JJNY : 5in1 จาตุรนต์แนะช่วยจ่าย│ข้าวสารเซ้งกิจการกว่า30%│กวางโจวพบโควิดอินเดีย│มาเลเซียล็อกดาวน์│เวียดนามพบโควิดลูกผสม

จาตุรนต์ แนะรบ.ตั้งงบช่วยจ่ายค่าวัคซีนทางเลือก หวังปชช.รับตามสิทธิ-ฉีดเร็วขึ้น
https://www.matichon.co.th/covid19/news_2748901
 
จาตุรนต์ แนะรบ.ตั้งงบช่วยจ่ายค่าวัคซีนทางเลือก หวังปชช.รับตามสิทธิ-ฉีดเร็วขึ้น
 
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Chaturon Chaisang ระบุว่า 

เมื่อจะมีการบริการฉีดวัคซีนแบบคิดค่าใช้จ่าย รัฐบาลควรทำอย่างไร
 
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 47 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
เมื่อมีองค์กรภาครัฐหรือเอกชนจะจัดหาวัคซีนมาให้บริการแก่ประชาชนโดยคิดค่าใช้จ่าย รัฐบาลควรทำอย่างไร ?
 
ถ้าดูจากความเป็นมาของเรื่องนี้จะพบว่าการดำเนินการจัดหาและกระจายวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุขหรือของรัฐบาลเองล่าช้า ไม่เพียงพอและมีทางเลือกน้อย การดำเนินการขององค์กรภาครัฐหรือเอกชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นประโยชน์ ที่รัฐบาลควรส่งเสริม
 
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการขององค์กรภาครัฐ ที่นอกเหนือจากกระทรวงสาธารณสุขและภาคเอกชนดำเนินการต่อไปได้และประชาชนยังคงได้สิทธิตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ รัฐบาลจึงควรตั้งงบประมาณช่วยเหลือประชาชนที่จะไปฉีดวัคซีนที่มีการคิดค่าใช้จ่ายทั้งหลาย โดยอาจคำนวณจากค่าใช้จ่ายในการซื้อและขนส่งรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนแต่ละเข็ม เช่นเมื่อเร็วๆ นี้ ครม.มีมติอนุมัติค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัคซีน 5 แสนโดส ประกอบด้วย เป็นค่าวัคซีนโควิด-19 จำนวน 271.25 ล้านบาท และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 18.99 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในบริหารจัดการวัคซีนในการเตรียมความพร้อมในระดับพื้นที่ เพื่อรองรับการฉีดวัคซีน จำนวน 31.36 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 321,604,000 บาท โดยดำเนินงานในเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา
ถ้าคำนวณคร่าวๆ ค่าใช้จ่ายต่อโด๊สจะประมาณ 650 บาท ถ้าคิดค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกสัก 150 บาท ก็จะเป็น 800 บาท
 
หากใช้ตัวเลขนี้เป็นเกณฑ์ (หรืออาจจะแตกต่างไปบ้างก็สุดแล้วแต่) เมื่อประชาชนไปฉีดวัคซีนกับองค์กรใดหรือโรงพยาบาลเอกชนใดก็ตาม รัฐบาลก็สนับสนุนให้ประชาชนเข็มละ 800 บาท โดยอาจจะจ่ายเงินไปให้ผู้ให้บริการก็ได้
 
ก็เท่ากับประชาชนจะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลตามสิทธิที่พึงได้รับและยังได้ฉีดวัคซีนเร็วขึ้นและมีทางเลือกมากขึ้นด้วย
 
#วัคซีนโควิด #วัคซีนซิโนฟาร์ม #โควิดวันนี้
 
https://www.facebook.com/Chaturon.FanPage/posts/10159523286957359
 

 
ผู้ประกอบการข้าวสาร ชงโมเดลสีขาว หวังฟื้นธุรกิจ รับวิกฤต เซ้งกิจการกว่า 30% แล้ว
https://www.matichon.co.th/economy/news_2748548

ผู้ประกอบการ ถ.ข้าวสาร ชงโมเดลพื้นที่สีขาว เสนอผู้ว่ากทม. ขอรับวัคซีน สร้างจุดขาย หวังฟื้นสภาพคล่อง หลังผับ บาร์ โรงแรม ร้านนวด ยกธงขาว ขึ้นป้ายเซ้งกิจการ 30% แล้ว 
 
วันนี้ (29 พ.ค.) นายสง่า เรืองวัฒนกุล นายกสมาคมผู้ประกอบธุรกิจถนนข้าวสาร เปิดเผยกับ “มติชน” ว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการกำลังรอการเข้ารับการฉีควัคซีนป้องกันไวรัสโควิด หลังจากที่สมาคมฯได้รวบรวมผู้ประกอบการในถนนข้าวสารและใกล้เคียงจำนวน 1,500 คน พร้อมจัดทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้จัดสรรวัคซีน หากได้รับการฉีควัคซีนแล้ว จะเป็นการสร้างความมั่นใจและสบายใจให้กับผู้ประกอบการ พนักงาน ประชาชนหรือนักท่องเที่ยว ที่จะเข้ามาในถนนข้าวสาร มั่นใจว่า ได้ฉีควัคซีนป้องกันแล้วทำไปพร้อมมาตรการเว้นระยะห่าง โดยตั้งเป้าหมายจะสร้างจุดขายเป็นพื้นที่สีขาว และให้เห็นว่า คลีนทั้งหมด
 
