ติดโควิดวันนี้ 2.3 พันราย เสียชีวิต 43 ราย
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2768264
ติดโควิดวันนี้ 2.3 พันราย เสียชีวิต 43 ราย
วันที่ 10 มิ.ย. ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานยอดติดเชื้อโควิดประจำวันที่ 10 มิถุนายน 2564 มีจำนวน 2,310 ตาย 43 ราย โดยจำแนกได้ ดังนี้
ติดเชื้อใหม่ 2,208 ราย
ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 102 ราย
หายป่วยกลับบ้าน 3,035 ราย
ผู้ป่วยสะสม 158,675 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
เสียชีวิต 43 ราย
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผยขั้นตอนจอง 'ซิโนฟาร์ม' ให้ลงทะเบียนออนไลน์ 14 มิ.ย.นี้
https://www.matichon.co.th/local/news_2768011
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้เปิดเผยขั้นตอนการจองวัคซีนซิโนฟาร์ม ระยะที่ 1 สำหรับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
1. องค์กรและหน่วยงานลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอรับการจัดสรรวัคซีนโควิดตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” ผ่านระบบออนไลน์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ที่
https://vaccine.cra.ac.th ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 เวลา 8.00 น. เป็นต้นไป
เอกสารนิติบุคคลประกอบการยื่นแจ้งความประสงค์ขอรับจัดสรรวัคซีนตัวเลือกผ่านระบบออนไลน์
– หนังสือรับรองนิติบุคคล หุ้นส่วนบริษัทกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หนังสือจดทะเบียนพาณิชย์ ที่ออกให้ไว้ไม่เกิน 6 เดือน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจากผู้มีอำนาจลงนาม
หมายเหตุ: สำหรับองค์กรที่เคยส่งหนังสือแจ้งความประสงค์มาแล้วก่อนหน้านั้น ขอให้ท่านดำเนินการลงทะเบียนเข้าระบบเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติและลำดับจัดสรรโควต้าต่อไป
2. คณะกรรมการบริหารวัคซีนตัวเลือก ตรวจสอบคุณสมบัติและการจัดสรรโควต้าการกระจายวัคซีนตัวเลือก โดยใช้ระยะเวลา 5 วันทำการ นับจากวันที่ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์
3. คณะกรรมการบริหารวัคซีนตัวเลือก อนุมัติแจ้งจำนวนวัคซีนที่ได้รับการจัดสรร ระบบจะส่งอีเมล์แจ้งรหัสให้องค์กรหน่วยงานเข้าล็อกอินเพื่อรับทราบจำนวนวัคซีนที่ได้รับการจัดสรร วิธีการชำระเงิน รอบการจัดส่งวัคซีน และสถานพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีน
4. องค์กรและหน่วยงาน ทำสัญญาพร้อมชำระเงิน ตามเงื่อนไขข้อตกลง
5. องค์กรและหน่วยงาน อัพโหลดรายชื่อผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนเข้าสู่ระบบของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และรอการกระจายวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” ไปยังสถานพยาบาลที่ได้เลือกไว้ตามรอบการจัดส่งที่กำหนด
การเตรียมข้อมูลลงทะเบียนก่อนฉีดสำหรับองค์กรและหน่วยงาน
– เตรียมไฟล์รายชื่อผู้รับวัคซีนตาม Format ที่ได้รับแจ้งจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
– อัพโหลดรายชื่อผู้ฉีดเพื่อลงทะเบียนเข้าระบบตามโควต้าวัคซีนที่ได้รับการจัดสรรในบัญชีของบริษัท
6. ผู้ที่มีรายชื่อในระบบเข้ารับการฉีดวัคซีนกับโรงพยาบาลที่องค์กรได้เลือกประสานไว้ตามวันเวลาที่กำหนด
วันที่ให้บริการฉีดวัคซีน
– สถานพยาบาลบันทึกข้อมูลผู้เข้าฉีดวัคซีนโดยใส่รหัสบัตรประชาชนหรือสแกนคิวอาร์โค้ดเข้ามาในระบบราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
– สถานพยาบาลสแกนบาร์โค้ดวัคซีนเพื่อบันทึก lot number ยาให้กับผู้เข้ารับการฉีด
ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนจะสามารถเช็กข้อมูลการได้รับวัคซีนตัวเลือก ผ่านระบบหมอพร้อมของกระทรวงสาธารณสุขได้เช่นกัน
ประธานสมาคมธนาคารไทยห่วงคลัสเตอร์โรงงานฉุดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
https://www.thairath.co.th/business/economics/2112281
