"ปลาบู่ทอง" ถือเป็นละครพื้นบ้านไทยอีกเรื่องที่มีความคลาสสิค (น้ำดีสุดๆ) คล้ายๆซินเดอเรลล่า หลายคนรู้จักกันดี ในนามวรรณกรรมมุขปาฐะ นิทานพื้นบ้านภาคกลางที่เล่าสืบต่อกันมาช้านาน กระทู้นี้เจ้าของกระทู้ตั้งใจจะมาเขียนรีวิวฉบับช่อง 7 ปี 2552 เนื่องด้วยเป็นละครพื้นบ้านในความทรงจำของเจ้าของกระทู้เรื่องแรกๆ เลยในวัยเด็ก ซึ่งตอนนั้นยังจำเรื่องราวไม่ได้มาก ดูบ้างไม่ดูมาก จึงตัดสินใจย้อนดูอีกครั้งทางยูทูป SAMSEARN OFFICIAL
ละคร : ปลาบู่ทอง (พ.ศ.2552)
บทประพันธ์ดัดแปลงจากเค้าโครงนิทานพื้นบ้านไทย โดย "บุราณ"
บทโทรทัศน์ : ภาวิต (รัมภา ภิรมย์ภักดี)
ผลิตโดย : ดีด้าวีดีโอโปรดักชั่น & สามเศียร
ส่วนตัวเจ้าของกระทู้แล้ว มีโอกาสได้ดูทั้ง 2 เวอร์ชั่นเลย ทั้งปี 2537 และปี 2552 ซึ่งเจ้าของกระทู้ยอมรับว่าฉบับปี 2537 ค่อนข้างจะมีความปังมากกว่าปี 2552 ซึ่ง 2552 นำบทเค้าโครงจากเวอร์ชั่นปี 2537 มาดัดแปลงและทำเป็นเวอร์ชั่นใหม่มีสไตล์เป็นของตนเอง คนเขียนบทคนเดียวกัน เพียงแต่เวอร์ชั่น 2537 ภาวิต (ซึ่งเขียนปี 2552 ลุยเดี่ยว) จะเขียนบทร่วมกับลุลินารถ สำหรับเวอร์ชั่น 2537 ได้บรรยากาศลูกทุ่งพื้นบ้านกลางสมัยก่อนมาก เจ้าของกระทู้ขอไม่ลงรายละเอียดเวอร์ชั่นนั้นมาก ไว้มีโอกาสจะเขียนกระทู้รีวิวเวอร์ชั่นนั้นให้ แต่วันนี้ที่ตั้งใจจะมารีวิวเจาะจงเลยคือเวอร์ชั่น 2552 ซึ่งนับว่าเป็นละครแจ้งเกิดของนางเอก มิน พีชญาเลย เป็นละครเรื่องแรกที่เล่นและได้ขึ้นหลังข่าวและไม่ได้กลับมาเล่นพื้นบ้านอีกเลย
ปลาบู่ทอง 2552 ดำเนินเรื่องอย่างไร ตรงตามบทประพันธ์และเหมือนเวอร์ชั่นก่อนมากแค่ไหน?
ด้วยความเป็นละครพื้นบ้าน ละครจักรๆวงศ์ๆ คนเขียนบทสามารถแต่งเติมเสริมแต่งอะไรลงไปแค่ไหนก็ได้ สำหรับภาวิต นักเขียนบทท่านนี้แล้ว ละครเรื่องปลาบู่ทอง ผมขอยกให้เป็นมาสเตอร์พีซอีกเรื่องนึงของเขาเลย ไดอะล็อกบทพูดค่อนข้างโอเคดีเลย ความแซ่บๆ มีให้เห็นมากมายตั้งแต่ต้นจนจบ
(พอๆกับความหงุดหงิดจากการยืดบทสไตล์จักรวงศ์) กับละครน้ำดี
78 ตอนจบ (จากเวอร์ชั่นก่อน 40 กว่าตอน) มีความคล้ายคลึงสังข์ทอง 2550 อยู่ไม่น้อยเลย สำหรับเรื่องนี้ภาวิตเขียนบทออกไปให้แตกต่าง แต่ยังคงเค้าโครงเรื่องเดิมอยู่ จุดสำคัญของเรื่องไม่ได้ดัดแปลงอะไรมากครับ แต่แค่เรื่องราวระหว่างดำเนินเรื่องที่ไม่เหมือนกับเวอร์ชั่นอื่นๆก็เท่านั้น ถ้าถามว่าทำตามเค้าโครงเรื่องเดิมแค่ไหนผมให้ประมาณ 80% เลยอะ
พระเอกเป็นแค่พระโอรส พอเปิดเรื่องมา พระเอกนางเอกก็ได้ป๊ะหน้ากันแล้ว?
