คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เท่าที่พอจะสรุปได้ มีทั้งหมด 4 ประเด็นดังต่อไปนี้ครับ
1. ประชากรมาก ทำให้มีผู้คนที่หลากหลาย
2. เคยนับถือศาสนาอื่นมาก่อนเป็นเวลานานมาก
3. จุดเริ่มต้นของการเผยแผ่ไม่ได้เคร่งครัดจริงจัง
4. รัฐบาลไม่ได้ส่งเสริมศาสนามากนัก
อันดับแรกคงเข้าใจไม่ยาก ประชากรล้นหลาม จึงมีความหลากหลายสูงนั่นเอง
อิสลามเริ่มเข้ามาในอินโดนีเซียโดยพ่อค้า นักเดินเรือ ชาวอาหรับและเปอร์เซียราวศตวรรษที่ 12-13 แต่เดิมหมู่เกาะต่างๆในอินโดนีเซียเคยนับถือศาสนาแบบเดียวกับบ้านเรา ได้แก่พุทธ พราหมณ์ ผี เป็นเวลาช้านานมาก ทำให้วัฒนธรรมยุคก่อนอิสลามเข้มข้น และการเผยแผ่อิสลามในหมู่เกาะอินโดนีเซีย-มาเลเซียยุคแรกๆยังไม่ได้ถือเคร่งจริงจัง เป็นการนับถือตามๆกัน หรือบางส่วนก็หวังผลประโยชน์จากการเป็นมุสลิม เช่น ผู้ปกครองรัฐที่ติดต่อค้าขายกับพ่อค้าอาหรับอยากกระชับความสัมพันธ์กับพวกพ่อค้า ก็เลยเปลี่ยนมาเข้ารับอิสลาม ประชาชนคนธรรมดาก็นับถือตามไป โดยที่วัฒนธรรมดั้งเดิมที่เป็นพุทธ-พราหมณ์-ผียังเข้มแข็งอยู่ ทำให้อิสลามที่นับถือกันในดินแดนนูซันตารา (หมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ไม่ใช่อิสลามที่บริสุทธิ์ แต่ปะปนความเชื่อรุ่นก่อนเยอะครับ
นอกจากนี้ นักประวัติศาสตร์บางสายเชื่อว่า อิสลามที่ถูกนำมาเผยแผ่ช่วงศตวรรษที่ 12-13 ไม่ได้มีเฉพาะชาวอาหรับหรือเปอร์เซีย แต่ยังมีพวกพ่อค้าอินเดียมุสลิมจากแคว้นกุจราตทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียปะปนเข้ามาด้วย เพราะผู้คนในหมู่เกาะอินโดนีเซียมีการติดต่อกับชาวอินเดียมาช้านานแล้ว (ชื่อประเทศยังแปลว่า "หมู่เกาะอินเดีย" เลย) แถมคนอินเดียมุสลิมก็มีพื้นฐานวัฒนธรรมแบบอินเดียที่เป็นพุทธ เป็นพราหมณ์เหมือนกัน อิสลามรูปแบบที่เข้ามาแพร่หลายในอินโดนีเซียยุคแรกๆคือ นิกายซูฟี ซึ่งมีการปฏิบัติสมาธิ เชื่อในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของนักบุญ หลายอย่างไปกันได้กับความเชื่อแบบพุทธ-พราหมณ์ การเผยแผ่อิสลามในยุคนี้จึงเป็นไปได้ง่าย และแพร่ไปอย่างว่องไว
น่าสังเกตว่าดินแดนอินโดนีเซียที่เป็นเกาะ แหล่งที่จะรับวัฒนธรรมความเชื่ออิสลามมากที่สุดก็คือละแวกชายฝั่งที่ติดต่อทางเรือกับโลกภายนอกได้ง่าย ส่วนดินแดนตอนใน เช่นในป่าดงดิบของเกาะบอร์เนียว เข้าถึงยากกว่า ส่งผลให้การนับถือศาสนาซึ่งมากับนักเดินเรือเป็นไปอย่างล่าช้า ผิดกับดินแดนรอบนอกที่อยู่ติดทะเล