ประธานสมาคมธนาคารไทยห่วงคลัสเตอร์โรงงานฉุดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
นาย
ผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะทำหน้าที่ ประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ประกอบด้วยสมาคมธนาคารไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กกร.ได้พิจารณาปัจจัยต่างๆแล้วในช่วงที่ผ่านมา และได้มีมติให้คงเป้าหมายอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้ไว้ที่ 0.5-2% การส่งออกขยายตัว 5-7% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1-1.2% เนื่องจากแนวโน้มการส่งออกครึ่งปีหลังยังคงสดใสตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
“กกร.มองว่าเศรษฐกิจของไทยได้รับปัจจัยบวกจากการส่งออก แต่ก็ยังต้องติดตามปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ค่าระวางเรือที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการระบาดที่กระทบกับโรงงาน อุตสาหกรรมเห็นว่าเศรษฐกิจต้องการแรงสนับสนุนจากทั้งนโยบายการเงินและการคลัง เพิ่มเติม โดยผู้ประกอบการในภาคท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ และภาคการค้าสะท้อนว่า ผลกระทบจากการระบาดรอบนี้ มีแนวโน้มรุนแรงมากกว่าทั้ง 2 ระลอกก่อนหน้า”
ดังนั้น กกร.จึงเสนอให้รัฐบาล เร่งดำเนินการได้แก่
1. เร่งบริหารจัดการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ได้ตามเป้าหมาย
2. เพิ่มมาตรการช่วยเหลือด้านกำลังซื้อ โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่ง ให้เข้ามาพยุงกำลังซื้อได้ในช่วงไตรมาสที่ 2
และ 3. ด้วยการพิจารณาเพิ่มวงเงินการใช้จ่ายจาก 3,000 บาทเป็น 6,000 บาท ที่จะช่วยให้มีเม็ดเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจาก 90,000 ล้านบาท เป็น 180,000 ล้านบาท และ 3.พิจารณาแนวทางมาตรการยิ่งใช้ยิ่งได้ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถนำเงินที่ใช้จ่ายสำหรับซื้อสินค้าและบริการมาใช้เพื่อ ลดหย่อนภาษีเงินได้โดยตรง.
JJNY : ติดโควิด2.3พัน เสียชีวิต43│เผยขั้นตอนจอง'ซิโนฟาร์ม'14มิ.ย.│ห่วงคลัสเตอร์โรงงานฉุดศก.│อาคมรับเงินกู้ล็อตแรกเกลี้ยง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2768264
ติดโควิดวันนี้ 2.3 พันราย เสียชีวิต 43 ราย
วันที่ 10 มิ.ย. ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานยอดติดเชื้อโควิดประจำวันที่ 10 มิถุนายน 2564 มีจำนวน 2,310 ตาย 43 ราย โดยจำแนกได้ ดังนี้
ติดเชื้อใหม่ 2,208 ราย
ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 102 ราย
หายป่วยกลับบ้าน 3,035 ราย
ผู้ป่วยสะสม 158,675 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
เสียชีวิต 43 ราย
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผยขั้นตอนจอง 'ซิโนฟาร์ม' ให้ลงทะเบียนออนไลน์ 14 มิ.ย.นี้
https://www.matichon.co.th/local/news_2768011
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้เปิดเผยขั้นตอนการจองวัคซีนซิโนฟาร์ม ระยะที่ 1 สำหรับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
1. องค์กรและหน่วยงานลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอรับการจัดสรรวัคซีนโควิดตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” ผ่านระบบออนไลน์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ที่ https://vaccine.cra.ac.th ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 เวลา 8.00 น. เป็นต้นไป
เอกสารนิติบุคคลประกอบการยื่นแจ้งความประสงค์ขอรับจัดสรรวัคซีนตัวเลือกผ่านระบบออนไลน์
– หนังสือรับรองนิติบุคคล หุ้นส่วนบริษัทกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หนังสือจดทะเบียนพาณิชย์ ที่ออกให้ไว้ไม่เกิน 6 เดือน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจากผู้มีอำนาจลงนาม
หมายเหตุ: สำหรับองค์กรที่เคยส่งหนังสือแจ้งความประสงค์มาแล้วก่อนหน้านั้น ขอให้ท่านดำเนินการลงทะเบียนเข้าระบบเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติและลำดับจัดสรรโควต้าต่อไป
