ปัญหาบ้านร้อนนับเป็นอีกหนึ่งปัญหากวนใจของเจ้าของบ้านหลายๆคน เนื่องจากสภาพอากาศในประเทศไทย ที่ต้องบอกว่า มีแต่ร้อนมาก กับร้อนน้อย ยิ่งในช่วงเวลานี้ ที่หลายคนต้อง Work from home ทำให้ยิ่งรู้สึกเจอกับปัญหาบ้านร้อนมากขึ้น เดินทางไปข้างนอกก็มีแต่เสียค่าใช้จ่าย แถมเสี่ยง Covid-19 จะอยู่บ้านก็ต้องเปิดแอร์กันทั้งวันทำให้เปลืองไฟกันไปอีก วันนี้ SCG HOME Expert มีความรู้และสาระดีๆเกี่ยวกับบ้านร้อน
ที่ทำให้เราได้เข้าใจธรรมชาติของความร้อนและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดมาฝากกันครับ
สาเหตุหลักที่ทำให้รู้สึกว่าบ้านเราร้อนนั้น เกิดจากความร้อนที่แผ่ลงมาจากโถงหลังคาสู่ตัวบ้าน เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้ว ความร้อนจะลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง และจุดที่สะสมความร้อนในบ้านมากที่สุดนั้นก็คือ หลังคา ซึ่งเมื่อความร้อนที่สะสมบริเวณหลังคาไม่สามารถระบายออกภายนอกได้ จึงทำให้ความร้อนดังกล่าวแผ่ลงมาในตัวบ้าน เกิดเป็นปรากฎการณ์เตาอบ เพราะบ้านสะสมความร้อนไว้ตลอดทั้งวัน และคายความร้อนออกมาในช่วงเย็นหรือหัวค่ำ ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยร้อน อบ อ้าว!
ซึ่งวิธีแก้ปัญหาบ้านร้อนสามารถทำได้หลากหลากวิธีเลยครับ ไม่ว่าจะเป็น ติดฟิล์มกันแสง ใช้ม่านกรองแสง หรือทำสวน ปลูกต้นไม้ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเติมความสดชื่นให้บริเวณรอบๆบ้าน แต่จากวิธีที่กล่าวมานี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาชั่วคราว หรือแก้ที่ปลายเหตุเท่านั้น เพราะว่า สาเหตุหลักของความร้อนที่แท้จริง คือ หลังคา เนื่องจากเป็นจุดที่รับความร้อนจากภายนอกมากที่สุด และเป็นจุดสะสมความร้อนหลักของบ้านถึง 70% ดังนั้น ถ้าจะแก้ไขเรื่องบ้านร้อนให้ตรงจุด ต้องแก้ที่หลังคาครับ แต่นอกจากหลังคาแล้วก็ยังมีส่วนอื่นๆที่สำคัญ ที่เราสามารถเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นตัวช่วยในการลดร้อนให้บ้านได้เช่นกัน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลยครับ
5 ปัจจัยลดบ้านร้อนได้ตรงจุด
1.ทรงหลังคาบ้าน ยิ่งโถงหลังคาเล็ก บ้านยิ่งร้อน
หลังคาไม่ใช่แค่บ่งบอกสไตล์ภาพรวมของบ้าน แต่ละรูปทรงยังมีข้อดีและข้อจำกัดที่ต่างกันด้วย เช่น หลังคาทรงจั่ว ข้อดีคือ สันหลังคาสูงทำให้มีพื้นที่ใต้หลังคามาก เอื้อต่อการที่ความร้อนลอยตัวขึ้นสูง และหากมีช่องระบายอากาศก็จะยิ่งช่วยระบายความร้อนออกจากตัวบ้านได้ดียิ่งขึ้น หรือหลังคาสไตล์นอร์ดิกที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน แม้ทำให้บ้านดูสวยงามและทันสมัย แต่เนื่องจากเป็นทรงหลังคาที่ไม่มีชายคา จึงทำให้บ้านค่อนข้างร้อนชื้น วิธีรับมือกับปัญหาดังกล่าว เช่น ร่นผนังเข้าไปด้านในเพื่อให้หลังคาทำหน้าที่เป็นกันสาด กันแสงในตัว รวมถึงเลือกใช้วัสดุอย่างกระเบื้องหลังคา หรืออุปกรณ์อื่นที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันและสะท้อนความร้อน เป็นต้น
