คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
กรณีทั่วไปที่ปฎิกริยาเกิดขึ้นได้เอง เช่น เซลล์กัลวานิก
พิจารณาไอออนหรืออะตอมของธาตุที่มีในเซลล์ไฟฟ้ามาเปรียบเทียบกันโดยดูทีละขั้ว ตัวไหนมีค่า E0 มากที่สุด เกิดปฏิกริยาที่ขั้ว Cathode ส่วนตัวไหนค่า E0น้อยสุด เกิดปฏิกริยาที่ขั้ว Anode ส่วนกราไฟต์ไม่ต้องเอามาพิจารณาค่า E0
Half-equation คือครึ่งปฏิกิริยาเคมี
ขั้ว Cathode เกิดครึ่งปฏิกริยา Reduction
( รับ e- แล้วเลขออกซิเดชันของอะตอมธาตุนั้นลดลงเช่น จาก 0 เป็น -1)
ขั้ว Anode เกิดครึ่งปฏิกริยา Oxidation
(จ่าย e- แล้วเลขออกซิเดชันของอะตอมธาตุนั้นเพิ่มขึ้น เช่น จาก 0 เป็น +2)
EMF of cell หรือค่า E0 cell คือแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลล์ไฟฟ้า หรือความต่างศักย์ของเซลล์ไฟฟ้า คำนวณจาก E0 cathode - E0 Anode
( E0 cell โดยทั่วไปเป็น + แสดงว่าเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้เอง ไม่ต้องจ่ายแรงดันไฟฟ้าเพิ่มเพื่อช่วยให้เกิดปฏิกริยา)
ตารางค่า E0 ครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน
(ค่า E0(V) สูง แสดงว่าไอออนหรืออะตอมของธาตุนั้นเกิดปฎิกริยารีดักชันได้ง่ายกว่า
ถ้าค่า E0(V) ต่ำ แสดงว่าไอออนหรืออะตอมของธาตุนั้นเกิดปฎิกริยาออกซิเดชันได้ง่ายกว่า
ถ้าจะเขียนครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน ให้เขียนสลับด้านของสมการ เช่น
Li(s) ---> Li+(aq) + e- , E0= -3.045 V )
ปล.ธาตุจำพวกโลหะมักจะเกิดปฏิกริยาออกซิเดชันได้ง่าย หรือเป็นตัวรีดิวส์(reducer)ที่ดี มักเกิดการผุกร่อน
ส่วนธาตุจำพวกอะโลหะ มักจะเกิดปฏิกริยารีดักชันได้ง่าย หรือเป็นตัวออกซิไดซ์(oxidizer)ที่ดี
ลองดูคลิปนี้เพื่อทบทวนเรื่องไฟฟ้าเคมีครับ
https://youtube.com/playlist?list=PLSdxlgp7CC2Sv04A-izZ8YdpEsOI_YBJ-
พิจารณาไอออนหรืออะตอมของธาตุที่มีในเซลล์ไฟฟ้ามาเปรียบเทียบกันโดยดูทีละขั้ว ตัวไหนมีค่า E0 มากที่สุด เกิดปฏิกริยาที่ขั้ว Cathode ส่วนตัวไหนค่า E0น้อยสุด เกิดปฏิกริยาที่ขั้ว Anode ส่วนกราไฟต์ไม่ต้องเอามาพิจารณาค่า E0
Half-equation คือครึ่งปฏิกิริยาเคมี
ขั้ว Cathode เกิดครึ่งปฏิกริยา Reduction
( รับ e- แล้วเลขออกซิเดชันของอะตอมธาตุนั้นลดลงเช่น จาก 0 เป็น -1)
ขั้ว Anode เกิดครึ่งปฏิกริยา Oxidation
(จ่าย e- แล้วเลขออกซิเดชันของอะตอมธาตุนั้นเพิ่มขึ้น เช่น จาก 0 เป็น +2)
EMF of cell หรือค่า E0 cell คือแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลล์ไฟฟ้า หรือความต่างศักย์ของเซลล์ไฟฟ้า คำนวณจาก E0 cathode - E0 Anode
( E0 cell โดยทั่วไปเป็น + แสดงว่าเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้เอง ไม่ต้องจ่ายแรงดันไฟฟ้าเพิ่มเพื่อช่วยให้เกิดปฏิกริยา)
ตารางค่า E0 ครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน
(ค่า E0(V) สูง แสดงว่าไอออนหรืออะตอมของธาตุนั้นเกิดปฎิกริยารีดักชันได้ง่ายกว่า
ถ้าค่า E0(V) ต่ำ แสดงว่าไอออนหรืออะตอมของธาตุนั้นเกิดปฎิกริยาออกซิเดชันได้ง่ายกว่า
ถ้าจะเขียนครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน ให้เขียนสลับด้านของสมการ เช่น
Li(s) ---> Li+(aq) + e- , E0= -3.045 V )
ปล.ธาตุจำพวกโลหะมักจะเกิดปฏิกริยาออกซิเดชันได้ง่าย หรือเป็นตัวรีดิวส์(reducer)ที่ดี มักเกิดการผุกร่อน
ส่วนธาตุจำพวกอะโลหะ มักจะเกิดปฏิกริยารีดักชันได้ง่าย หรือเป็นตัวออกซิไดซ์(oxidizer)ที่ดี
ลองดูคลิปนี้เพื่อทบทวนเรื่องไฟฟ้าเคมีครับ
https://youtube.com/playlist?list=PLSdxlgp7CC2Sv04A-izZ8YdpEsOI_YBJ-
แสดงความคิดเห็น
การบ้านเคมีข้อนี้ทำยังไงครับ
ขอช่วยด้วยนะครับ