2. คณะกรรมการบริหารวัคซีนตัวเลือก ตรวจสอบคุณสมบัติและการจัดสรรโควต้าการกระจายวัคซีนตัวเลือก โดยใช้ระยะเวลา 5 วันทำการ นับจากวันที่ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์
3. คณะกรรมการบริหารวัคซีนตัวเลือก อนุมัติแจ้งจำนวนวัคซีนที่ได้รับการจัดสรร ระบบจะส่งอีเมล์แจ้งรหัสให้องค์กรหน่วยงานเข้าล็อกอินเพื่อรับทราบจำนวนวัคซีนที่ได้รับการจัดสรร วิธีการชำระเงิน รอบการจัดส่งวัคซีน และสถานพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีน
4. องค์กรและหน่วยงาน ทำสัญญาพร้อมชำระเงิน ตามเงื่อนไขข้อตกลง
5. องค์กรและหน่วยงาน อัพโหลดรายชื่อผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนเข้าสู่ระบบของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และรอการกระจายวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” ไปยังสถานพยาบาลที่ได้เลือกไว้ตามรอบการจัดส่งที่กำหนด
การเตรียมข้อมูลลงทะเบียนก่อนฉีดสำหรับองค์กรและหน่วยงาน
– เตรียมไฟล์รายชื่อผู้รับวัคซีนตาม Format ที่ได้รับแจ้งจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
– อัพโหลดรายชื่อผู้ฉีดเพื่อลงทะเบียนเข้าระบบตามโควต้าวัคซีนที่ได้รับการจัดสรรในบัญชีของบริษัท
6. ผู้ที่มีรายชื่อในระบบเข้ารับการฉีดวัคซีนกับโรงพยาบาลที่องค์กรได้เลือกประสานไว้ตามวันเวลาที่กำหนด
วันที่ให้บริการฉีดวัคซีน
– สถานพยาบาลบันทึกข้อมูลผู้เข้าฉีดวัคซีนโดยใส่รหัสบัตรประชาชนหรือสแกนคิวอาร์โค้ดเข้ามาในระบบราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
– สถานพยาบาลสแกนบาร์โค้ดวัคซีนเพื่อบันทึก lot number ยาให้กับผู้เข้ารับการฉีด
ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนจะสามารถเช็กข้อมูลการได้รับวัคซีนตัวเลือก ผ่านระบบหมอพร้อมของกระทรวงสาธารณสุขได้เช่นกัน
ประธานสมาคมธนาคารไทยห่วงคลัสเตอร์โรงงานฉุดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
https://www.thairath.co.th/business/economics/2112281
ประธานสมาคมธนาคารไทยห่วงคลัสเตอร์โรงงานฉุดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะทำหน้าที่ ประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ประกอบด้วยสมาคมธนาคารไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กกร.ได้พิจารณาปัจจัยต่างๆแล้วในช่วงที่ผ่านมา และได้มีมติให้คงเป้าหมายอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้ไว้ที่ 0.5-2% การส่งออกขยายตัว 5-7% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1-1.2% เนื่องจากแนวโน้มการส่งออกครึ่งปีหลังยังคงสดใสตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
“กกร.มองว่าเศรษฐกิจของไทยได้รับปัจจัยบวกจากการส่งออก แต่ก็ยังต้องติดตามปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ค่าระวางเรือที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการระบาดที่กระทบกับโรงงาน อุตสาหกรรมเห็นว่าเศรษฐกิจต้องการแรงสนับสนุนจากทั้งนโยบายการเงินและการคลัง เพิ่มเติม โดยผู้ประกอบการในภาคท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ และภาคการค้าสะท้อนว่า ผลกระทบจากการระบาดรอบนี้ มีแนวโน้มรุนแรงมากกว่าทั้ง 2 ระลอกก่อนหน้า”
ดังนั้น กกร.จึงเสนอให้รัฐบาล เร่งดำเนินการได้แก่
1. เร่งบริหารจัดการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ได้ตามเป้าหมาย
2. เพิ่มมาตรการช่วยเหลือด้านกำลังซื้อ โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่ง ให้เข้ามาพยุงกำลังซื้อได้ในช่วงไตรมาสที่ 2
และ 3. ด้วยการพิจารณาเพิ่มวงเงินการใช้จ่ายจาก 3,000 บาทเป็น 6,000 บาท ที่จะช่วยให้มีเม็ดเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจาก 90,000 ล้านบาท เป็น 180,000 ล้านบาท และ 3.พิจารณาแนวทางมาตรการยิ่งใช้ยิ่งได้ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถนำเงินที่ใช้จ่ายสำหรับซื้อสินค้าและบริการมาใช้เพื่อ ลดหย่อนภาษีเงินได้โดยตรง.