2.เลือกวัสดุโครงสร้างดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
- เลือกวัสดุหลังคา
ควรเลือกใช้วัสดุมุงหลังคาที่สามารถป้องกันความร้อนได้ดี อย่างหลังคาเซรามิคที่มีค่าสะท้อนรังสี (Solar Reflectance) ดีกว่า หลังคาคอนกรีตที่มีเฉดสีใกล้เคียงกัน เนื่องจากเนื้อวัสดุมีส่วนประกอบหลักเป็นดินเผาจึงมีค่านำความร้อนต่ำ และช่วยให้บ้านเย็นอยู่สบายมากยิ่งขึ้น
- เลือกวัสดุผนัง
นับเป็นอีกจุดสำคัญที่รับความร้อนเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากหลังคา ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างบริเวณผนังจึงสามารถช่วยลดร้อนให้บ้านได้อีกทางหนึ่ง อย่างอิฐมวลเบา ที่มีคุณสมบัติกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญ อีกทั้งมีน้ำหนักที่เบากว่าและช่วยกันเสียงได้อีกด้วย ซึ่งอิฐมวลเบาที่วางขายในปัจจุบันแม้มีขนาดกว้าง ยาวที่เท่ากัน แต่ก็มีขนาดความหนาให้เลือก เช่น 7.5 ซม. หรือ 10 ซม. ซึ่งความหนาที่มากกว่าย่อมกันร้อนและกันเสียงได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยและรายละเอียดในการก่อสร้างด้วยครับ
- เลือกฝ้าเพดานแบบมีรูระบายอากาศ
ฝ้า นอกจากจะช่วยปิดโครงสร้างหลังคาให้ดูเรียบร้อยแล้ว ยังสามารถช่วยระบายความร้อนออกจากโถงหลังคาได้อีกด้วย ทำให้ความร้อนไม่ถูกกักไว้ใต้หลังคาและแผ่ลงมาสู่ตัวบ้าน ซึ่งการเลือกวัสดุฝ้าชายคามาใช้จำเป็นต้องพิจารณาในเรื่องความแข็งแรง ทนร้อน ทนชื้น เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานพื้นที่ภายนอกด้วยนะครับ
3.ออกแบบบ้านให้ถูกทิศ
ตามลักษณะภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ทิศทางของแสงจะเดินทางจากทิศตะวันออกอ้อมไปยังทิศใต้ ดังนั้น ทิศที่ได้รับแสงมากที่สุดตั้งแต่ช่วงบ่ายถึงเย็น คือ ทิศตะวันตกและทิศใต้ ส่วนทิศตะวันออกจะได้รับแสงแดดในตอนเช้าถึงเที่ยงซึ่งเป็นแดดที่ไม่แรงมากนัก ดังนั้น เราจึงควรออกแบบบ้านและจัดห้องต่างๆให้ถูกต้องตามทิศทาง เพื่อใช้ประโยชน์จากแสงและลมธรรมชาติให้ได้มากที่สุด
4.สิ่งแวดล้อมรอบบ้าน เปลี่ยนลมร้อนเป็นลมเย็นก่อนเข้าบ้าน
ทิศตะวันออก คือทิศที่ได้รับแสงแดดในตอนเช้าถึงเที่ยง ถึงแม้แดดจะไม่แรงเท่ากับช่วงบ่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเดี๋ยวนี้แดดบ้านเราแรงตั้งแต่ช่วงเช้าแล้ว การติดระแนงบังแดดร่วมกับการปลูกต้นไม้ จะช่วยให้กรองแสงบางส่วนในช่วงสาย ทำให้บ้านไม่ต้องรับความร้อนจากแสงแดดเกินความจำเป็น ส่วนทิศตะวันตกและทิศใต้คือทิศที่ได้รับแสงแดดมากที่สุดตั้งแต่ช่วงบ่ายถึงเย็น การปลูกต้นไม้ในทิศนี้จึงช่วยเพิ่มร่มเงาให้กับบ้านได้ดี ร่วมไปกับการปูหญ้าภายนอกบ้านหรือใช้บล็อกปูพื้นแบบ Cool Plus ที่สามารถดูดซับและกักเก็บน้ำไว้ในตัวก้อนได้ แทนพื้นคอนกรีตที่มีค่าการอมความร้อนสูง ก็จะยิ่งช่วยลดอุณหภูมิภายนอกบ้านที่สะท้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้มากยิ่งขึ้นครับ
