เป็นความเห็นเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ Covid 19 ที่ยาวมากครับ พอจะสรุปเรื่องราวคร่าวๆ ว่า มีผู้เกี่ยวข้อง 3 ส่วน
1. รัฐบาล 2. สยามไบโอซายน์ 3. ประชาชนทั่วไป
1. รัฐบาล ถูกตำหนิว่า
- จัดหาวัคซีนได้ช้า ไม่จองวัคซีนไว้ล่วงหน้า ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถฉีดวัคซีนได้
ไม่เหมือนกับบางประเทศที่ฉีดกันไปได้มากกว่า 30% ของประชากรแล้ว
- ผูกติดกับวัคซีนเพียง 2 แบรนด์ โดยไม่พยายามซื้อจากไฟเซอร์ และอื่นๆ
- วัคซีนที่รัฐบาลซื้อจาก ซิโนแวค มีราคาแพงที่สุด แต่ได้ผลการป้องกันต่ำที่สุด
- เชื่อมั่นว่าสถานการณ์การติดเชื้อในประเทศไทย สามารถควบคุมได้ดี หากเทียบกับประเทศอื่น จนเกิดการประเมินที่ผิดพลาดในการป้องกันปัญหา
- เชื่อมั่นว่าจะได้วัคซีน AZ ตามกำหนดเวลาจากสยามไบโอฯ และเพียงพอต่อการฉีดแบบให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้
แต่เมื่อเกิดการระบาดรอบ 3 ก่อนที่จะได้วัคซีน AZ จึงถูกตำหนิในเรื่องการไม่จัดหาวัคซีนไว้ล่วงหน้าให้เพียงพอ
- เมื่อเกิดการระบาดรอบ 3 จากสถานบันเทิง รัฐบาลแก้ไขปัญหาล่าช้า ตัดสินใจผิดพลาดในการควบคุม และ 2 มาตรฐานในการเอาจริงกับผู้กระทำผิด
ทำให้การติดเชื้อลุกลามไปทั่วประเทศ, - ไม่รับฟังความเห็นจากภาคประชาชนเท่าที่ควร และมองว่าเป็นเรื่องทางการเมือง
2. สยามไบโอซายน์ ถูกตำหนิว่า
- ผูกขาดการผลิตวัคซีน
3. ประชาชนทั่วไป ถูกตำหนิว่า
- เชื่อข่าวปลอมมากเกินไป
- ไม่รับฟังข่าวให้รอบด้าน
- ไม่วิเคราะห์ข่าวให้ดี
- ชอบฟัง และเชื่อข่าวในด้านลบมากกว่าข่าวในด้านบวก
- ถูกกล่าหาว่าไม่พยายามเข้าใจเหตุผลว่า ทำไมรัฐบาลถึงจัดหาวัคซีนได้ไม่เหมือนประเทศอื่น และยังซื้อวัคซีน ซิโนแวค ที่มีราคาแพงที่สุด
แต่ได้ผลการป้องกันต่ำสุด
สรุปรวม และวิเคราะห์ (ความเห็นส่วนตัวนะ) ทั้งหมด ได้ว่า
1. รัฐบาลประเมินการติดเชื้อในประเทศผิดพลาด ส่งผลให้
- เกิดความประมาทในการป้องกัน และละเลยต่อการเอาจริงเอาจังกับมาตรการต่าง ๆ ทั้งที่ถูกกฏหมาย และผิดกฎหมาย
เช่น การเกิด covid รอบ 2 ที่สนามมวย บ่อนการพนัน การลักลอบเข้าเมือง
และการเกิด covid รอบ 3 จากสถานบันเทิงทองหล่อ รัชดา จนแพร่เชื้อกระจายลุกลามไปทั่วประเทศจนถึงขณะนี้
- มีความเชื่อมั่นสูง จนละเลยต่อการรับฟังความเห็น กับผู้ที่มีความเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล เพราะมีมุมมองว่าเป็นเรื่องทางการเมือง
จนกลายเป็นการตอบโต้กันทางความคิดในการเอาชนะกัน มากกว่าที่จะรับฟังความเห็นเพื่อเอามาปรับใช้ในการแก้ปัญหา
- เข้าใจว่า เมื่อแรกรัฐบาลผูกการจัดซื้อวัคซีนไว้ที่ AZ เพียงตัวเดียว แต่เมื่อเกิดการระบาดรอบ 2 รัฐบาลจึงเร่งหาวัคซีน
แต่ในขณะนั้น คงไม่สามารถหาได้นอกจากซิโนแวค และมีราคาแพงด้วย แต่ด้วยความจำเป็นเร่งด่วนจึงต้องจัดซื้อทันทีเพื่อมาใช้ในขณะนั้น
