ไม่รู้ยังจำกันได้ไหมครับ ดนตรีที่เราเคยเรียนกันตอนเด็กๆ
โน้ตเบสิคๆ เช่น ตัวขาว ตัวดำ เขบ็ตหนึ่งชั้น อะไรทำนองนี้ เวลาเล่นมันจะตรงจังหวะ ไม่ซับซ้อนเท่าไหร่
แต่โน้ต 3 พยางค์ อันนี้จะประหลาดหน่อย เพราะเป็นโน้ตที่เล่นรวบ 3 ตัวให้เร็วกว่าเดิม
เปรียบเทียบโน้ตปกติ เช่น ‘ตัวดำ 3 ตัว’ ก็คือเล่น ‘3 ครั้ง ครั้งละ 1 จังหวะ’ ตรงไปตรงมา
แต่ถ้า ‘ตัวดำ 3 พยางค์’ (มีเลข 3 คร่อม) คือจะต้องเล่น ‘3 ครั้ง’ ให้ลงใน ‘2 จังหวะ’
แค่คิดก็งงแล้วครับ เพราะเคาะเท้าไม่ลง จะจับจังหวะอย่างไร
..หลงทางอยู่พักใหญ่ ในที่สุดก็จับหลักเจอ
ว่าเราเคาะเท้าให้ตรง เฉพาะโน้ตตัวเริ่มและตัวจบ
ส่วนโน้ตระหว่างกลาง เนื่องจากเท้าอยู่ในตำแหน่งแปลกๆ พึ่งพาไม่ได้ ก็ใช้’ความรู้สึก’แทน คะเนแบ่งจังหวะให้มันเท่าๆกันเป็นพอ
สุดท้ายกลับเล่นได้ครับ
และเพลงกลับยิ่งเพราะ
โน้ตแบบนี้ ทำให้ดนตรีไม่แข็งทื่อตรงไปตรงมาเกินไป และจึงทำให้เพราะขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
มานึกเปรียบกับชีวิตเรา ก็อาจประยุกต์ใช้ได้นะครับ
จุดเริ่มต้นกับจุดหมาย เป็นสิ่งที่ควรชัดเจน นับได้ มีเหตุมีผล
และถ้าเราเช็คเสมอๆ ว่าต้นทางโอเค และปลายทางแต่ละขั้นๆก็โอเค มันก็เพียงพอแล้ว
ส่วนระหว่างทาง อาจมีเรื่องไม่เข้าใจบ้าง ไม่เป็นเหตุผลบ้าง ก็ใช้ความรู้สึกเสริม
ใช้จิตใจ มองตามธรรมชาติ กลับอาจเป็นศิลปะที่ลงตัวกว่าเดิม
เหมือนโน้ต 3 พยางค์ ที่เราเคยกลัวในตอนแรก เพราะมันช่างไม่มีเหตุผล
แต่กลับสวยงามในตอนท้าย เพราะใช้ความรู้สึก เข้ามาเติมเต็มครับ
[ปล. จริงๆโน้ตพยางค์ ไม่ได้มีแค่ 3 เท่านั้น อาจเป็นเลขอื่นได้ครับ]
https://www.blockdit.com/neo.positive
โน้ต 3 พยางค์ กับชีวิตเรา
ไม่รู้ยังจำกันได้ไหมครับ ดนตรีที่เราเคยเรียนกันตอนเด็กๆ
โน้ตเบสิคๆ เช่น ตัวขาว ตัวดำ เขบ็ตหนึ่งชั้น อะไรทำนองนี้ เวลาเล่นมันจะตรงจังหวะ ไม่ซับซ้อนเท่าไหร่
แต่โน้ต 3 พยางค์ อันนี้จะประหลาดหน่อย เพราะเป็นโน้ตที่เล่นรวบ 3 ตัวให้เร็วกว่าเดิม
เปรียบเทียบโน้ตปกติ เช่น ‘ตัวดำ 3 ตัว’ ก็คือเล่น ‘3 ครั้ง ครั้งละ 1 จังหวะ’ ตรงไปตรงมา
แต่ถ้า ‘ตัวดำ 3 พยางค์’ (มีเลข 3 คร่อม) คือจะต้องเล่น ‘3 ครั้ง’ ให้ลงใน ‘2 จังหวะ’
แค่คิดก็งงแล้วครับ เพราะเคาะเท้าไม่ลง จะจับจังหวะอย่างไร
..หลงทางอยู่พักใหญ่ ในที่สุดก็จับหลักเจอ
ว่าเราเคาะเท้าให้ตรง เฉพาะโน้ตตัวเริ่มและตัวจบ
ส่วนโน้ตระหว่างกลาง เนื่องจากเท้าอยู่ในตำแหน่งแปลกๆ พึ่งพาไม่ได้ ก็ใช้’ความรู้สึก’แทน คะเนแบ่งจังหวะให้มันเท่าๆกันเป็นพอ
สุดท้ายกลับเล่นได้ครับ
และเพลงกลับยิ่งเพราะ
โน้ตแบบนี้ ทำให้ดนตรีไม่แข็งทื่อตรงไปตรงมาเกินไป และจึงทำให้เพราะขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
มานึกเปรียบกับชีวิตเรา ก็อาจประยุกต์ใช้ได้นะครับ
จุดเริ่มต้นกับจุดหมาย เป็นสิ่งที่ควรชัดเจน นับได้ มีเหตุมีผล
และถ้าเราเช็คเสมอๆ ว่าต้นทางโอเค และปลายทางแต่ละขั้นๆก็โอเค มันก็เพียงพอแล้ว
ส่วนระหว่างทาง อาจมีเรื่องไม่เข้าใจบ้าง ไม่เป็นเหตุผลบ้าง ก็ใช้ความรู้สึกเสริม
ใช้จิตใจ มองตามธรรมชาติ กลับอาจเป็นศิลปะที่ลงตัวกว่าเดิม
เหมือนโน้ต 3 พยางค์ ที่เราเคยกลัวในตอนแรก เพราะมันช่างไม่มีเหตุผล
แต่กลับสวยงามในตอนท้าย เพราะใช้ความรู้สึก เข้ามาเติมเต็มครับ
[ปล. จริงๆโน้ตพยางค์ ไม่ได้มีแค่ 3 เท่านั้น อาจเป็นเลขอื่นได้ครับ]
https://www.blockdit.com/neo.positive