5.เลือกใช้วัสดุและระบบที่ทั้งป้องกันและระบายความร้อนให้บ้าน
อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า หลังคา คือส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดบ้านร้อนมากที่สุด เพราะเป็นส่วนที่รับรังสีความร้อนมากถึง 70% ดังนั้น วิธีแก้บ้านร้อนที่สมบูรณ์ที่สุด ต้องทั้งป้องกัน (Heat Protection) และระบายความร้อน (Heat Ventilation) ออกจากโถงหลังคาและตัวบ้าน โดยทั้ง Solutions การป้องกันและระบายความร้อนนั้น จะมีอุปกรณ์และระบบ ได้แก่
1.แผ่นสะท้อนความร้อน มีคุณสมบัติสกัดร้อน สะท้อนกลับ สามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้สูงถึง 95% ติดตั้งได้เฉพาะบ้านที่สร้างใหม่ เนื่องจากต้องติดตั้งบนแป
2.ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนทำหน้าที่ป้องกันและหน่วงความร้อนที่ส่งผ่านเข้ามาภายในบ้าน อย่างฉนวนใยแก้วเป็นฉนวนที่ห่อหุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์รอบด้าน โดยอะลูมิเนียมฟอยล์ทำหน้าที่สะท้อนความร้อนและใยแก้วทำหน้าที่ป้องกันความร้อน มีความหนาให้เลือก 2 ขนาด คือ 3 นิ้ว และ 6 นิ้ว โดยยิ่งความหนามาก ก็จะยิ่งเพิ่มระยะเวลาในการใช้งานให้ยาวนานขึ้น
สามารถติดตั้งได้ทั้งบ้านใหม่และบ้านที่อยู่อาศัยแล้ว สำหรับบ้านที่อยู่อาศัยมาเป็นเวลานานหลายปี แนะนำว่าควรตรวจสอบความแข็งแรงของโครงฝ้าและฝ้าก่อนว่าสามารถรับน้ำหนักของฉนวนได้หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยและป้องกันปัญหาฝ้าชำรุดในภายหลังครับ
3.ติดตั้งอุปกรณ์ที่ช่วยถ่ายเทและระบายอากาศ
บ้านที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีทิศทางเลี่ยงแสงแดดและอยู่ในจุดที่ลมพัดผ่าน สามารถเปิดประตู หน้าต่างเพื่อช่วยระบายอากาศได้ไม่ยาก แต่สำหรับบางช่วงที่ลมนิ่ง หรือข้างบ้านมีตึกสูงอยู่ใกล้การเปิดประตู หน้าต่าง อาจไม่ได้ช่วยระบายอากาศได้ดีเท่าที่ควร รวมถึงยังเสี่ยงต่อการรับฝุ่นต่างๆเข้าบ้านด้วย ดังนั้น การติดตั้งระบบหรืออุปกรณ์เพื่อช่วยไหลเวียนอากาศภายในบ้าน จึงถือเป็นอีกสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกันครับ เช่น การติดพัดลมผนัง พัดลมดูดอากาศ ลูกหมุน เป็นต้น แต่วันนี้ขอแนะนำระบบถ่ายเทและระบายอากาศจากตัวบ้านและโถงหลังคา ซึ่งมี 2 แบบดังนี้ครับ
- แบบ Passive
คืออุปกรณ์ชุดกระเบื้องระบายอากาศ ใช้แรงลมธรรมชาติเป็นตัวดันความร้อนจากโถงหลังคาออกจากตัวบ้านโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
- แบบ Active
คือ ระบบที่มีนวัตกรรมในการถ่ายเทอากาศและระบายความร้อนออกจากตัวบ้านและโถงหลังคา ช่วยแก้ปัญหาบ้านร้อน อบอ้าว ได้อย่างตรงจุด ผ่านการทำงานที่ต้องใช้ไฟฟ้าและมีการทำงานของอุปกรณ์ร่วมกัน ใน 3 จุดหลัก ได้แก่