- การแก้ไขปัญหาแบบ 2 มาตรฐาน ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล
ทำให้เกิดผลกระทบเป็นห่วงโซ่ที่ว่า เวลารัฐบาลพูดอะไรแล้วประชาชนไม่เชื่อ ทำให้การแก้ไขปัญหาในภาพรวมทำได้ยาก
2. รัฐบาลประเมินเรื่องวัคซีนผิดพลาด ส่งผลให้
- ฝากอนาคตการฉีดวัคซีนไว้ที่ AZ เพียงตัวเดียว ต่อมาในภายหลังได้ซิโนแวคมาเพิ่มอีก 1 ตัว
- ในช่วงไตรมาส 4 ปี 63 ได้มีสถาบัน “ใบยา” ของจุฬา โดยมีศิลปิน และประชาชนออกมารณรงค์ขอรับบริจาคเงินจากประชาชน
เพื่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีน และตั้งคำถามกับรัฐบาลว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่สนับสนุนวัคซีนของคนไทย ที่เป็นการคิดค้นโดยคนไทยเอง
ซึ่งปัจจุบันสถาบันใบยา ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า วัคซีนที่พัฒนาโดยทีมคนไทยมีความก้าวหน้าจนถึงขั้นเริ่มทดลองในคนแล้ว
และถูกส่งไปผลิตในต่างประเทศ เนื่องเพราะในประเทศ ยังไม่มีโรงงานที่มีเทคโนโลยีเพียงพอในการผลิต
- เมื่อได้รับคำแนะนำจากภาคเอกชน กว่าที่จะยอมรับได้ ก็เรียกได้ว่า “สายเกินไป” จนทำให้ภาคเอกชนเองไม่สามารถจัดหาวัคซีนได้เองแล้วในเวลานี้
- ในเวลานี้มีกระแสข่าวด้านลบมากมาย เกี่ยวกับผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน ทั้งๆ ที่ข่าวในบวกมีมากกว่ามาก
แต่รัฐบาลไม่มีความสามารถมากเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนยอมรับผลในด้านบวกได้
ดูได้จากปัจจุบัน ที่รัฐบาลรณรงค์ให้ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเสี่ยง 7 โรคออกมาจองการฉีดวัคซีนที่จะเริ่มในวันที่ 7 มิ.ย. 64 นี้
จำนวน 16 ล้านคน (โดส) แต่หลังจากที่รณรงค์มาเกือบจะ 2 สัปดาห์ มีประชาชนมาลงทะเบียนเพียง 1.6 ล้านคนเศษเท่านั้น
ทำให้ประชาชนบางส่วนตั้งคำถามกับรัฐบาลถึงความล้มเหลวในการรณรงค์ในเรื่องการฉีดวัคซีน
และทำไมจึงยังไม่มีการปรับแผนการฉีดวัคซีนให้สอดรับกับสถานการณ์ความเป็นจริง
3. รัฐบาลประเมินเรื่องภาวะเศรษฐกิจผิดพลาด ส่งผลให้
- การประเมินของภาคเอกชนที่เชื่อว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัว ภายหลังจากยกเลิกการล็อคดาวในรอบแรก
ภาคเอกชนจึงเริ่มต้นลงทุนใหม่อีกครั้งเพื่อการฟื้นฟูธุรกิจ และเมื่อเกิดรอบ 2 ภาคเอกชนก็ยังมีความหวัง และกับมาเริ่มเปิดดำเนินกิจการใหม่อีกครั้ง
แต่ด้วยความประมาทในการป้องการของภาครัฐ ทำให้เกิดการระบาดในรอบ 3 และรุนแรงมากกว่าทุกครั้ง ทำให้ภาคธุรกิจหลายส่วนหมดแรงที่จะเริ่มต้นใหม่ และยังมีภาคธุรกิจบางส่วน ตั้งคำถามว่า จะมีรอบ 4. 5 อีกหรือไม่ เพราะขาดความเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล
- มาตรการในการช่วยเหลือประชาชนของภาครัฐ เมื่อแรก มาตรการต่างๆ ที่ออกมา โดยส่วนใหญ่ยอมรับได้ กับการแจกเงิน ในโครงการต่างๆ
