JJNY : ยิ่งลักษณ์แนะใช้แอพพ์ช่วยเกษตรกร│โพลชี้คนไทยเครียด-ท้อถอย-กังวล│ชี้วัคซีนคุ้มทางเศรษฐศาสตร์│จับตาถกต่อสายสีเขียว

ยิ่งลักษณ์ โพสต์ ได้รับทุเรียนแล้ว รับคิดถึงเมืองไทย แนะใช้แอพพ์ช่วยเกษตรกร
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2749170
 
 
ยิ่งลักษณ์ โพสต์ ได้รับทุเรียนแล้ว รับคิดถึงเมืองไทย แนะใช้แอพพ์ช่วยเกษตรกร
 
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก Yingluck Shinawatra เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ระบุว่า 
 
ขอบคุณของฝากจากเมืองไทยนะคะ ได้ทานทุเรียนแล้วก็อดทำให้คิดถึงเมืองไทย และพี่น้องประชาชนไม่ได้
 
ช่วงปี 2554 ที่เราเจอวิกฤตอุทกภัย ทุเรียนพันธุ์ดี ๆ หลายพันธุ์ โดยเฉพาะทุเรียนเมืองนนท์ที่สร้างรายได้ให้กับชาวสวนทุเรียน เสียหายจากน้ำท่วม รัฐบาลช่วงนั้นได้จัดสรรงบประมาณเยียวยาพืชสวนที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ประกอบกับความตั้งใจของเกษตรกรที่ช่วยกันดูแล และพัฒนา ทำให้ทุเรียนนนท์มีคุณภาพดีขึ้น พร้อม ๆ กับมีการยกระดับคุณภาพทุเรียนอีกหลากหลายพันธุ์ให้ได้มาตรฐานส่งออกมากขึ้น
 
ส่วนใครจะถูกใจกับรสชาติพันธุ์ไหนก็ไม่ว่ากัน ส่วนตัวดิฉันชอบทุเรียนพันธุ์ดั้งเดิม อย่างหมอนทอง ชะนี ก้านยาว หลิน หลงลับแล เพราะมีรสชาติแบบกรอบนอกแต่เนื้อด้านในมีสัมผัสนุ่ม ซึ่งปัจจุบันปลูกได้เกือบทุกภาคทั่วประเทศ บางพื้นที่ใช้เทคโนโลยีเกษตรแม่นยำเข้ามาช่วยวัดค่าดิน วัดการใช้ปุ๋ย และคาดการณ์ผลผลิต ทำให้รสชาติมีเอกลักษณ์เฉพาะมากขึ้น เนื้อทุเรียนนุ่มละมุน หอมหวาน รสเข้มข้น ขายได้ราคาดี บางลูกราคาเป็นหมื่นเป็นแสน พอผลผลิตคุณภาพดีแบบนี้ก็มีการจองล่วงหน้า
 
เทคโนโลยีเกษตรแม่นยำในปัจจุบันมีพัฒนาเป็นแอปออกมาหลายตัว หากพี่น้องเกษตรกรบ้านเราให้ลูกหลานทดลองใช้แอปเหล่านี้ รวมทั้งแอปเกษตรล่วงหน้ากับสินค้าเกษตรอื่น ๆ ได้บ้าง ก็จะพัฒนาให้สินค้าเกษตรนั้น ๆ เป็นสินค้าเกษตรเฉพาะตัว มีอัตลักษณ์พื้นถิ่น สอดคล้องกับเทรนด์ความต้องการของตลาดโลกก็น่าจะช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรส่งออกด้วยค่ะ
 
และในช่วงเวลาแบบนี้ หากใครยังพอไหว ก็ขอให้ช่วยกันอุดหนุนผลไม้ตามฤดูกาลแบบนี้ เพื่อช่วยเกษตรกรที่กำลังลำบากกันนะคะ

https://www.facebook.com/Y.Shinawatra/posts/4404354662942288
 


โพลชี้สภาพจิตใจคนไทยยุคโควิด เครียด-ท้อถอย-กังวล
https://www.dailynews.co.th/politics/846564 
 
โพลชี้สภาพจิตใจคนไทยยุคโควิด เครียด-ท้อถอย-กังวล
 
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “สภาพจิตใจของคนไทยในยุคโควิด-19” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,713 คน พบว่า 
ประชาชนรู้สึกเครียดและวิตกกังวลมากที่สุด ร้อยละ 75.35 
รองลงมาคือรู้สึกแย่ สิ้นหวัง ร้อยละ 72.95
 
เมื่อวันที่ 30 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “สภาพจิตใจของคนไทยในยุคโควิด-19” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,713 คน สำรวจวันที่ 24-27 พฤษภาคม 2564 พบว่า 
ประชาชนรู้สึกเครียดและวิตกกังวลมากที่สุด ร้อยละ 75.35 
รองลงมาคือรู้สึกแย่ สิ้นหวัง ร้อยละ 72.95 
 