วัฒนธรรมอินโดนีเซียรุ่นแรกที่เป็นมุสลิมปนความเป็นพุทธ พราหมณ์ ผี มาก บางครั้งชาวบ้านก็ยกมือไหว้รูปเคารพ ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ยังยึดตามแบบอินเดีย พิธีกรรมการบวงสรวงต่างๆในระดับราชสำนักก็ยังสืบทอดจากยุคบรรพบุรุษของพวกเขาที่ยังไม่ได้เป็นมุสลิม ผู้หญิงแต่งกายปกติ ไม่ได้คลุมผมหรือปกปิดร่างกายมิดชิดอย่างชาวอาหรับ ฯลฯ
ถ้าจะพูดถึงวัฒนธรรมของมุสลิมในอินโดนีเซีย ต้องบอกว่ามีทั้งที่ "เคร่งมาก" ไล่ไปจนถึง "เคร่งน้อย" ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาแต่ละกลุ่มเติบโตมาในสภาพแวดล้อมสังคมแบบใด
คลิฟฟอร์ด เกิร์ตส์ นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน เคยจำแนกวัฒนธรรมอิสลามบนเกาะชวาเอาไว้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ 1. ศันตรี 2. อะบางัน 3. ปรียายี
ศันตรี (Santri) สรุปให้เข้าใจง่ายก็คือมุสลิมแท้ ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักอิสลามที่ถูกต้องเคร่งครัด ท่องจำอัลกุรอานจนขึ้นใจ ไปมัสยิดสม่ำเสมอ หลายคนได้รับการศึกษาศาสนามาจากตะวันออกกลาง โดยมากก็มักจะยึดหลักกฎหมายชะรีอะฮ์ในการดำเนินชีวิตด้วย มักอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่หรือเมืองริมชายฝั่งที่ได้ติดต่อกับโลกภายนอกมาช้านาน จึงได้รับการศึกษาหลักศาสนาเข้มข้น
อะบางัน (Abangan) มีจำนวนมากที่สุดในสังคมชวา ส่วนใหญ่เป็นผู้คนในชนบท ถึงจะเป็นมุสลิม แต่อะบางันก็ไม่ละทิ้งวัฒนธรรมท้องถิ่นของชวาดั้งเดิมที่มีรากฐานมาจากศาสนาฮินดู พุทธ และศาสนาพื้นบ้านพื้นเมืองชวาที่เรียกว่า เกอบาตินัน (Kebatinan) พวกอะบางันมีวัฒนธรรมหลายอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เช่น การล้อมวงกินเลี้ยงเซอลามาตัน (Selamatan) ในงานบุญ หลายอย่างแปลกจากมุสลิมในภาพจำของคนทั่วไป เช่น มีพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติเช่นภูเขาไฟ
ส่วน ปรียายี (Priyayi) หมายถึงชนชั้นสูง ชนชั้นปกครองชาวชวาพื้นเมืองในสมัยที่ชวายังเป็นอาณานิคมดัตช์ คนเหล่านี้มีจำนวนน้อย ยังยึดถือวัฒนธรรมชนชั้นสูงของชวาดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ก่อนอิสลามแผ่เข้ามาในคาบสมุทรอินโดนีเซียไว้ได้อย่างเหนียวแน่น แม้พวกเขาจะขึ้นชื่อว่านับถืออิสลามแล้ว แต่หลายอย่างยังดูเป็นพุทธและฮินดู มีความเป็นมุสลิมน้อยที่สุดใน 3 กลุ่ม
อนึ่ง สาเหตุที่อินโดนีเซียดูเหมือนจะ "ไม่ค่อยเคร่งอิสลาม" เท่าไหร่ เป็นเพราะไม่ได้ปกครองประเทศในรูปแบบของรัฐศาสนาครับ ไม่เหมือนอย่างตะวันออกกลางหลายๆประเทศที่ใช้ศาสนานำหน้า นำอิสลามมากำหนดกฎเกณฑ์ทุกอย่างในสังคม เพราะนอกจากมุสลิมแล้ว ประชากรอินโดนีเซียยังมีที่นับถือพุทธทั้งเถรวาทและมหายาน ฮินดู (เช่นบนเกาะบาหลี) คริสต์นิกายต่างๆ การก่อตั้งประเทศนี้ก็ทำได้ด้วยความยากลำบาก เพราะแต่ละเกาะในอดีตไม่เคยขึ้นตรงต่อกันแบบนี้ วัฒนธรรมภายในก็ต่างกัน ช่วงที่เรียกร้องเอกราช ประธานาธิบดีซูการ์โนจึงยึดถือคติ หลากหลายแต่เป็นอันหนึ่งอันเดียว (Bhinekka Tunggal Ika) คือให้ความสำคัญกับคนนับถือศาสนาอื่นด้วย เช่น พุทธ ฮินดู หรือชนพื้นเมืองที่นับถือภูตผีวิญญาณ