จุดที่ 1 การนำอากาศจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้านผ่านช่องนำอากาศ (Intake Air Grille) เพื่อเร่งการระบายและถ่ายเทความร้อนในตัวบ้าน
จุดที่ 2 การดึงเอาอากาศในตัวบ้านให้ระบายออกทางหลังคา ผ่านพัดลมระบายอากาศ (Ceiling Ventilator)
จุดที่ 3 การระบายความร้อนสะสมในโถงหลังคาออกสู่นอกตัวบ้าน ผ่านกระเบื้องระบายอากาศ (Smart Roof Tile Ventilator) ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับหลังคาแต่ละรุ่น โดยจะเป็นการถอดเปลี่ยนจากกระเบื้องหลังคาปัจจุบัน มั่นใจได้ว่าจะไม่รั่วซึม
ตารางเปรียบเทียบอุปกรณ์ป้องกันและระบายความร้อน
บ้านอยู่อาศัยแล้ว vs บ้านสร้างใหม่
Benefit ของอุปกรณ์แต่ละชนิดที่ช่วยลดร้อนให้บ้าน
จะเห็นได้ว่าวิธีแก้บ้านร้อนที่สมบูรณ์ที่สุด ต้องเลือกใช้อุปกรณ์ที่ทั้งป้องกันและระบายความร้อนออกจากโถงหลังคาและตัวบ้าน โดยสามารถใช้ฉนวนกันความร้อน ควบคู่ไปกับ ระบบระบายอากาศ ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดร้อนให้บ้านได้มากยิ่งขึ้น ทำให้บ้านเย็น อยู่สบายในระยะยาว เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาบ้านร้อนได้อย่างตรงจุดนั่นเองครับ
หากท่านใดสนใจแก้ปัญหาบ้านร้อนอย่างตรงจุดไม่ว่าจะเป็นบ้านที่เคยอยู่อาศัยแล้ว หรือบ้านสร้างใหม่ สามารถอ่านรายละเอียดหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2RzVdu1
โซลูชั่นจบปัญหาบ้านร้อน แก้ได้ หายจริง
3.ติดตั้งอุปกรณ์ที่ช่วยถ่ายเทและระบายอากาศ
บ้านที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีทิศทางเลี่ยงแสงแดดและอยู่ในจุดที่ลมพัดผ่าน สามารถเปิดประตู หน้าต่างเพื่อช่วยระบายอากาศได้ไม่ยาก แต่สำหรับบางช่วงที่ลมนิ่ง หรือข้างบ้านมีตึกสูงอยู่ใกล้การเปิดประตู หน้าต่าง อาจไม่ได้ช่วยระบายอากาศได้ดีเท่าที่ควร รวมถึงยังเสี่ยงต่อการรับฝุ่นต่างๆเข้าบ้านด้วย ดังนั้น การติดตั้งระบบหรืออุปกรณ์เพื่อช่วยไหลเวียนอากาศภายในบ้าน จึงถือเป็นอีกสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกันครับ เช่น การติดพัดลมผนัง พัดลมดูดอากาศ ลูกหมุน เป็นต้น แต่วันนี้ขอแนะนำระบบถ่ายเทและระบายอากาศจากตัวบ้านและโถงหลังคา ซึ่งมี 2 แบบดังนี้ครับ
- แบบ Passive
จุดที่ 1 การนำอากาศจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้านผ่านช่องนำอากาศ (Intake Air Grille) เพื่อเร่งการระบายและถ่ายเทความร้อนในตัวบ้าน
จุดที่ 2 การดึงเอาอากาศในตัวบ้านให้ระบายออกทางหลังคา ผ่านพัดลมระบายอากาศ (Ceiling Ventilator)
จุดที่ 3 การระบายความร้อนสะสมในโถงหลังคาออกสู่นอกตัวบ้าน ผ่านกระเบื้องระบายอากาศ (Smart Roof Tile Ventilator) ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับหลังคาแต่ละรุ่น โดยจะเป็นการถอดเปลี่ยนจากกระเบื้องหลังคาปัจจุบัน มั่นใจได้ว่าจะไม่รั่วซึม