ยังน่าห่วง! ศบค.เผยติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มอีก 2,671 คน เสียชีวิตอีก 23 ราย
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2761260
ยังน่าห่วง! ศบค.เผยติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มอีก 2,671 คน เสียชีวิตอีก 23 ราย
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันที่ 6 มิถุนายน โดยระบุว่า พบผู้ติดเชื้อรวม 2,671 ราย โดยจำแนกเป็น
-ติดเชื้อใหม่ 2,067 ราย
-ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 604 ราย
-หายป่วยกลับบ้าน 2,424 ราย
-ผู้ป่วยสะสม 148,604 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
-เสียชีวิต 23 ราย
ชี้ต่างชาติมาน้อย 'ภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์' เดือนก.ค.ไม่ใช่ช่วงท่องเที่ยว แถมกักตัวบนเกาะอีก 14 วัน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2761283
ชี้ต่างชาติมาน้อย ‘ภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์’ เดือนก.ค.ไม่ใช่ช่วงท่องเที่ยว แถมกักตัวบนเกาะอีก 14 วัน
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน นาย
อดิษฐ์ ชัยรัตนานนท์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวว่า แม้ว่าศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) เห็นชอบรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภายใต้โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกช์ แต่คาดว่าจะไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา
เนื่องจากนักท่องเที่ยวเองต้องกักตัวอยู่บนเกาะจำนวน 14 วัน เห็นว่า มากเกินไป อีกทั้งในเดือนกรกฎาคมของทุกปี ไม่ใช่ฤดูท่องเที่ยวของภูเก็ต โอกาสที่จะรับนักท่องเที่ยวล้วนๆ จึงเป็นไปได้ยาก ถ้าคนต่างชาติจะมาน่าจะเป็นคนที่อยู่อาศัยระยะยาว นักธุรกิจ มากกว่า คาดว่ารัฐบาลจะใช้เวลาประเมิน 1-2 เดือน เพื่อพิจารณาลดวันกักตัวบนเกาะ พอเข้ามาแล้วใช้วิธีการแบบนี้จะควบคุมได้อย่างไร มีความปลอดภัยแค่ไหน
นาย
อดิษฐ์ กล่าวว่า แต่การเปิดเกาะภูเก็ตก็ดีกว่าไม่ได้เปิดเลย ถือว่าเป็นการทดลองระบบ ทดลองมาตรฐานการปฏิบัติงาน ทำให้ปลอดเชื้อจากการรับนักท่องเที่ยวเข้ามา แต่จะหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ได้คงเป็นไปได้ยาก เพราะว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาจำนวนน้อย ต้องรอดูในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ที่เป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (ไฮซีซั่น) ว่าจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในพื้นที่ได้มากน้อยเพียงใด หวังว่าให้ทางรัฐบาลควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคให้ดีกว่านี้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมีความมั่นใจที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น
"สวนดุสิตโพล" เผยยุคโควิด ประชาชนติดตามข่าวสารผ่านทางโซเชียลมากสุด
https://www.matichon.co.th/politics/news_2761299
“สวนดุสิตโพล” เผยยุคโควิด ประชาชนติดตามข่าวสารผ่านทางโซเชียลมากสุด