ในขณะที่มาเลเซียรุ่นหลังมีรัฐบาลหลายชุดที่เคร่งครัดอิสลามมากกว่าอินโดนีเซีย เลยพยายามปฏิรูปประเทศให้เป็นชาติมุสลิมที่เคร่งศาสนา แต่มีความทันสมัยในตัว นโยบายหลายๆข้อจึงเน้นไปที่มุสลิม ส่งเสริมศาสนาอิสลามมากกว่าศาสนาอื่น เป็นเหตุให้เรารู้สึกว่ามาเลเซียเคร่งกว่าอินโดนีเซีย แต่ความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าอินโดนีเซียหรือมาเลเซีย จุดเริ่มต้นของการเผยแผ่อิสลามในดินแดนที่เป็นประเทศทั้ง 2 นี้ก็เหมือนๆกัน คือเป็นการนับถือตามกัน ตอนแรกไม่ได้เคร่งครัดนัก เพิ่งจะมาเคร่งในรอบ 100 ปีหลังเมื่อมีคนท้องถิ่นไปเรียนศาสนาจากตะวันออกกลางมามากขึ้น คนพวกนี้จึงนำอิสลามแนวเคร่งแบบชาติตะวันออกกลางกลับมาเผยแผ่ที่บ้านเกิดเมืองนอน ยังไงก็ตาม จวบจนวันนี้ ทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซียก็ยังมีมุสลิมพวกที่นับถืออิสลามปนความเชื่อท้องถิ่นอยู่ไม่น้อยเลยครับ
1. ประชากรมาก ทำให้มีผู้คนที่หลากหลาย
2. เคยนับถือศาสนาอื่นมาก่อนเป็นเวลานานมาก
3. จุดเริ่มต้นของการเผยแผ่ไม่ได้เคร่งครัดจริงจัง
4. รัฐบาลไม่ได้ส่งเสริมศาสนามากนัก
อันดับแรกคงเข้าใจไม่ยาก ประชากรล้นหลาม จึงมีความหลากหลายสูงนั่นเอง
อิสลามเริ่มเข้ามาในอินโดนีเซียโดยพ่อค้า นักเดินเรือ ชาวอาหรับและเปอร์เซียราวศตวรรษที่ 12-13 แต่เดิมหมู่เกาะต่างๆในอินโดนีเซียเคยนับถือศาสนาแบบเดียวกับบ้านเรา ได้แก่พุทธ พราหมณ์ ผี เป็นเวลาช้านานมาก ทำให้วัฒนธรรมยุคก่อนอิสลามเข้มข้น และการเผยแผ่อิสลามในหมู่เกาะอินโดนีเซีย-มาเลเซียยุคแรกๆยังไม่ได้ถือเคร่งจริงจัง เป็นการนับถือตามๆกัน หรือบางส่วนก็หวังผลประโยชน์จากการเป็นมุสลิม เช่น ผู้ปกครองรัฐที่ติดต่อค้าขายกับพ่อค้าอาหรับอยากกระชับความสัมพันธ์กับพวกพ่อค้า ก็เลยเปลี่ยนมาเข้ารับอิสลาม ประชาชนคนธรรมดาก็นับถือตามไป โดยที่วัฒนธรรมดั้งเดิมที่เป็นพุทธ-พราหมณ์-ผียังเข้มแข็งอยู่ ทำให้อิสลามที่นับถือกันในดินแดนนูซันตารา (หมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ไม่ใช่อิสลามที่บริสุทธิ์ แต่ปะปนความเชื่อรุ่นก่อนเยอะครับ
