลโลก คือในขณะที่ฟุตบอลโลกการันตีกำไรแน่ๆ ซื้อลิขสิทธิ์แพง แต่โฆษณา และความสนใจต่างๆ ก็ยังมหาศาล แต่ยูโรไม่ใช่แบบนั้น
ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ยูโร 2020 บรรดาเอกชนต่างๆก็ถอยกรูด ยิ่งสภาวะโควิดแบบนี้ บริษัทไหนๆก็เงินขาดมือ ใครล่ะจะอยากมาเสี่ยง ซื้อบอลทัวร์นาเมนต์ 1 เดือน เสียเงินระดับ 3 ร้อยล้านบาท เพราะมันการันตีได้เลยว่าคุณต้องเจ็บตัวอยู่แล้ว
นี่คือเงินลิขสิทธิ์นะ ยังไม่นับค่าดำเนินการถ่ายทอดสด ค่าผู้บรรยาย ฯลฯ ถ้าไม่มีเม็ดเงินโฆษณามาช่วย มีแต่จะกระอักเลือดแน่ๆ
ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเราเปิดทีวีดูในปัจจุบันนี้ เม็ดเงินโฆษณาเข้าสู่ทีวีมันน้อยลงจากเดิมมาก นี่ไม่ใช่ยุคที่ทีวีครองโลกเหมือนเดิมอีกแล้ว บรรดาแบรนด์ต่างๆก็รู้ดีว่า จ่ายเงินให้ทีวีมันไม่คุ้มหรอก คิดง่ายๆ ถ้าต้องจ่ายให้ทีวี 3 แสนบาทต่อ 1 นาที สู้เอา 3 แสนนั้นไปแบ่งซื้ออินฟลูเอนเซอร์ 10 คน ยังจะมีประสิทธิภาพมากกว่าอีก
หลักฐานในประวัติศาสตร์บอกว่าโอกาสเจ็บตัว มีสูงกว่าโอกาสได้รับคำชม บวกกับสภาพเศรษฐกิจที่ง่อนแง่น ทำให้ไม่มีเอกชนคิดจะกล้าเสี่ยงลงทุน และทุกเจ้าก็ปล่อยยูโรผ่านไป
ทีนี้ก็เหลือความหวังแค่กับภาครัฐเท่านั้น ที่จะซื้อลิขสิทธิ์ยูโรมาให้คนไทยได้ดู
-----------------------------
คำถามคือแล้วภาครัฐ "ต้องซื้อ" ให้คนไทยได้ดูไหม คำตอบคือไม่ ตามกฎหมายไม่มีข้อบังคับใดๆ ว่าต้องซื้อ
ในปี 2013 กสทช. ออกกฎคือ Must Have ขึ้นมา นั่นคือจะมี 7 รายการกีฬาสำคัญที่ "ห้ามจอดำ" เด็ดขาด คือไม่ว่าจะใช้ก้างปลา หรือกล่องเคเบิ้ลใดๆ ก็ต้องดูได้ โดย 7 รายการนั้นประกอบไปด้วย
- ซีเกมส์
- อาเซียนพาราเกมส์
- เอเชียนเกมส์
- เอเชียนพาราเกมส์
- โอลิมปิก
- พาราลิมปิกเกมส์
- ฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย
เมื่อมีกฎ Must Have มันแปลว่า พวกช่องเคเบิ้ลทั้งหลายอย่างทรูวิชันส์ ไม่มีความจำเป็นต้องซื้อรายการเหล่านี้ เพราะซื้อไป ก็โดนกฎหมายสั่งบังคับให้ประชาชนดูฟรีอยู่ดี ดังนั้นทั้ง 7 รายการนี้ รัฐบาลจะเป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาเอง และกระจายให้ทีวีแต่ละช่อง แบ่งกันไปถ่ายทอดสด
ดังนั้น 7 รายการด้านบน คนไทยไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ดู อย่างฟุตบอลโลกต่อให้จะแพงเท่าไหร่ แต่รัฐก็จะหาเงินมาซื้อลิขสิทธิ์ได้ แต่ในศึกยูโร ไม่ใช่แบบนั้น เพราะยูโร ไม่ได้รวมอยู่ในกฎ Must Have ด้วย
ในมุมของภาครัฐ ยูโร ก็เหมือนฟุตบอลชิงแชมป์ทวีป ถ้าซื้อยูโร งั้นรัฐบาลก็ต้องซื้อโคปา อเมริกา หรือ คอนคาแคฟ โกลด์คัพด้วยสิ เพราะมันมีศักดิ์ศรีระดับเดียวกัน คือชิงแชมป์ทวีป
เมื่อไม่มีข้อบังคับให้ต้องซื้อ ภาครัฐก็ไม่ซื้อ หลายคนวิเคราะห์ว่า ในยุคโควิดแบบนี้ถ้าหากรัฐเอาเงินไปซื้อฟุตบอลยูโร มีเหลี่ยมจะโดนประชาชนที่ไม่ได้ดูบอลตำหนิได้ ก็เลยต้องฝากความหวังว่าจะมีเอกชนใจดีสักเจ้า เปย์เงิน 378 ล้าน รับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพเอง แต่ปัญหาคือ ยิ่งยูโรใกล้จะเริ่มเท่าไหร่ ก็ไม่สามารถหาคนซื้อได้เสียที เอกชนไม่มีใครอยากเจ็บตัว