ว่า สามารถช่วยแบ่งเบาภาระประชาชนได้ แต่เมื่อการระบาดไม่จบสิ้น และรัฐบาลยังคงใช้มาตรการเดิมๆ คือ แจกเงิน แจกเงิน แจกเงิน
ประชาชนบางส่วนจึงเริ่มตั้งคำถามว่า “ทำอย่างอื่นบ้างไม่เป็น? นอกจากการแจกเงิน”
แล้วคนบางคนที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการเหล่านี้ เริ่มตั้งคำถามว่า “จะมีประโยชน์อะไรกับการฟื้นเศรษฐกิจด้วยการแจกเงิน”
แล้วที่ผ่านมา SMEs ได้รับช่วยเหลืออย่างไรบ้าง นอกจากการงดจ่ายดอกเบี้ย และเงินต้น 6 เดือน แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น
และ มาตรการทางการเงินที่ออกมาก็ยากมากในภาคปฏิบัติจริง
- คำถามของประชาชนที่ว่า เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท รัฐบาลนำไปทำอะไรที่เป็นรูปธรรมในการฟื้นฟูเศรษฐกิจได้บ้าง
นอกจากการแจกเงิน และเงินก้อนที่เหลือ 2 แสนกว่าล้าน ก็จะถูกนำมากแจกตามโครงการต่าง ๆจนหมดภายในปี 64 นี้
- วันนี้เริ่มมีภาคธุรกิจในหลายภาคส่วนที่ไม่สามารถฟื้นตัวเองได้จากภาวะหยุดชะงัก และยังคงมีตามมาอีกมาก
มีคำถามตามมาว่า หากเกิด Covid รอบ 4,5 รัฐบาลจะเอาเงินที่ไหนแก้ปัญหา หรือต้องกู้เพิ่มอีกเพื่อเอามาแจกไปเรื่อย ๆ?
- ภาคเอกชน และประชาชนบางส่วนเริ่มขาดความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล ดังที่เห็นใน Social ใน Page ต่าง ๆที่เรียกร้อง
4. รัฐบาลประเมินเสียงเรียกร้อง และความเห็นของประชาชนผิดพลาด ส่งผลให้
- การที่รัฐบาล เลือกที่จะฟังเสียง ฟังความเห็นที่เป็นไปในทางเดียวกับรัฐบาล
และด้วยท่าทีของรัฐบาลที่มองความเห็นประชาชนที่มีความเห็นไม่ตรงกับรัฐบาลว่า มีเรื่องการเมืองแอบแฝง
ทำให้ความเห็นดีๆ หลายเรื่องที่สามารถรับฟัง และนำมาปรับใช้ได้ “ถูกละเลย”
- ขาดความร่วมมือจากประชาชนในการแก้ปัญหาแบบภาพรวม
5. ภาคประชาชนประเมินความรุนแรงของการระบาดในรอบ 3 ต่ำเกินไป ส่งผลให้
- การแพร่ระบาดของ Covid รุนแรง และรวดเร็ว ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อประชาชนทุกภาคส่วน
- การขาดความผิดชอบ และขาดระเบียบวินัยต่อสังคมโดยรวมของประชาชนบางส่วน ทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปด้วยความยากลำบาก
- การมองผลกระทบของการฉีดวัคซีนในด้านลบมากเกินกว่าด้านบวก ทำให้ประชาชนจำนวนมากตัดสินใจจะยังไม่ฉีดวัคซีนในช่วงเวลานี้
ทำให้การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ยากขึ้น และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามมาที่อาจจะเกิดการระบาดในรอบ 4 รอบ 5 ได้ หากยังไม่เกิดภูมคุ้มกันหมู่
- ภาคส่วนต่างๆ เช่น ภาคประชาชนทั่วไป ภาคธุรกิจ ภาคการเมือง ภาคสังคม บางส่วนขาดความสามัคคีอย่างจริงจัง ที่จะช่วยกันร่วมมือในการช่วยกัน
แก้ปัญหา
สรุป ข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหา
1. ต้องทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศ และทุกภาคส่วนของสังคมมองปัญหาการแพร่ระบาดของ Covid19 นี้ เป็นปัญหาของสังคมโดยส่วนรวม
ที่ทุกคนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา และการแก้ปัญหาต้องไปในแนวทางเดียวกัน ด้วยวิธีการ ดังนี้
1.1 ผู้นำ และทีมงาน โดยเฉพาะผู้นำประเทศต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการรับฟังความเห็นของทุกภาคส่วนด้วยใจที่เปิดกว้าง เป็นมิตร และปฏิบัติให้เห็นมากกว่าเพียงแค่พูดว่า “รับฟังทุกคน”
1.2 ประชาชนต้องเชื่อมั่นในผู้นำ และทีมงาน โดยให้วางเรื่องราวในอดีตไม่ว่าจะชอบ หรือไม่ชอบไว้ก่อน
1.3 หน่วยงานภาครัฐทั้งหมด ต้องให้ข่าวไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นบวกต่อการแก้ไขปัญหา
และต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงในข่าวด้านลบ หากข่าวด้านลบเป็นจริง ก็ให้บอกว่าจริง แต่ให้บอกทางออก และทางที่ดีกว่าไว้ด้วย
และต้องมีความอดทนเพียงพอต่อการให้ข้อมูลที่ซ้ำๆ กันไปเรื่อยๆ
2. การสร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจให้กับประชาชน ด้วยการยอมรับความจริง และบอกประชาชนในข้อมูลทุกเรื่อง
3. รัฐบาลต้องทำให้ประชาชนร่วมมือในการแก้ปัญหา ด้วยการที่ รัฐบาลต้องแสดงให้เห็นถึงความรวดเร็วในการแก้ปัญหา
แก้ปัญหาด้วยความจริงใจ ไม่มี 2 มาตรฐาน และรัฐบาลต้องดึงภาคเอกชน ภาคประชาชน มามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาให้มากขึ้น
จึงจะได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชนทุกภาคส่วน
4. การแก้ไปปัญหาด้านผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ต้องเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง และสำคัญที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ดังนี้
4.1 ลดโครงการการช่วยเหลือด้วยการแจกเงินเพียงอย่างเดียวลง ให้เหลือเพียงการช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
4.2 กระตุ้นให้เกิดการจ้างงานในธุรกิจขนาดเล็ก ด้วยการกระจายการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ให้มีความคล่องตัว
และสามารถจัดซื้อจากธุรกิจขนาดเล็กได้โดยเร็ว ในการใช้เพื่อการแก้ไขปัญหา Covid
เช่น จัดซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค ที่ผลิตโดย SMEs จริง ๆและนำไปแจกให้กับประชาชนที่มีความต้องการ
4.3 จัดตั้งศูนย์แบ่งเบาภาระอาหารการกิน หรือโรงทานในระดับอำเภอ จังหวัด เพื่อให้ประชาชนที่ขาดแคลน
สามารถมีอาหารรับประทานในการประทังชีวิตได้ โดยขอความร่วมมือจากภาคเอกชนในการจัดตั้งโรงทาน และการช่วยกันเป็นอาสาสมัคร
โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิ เป็นกลุ่มนำ จนกว่าการแพร่ระบาดจะบรรเทาเบาบางลง
4.4 การรณรงค์ให้ผู้ที่ว่างงาน แต่มีความต้องการทำงาน ได้ทำงาน