สิ่งที่ทำให้สภาพจิตใจแย่ลง คือ 
การแพร่ระบาดของโควิด-19 รุนแรงมากขึ้น ร้อยละ 88.33 
สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ทำมาหากินลำบาก ร้อยละ 74.53 
 
วิธีการดูแลสภาพจิตใจ คือ 
การใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง มีสติ ร้อยละ 91.03 
ศึกษาวิธีป้องกันดูแลด้วยตัวเอง ร้อยละ 60.82 
 
สิ่งที่อยากให้รัฐบาล/หน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชนเข้ามาช่วยมากที่สุด คือ
เร่งการฉีดวัคซีนโดยเร็ว ร้อยละ 74.96% 
เร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 60.52
 
จากปัญหาที่เกิดขึ้นโดยภาพรวมประชาชนพยายามอดทน แก้ปัญหาเพื่อให้อยู่ได้ ร้อยละ 41.97 จากผลโพลที่สำคัญพบว่า ประชาชนรู้สึก “ท้อถอยที่สุด/เกินจะรับมือได้” ร้อยละ 3.79 หากเทียบเป็นประชาชน 100 คน จะมีประชาชนเกือบ 4 คน ที่รู้สึกรับมือกับปัญหาต่อไปไม่ไหว ปัญหาโควิด-19 ทำให้กระทบต่อรายได้ การทำมาหากินจนทำให้เกิดความเครียดหนัก ซึ่งตั้งแต่เกิดโควิด-19 ระบาด อัตราการฆ่าตัวตายของประชาชนก็เพิ่มสูงขึ้นคล้ายกับช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งอีกด้วย สัญญาณนี้รัฐบาลไม่ควรจะนิ่งเฉยควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปช่วยเหลือดูแลสภาพจิตใจของกลุ่มเปราะบางโดยเร็ว
 
จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า ประชาชนมีความเครียดและวิตกกังวลที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการปรับตัวอย่างมาก ทำให้เกิดภาวะสุขภาพจิตต่างๆ ตามมา ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเครียดและวิตกกังวลดังกล่าวเกิดจากปัจจัยทางด้านสังคมและสภาพแวดล้อม เช่น การแพร่ระบาดในระลอกใหม่ สภาพเศรษฐกิจและอัตราการว่างงาน ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งวิธีจัดการกับภาวะสุขภาพจิตสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้สติในการดำเนินชีวิต การผ่อนคลายความเครียด เป็นต้น โดยสิ่งที่ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาช่วยมากที่สุด คือ การฉีดวัคซีนและการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยภาพรวมประชาชนใช้ความอดทนและพยายามแก้ปัญหาต่าง ๆ อาจเพราะประชาชนยังมีความหวังว่าจะกลับมาใช้ชีวิตในสภาวะปกติได้ในเร็ววัน และยังมีกำลังใจในการต่อสู้ชีวิตโดยหมั่นใส่ใจดูแลสุขภาพจิตของตนเองและคนรอบข้างให้มีความเข้มแข็ง มีพลังใจในการต่อสู้กับปัญหาต่างๆ ถือเป็นภูมิคุ้มกันทางใจที่มีความสำคัญที่จะสามารถผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ไปได้ด้วยดี
 
**************
 
กระทู้ผลโพลอย่างเป็นทางการของสวนดุสิตโพลครับ
 
“สภาพจิตใจของคนไทยในยุคโควิด-19”
https://ppantip.com/topic/40742974
 

 
'นักวิชาการ' ชี้ 'วัคซีนโควิด' คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มากกว่าจ่ายเงินเยียวยา
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/940603

การแพร่ระบาดของโควิด-19 มานานกว่า 1 ปีทำให้ภาครัฐต้องใช้เงินทั้งเงินกู้ และเงินงบประมาณในการดูแล รักษา ผู้ป่วยโควิด และจ่ายเงินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นวงเงินรวมกันกว่าล้านล้านบาท อย่างไรก็ตามในมุมนักวิชาการมองว่าวัคซีนเป็นคำตอบที่ดีกว่า
 
วัคซีน”ถือเป็นความหวังสำคัญของการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อไป หากสามารถที่จะกระจายวัคซีนได้มากและรวดเร็วในปริมาณที่เกิน 70 %ของประชากรจนเกิด "ภูมิคุ้มกันหมู่" (Herd Immunity) ในประเทศจะทำให้สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาได้ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวอย่างไทยกลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
 