ซึ่งเวอร์ชั่นก่อนๆ ไม่มีมาก่อนครับ การที่ให้พระเอกนางเอกได้ป๊ะหน้ากันตั้งแต่ตอนเด็กหรือตอนแรกเริ่ม เปิดมาตอนแรกจะเป็นฉากที่พระเอกนั่งเรือพระที่นั่งมาพบปะเยี่ยมราษฎร แล้วนังเอื้อยมันไปตกน้ำตรงหน้าเรือพระที่นั่งพระเอกนั้นพอดี (ละครไทยสไตล์) หลังๆมา พระเอกที่เป็นเจ้าชายขี้เหงา วันๆอยู่แต่ในวัง เบื่ออยากมีเพื่อนเล่นบ้าง เลยตัดสินใจออกมาเที่ยวเล่น ปลอมตัวเป็นชาวบ้านธรรมดา ชื่อพ่อพรหม (พระโอรสพรหมทัต) มาเที่ยวเล่นนอกวัง ทำให้เจอเอื้อย แล้วก็เกิดสนใจ อยากรู้จักอยากเป็นเพื่อนเล่นกัน มันเป็นจุดสำคัญและจุดเชื่อมโยงที่ทำให้ พระเอกนางเอก
รู้สึกผูกพันกันตั้งแต่เด็ก คือรู้เลยว่าโตมายังไงก็ต้องรักกันแน่นอน ทำให้ดูมีสตอรี่อะไรมาก่อน เป็นการตีความที่แปลกใหม่ดี
(ผ่านมา 10 ปี ภาวิตก็มาเขียนมุกแบบนี้กับเรื่องพระรถเมรีของฉัน) คือคนดูเชื่อว่าตอนเด็กพระนางรู้สึกมีความผูกพันกัน พระเอกที่เป็นพระโอรสอยู่แต่ในวังก็เหงา ส่วนนางเอกก็มีครอบครัวที่ค่อนข้าง ปสด ทำให้มีความเครียด ความกดดัน ไม่ค่อยอยากให้พระเอกเข้ามารับรู้หรือมาอะไรกับครอบครัว ทำให้พระเอกไม่รู้เลยว่าเอื้อยมีน้องสาวอีกคนที่หน้าเหมือนกันคืออ้าย (มีฉากนึงจำได้ตอนนางเอกรดน้ำต้นมะเขือแม่ขนิษฐา พระเอกยังนึกสงสัยเลย แต่ก็ไม่ได้ถามไถ่อะไรกัน) จนโตมาจากความผูกพันจากเพื่อนกลายมาเป็นคนที่รักกัน ซึ่งจุดนี้ผมชอบนะ ไดอะล็อก เหตุการณ์กับบทพูดของภาวิตในเรื่องคือเรียบเรียงออกมาดีทีเดียว
ความมีมิติของตัวละคร ตัวละครเรื่องนี้มีมิติมากแค่ไหน?
สำหรับละครปลาบู่ทองนี้ ตัวละครไม่ต่างอะไรจากละครไทยทั่วไปครับ
ตัวดีก็ดีไปเสียทุกอย่าง จ๊าดง่าวโดนกระทำตั้งแต่ต้นจนจบ นังเอื้อยไม่เคยจำสักที แม่ขนิษฐาต้นโพธิ์หลังๆมาก็พ่ายแพ้ฝ่ายร้าย
ตัวร้ายก็ร้ายจ๋า ร้ายจนตกเป็นเครื่องมือของตัวร้ายที่ร้ายกว่า สุดท้ายจุดจบสะใจดี (แต่บางทีก็ง่ายดายไป)
ตัวประกอบฉลาดกว่าตัวดี บทพูดตัวประกอบคือเหมือนแทนใจคนดู ชาวบ้านที่ปรากฎในเรื่องมีบทแทบเกือบตลอดทั้งเรื่อง (3 ขี้เมา ยายสม ลุงกำนัน สัปเหร่อที่วัด น้าจำปา และอื่นๆอีกมากมาย) ไดอะล็อกของตัวประกอบเหมือนพูดแทนใจคนดู เหมือนรู้ใจคนดู ทั้งฝ่ายดีฝ่ายร้ายเลย เป็นสีสันของเรื่องดี แซะความบ้งของบทได้ดีเลย มีฉากนึงที่น้าจำปาสอนเอื้อยไว้ว่า "จำไว้นะลูก ความดีกับความโง่มันมีเส้นบางๆกั้นอยู่ อยู่ที่เองจะมองแล้วล่ะ"
ถ้าไม่มีตัวประกอบเหล่านี้คอยช่วยฝ่ายดี บอกเลยว่าหงุดหงิดตลอดทั้งเรื่องแน่นอนครับ
การตีความครอบครัว ปสด ของเอื้อย รวมถึงแม่ปลาบู่ขนิษฐา?