ด้วยการที่รัฐจัดจ้างอาสาสมัครรณรงค์เคาะประตูบ้านให้ประชาชนเข้าใจในเรื่องการฉีดวัคซีน
5. การแก้ไขปัญหาเรื่องวัคซีน ดังนี้
5.1 เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกฉีดวัคซีนในแบรนด์ที่รัฐมีทั้งหมด โดยไม่กำหนดว่าต้องฉีดแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งเท่านั้น
5.2 เร่งฉีดวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยเร็ว โดยไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เพราะว่าวัคซีน AZ จะเริ่มเข้าฉีดได้ในเดือน มิย. นี้แล้ว
5.3 หากวัคซีน 16 ล้านโดส มีผู้เข้าจองน้อย รัฐบาลควรเปิดโอกาสให้คนกลุ่มอื่นสามารถจองฉีดวัคซีนได้ทันที โดยกันไว้ส่วนหนึ่งสำหรับผู้สูงอายุ และกลุ่มเสี่ยงไว้ หากมีการจองเข้ามา เพื่อให้เกิดผลต่อภูมิคุ้มกันหมู่โดยเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามลำดับที่วางไว้ เพราะวัคซีนมีเหลือเพียงพอ
5.4 ภายหลังจากการฉีดวัคซีนที่มากขึ้นแล้ว ค่อยมารณรงค์กระตุ้นแบบเข้าถึงกลุ่มคนที่ยังไม่ต้องการฉีดวัคซีน
6. รณรงค์ให้การป้องกันการแพร่ระบาดของ Covid19 เป็นวาระแห่งชาติ (วันนี้นายกประกาศให้การฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติแล้ว)
ที่ภาครัฐ ภาคประชาชนต้องให้ความร่วมมือเพื่อช่วยกันแก้ไข ให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ โดยผู้นำภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคสังคม
ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับประชาชน
บทความ : เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ Covid 19 | (คำเตือน : โปรดใช้วิจารณญาณในการรับอ่าน)
1. รัฐบาล 2. สยามไบโอซายน์ 3. ประชาชนทั่วไป
1. รัฐบาล ถูกตำหนิว่า
- วัคซีนที่รัฐบาลซื้อจาก ซิโนแวค มีราคาแพงที่สุด แต่ได้ผลการป้องกันต่ำที่สุด
- เชื่อมั่นว่าสถานการณ์การติดเชื้อในประเทศไทย สามารถควบคุมได้ดี หากเทียบกับประเทศอื่น จนเกิดการประเมินที่ผิดพลาดในการป้องกันปัญหา
- เชื่อมั่นว่าจะได้วัคซีน AZ ตามกำหนดเวลาจากสยามไบโอฯ และเพียงพอต่อการฉีดแบบให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้
แต่เมื่อเกิดการระบาดรอบ 3 ก่อนที่จะได้วัคซีน AZ จึงถูกตำหนิในเรื่องการไม่จัดหาวัคซีนไว้ล่วงหน้าให้เพียงพอ
- เมื่อเกิดการระบาดรอบ 3 จากสถานบันเทิง รัฐบาลแก้ไขปัญหาล่าช้า ตัดสินใจผิดพลาดในการควบคุม และ 2 มาตรฐานในการเอาจริงกับผู้กระทำผิด
ทำให้การติดเชื้อลุกลามไปทั่วประเทศ, - ไม่รับฟังความเห็นจากภาคประชาชนเท่าที่ควร และมองว่าเป็นเรื่องทางการเมือง
2. สยามไบโอซายน์ ถูกตำหนิว่า
- ผูกขาดการผลิตวัคซีน
3. ประชาชนทั่วไป ถูกตำหนิว่า
- เชื่อข่าวปลอมมากเกินไป
- ไม่รับฟังข่าวให้รอบด้าน
- ไม่วิเคราะห์ข่าวให้ดี
- ชอบฟัง และเชื่อข่าวในด้านลบมากกว่าข่าวในด้านบวก
