" Anolis Aquaticus " กิ้งก่าที่มีฟองน้ำบนหัวสุดเท่




(Anolis aquaticus ตัวเต็มวัย จากเขต Coto Brus ในคอสตาริกา พร้อมด้วยฟองอากาศที่อยู่บนหัว / Cr.ภาพโดย Lindsey Swierk)


สิ่งมีชีวิตที่เห็นอยู่นี้คือ “กิ้งก่า” ขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anolis aquaticus (อาโนลลิส-อควาติคัส) มีถิ่นอาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำหลายแห่งทางตอนใต้ ในประเทศคอสตาริกา ถูกพบเมื่อปี 2015 โดยนักนิเวศวิทยาด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ Dr. Lindsey Swierk จากมหาวิทยาลัย Binghamton University 

โดย Swierk ได้สังเกตเห็นสายพันธุ์นี้ครั้งแรกเมื่อเธอเดินไปตามลำธารบนภูเขาในคอสตาริกา และสังเกตเห็นกิ้งก่ากำลังดำน้ำอยู่ใต้น้ำ ซึ่งเธอเห็นว่ามันอยู่ใต้น้ำเป็นเวลานานมากโดยมีฟองอากาศที่หัว และจากการวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับกระเพาะของกิ้งก่าพบว่า พวกมันกินแมลงบางชนิดที่พบใต้น้ำเป็นหลัก แต่นักวิทยาศาสตร์คิดว่า สปีชีส์นี้อาจดำน้ำใต้น้ำด้วยเหตุผลอื่นนอกเหนือจากการหลีกเลี่ยงผู้ล่า

Swierk เล่าว่า “ นี่คือการค้นพบโดยบังเอิญ มันเกิดขึ้นขณะที่ฉันและทีมกำลังเฝ้าสังเกตกิ้งก่าตัวนี้อย่างระมัดระวัง ซึ่งตอนนั้นฉันยังไม่ทราบว่ามันมีความสามารถสุดพิเศษแบบนี้ และเมื่อเราเข้าไปใกล้เพื่อจะเก็บรูป เจ้ากิ้งก่าตัวนี้ก็กระโดดลงน้ำทันที ณ ตอนนั้นเราตัดสินใจไม่วุ่นวายกับมัน สิ่งที่เราทำแค่เพียงบันทึกวีดีโอขณะที่มันอยู่ใต้น้ำพร้อมกับเอาใจช่วยให้มันขึ้นบกโดยเร็ว จนกระทั่งเราได้เห็นสกิลการหายใจใต้น้ำสุดเจ๋ง เรารออยู่แบบนั้นนานถึง 16 นาทีจนมันขึ้นมาและวิ่งหนีไปไหนที่สุด”

นักนิเวศวิทยา Lindsey Swierk เชื่อว่าฟองอากาศชั่วคราวที่ด้านบนของหัว anole ในน้ำช่วยให้หายใจใต้น้ำได้
Swierk กลับมาที่ลำธารในอีกไม่กี่ปีต่อมา พร้อมกับกล้องวิดีโอเพื่อจับภาพกิ้งก่าใต้น้ำ จากสิ่งที่เธอบันทึกไว้แสดงให้เห็นว่า กิ้งก่าสามารถอยู่ใต้น้ำได้นานถึง 16 นาที ซึ่งเธอเชื่อว่าเป็นเพราะกิ้งก่าหายใจโดยใช้ฟองน้ำบนหัว โดยจะปล่อยอากาศออกจากจมูกของมันเป็นระยะๆ เป็นฟองอากาศอยู่บนหัวของกิ้งก่า และขยายขนาดแล้วหดตัว ราวกับว่ากิ้งก่าใช้อากาศในฟองเป็นถังดำน้ำสำหรับมัน 

ต่อมาอีก 4 ปี หลังการค้นพบในวันนั้น ลินด์ซีย์ ให้สัมภาษณ์กับ Herpetological Review เพิ่มเติมว่า “ จนถึงปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยชิ้นใดสามารถอธิบายการทำงานของ ‘ฟองอากาศบนหัวของมัน’ ได้อย่างละเอียด แต่จากคลิปวีดีโอที่ Swierk บันทึกไว้สันนิษฐานได้ว่า
-  ฟองอากาศที่อยู่เหนือจมูกนั้น-น่าจะมีลักษณะการทำงานที่กักเก็บอากาศเหมือนถังดำน้ำ
-  หรือสิ่งที่อยู่ในฟองอากาศอาจมีความสามารถในการขจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้วปล่อยออกช่องทางอื่น จึงเหลือเพียงออกซิเจนไว้ในการหายใจ