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำหนดให้ “วัคซีน” เป็นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลในปีนี้ โดยเน้นที่การเร่งรัดจัดหาและกระจายวัคซีนให้กับประชาชนอย่างครอบคลุมทั่วถึง และการเร่งประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนให้แก่ประชาชนในการรับการฉีดวัคซีน โดยมีเป้าหมายว่าประชาชน 75% จะได้รับวัคซีนภายในปี 2564 
 
โดยข้อดีของวัคซีนโควิดที่มีการฉีดในปริมาณที่มากพอจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดินได้ การผ่อนคลายมาตรการต่างๆหลังจากควบคุมการระบาดจะทำได้มากขึ้นซึ่งหมายความว่าวงเงินที่ภาครัฐจะต้องจ่ายในการเยียวยาประชาก็จะลดลงด้วย วัคซีนจึงมีความคุ้มค่าในทางเศรษฐศาสตร์เพราะนอกจากจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น จะลดภาระทางงบประมาณที่ต้องใช้เงินในการเยียวยาประชาชนหลังการระบาดแต่ละระลอกของโควิด-19 ของรัฐบาลให้ลดลง 
 
นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาการการจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง (วบส.) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่าการเกิดการระบาดของโควิด-19 ในแต่ละระลอกรัฐบาลใช้เงินในการเยียวยา จ่ายเงินให้กับประชาชนแสนล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายที่ภาครัฐแบกรับในเรื่องการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 สูงมากถึงประมาณรายละ 1 ล้านบาท ส่วนการตรวจหาเชื้อโควิด -19 มีค่าใช้จ่ายที่ประชาชนหรือภาครัฐต้องจ่ายไม่ต่ำกว่า 2,000 บาทต่อราย 
 
ส่วนค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนให้กับคนทั่วประเทศเมื่อคิดตามราคาต้นทุนวัคซีนของแอสตร้าเซเนก้าที่เป็นวัคซีนหลักที่คนไทยจะได้ฉีดอยู่ที่ประมาณ 240 บาทต่อคน (2โดส) ซึ่งเมื่อคูณจำนวนประชากร 70 ล้านคน คิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 2 - 3 หมื่นล้านบาทเท่านั้น จะเห็นว่าเป็นต้นทุนที่ต่ำกว่าการรักษาผู้ป่วยและการเยียวยาประชาชนที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
 
ทั้งนี้หากมีการฉีดวัคซีนได้อย่างรวดเร็วในปริมาณที่มากพอความเชื่อมั่นของประชาชนที่จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตใกล้เคียงกับปกติได้มากขึ้น และด้วยขนาดประชากรประมาณ 70 ล้านคนของประเทศไทยสามารถที่จะพึ่งพาการขับเคลื่อนการใช้จ่าย และการท่องเที่ยวในประเทศได้ในระดับหนึ่งซึ่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้

หากมีการฉีดวัคซีนที่มากพอที่จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ภาครัฐก็จะลดภาระในเรื่องของการจ่ายเงินเยียวยาและมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจลงได้ ดังนั้นในเรื่องการลงทุนเรื่องการฉีดวัคซีนจึงมีผลดีทั้งเรื่องสาธารณสุขและผลดีต่อการช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศกลับมาใกล้เคียงปกติได้มากขึ้นด้วย”  
นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโสด้านนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมและเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่าการฉีดวัคซีนโควิดให้กับประชาชนมีความคุ้มค่ามากกว่าในทางเศรษฐศาสตร์ หากภาครัฐเลือกซื้อวัคซีนในราคาประมาณ 1,500 บาทต่อโดส ฉีดให้กับประชากร 70 ล้านคนครบ 140 ล้านโดส หรือจะฉีดวัคซีนให้กับประชากรทุกคน ก็จะใช้งบประมาณไม่เกิน 2.1 แสนล้านบาท ซึ่งแตกต่างกับการใช้เงินในการเยียวยาที่ต้องแจกเงินจำนวนมากครั้งละ 2 - 3 แสนล้านบาทเพื่อพยุงเศรษฐกิจซึ่งการระบาดแต่ละครั้งใช้เงินจำนวนมาก และเมื่อฉีดวัคซีนได้น้อยทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงัก 
 
"การออก พ.ร.ก.ให้กระทรวงการคลังกู้เงินฯ ล่าสุดที่เป็นการกู้ฉุกเฉินล่าสุด ภาครัฐยังเลือกจะกู้มากถึง 5  แสนล้าน ซึ่ง 3.3 แสนล้าน เป็นงบประมาณที่ใช้ในด้านสาธารณสุขและการเยียวยา ทำให้เห็นว่าถ้าเลือกฉีดวัคซีนน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในทางเศรษฐศาสตร์ เพราะใช้เงินน้อยกว่ามีประสิทธิภาพในการฟื้นเศรษฐกิจ และใช้งบประมาณน้อยกว่าในการรักษาและเยียวยาประชาชนจากโควิด" นายนณริฏ กล่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่