- ถูกกล่าหาว่าไม่พยายามเข้าใจเหตุผลว่า ทำไมรัฐบาลถึงจัดหาวัคซีนได้ไม่เหมือนประเทศอื่น และยังซื้อวัคซีน ซิโนแวค ที่มีราคาแพงที่สุด
แต่ได้ผลการป้องกันต่ำสุด
- เกิดความประมาทในการป้องกัน และละเลยต่อการเอาจริงเอาจังกับมาตรการต่าง ๆ ทั้งที่ถูกกฏหมาย และผิดกฎหมาย
เช่น การเกิด covid รอบ 2 ที่สนามมวย บ่อนการพนัน การลักลอบเข้าเมือง
และการเกิด covid รอบ 3 จากสถานบันเทิงทองหล่อ รัชดา จนแพร่เชื้อกระจายลุกลามไปทั่วประเทศจนถึงขณะนี้
- มีความเชื่อมั่นสูง จนละเลยต่อการรับฟังความเห็น กับผู้ที่มีความเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล เพราะมีมุมมองว่าเป็นเรื่องทางการเมือง
จนกลายเป็นการตอบโต้กันทางความคิดในการเอาชนะกัน มากกว่าที่จะรับฟังความเห็นเพื่อเอามาปรับใช้ในการแก้ปัญหา
- เข้าใจว่า เมื่อแรกรัฐบาลผูกการจัดซื้อวัคซีนไว้ที่ AZ เพียงตัวเดียว แต่เมื่อเกิดการระบาดรอบ 2 รัฐบาลจึงเร่งหาวัคซีน
แต่ในขณะนั้น คงไม่สามารถหาได้นอกจากซิโนแวค และมีราคาแพงด้วย แต่ด้วยความจำเป็นเร่งด่วนจึงต้องจัดซื้อทันทีเพื่อมาใช้ในขณะนั้น
- การแก้ไขปัญหาแบบ 2 มาตรฐาน ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล
ทำให้เกิดผลกระทบเป็นห่วงโซ่ที่ว่า เวลารัฐบาลพูดอะไรแล้วประชาชนไม่เชื่อ ทำให้การแก้ไขปัญหาในภาพรวมทำได้ยาก
2. รัฐบาลประเมินเรื่องวัคซีนผิดพลาด ส่งผลให้
- ฝากอนาคตการฉีดวัคซีนไว้ที่ AZ เพียงตัวเดียว ต่อมาในภายหลังได้ซิโนแวคมาเพิ่มอีก 1 ตัว
และถูกส่งไปผลิตในต่างประเทศ เนื่องเพราะในประเทศ ยังไม่มีโรงงานที่มีเทคโนโลยีเพียงพอในการผลิต
- เมื่อได้รับคำแนะนำจากภาคเอกชน กว่าที่จะยอมรับได้ ก็เรียกได้ว่า “สายเกินไป” จนทำให้ภาคเอกชนเองไม่สามารถจัดหาวัคซีนได้เองแล้วในเวลานี้
- ในเวลานี้มีกระแสข่าวด้านลบมากมาย เกี่ยวกับผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน ทั้งๆ ที่ข่าวในบวกมีมากกว่ามาก
แต่รัฐบาลไม่มีความสามารถมากเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนยอมรับผลในด้านบวกได้
ดูได้จากปัจจุบัน ที่รัฐบาลรณรงค์ให้ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเสี่ยง 7 โรคออกมาจองการฉีดวัคซีนที่จะเริ่มในวันที่ 7 มิ.ย. 64 นี้
จำนวน 16 ล้านคน (โดส) แต่หลังจากที่รณรงค์มาเกือบจะ 2 สัปดาห์ มีประชาชนมาลงทะเบียนเพียง 1.6 ล้านคนเศษเท่านั้น
ทำให้ประชาชนบางส่วนตั้งคำถามกับรัฐบาลถึงความล้มเหลวในการรณรงค์ในเรื่องการฉีดวัคซีน
และทำไมจึงยังไม่มีการปรับแผนการฉีดวัคซีนให้สอดรับกับสถานการณ์ความเป็นจริง
3. รัฐบาลประเมินเรื่องภาวะเศรษฐกิจผิดพลาด ส่งผลให้
- การประเมินของภาคเอกชนที่เชื่อว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัว ภายหลังจากยกเลิกการล็อคดาวในรอบแรก