แรกๆคือค่อนข้างร้ายชัดเลย พ่อถูกเมียน้อยทำเสน่ห์ ทำให้ไปรักเมียน้อยกับลูกเมียน้อยอย่างขนิษฐีกับอ้ายมากกว่า บทเวอร์ชั่นนี้จะเล่าว่า เศรษฐีพาทิกะขี้เหนียว ไม่ยอมจ่ายเงินบ่าวทาสในเรือนทำให้บ่าวทาสพากันขนข้าวของย้ายออกไปกันหมด สุดท้ายเลยต้องใช้งานเมียหลวงกับลูกอย่างนังขนิษฐากับนังเอิ้อยแทน ทำงานหนักเหน็ดเหนื่อย สไตล์ละครไทย
ส่วนขนิษฐาตอนเป็นคนนี่ก็ดีแสนดีเหลือเกิน ดีมากดีมาย ขนาดถูกทุบตีทำร้ายร่างกาย กำนันจะมาเอาเรื่องให้ก็ไม่ยอม ด้วยความรักลูกรักผัว สุดท้ายก็เลยโดนกดขี่ข่มเหงจนตาย แต่พอตายกลายเป็นผี อันนี้โอเค ละครทำออกมาแนวผีหลอกวิญญาณอาฆาต คือไล่ตามหลอกตามหลอนคนที่มาทำร้ายลูกเอื้อย จนไม่กล้ามาทำอะไรเอื้อยจนโต แต่ก็ยังถูกกระทำอยู่ดีนั่นล่ะว้า
จำได้ว่าตอนแรกๆ มีฉาก 3 ขี้เมาแอบเอาน้ำมนต์มาใส่ในโอ่งให้เศรษฐีพาทิกะกิน ทำให้กลายเป็นคนดีไปคืนหนึ่ง แต่พอตื่นมาเสน่ห์ก็ยังแรงอยู่เหมือนเดิมนั่นล่ะว้า แต่พักหลังๆ พอเอื้อยอ้ายโตเป็นสาว บทละครก็ทำให้ตัวละครพ่อเป็นคนดีขึ้นมาซะงั้นโดยการที่ให้ 3 ขี้เมาแอบเอาน้ำมนต์ไปให้กินบ่อยๆ และขนิษฐีก็ไม่ทำเสน่ห์ใส่อีกเลย.... อิหยังว้า ส่วนตัวละครอ้าย ที่เป็นน้องของเอื้อย แรกๆก็ดีอยู่หรอก เรียกพี่เอื้อย เรียกป้าขนิษฐา แต่พอเสน่ห์ที่พ่อทำหายไปในคืนนั้น นังอ้ายก็เลยกลายเป็นเด็กร้ายกาจห้าวๆไปเลย (บวกกับแม่ขนิษฐียุยงส่งเสริมด้วยแหละอืม)
เวอร์ชั่นนี้นังเอื้อยอ่อนต่อโลกเกินไป บทเลยส่งนังอ้ายไปกำราบแทน
ความสะใจของเรื่องนี้อยู่ที่ตัวละครอ้ายตอนโตครับ อย่างที่บอกเวอร์ชั่นนี้พระเอกเป็นพระโอรสยังไม่ได้เป็นกษัตริย์ พออภิเษกเอื้อยเลยได้เป็นแค่ "พระสนม" เท่านั้น (หลังๆอ้ายไปอยู่ได้เลื่อนเป็นพระชายาเลย) แต่พอเอื้อยเข้าวังแรกๆ ก็ต้องโดนกดขี่ตามสไตล์แม่ผัวไม่ชอบลูกสะใภ้ ซึ่งก็ยอมให้เขากดขี่อีก จนกระทั่งกลับไปรับแม่ต้นโพธิ์มาปลูกในวังทำให้มีการสลับตัวเกิดขึ้นครั้งแรก นังอ้ายได้มาอยู่ในวัง แล้วเหมือนจัดการคนที่ไม่ชอบเลย คือร้ายมาร้ายกลับ เวอร์ชั่นนี้ตัวละครอ้ายเลยเป็นที่น่าจับตามองมากกว่าตัวละครดีอย่าง เอื้อย
เวอร์ชั่นนี้ ก่อนจบมีฉากเอื้อยร้ายกลับให้คนดูสะใจด้วย?