ปัจจุบันปี 2021 Dr. Lindsey Swierk และทีมงานได้รับทุนวิจัยเกี่ยวกับกิ้งก่าชนิดนี้โดยเฉพาะ จากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) และความคืบหน้าต่าง ๆ ถูกอัพเดตอย่างต่อเนื่องลงในวารสาร Herpetological Review (สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกวิทยา) ในทุกปี และจะสามารถไขปริศนาเกี่ยวกับสกิลของกิ้งก่าชนิดนี้ได้ในเวลาต่อไป


anole น้ำ ( Anolis aquaticus ), คอสตาริกา


นอกจากนั้น  Swierk และทีมนักวิจัย ซึ่งรวมถึงคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย Binghamton, State University of New York ยังได้ร่วมมือกันในการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม โดยมีเป้าหมายที่จะเห็นว่านักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มีผลกระทบต่อสัตว์ป่าในพื้นที่โดยไม่ได้ตั้งใจได้อย่างไร โดยการศึกษานี้ยังคงเป็นกิ้งก่า water anoles (Anolis aquaticus) หลากหลายชนิดที่อยู่ในคอสตาริกา

ซึ่ง Swierk กล่าวว่า "เหตุผลหนึ่งที่เลือก water anoles เป็นเพราะพวกมันถูกจำกัดให้อยู่ในช่วงที่ค่อนข้างเล็ก และเราค่อนข้างแน่ใจว่าประชากรเหล่านี้ไม่ได้เห็นมนุษย์จำนวนมากในช่วงชีวิตของพวกเขา ดังนั้น เราจึงมั่นใจมากว่าประชากรเหล่านี้ไม่มีอคติจากปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์มาก่อน "

ในการรวบรวมข้อมูลนั้น นักวิจัยได้ไปที่ Las Cruces Biological Center ในคอสตาริกา และเข้าเยี่ยมชมสถานที่ริมแม่น้ำ 3 แห่งโดยสวมเสื้อสีต่างๆ จากทั้งหมดสามสี ได้แก่ สีส้ม สีเขียว และสีน้ำเงิน ทั้งนี้ การศึกษานี้มุ่งเน้นเพื่อดูว่า water anoles เหล่านี้มีปฏิกิริยาอย่างไรกับสีต่างๆ โดย
- สีส้ม   ถูกเลือกเพราะ water anoles มีสัญญาณทางเพศสีส้ม
- สีฟ้า   ถูกเลือกเป็นสีที่ตัดกัน เนื่องจากลำตัวของมันไม่มีสีนี้
- สีเขียวถูกเลือกให้เป็นสีที่ใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมของป่าเขตร้อนของพื้นที่ทดสอบ 

จากผลการศึกษาที่มีต่อสมมติฐานดังกล่าวพบว่า water anoles มีปฏิกิริยากับนักวิจัยที่ใส่เสื้อสีส้ม โดยมีรายงานว่าภายในหนึ่งชม.จะพบ  water anoles มากขึ้นและมีเปอร์เซ็นต์การจับคู่ของ anole สูงขึ้นด้วย แม้จะคาดการณ์ผลลัพธ์ไว้แล้ว แต่ Swierk กล่าวว่าเธอรู้สึกประหลาดใจกับผลวิจัยบางอย่าง ที่ว่าในป่าสีเขียวซึ่งอำพรางตัวนักวิจัยที่ใส่เสื้อสีเขียวได้ดีนั้น มีประสิทธิภาพน้อยกว่าการใส่เสื้อสีส้มที่สดใส อย่างไรก็ตาม Swierk กล่าวว่าหนึ่งในประเด็นที่ใหญ่ที่สุดจากการศึกษานี้คือเราอาจยังไม่เข้าใจว่าสัตว์ว่ามองโลกอย่างไร 


ในโลกของกิ้งก่า สีฉูดฉาดดึงดูดความสนใจของตัวเมีย



คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่