นอกจากนี้ นักประวัติศาสตร์บางสายเชื่อว่า อิสลามที่ถูกนำมาเผยแผ่ช่วงศตวรรษที่ 12-13 ไม่ได้มีเฉพาะชาวอาหรับหรือเปอร์เซีย แต่ยังมีพวกพ่อค้าอินเดียมุสลิมจากแคว้นกุจราตทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียปะปนเข้ามาด้วย เพราะผู้คนในหมู่เกาะอินโดนีเซียมีการติดต่อกับชาวอินเดียมาช้านานแล้ว (ชื่อประเทศยังแปลว่า "หมู่เกาะอินเดีย" เลย) แถมคนอินเดียมุสลิมก็มีพื้นฐานวัฒนธรรมแบบอินเดียที่เป็นพุทธ เป็นพราหมณ์เหมือนกัน อิสลามรูปแบบที่เข้ามาแพร่หลายในอินโดนีเซียยุคแรกๆคือ นิกายซูฟี ซึ่งมีการปฏิบัติสมาธิ เชื่อในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของนักบุญ หลายอย่างไปกันได้กับความเชื่อแบบพุทธ-พราหมณ์ การเผยแผ่อิสลามในยุคนี้จึงเป็นไปได้ง่าย และแพร่ไปอย่างว่องไว
แผนที่การเผยแผ่อิสลามในยุคแรกของคาบสมุทรนูซันตารา
น่าสังเกตว่าดินแดนอินโดนีเซียที่เป็นเกาะ แหล่งที่จะรับวัฒนธรรมความเชื่ออิสลามมากที่สุดก็คือละแวกชายฝั่งที่ติดต่อทางเรือกับโลกภายนอกได้ง่าย ส่วนดินแดนตอนใน เช่นในป่าดงดิบของเกาะบอร์เนียว เข้าถึงยากกว่า ส่งผลให้การนับถือศาสนาซึ่งมากับนักเดินเรือเป็นไปอย่างล่าช้า ผิดกับดินแดนรอบนอกที่อยู่ติดทะเล
วัฒนธรรมอินโดนีเซียรุ่นแรกที่เป็นมุสลิมปนความเป็นพุทธ พราหมณ์ ผี มาก บางครั้งชาวบ้านก็ยกมือไหว้รูปเคารพ ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ยังยึดตามแบบอินเดีย พิธีกรรมการบวงสรวงต่างๆในระดับราชสำนักก็ยังสืบทอดจากยุคบรรพบุรุษของพวกเขาที่ยังไม่ได้เป็นมุสลิม ผู้หญิงแต่งกายปกติ ไม่ได้คลุมผมหรือปกปิดร่างกายมิดชิดอย่างชาวอาหรับ ฯลฯ
ถ้าจะพูดถึงวัฒนธรรมของมุสลิมในอินโดนีเซีย ต้องบอกว่ามีทั้งที่ "เคร่งมาก" ไล่ไปจนถึง "เคร่งน้อย" ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาแต่ละกลุ่มเติบโตมาในสภาพแวดล้อมสังคมแบบใด
คลิฟฟอร์ด เกิร์ตส์ นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน เคยจำแนกวัฒนธรรมอิสลามบนเกาะชวาเอาไว้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ 1. ศันตรี 2. อะบางัน 3. ปรียายี
มุสลิมชวาทั้ง 3 กลุ่มวัฒนธรรม
ศันตรี (Santri) สรุปให้เข้าใจง่ายก็คือมุสลิมแท้ ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักอิสลามที่ถูกต้องเคร่งครัด ท่องจำอัลกุรอานจนขึ้นใจ ไปมัสยิดสม่ำเสมอ หลายคนได้รับการศึกษาศาสนามาจากตะวันออกกลาง โดยมากก็มักจะยึดหลักกฎหมายชะรีอะฮ์ในการดำเนินชีวิตด้วย มักอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่หรือเมืองริมชายฝั่งที่ได้ติดต่อกับโลกภายนอกมาช้านาน จึงได้รับการศึกษาหลักศาสนาเข้มข้น