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2546 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ข้อมูบข่าวสารในยุคโควิด-19″ โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-3 มิ.ย.64” จากจำนวนตัวอย่างทางออนไลน์รวม 1,213 คน โดยพบว่า เมื่อถามถึงการติดตามข้อมูลข่าวสารของประชาชนในยุคโควิด-19 พบว่า 29.43% ระบุว่าขึ้นอยุ่กับความสะดวก รองลงมาติดตามทั้งวันที่ 21.85% และติดตามทุกครึ่งวันที่ 18.71%
เมื่อถามถึงช่องทางในการติดตามข้อมูลข่าวสารพบว่า 74.81% ติดตามทางสื่อโซเชียลมิเดียที่ 74.81% อีก 59.49% ติดตามทางโทรทัศน์และอีก 34.13% ติดตามทางสื่อบุคคล
เมื่อถามว่าคิดเห็นอย่างไรต่อข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ในปัจจุบัน พบว่า 52.24% ระบุว่าให้ความรู้ในแง่มุมใหม่ๆ มีการวิเคราะห์เชิงลึก 49.09% เห็นว่ามีข่าวลือ เฟคนิวส์ ข้อมูลเกินจริง และ 47.43% ระบุว่าข่าวเร็วมากขึ้น แชร์และส่งต่ออย่างรวดเร็ว
เมื่อถามถึงลักษณะของข้อมูลข่าวสานที่น่าเชื่อถือ 78.32% ระบุว่า ต้องระบุที่มา ผู้ให้ข้อมูลมีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน ขณะที่ 57.48% ระบุว่ามาจากหน่วยงานองค์กรที่มีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับ และ 54.57% เห็นว่าต้องมีหลักฐานประกอบที่ชัดเจน
เมื่อถามถึงดันดับสื่อที่ประชาชนให้ความเชื่อมั่นคือ โทรทัศน์ 85.24% รองลงมาคือ นักวิชาการ นักวิเครราะห์ นักวิจัย 69.33% หน่วยงานภาครัฐ เอกชน 67.56% หนังสือพิมพ์ 57.79% และเว็ปไซต์ของสำนักข่าว 49.38%
และสิ่งที่อยากฝากถึงสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร โดย 78.71% ระบุว่า นำเสนอข่าวสารตามความเป็นจริง ไม่บิดเบือน และ 76.24% มีจรรยาบรรณและจิตสำนึกในการทำหน้าที่ และอีก64.36% ระบุว่านำเสนอข่าวสารอย่างสร้างสรรค์เป็นประโยชน์ต่อสังคม
JJNY : ติดเชื้ออีก 2,671 เสียชีวิต 23│ชี้ต่างชาติมาน้อย│ดุสิตโพลเผยปชช.ตามข่าวผ่านโซเชียล│นิด้าเผยผลสำรวจรอบ3 ผู้ว่ากทม.
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2761260
ยังน่าห่วง! ศบค.เผยติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มอีก 2,671 คน เสียชีวิตอีก 23 ราย
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันที่ 6 มิถุนายน โดยระบุว่า พบผู้ติดเชื้อรวม 2,671 ราย โดยจำแนกเป็น
-ติดเชื้อใหม่ 2,067 ราย
-ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 604 ราย
-หายป่วยกลับบ้าน 2,424 ราย
-ผู้ป่วยสะสม 148,604 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
-เสียชีวิต 23 ราย
ชี้ต่างชาติมาน้อย 'ภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์' เดือนก.ค.ไม่ใช่ช่วงท่องเที่ยว แถมกักตัวบนเกาะอีก 14 วัน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2761283
ชี้ต่างชาติมาน้อย ‘ภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์’ เดือนก.ค.ไม่ใช่ช่วงท่องเที่ยว แถมกักตัวบนเกาะอีก 14 วัน
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน นายอดิษฐ์ ชัยรัตนานนท์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวว่า แม้ว่าศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) เห็นชอบรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภายใต้โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกช์ แต่คาดว่าจะไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา
เนื่องจากนักท่องเที่ยวเองต้องกักตัวอยู่บนเกาะจำนวน 14 วัน เห็นว่า มากเกินไป อีกทั้งในเดือนกรกฎาคมของทุกปี ไม่ใช่ฤดูท่องเที่ยวของภูเก็ต โอกาสที่จะรับนักท่องเที่ยวล้วนๆ จึงเป็นไปได้ยาก ถ้าคนต่างชาติจะมาน่าจะเป็นคนที่อยู่อาศัยระยะยาว นักธุรกิจ มากกว่า คาดว่ารัฐบาลจะใช้เวลาประเมิน 1-2 เดือน เพื่อพิจารณาลดวันกักตัวบนเกาะ พอเข้ามาแล้วใช้วิธีการแบบนี้จะควบคุมได้อย่างไร มีความปลอดภัยแค่ไหน
นายอดิษฐ์ กล่าวว่า แต่การเปิดเกาะภูเก็ตก็ดีกว่าไม่ได้เปิดเลย ถือว่าเป็นการทดลองระบบ ทดลองมาตรฐานการปฏิบัติงาน ทำให้ปลอดเชื้อจากการรับนักท่องเที่ยวเข้ามา แต่จะหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ได้คงเป็นไปได้ยาก เพราะว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาจำนวนน้อย ต้องรอดูในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ที่เป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (ไฮซีซั่น) ว่าจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในพื้นที่ได้มากน้อยเพียงใด หวังว่าให้ทางรัฐบาลควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคให้ดีกว่านี้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมีความมั่นใจที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น
"สวนดุสิตโพล" เผยยุคโควิด ประชาชนติดตามข่าวสารผ่านทางโซเชียลมากสุด
https://www.matichon.co.th/politics/news_2761299
“สวนดุสิตโพล” เผยยุคโควิด ประชาชนติดตามข่าวสารผ่านทางโซเชียลมากสุด
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2546 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ข้อมูบข่าวสารในยุคโควิด-19″ โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-3 มิ.ย.64” จากจำนวนตัวอย่างทางออนไลน์รวม 1,213 คน โดยพบว่า เมื่อถามถึงการติดตามข้อมูลข่าวสารของประชาชนในยุคโควิด-19 พบว่า 29.43% ระบุว่าขึ้นอยุ่กับความสะดวก รองลงมาติดตามทั้งวันที่ 21.85% และติดตามทุกครึ่งวันที่ 18.71%
เมื่อถามถึงช่องทางในการติดตามข้อมูลข่าวสารพบว่า 74.81% ติดตามทางสื่อโซเชียลมิเดียที่ 74.81% อีก 59.49% ติดตามทางโทรทัศน์และอีก 34.13% ติดตามทางสื่อบุคคล
เมื่อถามว่าคิดเห็นอย่างไรต่อข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ในปัจจุบัน พบว่า 52.24% ระบุว่าให้ความรู้ในแง่มุมใหม่ๆ มีการวิเคราะห์เชิงลึก 49.09% เห็นว่ามีข่าวลือ เฟคนิวส์ ข้อมูลเกินจริง และ 47.43% ระบุว่าข่าวเร็วมากขึ้น แชร์และส่งต่ออย่างรวดเร็ว
เมื่อถามถึงลักษณะของข้อมูลข่าวสานที่น่าเชื่อถือ 78.32% ระบุว่า ต้องระบุที่มา ผู้ให้ข้อมูลมีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน ขณะที่ 57.48% ระบุว่ามาจากหน่วยงานองค์กรที่มีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับ และ 54.57% เห็นว่าต้องมีหลักฐานประกอบที่ชัดเจน
เมื่อถามถึงดันดับสื่อที่ประชาชนให้ความเชื่อมั่นคือ โทรทัศน์ 85.24% รองลงมาคือ นักวิชาการ นักวิเครราะห์ นักวิจัย 69.33% หน่วยงานภาครัฐ เอกชน 67.56% หนังสือพิมพ์ 57.79% และเว็ปไซต์ของสำนักข่าว 49.38%
และสิ่งที่อยากฝากถึงสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร โดย 78.71% ระบุว่า นำเสนอข่าวสารตามความเป็นจริง ไม่บิดเบือน และ 76.24% มีจรรยาบรรณและจิตสำนึกในการทำหน้าที่ และอีก64.36% ระบุว่านำเสนอข่าวสารอย่างสร้างสรรค์เป็นประโยชน์ต่อสังคม