ความสะใจของเวอร์ชั่นนี้คือการที่นังเอื้อยถูก
ผีโหงพราย ของฝ่ายร้ายเข้าสิง พอฝ่ายร้ายแตกคอกันเอง แม่หมอที่เป็นตัวละครฝั่งร้าย และอยู่ฝ่ายอ้ายกับแม่ขนิษฐีมาตลอดเลยพาเอื้อย (ที่ถูกผีสิงอยู่) เข้ามาในวัง เพื่อมา
ข่ม นังอ้าย แต่สุดท้าย เอื้อยกับอ้ายก็ตีกันเอง ทำให้ฝ่ายพระเอกตาสว่าง (หลังจากถูกทำเสน่ห์และซื่อบื้อมานาน) ความสะใจคือ เอื้อย เวอร์ชั่นผีเข้า ร้ายกลับทุกคนได้สะใจมาก น่าจะมีฉากแบบนี้สัก 2-3 ตอนให้สะใจ
สุดท้ายแล้วตอนจบของเรื่องก็นำเสนอว่า "ทำอย่างไรก็ได้ผลอย่างนั้น"
มุกคลาสสิคของละครไทย "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ซึ่งบทละครแซะให้เห็นตลอดทั้งเรื่องที่ฝ่ายดีถูกกระทำมาตลอด มีความสุขแค่ช่วงท้ายเรื่อง กว่าจะหมดกรรม ถ้าไม่ซื่อบื้อมาตั้งแต่แรก ส่วนตัวละคร "อ้าย" จุดจบไม่เหมือนกับต้นฉบับที่ถูกฆ่าแล้วเอาศพไปทำปลาร้าส่งกลับมาให้ที่บ้านกิน แต่บทละครจะเล่าว่า อ้ายและขนิษฐีถูกจับหลังตัวร้ายจอมขมังเวทย์ถูกฝ่ายดีสังหารจนหมด เอื้อยขออภัยโทษให้ได้กลับมาบ้าน สุดท้ายแล้วเอื้อยก็ตัดสินใจไปรับพ่อเข้าวัง แต่นังอ้ายยังร้ายกาจไม่ยอมหยุด ไปเอายาพิษมาใส่น้ำฝนหวังจะวางยาให้คนที่มารอรับเสด็จกินแล้วตายกันให้หมด แต่สุดท้ายแล้ว วิญญาณแม่หมอก็มาเข้าร่างอ้าย คว้าขันน้ำนั่นไปกินทำให้ตาย ส่วนขนิษฐีก็กลายเป็นบ้าเหมือนเวอร์ชั่นก่อน สุดท้ายฉากจบที่วิญญาณขนิษฐาไปเกิด พระเอกนางเอกก็ไปรอรับขบวนพ่อของเอื้อยที่ตัดสินใจมาใช้ชีวิตบั้นปลายกับลูกสาวในวัง
นักแสดงเล่นดี และเพลงประกอบละครเพราะมาก
เพลงเปิดเรื่องยังคงใช้เพลงปลาบู่ทอง ของ ชาลี อินทรวิจิตรอยู่ ใช้เวอร์ชั่นเดิมที่ขับร้องโดย วัชราภรณ์ สุขสวัสดิ์
ส่วนเพลงอื่นๆ อีก 4 เพลงที่เหลือ ม่อน วงด๊ะดาดเป็นคนประพันธ์และเรียบเรียงดนตรี ซึ่งเพราะมาก ถึงบางเพลงจะไม่ตรงคอนเซปละครก็เถอะ
เรื่องนี้นักแสดงเล่นดีเกือบทุกคนเลย พระเอกมีเล่นแข็งบ้าง บทมิน พีชญา แจ้งเกิดจากบทเอื้อยอ้าย แต่สำหรับส่วนตัวแล้ว ผมชอบบทอ้ายมากกว่านะ ร้ายแบบดิ้นๆ ตลอดทั้งเรื่องเลย นักแสดงรุ่นใหญ่เล่นดีทุกคนเลย นักแสดงเด็ก โบกัสกับการ์ตูน เล่นดีมาก ตอนนี้โตเป็นหนุ่มเป็นสาวกันหมดแล้ว
12 ปีผ่านไป อย่ารีเมคบ่อยเกินเลย ขอร้อง