อะบางัน (Abangan) มีจำนวนมากที่สุดในสังคมชวา ส่วนใหญ่เป็นผู้คนในชนบท ถึงจะเป็นมุสลิม แต่อะบางันก็ไม่ละทิ้งวัฒนธรรมท้องถิ่นของชวาดั้งเดิมที่มีรากฐานมาจากศาสนาฮินดู พุทธ และศาสนาพื้นบ้านพื้นเมืองชวาที่เรียกว่า เกอบาตินัน (Kebatinan) พวกอะบางันมีวัฒนธรรมหลายอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เช่น การล้อมวงกินเลี้ยงเซอลามาตัน (Selamatan) ในงานบุญ หลายอย่างแปลกจากมุสลิมในภาพจำของคนทั่วไป เช่น มีพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติเช่นภูเขาไฟ
ส่วน ปรียายี (Priyayi) หมายถึงชนชั้นสูง ชนชั้นปกครองชาวชวาพื้นเมืองในสมัยที่ชวายังเป็นอาณานิคมดัตช์ คนเหล่านี้มีจำนวนน้อย ยังยึดถือวัฒนธรรมชนชั้นสูงของชวาดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ก่อนอิสลามแผ่เข้ามาในคาบสมุทรอินโดนีเซียไว้ได้อย่างเหนียวแน่น แม้พวกเขาจะขึ้นชื่อว่านับถืออิสลามแล้ว แต่หลายอย่างยังดูเป็นพุทธและฮินดู มีความเป็นมุสลิมน้อยที่สุดใน 3 กลุ่ม
อนึ่ง สาเหตุที่อินโดนีเซียดูเหมือนจะ "ไม่ค่อยเคร่งอิสลาม" เท่าไหร่ เป็นเพราะไม่ได้ปกครองประเทศในรูปแบบของรัฐศาสนาครับ ไม่เหมือนอย่างตะวันออกกลางหลายๆประเทศที่ใช้ศาสนานำหน้า นำอิสลามมากำหนดกฎเกณฑ์ทุกอย่างในสังคม เพราะนอกจากมุสลิมแล้ว ประชากรอินโดนีเซียยังมีที่นับถือพุทธทั้งเถรวาทและมหายาน ฮินดู (เช่นบนเกาะบาหลี) คริสต์นิกายต่างๆ การก่อตั้งประเทศนี้ก็ทำได้ด้วยความยากลำบาก เพราะแต่ละเกาะในอดีตไม่เคยขึ้นตรงต่อกันแบบนี้ วัฒนธรรมภายในก็ต่างกัน ช่วงที่เรียกร้องเอกราช ประธานาธิบดีซูการ์โนจึงยึดถือคติ หลากหลายแต่เป็นอันหนึ่งอันเดียว (Bhinekka Tunggal Ika) คือให้ความสำคัญกับคนนับถือศาสนาอื่นด้วย เช่น พุทธ ฮินดู หรือชนพื้นเมืองที่นับถือภูตผีวิญญาณ
ในขณะที่มาเลเซียรุ่นหลังมีรัฐบาลหลายชุดที่เคร่งครัดอิสลามมากกว่าอินโดนีเซีย เลยพยายามปฏิรูปประเทศให้เป็นชาติมุสลิมที่เคร่งศาสนา แต่มีความทันสมัยในตัว นโยบายหลายๆข้อจึงเน้นไปที่มุสลิม ส่งเสริมศาสนาอิสลามมากกว่าศาสนาอื่น เป็นเหตุให้เรารู้สึกว่ามาเลเซียเคร่งกว่าอินโดนีเซีย แต่ความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าอินโดนีเซียหรือมาเลเซีย จุดเริ่มต้นของการเผยแผ่อิสลามในดินแดนที่เป็นประเทศทั้ง 2 นี้ก็เหมือนๆกัน คือเป็นการนับถือตามกัน ตอนแรกไม่ได้เคร่งครัดนัก เพิ่งจะมาเคร่งในรอบ 100 ปีหลังเมื่อมีคนท้องถิ่นไปเรียนศาสนาจากตะวันออกกลางมามากขึ้น คนพวกนี้จึงนำอิสลามแนวเคร่งแบบชาติตะวันออกกลางกลับมาเผยแผ่ที่บ้านเกิดเมืองนอน ยังไงก็ตาม จวบจนวันนี้ ทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซียก็ยังมีมุสลิมพวกที่นับถืออิสลามปนความเชื่อท้องถิ่นอยู่ไม่น้อยเลยครับ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมอินโดนีเซียเป็นประเทศที่นับถืออิสลามมากที่สุด แต่มีเรื่องแปลกๆในอิสลามมากที่สุด?