“สมาคมได้ยื่นหนังสือไป 2 สัปดาห์แล้ว แต่ยังไม่ได้คำตอบ ก็จะยังติดตามอย่างใกล้ชิด โดยทางถนนข้าวสาร เราพร้อมที่จะดูแลจัดหาสถานที่หรือโรงพยาบาลใกล้ถนนข้าวสารเพื่อฉีดวัคซีน และพร้อมสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มจากวัคซีน เช่น ค่าฉีดยา เพียงขอวัคซีนตามจำนวนที่เราได้ยื่นขอไปและน่าจะใช้เวลาเพียง 1 วันในการฉีด เราเชื่อว่าเมื่อได้รับการฉีคระดับหนึ่ง ถนนข้าวสารจะเป็นจุดแรกๆที่จะฟื้นตัวของการค้าขายได้ตามปกติ และสร้างเงินสะพัดเข้าระบบเศรษฐกิจ” นายสง่า กล่าว
 
นายสง่า กล่าวต่อว่า ในเรื่องปัญหาขาดสภาพคล่องของผู้ประกอบการในถนนข้าวสาร วันนี้ถือว่าหนักหนามาก สำรวจผู้ประกอบการล่าสุดประกาศปิดกิจการถาวรหรือเซ้งกิจการแล้ว 40-50 ราย หรือประมาณ 30% ของสมาชิกสมาคม ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจด้านอาหาร ธุรกิจบริการนวดเพื่อสุขภาพ โดยยังไม่นับรวมรายย่อยหรือแผงลอยที่มีหลายร้อยราย ต้องปิดกิจการตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิดรอบ 2 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ประเด็นที่ทำให้ธุรกิจต้องปิดกิจการเพราะไม่มีเงินทุนไหลเวียนและขาดสภาพคล่องการเงิน อีกทั้งแบกรับการจ้างงานไม่ไหว รวมถึงไม่รู้ว่าการระบาดของโควิดจะควบคุมหมดไปจริงใช้เวลาแค่ไหน จากนี้ธุรกิจอาจยังฟื้นตัวไม่เร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ อาจต้องใช้อีก 2-3 ปีกว่านี้ถึงจะลดภาระหนี้ที่แบกไว้กับโควิด-19 เพราะธุรกิจในถนนข้าวสารต้องพึ่งพากลุ่มลูกค้าที่มาใช้การบริการอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ต้องการห้องพัก แนวโน้มหากโควิดยังยืดเยื้อ และการฉีดวัคซีนล่าช้าการปิดกิจการจะเพิ่มอีกมาก
 
“การเข้าถึงแหล่งทุนของเอสเอ็มอีหรือรายย่อยในถนนข้าวสารที่ต้องพึ่งพาตลอดนักดื่มนักเที่ยว เมื่อปิดตัวยาวเป็นปีๆและ เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน กิจการก็แบกรับไม่ไหว ต้องเลือกปิดตัว ถือเป็นวิกฤตหนักของถนนข้าวสารที่จะเกิดการปิดตัวและเปลี่ยนมือทางธุรกิจมากสุดครั้งแรก แต่เราเชื่อว่า ทำเลของถนนข้าวสารเพื่อสร้างให้เป็นพื้นที่สีขาวได้ ก็จะดึงดูดการฟื้นตัวของการใช้จ่ายได้เร็วกว่าพื้นที่อื่นๆ” นายสง่า กล่าว


 
กวางโจวปิดเขตพบโควิด สายพันธุ์อินเดีย หวั่นแพร่รวดเร็ว-รุนแรง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6425307

กวางโจวปิดเขตพบโควิด – เอพี รายงานว่า เมื่อ 29 พ.ค. ทางการนครกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ภาคใต้ของจีน สั่งปิดย่านหลี่หวันที่พบผู้ป่วยโรคโควิด-19 ห้ามร้านอาหารเปิดให้กินภายในห้องอาหาร พร้อมสั่งประชาชนอยู่กับบ้าน และระดมตรวจหาเชื้อเชิงรุกยังบ้านเรือนประชาชนแบบหลังต่อหลัง

ขณะที่เจ้าหน้าที่จากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของกว่างโจวชี้ว่าห่วงโซ่การแพร่เชื้อไวรัสครั้งนี้แพร่กระจายอย่าง รวดเร็วและรุนแรง นับจากตรวจพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์อินเดียแล้ว 20 ราย ล้วนเชื่อมโยงกับห่วงโซ่การแพร่เชื้อเดียวกันทั้งหมด นับจากพบหญิงอายุ 75 ปี เป็นคนแรกที่ติดเชื้อกลายพันธุ์ เมื่อวันที่ 21 พ.ค.

จากนั้นพบว่า เชื้อลามไปยังเมืองหนานชาน ที่อยู่ติดกัน พบยืนยันแล้ว 1 คน และมีอาการแล้ว 2 คน คนทั้งหมดเดินทางไปจากเมืองกวางโจว

นายเฉิน ปิน รองผู้อำนวยการคณะกรรมการสุขภาพของเมือง แถลงว่า กลุ่มผู้ป่วยทั้งหมดเคยสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันผลก่อนหน้านี้ในทางใดทางหนึ่ง เช่น ใช้ชีวิตร่วมกัน หรือรับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งทั้งหมดเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลแล้ว
 
ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่เมืองกวางโจวเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้ประชาชนแล้วจำนวน 11.48 ล้านโดส ให้ประชาชน 8.67 ล้านคน จากจำนวนประชากร 15 ล้านคน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่