ได้แต่หวังว่าถ้าสามเศียร รีเมค พิกุลทอง ไกรทองแล้ว เรื่องต่อไปวอนอย่าทำปลาบู่ทองเลย อยากให้หาเรื่องใหม่ๆมาทำบ้าง หรือหยิบเรื่องที่ไม่เคยทำมาทำ (ส่วนตัวอยากให้ทำ นกกระจาบครับ) ปลาบู่ทองปล่อยผ่านไปสัก 20-30 ปีก่อนค่อยรีเมคครับ ปล่อยให้เวอร์ชั่นก่อนๆ เป็นตำนานบ้าง
[SR] [Review] ปลาบู่ทอง (2552) ละครพื้นบ้านคัทซีนสวย...12 ปี อย่ารีเมคบ่อยเลย 7.5/10
ละคร : ปลาบู่ทอง (พ.ศ.2552)
บทประพันธ์ดัดแปลงจากเค้าโครงนิทานพื้นบ้านไทย โดย "บุราณ"
บทโทรทัศน์ : ภาวิต (รัมภา ภิรมย์ภักดี)
ผลิตโดย : ดีด้าวีดีโอโปรดักชั่น & สามเศียร
ส่วนตัวเจ้าของกระทู้แล้ว มีโอกาสได้ดูทั้ง 2 เวอร์ชั่นเลย ทั้งปี 2537 และปี 2552 ซึ่งเจ้าของกระทู้ยอมรับว่าฉบับปี 2537 ค่อนข้างจะมีความปังมากกว่าปี 2552 ซึ่ง 2552 นำบทเค้าโครงจากเวอร์ชั่นปี 2537 มาดัดแปลงและทำเป็นเวอร์ชั่นใหม่มีสไตล์เป็นของตนเอง คนเขียนบทคนเดียวกัน เพียงแต่เวอร์ชั่น 2537 ภาวิต (ซึ่งเขียนปี 2552 ลุยเดี่ยว) จะเขียนบทร่วมกับลุลินารถ สำหรับเวอร์ชั่น 2537 ได้บรรยากาศลูกทุ่งพื้นบ้านกลางสมัยก่อนมาก เจ้าของกระทู้ขอไม่ลงรายละเอียดเวอร์ชั่นนั้นมาก ไว้มีโอกาสจะเขียนกระทู้รีวิวเวอร์ชั่นนั้นให้ แต่วันนี้ที่ตั้งใจจะมารีวิวเจาะจงเลยคือเวอร์ชั่น 2552 ซึ่งนับว่าเป็นละครแจ้งเกิดของนางเอก มิน พีชญาเลย เป็นละครเรื่องแรกที่เล่นและได้ขึ้นหลังข่าวและไม่ได้กลับมาเล่นพื้นบ้านอีกเลย
ปลาบู่ทอง 2552 ดำเนินเรื่องอย่างไร ตรงตามบทประพันธ์และเหมือนเวอร์ชั่นก่อนมากแค่ไหน?
ด้วยความเป็นละครพื้นบ้าน ละครจักรๆวงศ์ๆ คนเขียนบทสามารถแต่งเติมเสริมแต่งอะไรลงไปแค่ไหนก็ได้ สำหรับภาวิต นักเขียนบทท่านนี้แล้ว ละครเรื่องปลาบู่ทอง ผมขอยกให้เป็นมาสเตอร์พีซอีกเรื่องนึงของเขาเลย ไดอะล็อกบทพูดค่อนข้างโอเคดีเลย ความแซ่บๆ มีให้เห็นมากมายตั้งแต่ต้นจนจบ (พอๆกับความหงุดหงิดจากการยืดบทสไตล์จักรวงศ์) กับละครน้ำดี 78 ตอนจบ (จากเวอร์ชั่นก่อน 40 กว่าตอน) มีความคล้ายคลึงสังข์ทอง 2550 อยู่ไม่น้อยเลย สำหรับเรื่องนี้ภาวิตเขียนบทออกไปให้แตกต่าง แต่ยังคงเค้าโครงเรื่องเดิมอยู่ จุดสำคัญของเรื่องไม่ได้ดัดแปลงอะไรมากครับ แต่แค่เรื่องราวระหว่างดำเนินเรื่องที่ไม่เหมือนกับเวอร์ชั่นอื่นๆก็เท่านั้น ถ้าถามว่าทำตามเค้าโครงเรื่องเดิมแค่ไหนผมให้ประมาณ 80% เลยอะ
พระเอกเป็นแค่พระโอรส พอเปิดเรื่องมา พระเอกนางเอกก็ได้ป๊ะหน้ากันแล้ว?
