ช่วงปีที่ผ่านมาเริ่มเห็นกระแสละครสะท้อนสังคมในเพจเฟสบุ๊คต่างๆ(ที่ทำตามจีน) ถ้าไม่นับการแสดงหรือบทพูดที่โคตะระไม่ธรรมชาติและแข็งเป็นหินสุดๆตัวของนักแสดง เนื้อเรื่อง80%ก็วนไปวนมาหมกมุ่นอยู่กับรวยๆจนๆขับรถหรูบลาๆๆโดยจะมีพล็อตอยู่ไม่กี่แบบตามนี้
เช่น นายAทำตัวจน>เกิดสถานการ์ณบางอย่าง(เช่นไปซื้อรถ,ติดต่องาน,ขายของ,อื่นๆ)>โดนนายBดูถูก(เช่นเซล,พนักงานบริษัท,อื่นๆ)>ปรากฏว่านายAรวยหรือจริงๆแล้วเป็นบอสใหญ่(หักมุมสุดๆเดาไม่ได้เลยนะเนี่ย)>นายBหน้าหงายรีบพลิกลิ้นทันควัน>นายAสั่งสอน>จบ
เอาจริงๆดูเหมือนจะสวยหรูนะครับให้แง่คิดสังคมว่าอย่าดูถูกตัดสินหรือมองคนที่ภายนอก แต่มันกลับแย่ยิ่งกว่าตรงที่มันเป็นกำลังสร้างชุดความคิดที่ว่า
"อย่าดูถูกหรือมองคนที่ภายนอก...เพราะเค้าอาจจะโคตรรวยหรืออาจจะเจอตอก็ได้" เคยมีเรื่องไหนมั้ยที่ตัวละครโดนดูถูกตอนต้นเรื่องสุดท้ายเค้าก็จนอย่างที่ว่าจริงๆ ซึ่งจริงๆเราควรจะให้เกียรติกันหรือมองกันที่ความเป็นคนเท่ากันรึเปล่าไม่ใช่ให้เกียรติเค้าเพราะเงินที่เค้ามี ต่อให้เค้าเป็นคนจนจริงๆอยากเข้ามาดูรถในเต็นท์รถหรูเซลก็ควรจะให้เกียรติเค้าในฐานะคนเหมือนกันไม่ใช่ให้เกียรติเพราะเค้าอาจจะรวยเป็นผ้าขี้ริ้วห่อทองก็ได้
สุดท้ายผมสงสัยว่าไอ้ละครที่พยายามจะสะท้อนสังคมแบบดาดดื่นแถมสร้างชุดความคิดห่วยๆแบบนี้สุดท้ายให้อะไรกับสังคม ซึ่งผมก็เข้าใจว่าก็อาจมีคนบางกลุ่มที่บันเทิงกับความromanticismนํ้าเน่าๆในรูปแบบสำเร็จรูป ฉีกซองชงดื่มจบได้ความฟินความซึ้งแบบผิวเผินภายใน5-10นาทีอันนั้นก็คงจะตอบโจทย์ แต่ผมอยากรู้ในฐานะผู้ผลิตว่าถ้าหากเค้าต้องการสะท้อนสังคม เค้าต้องการขับเคลื่อนชุดความคิดแบบนี้ไปในสังคมจริงๆหรือ...หรือจริงๆเค้าก็แค่ไม่ได้สนใจอะไรทำเพื่อเงินอย่างเดียวเห็นคนนิยมทำแบบนี้คนเข้ามาดูเยอะได้ตัง แก่นละครจะสื่อสารอะไรออกไม่สนใจกันแน่ครับ
พวกละครสั้นซะท้อนสังคมตามเพจเฟสบุ๊ค...ให้อะไรกับสังคม?
เช่น นายAทำตัวจน>เกิดสถานการ์ณบางอย่าง(เช่นไปซื้อรถ,ติดต่องาน,ขายของ,อื่นๆ)>โดนนายBดูถูก(เช่นเซล,พนักงานบริษัท,อื่นๆ)>ปรากฏว่านายAรวยหรือจริงๆแล้วเป็นบอสใหญ่(หักมุมสุดๆเดาไม่ได้เลยนะเนี่ย)>นายBหน้าหงายรีบพลิกลิ้นทันควัน>นายAสั่งสอน>จบ
เอาจริงๆดูเหมือนจะสวยหรูนะครับให้แง่คิดสังคมว่าอย่าดูถูกตัดสินหรือมองคนที่ภายนอก แต่มันกลับแย่ยิ่งกว่าตรงที่มันเป็นกำลังสร้างชุดความคิดที่ว่า
"อย่าดูถูกหรือมองคนที่ภายนอก...เพราะเค้าอาจจะโคตรรวยหรืออาจจะเจอตอก็ได้" เคยมีเรื่องไหนมั้ยที่ตัวละครโดนดูถูกตอนต้นเรื่องสุดท้ายเค้าก็จนอย่างที่ว่าจริงๆ ซึ่งจริงๆเราควรจะให้เกียรติกันหรือมองกันที่ความเป็นคนเท่ากันรึเปล่าไม่ใช่ให้เกียรติเค้าเพราะเงินที่เค้ามี ต่อให้เค้าเป็นคนจนจริงๆอยากเข้ามาดูรถในเต็นท์รถหรูเซลก็ควรจะให้เกียรติเค้าในฐานะคนเหมือนกันไม่ใช่ให้เกียรติเพราะเค้าอาจจะรวยเป็นผ้าขี้ริ้วห่อทองก็ได้
สุดท้ายผมสงสัยว่าไอ้ละครที่พยายามจะสะท้อนสังคมแบบดาดดื่นแถมสร้างชุดความคิดห่วยๆแบบนี้สุดท้ายให้อะไรกับสังคม ซึ่งผมก็เข้าใจว่าก็อาจมีคนบางกลุ่มที่บันเทิงกับความromanticismนํ้าเน่าๆในรูปแบบสำเร็จรูป ฉีกซองชงดื่มจบได้ความฟินความซึ้งแบบผิวเผินภายใน5-10นาทีอันนั้นก็คงจะตอบโจทย์ แต่ผมอยากรู้ในฐานะผู้ผลิตว่าถ้าหากเค้าต้องการสะท้อนสังคม เค้าต้องการขับเคลื่อนชุดความคิดแบบนี้ไปในสังคมจริงๆหรือ...หรือจริงๆเค้าก็แค่ไม่ได้สนใจอะไรทำเพื่อเงินอย่างเดียวเห็นคนนิยมทำแบบนี้คนเข้ามาดูเยอะได้ตัง แก่นละครจะสื่อสารอะไรออกไม่สนใจกันแน่ครับ