สำหรับสถานการณ์ในโค้งสุดท้าย ยูฟ่าติดต่อกับภาครัฐแล้ว 1 ครั้ง แต่ไม่สามารถดีลกันได้ จากนั้นยูฟ่าจึงเจรจาไปกับเอกชนบางราย มีเอกชนบางเจ้าที่ยื่นข้อเสนอให้ แต่เรตราคายังไม่อยู่ในระดับที่ยูฟ่าพอใจ จึงมีการ Stall รอสถานการณ์ก่อน จนถึงวันสุดท้ายจริงๆ
และในวันสุดท้ายนี่เอง ที่ภาครัฐได้ติดต่อกับยูฟ่าอีกครั้ง และจากราคาเดิมที่ 10 ล้านยูโร (378 ล้านบาท) มีแหล่งข่าวรายงานว่า รัฐอาจซื้อได้ถูกกว่านั้นเล็กน้อย โดยจะดั๊มพ์ราคาลงมาเหลือราวๆ 280 ล้านบาท
ในมุมของยูฟ่าเอง แม้จะกระชั้นชิด แต่ก็ต้องการปิดดีลเหมือนกัน เพราะพวกเขาก็ต้องการเงิน ย้อนกลับไปในยูโร 2016 ตอนที่สถานการณ์ปกติ ยูฟ่าขายลิขสิทธิ์ให้ประเทศนอกยุโรปได้ถึง 81 ประเทศ แต่มาในยูโร 2020 พวกเขาขายได้น้อยกว่าเดิมครึ่งหนึ่ง ขายได้แค่ 45 ประเทศเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ได้แปลกใจ เพราะมันอยู่ในสถานการณ์โควิด หลายๆประเทศก็อยากเซฟเงินกันไว้ ดังนั้นเมื่อเคาะได้ราคาที่รับไหว ก็เลยยอมจบดีลนี้ในที่สุด
ฝั่งของภาครัฐ ถือว่าปฏิบัติการได้เร็วมาก ตามปกติกระบวนการของภาครัฐ จะช้าพอสมควร และใช้เวลาในการทำเอกสาร หรือหารายได้ หาเงิน Bank Guarantee นั่นคือเหตุผลที่ตอนแรก มีการให้ข่าวว่า กกท.อาจจะเริ่มถ่ายในรอบ 2 เลย (เพราะอาจจัดการเรื่องเงินไม่ทัน) แต่ด้วยการจัดสรรแบบสายฟ้าแลบ ทำให้จบดีลได้ไวมากและเริ่มถ่ายทอดสดได้เลยทันที ในวันแรกของทัวร์นาเมนต์
ถามว่าขาดทุนไหม คำตอบคือ ขาดทุนแน่ๆ และรัฐก็ต้องรู้แต่แรกแล้วว่าขาดทุน เพราะการจะมาหาสปอนเซอร์อย่างปุบปับขนาดนี้ มันยากมากที่จะคัฟเวอร์ค่าใช้จ่าย แต่ถ้าหักลบแล้วมองว่า การนำอีเวนต์สำคัญแบบนี้ มาลงจอทีวี โดยไม่ต้องให้ประชาชนไปดูเถื่อน ก็อาจเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าก็ได้
สำหรับคำถามว่า ทำไมการเดินหน้าถึงได้รวดเร็วนัก ถ้าให้พูดตรงๆ ก็คือ รัฐบาลจะเอาให้ได้นั่นแหละ เพื่อให้เป็นของขวัญแก่ประชาชน เป็นประโยชน์สาธารณะในการชมการแข่งขันกีฬา เมื่อมีภาคการเมืองมาช่วยเร่ง ทำให้การปิดดีลทำได้สำเร็จ แม้จะเป็นตัวเงินระดับร้อยล้านก็ตาม
นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ให้สัมภาษณ์ว่า "ท่าน (พล.อ.ประยุทธ์) ดำริมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้วว่า ทำอย่างไรจะมีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลยูโรในช่วงนี้ให้พี่น้องคนไทยได้ดู" เราจะเห็นได้ว่า อีเวนต์ระดับโลกแบบนี้ มุมของภาครัฐและนายกฯ ก็มองว่ามีความสำคัญเกินกว่าจะปล่อยผ่านไปนั่นแหละ
เมื่อรัฐเป็นคนซื้อ ก็เลยเอาฟุตบอลลงช่อง NBT เพราะสังกัดกรมประชาสัมพันธ์อยู่แล้ว ไม่ต้องไปเสียเงินจ้างช่อง 3 ช่อง 7 เซฟเงินไปได้อีกก้อน
จากนี้ไป รัฐก็ต้องเจรจากับเอกชนบางเจ้าที่พร้อมมาเป็นสปอนเซอร์ในช่วงที่ฟุตบอลแข่งขัน แต่ก็ทำใจไว้เลยว่า คงไม่มีทางได้เงินมากพอ ในระดับที่คัฟเวอร์ค่าลิขสิทธิ์ได้อยู่แล้ว เพราะปกติแบรนด์ต่างๆ ถ้าจะร่วมทำอีเวนต์ ต้องใช้เวลาวางแผนเป็นเดือนๆ มันยากมาก ที่บริษัทเอกชน จะจ่ายเงินแบบปุบปับ
ถามว่าภาครัฐจะหาเงินจากยูโรได้อย่างไร นอกจากรอสปอนเซอร์แล้ว อีกมุมคือด้วยสัญญาราคานี้ ถ้าให้วิเคราะห์ ก็ควรเป็นสัญญาแบบ Exclusive media rights เหมือนที่สถา
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่