ซึ่งเวอร์ชั่นก่อนๆ ไม่มีมาก่อนครับ การที่ให้พระเอกนางเอกได้ป๊ะหน้ากันตั้งแต่ตอนเด็กหรือตอนแรกเริ่ม เปิดมาตอนแรกจะเป็นฉากที่พระเอกนั่งเรือพระที่นั่งมาพบปะเยี่ยมราษฎร แล้วนังเอื้อยมันไปตกน้ำตรงหน้าเรือพระที่นั่งพระเอกนั้นพอดี (ละครไทยสไตล์) หลังๆมา พระเอกที่เป็นเจ้าชายขี้เหงา วันๆอยู่แต่ในวัง เบื่ออยากมีเพื่อนเล่นบ้าง เลยตัดสินใจออกมาเที่ยวเล่น ปลอมตัวเป็นชาวบ้านธรรมดา ชื่อพ่อพรหม (พระโอรสพรหมทัต) มาเที่ยวเล่นนอกวัง ทำให้เจอเอื้อย แล้วก็เกิดสนใจ อยากรู้จักอยากเป็นเพื่อนเล่นกัน มันเป็นจุดสำคัญและจุดเชื่อมโยงที่ทำให้ พระเอกนางเอก รู้สึกผูกพันกันตั้งแต่เด็ก คือรู้เลยว่าโตมายังไงก็ต้องรักกันแน่นอน ทำให้ดูมีสตอรี่อะไรมาก่อน เป็นการตีความที่แปลกใหม่ดี (ผ่านมา 10 ปี ภาวิตก็มาเขียนมุกแบบนี้กับเรื่องพระรถเมรีของฉัน) คือคนดูเชื่อว่าตอนเด็กพระนางรู้สึกมีความผูกพันกัน พระเอกที่เป็นพระโอรสอยู่แต่ในวังก็เหงา ส่วนนางเอกก็มีครอบครัวที่ค่อนข้าง ปสด ทำให้มีความเครียด ความกดดัน ไม่ค่อยอยากให้พระเอกเข้ามารับรู้หรือมาอะไรกับครอบครัว ทำให้พระเอกไม่รู้เลยว่าเอื้อยมีน้องสาวอีกคนที่หน้าเหมือนกันคืออ้าย (มีฉากนึงจำได้ตอนนางเอกรดน้ำต้นมะเขือแม่ขนิษฐา พระเอกยังนึกสงสัยเลย แต่ก็ไม่ได้ถามไถ่อะไรกัน) จนโตมาจากความผูกพันจากเพื่อนกลายมาเป็นคนที่รักกัน ซึ่งจุดนี้ผมชอบนะ ไดอะล็อก เหตุการณ์กับบทพูดของภาวิตในเรื่องคือเรียบเรียงออกมาดีทีเดียว
ความมีมิติของตัวละคร ตัวละครเรื่องนี้มีมิติมากแค่ไหน?
สำหรับละครปลาบู่ทองนี้ ตัวละครไม่ต่างอะไรจากละครไทยทั่วไปครับ
ตัวดีก็ดีไปเสียทุกอย่าง จ๊าดง่าวโดนกระทำตั้งแต่ต้นจนจบ นังเอื้อยไม่เคยจำสักที แม่ขนิษฐาต้นโพธิ์หลังๆมาก็พ่ายแพ้ฝ่ายร้าย
ตัวร้ายก็ร้ายจ๋า ร้ายจนตกเป็นเครื่องมือของตัวร้ายที่ร้ายกว่า สุดท้ายจุดจบสะใจดี (แต่บางทีก็ง่ายดายไป)
ตัวประกอบฉลาดกว่าตัวดี บทพูดตัวประกอบคือเหมือนแทนใจคนดู ชาวบ้านที่ปรากฎในเรื่องมีบทแทบเกือบตลอดทั้งเรื่อง (3 ขี้เมา ยายสม ลุงกำนัน สัปเหร่อที่วัด น้าจำปา และอื่นๆอีกมากมาย) ไดอะล็อกของตัวประกอบเหมือนพูดแทนใจคนดู เหมือนรู้ใจคนดู ทั้งฝ่ายดีฝ่ายร้ายเลย เป็นสีสันของเรื่องดี แซะความบ้งของบทได้ดีเลย มีฉากนึงที่น้าจำปาสอนเอื้อยไว้ว่า "จำไว้นะลูก ความดีกับความโง่มันมีเส้นบางๆกั้นอยู่ อยู่ที่เองจะมองแล้วล่ะ"
ถ้าไม่มีตัวประกอบเหล่านี้คอยช่วยฝ่ายดี บอกเลยว่าหงุดหงิดตลอดทั้งเรื่องแน่นอนครับ
การตีความครอบครัว ปสด ของเอื้อย รวมถึงแม่ปลาบู่ขนิษฐา?
แรกๆคือค่อนข้างร้ายชัดเลย พ่อถูกเมียน้อยทำเสน่ห์ ทำให้ไปรักเมียน้อยกับลูกเมียน้อยอย่างขนิษฐีกับอ้ายมากกว่า บทเวอร์ชั่นนี้จะเล่าว่า เศรษฐีพาทิกะขี้เหนียว ไม่ยอมจ่ายเงินบ่าวทาสในเรือนทำให้บ่าวทาสพากันขนข้าวของย้ายออกไปกันหมด สุดท้ายเลยต้องใช้งานเมียหลวงกับลูกอย่างนังขนิษฐากับนังเอิ้อยแทน ทำงานหนักเหน็ดเหนื่อย สไตล์ละครไทย
ส่วนขนิษฐาตอนเป็นคนนี่ก็ดีแสนดีเหลือเกิน ดีมากดีมาย ขนาดถูกทุบตีทำร้ายร่างกาย กำนันจะมาเอาเรื่องให้ก็ไม่ยอม ด้วยความรักลูกรักผัว สุดท้ายก็เลยโดนกดขี่ข่มเหงจนตาย แต่พอตายกลายเป็นผี อันนี้โอเค ละครทำออกมาแนวผีหลอกวิญญาณอาฆาต คือไล่ตามหลอกตามหลอนคนที่มาทำร้ายลูกเอื้อย จนไม่กล้ามาทำอะไรเอื้อยจนโต แต่ก็ยังถูกกระทำอยู่ดีนั่นล่ะว้า
จำได้ว่าตอนแรกๆ มีฉาก 3 ขี้เมาแอบเอาน้ำมนต์มาใส่ในโอ่งให้เศรษฐีพาทิกะกิน ทำให้กลายเป็นคนดีไปคืนหนึ่ง แต่พอตื่นมาเสน่ห์ก็ยังแรงอยู่เหมือนเดิมนั่นล่ะว้า แต่พักหลังๆ พอเอื้อยอ้ายโตเป็นสาว บทละครก็ทำให้ตัวละครพ่อเป็นคนดีขึ้นมาซะงั้นโดยการที่ให้ 3 ขี้เมาแอบเอาน้ำมนต์ไปให้กินบ่อยๆ และขนิษฐีก็ไม่ทำเสน่ห์ใส่อีกเลย.... อิหยังว้า ส่วนตัวละครอ้าย ที่เป็นน้องของเอื้อย แรกๆก็ดีอยู่หรอก เรียกพี่เอื้อย เรียกป้าขนิษฐา แต่พอเสน่ห์ที่พ่อทำหายไปในคืนนั้น นังอ้ายก็เลยกลายเป็นเด็กร้ายกาจห้าวๆไปเลย (บวกกับแม่ขนิษฐียุยงส่งเสริมด้วยแหละอืม)
เวอร์ชั่นนี้นังเอื้อยอ่อนต่อโลกเกินไป บทเลยส่งนังอ้ายไปกำราบแทน
ความสะใจของเรื่องนี้อยู่ที่ตัวละครอ้ายตอนโตครับ อย่างที่บอกเวอร์ชั่นนี้พระเอกเป็นพระโอรสยังไม่ได้เป็นกษัตริย์ พออภิเษกเอื้อยเลยได้เป็นแค่ "พระสนม" เท่านั้น (หลังๆอ้ายไปอยู่ได้เลื่อนเป็นพระชายาเลย) แต่พอเอื้อยเข้าวังแรกๆ ก็ต้องโดนกดขี่ตามสไตล์แม่ผัวไม่ชอบลูกสะใภ้ ซึ่งก็ยอมให้เขากดขี่อีก จนกระทั่งกลับไปรับแม่ต้นโพธิ์มาปลูกในวังทำให้มีการสลับตัวเกิดขึ้นครั้งแรก นังอ้ายได้มาอยู่ในวัง แล้วเหมือนจัดการคนที่ไม่ชอบเลย คือร้ายมาร้ายกลับ เวอร์ชั่นนี้ตัวละครอ้ายเลยเป็นที่น่าจับตามองมากกว่าตัวละครดีอย่าง เอื้อย
เวอร์ชั่นนี้ ก่อนจบมีฉากเอื้อยร้ายกลับให้คนดูสะใจด้วย?
ความสะใจของเวอร์ชั่นนี้คือการที่นังเอื้อยถูก ผีโหงพราย ของฝ่ายร้ายเข้าสิง พอฝ่ายร้ายแตกคอกันเอง แม่หมอที่เป็นตัวละครฝั่งร้าย และอยู่ฝ่ายอ้ายกับแม่ขนิษฐีมาตลอดเลยพาเอื้อย (ที่ถูกผีสิงอยู่) เข้ามาในวัง เพื่อมา ข่ม นังอ้าย แต่สุดท้าย เอื้อยกับอ้ายก็ตีกันเอง ทำให้ฝ่ายพระเอกตาสว่าง (หลังจากถูกทำเสน่ห์และซื่อบื้อมานาน) ความสะใจคือ เอื้อย เวอร์ชั่นผีเข้า ร้ายกลับทุกคนได้สะใจมาก น่าจะมีฉากแบบนี้สัก 2-3 ตอนให้สะใจ
สุดท้ายแล้วตอนจบของเรื่องก็นำเสนอว่า "ทำอย่างไรก็ได้ผลอย่างนั้น"
มุกคลาสสิคของละครไทย "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ซึ่งบทละครแซะให้เห็นตลอดทั้งเรื่องที่ฝ่ายดีถูกกระทำมาตลอด มีความสุขแค่ช่วงท้ายเรื่อง กว่าจะหมดกรรม ถ้าไม่ซื่อบื้อมาตั้งแต่แรก ส่วนตัวละคร "อ้าย" จุดจบไม่เหมือนกับต้นฉบับที่ถูกฆ่าแล้วเอาศพไปทำปลาร้าส่งกลับมาให้ที่บ้านกิน แต่บทละครจะเล่าว่า อ้ายและขนิษฐีถูกจับหลังตัวร้ายจอมขมังเวทย์ถูกฝ่ายดีสังหารจนหมด เอื้อยขออภัยโทษให้ได้กลับมาบ้าน สุดท้ายแล้วเอื้อยก็ตัดสินใจไปรับพ่อเข้าวัง แต่นังอ้ายยังร้ายกาจไม่ยอมหยุด ไปเอายาพิษมาใส่น้ำฝนหวังจะวางยาให้คนที่มารอรับเสด็จกินแล้วตายกันให้หมด แต่สุดท้ายแล้ว วิญญาณแม่หมอก็มาเข้าร่างอ้าย คว้าขันน้ำนั่นไปกินทำให้ตาย ส่วนขนิษฐีก็กลายเป็นบ้าเหมือนเวอร์ชั่นก่อน สุดท้ายฉากจบที่วิญญาณขนิษฐาไปเกิด พระเอกนางเอกก็ไปรอรับขบวนพ่อของเอื้อยที่ตัดสินใจมาใช้ชีวิตบั้นปลายกับลูกสาวในวัง
นักแสดงเล่นดี และเพลงประกอบละครเพราะมาก
เพลงเปิดเรื่องยังคงใช้เพลงปลาบู่ทอง ของ ชาลี อินทรวิจิตรอยู่ ใช้เวอร์ชั่นเดิมที่ขับร้องโดย วัชราภรณ์ สุขสวัสดิ์
ส่วนเพลงอื่นๆ อีก 4 เพลงที่เหลือ ม่อน วงด๊ะดาดเป็นคนประพันธ์และเรียบเรียงดนตรี ซึ่งเพราะมาก ถึงบางเพลงจะไม่ตรงคอนเซปละครก็เถอะ
เรื่องนี้นักแสดงเล่นดีเกือบทุกคนเลย พระเอกมีเล่นแข็งบ้าง บทมิน พีชญา แจ้งเกิดจากบทเอื้อยอ้าย แต่สำหรับส่วนตัวแล้ว ผมชอบบทอ้ายมากกว่านะ ร้ายแบบดิ้นๆ ตลอดทั้งเรื่องเลย นักแสดงรุ่นใหญ่เล่นดีทุกคนเลย นักแสดงเด็ก โบกัสกับการ์ตูน เล่นดีมาก ตอนนี้โตเป็นหนุ่มเป็นสาวกันหมดแล้ว
12 ปีผ่านไป อย่ารีเมคบ่อยเกินเลย ขอร้อง
ได้แต่หวังว่าถ้าสามเศียร รีเมค พิกุลทอง ไกรทองแล้ว เรื่องต่อไปวอนอย่าทำปลาบู่ทองเลย อยากให้หาเรื่องใหม่ๆมาทำบ้าง หรือหยิบเรื่องที่ไม่เคยทำมาทำ (ส่วนตัวอยากให้ทำ นกกระจาบครับ) ปลาบู่ทองปล่อยผ่านไปสัก 20-30 ปีก่อนค่อยรีเมคครับ ปล่อยให้เวอร์ชั่นก่อนๆ เป็นตำนานบ้าง
SR - Sponsored Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ SR โดยที่เจ้าของกระทู้