ภาคเอกชนจึงเริ่มต้นลงทุนใหม่อีกครั้งเพื่อการฟื้นฟูธุรกิจ และเมื่อเกิดรอบ 2 ภาคเอกชนก็ยังมีความหวัง และกับมาเริ่มเปิดดำเนินกิจการใหม่อีกครั้ง
แต่ด้วยความประมาทในการป้องการของภาครัฐ ทำให้เกิดการระบาดในรอบ 3 และรุนแรงมากกว่าทุกครั้ง ทำให้ภาคธุรกิจหลายส่วนหมดแรงที่จะเริ่มต้นใหม่ และยังมีภาคธุรกิจบางส่วน ตั้งคำถามว่า จะมีรอบ 4. 5 อีกหรือไม่ เพราะขาดความเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล
- มาตรการในการช่วยเหลือประชาชนของภาครัฐ เมื่อแรก มาตรการต่างๆ ที่ออกมา โดยส่วนใหญ่ยอมรับได้ กับการแจกเงิน ในโครงการต่างๆ
ว่า สามารถช่วยแบ่งเบาภาระประชาชนได้ แต่เมื่อการระบาดไม่จบสิ้น และรัฐบาลยังคงใช้มาตรการเดิมๆ คือ แจกเงิน แจกเงิน แจกเงิน
ประชาชนบางส่วนจึงเริ่มตั้งคำถามว่า “ทำอย่างอื่นบ้างไม่เป็น? นอกจากการแจกเงิน”
แล้วคนบางคนที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการเหล่านี้ เริ่มตั้งคำถามว่า “จะมีประโยชน์อะไรกับการฟื้นเศรษฐกิจด้วยการแจกเงิน”
แล้วที่ผ่านมา SMEs ได้รับช่วยเหลืออย่างไรบ้าง นอกจากการงดจ่ายดอกเบี้ย และเงินต้น 6 เดือน แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น
และ มาตรการทางการเงินที่ออกมาก็ยากมากในภาคปฏิบัติจริง
- คำถามของประชาชนที่ว่า เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท รัฐบาลนำไปทำอะไรที่เป็นรูปธรรมในการฟื้นฟูเศรษฐกิจได้บ้าง
นอกจากการแจกเงิน และเงินก้อนที่เหลือ 2 แสนกว่าล้าน ก็จะถูกนำมากแจกตามโครงการต่าง ๆจนหมดภายในปี 64 นี้
- วันนี้เริ่มมีภาคธุรกิจในหลายภาคส่วนที่ไม่สามารถฟื้นตัวเองได้จากภาวะหยุดชะงัก และยังคงมีตามมาอีกมาก
มีคำถามตามมาว่า หากเกิด Covid รอบ 4,5 รัฐบาลจะเอาเงินที่ไหนแก้ปัญหา หรือต้องกู้เพิ่มอีกเพื่อเอามาแจกไปเรื่อย ๆ?
- ภาคเอกชน และประชาชนบางส่วนเริ่มขาดความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล ดังที่เห็นใน Social ใน Page ต่าง ๆที่เรียกร้อง
4. รัฐบาลประเมินเสียงเรียกร้อง และความเห็นของประชาชนผิดพลาด ส่งผลให้
- การที่รัฐบาล เลือกที่จะฟังเสียง ฟังความเห็นที่เป็นไปในทางเดียวกับรัฐบาล
และด้วยท่าทีของรัฐบาลที่มองความเห็นประชาชนที่มีความเห็นไม่ตรงกับรัฐบาลว่า มีเรื่องการเมืองแอบแฝง
ทำให้ความเห็นดีๆ หลายเรื่องที่สามารถรับฟัง และนำมาปรับใช้ได้ “ถูกละเลย”
- ขาดความร่วมมือจากประชาชนในการแก้ปัญหาแบบภาพรวม
5. ภาคประชาชนประเมินความรุนแรงของการระบาดในรอบ 3 ต่ำเกินไป ส่งผลให้
- การแพร่ระบาดของ Covid รุนแรง และรวดเร็ว ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อประชาชนทุกภาคส่วน
- การขาดความผิดชอบ และขาดระเบียบวินัยต่อสังคมโดยรวมของประชาชนบางส่วน ทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปด้วยความยากลำบาก
- การมองผลกระทบของการฉีดวัคซีนในด้านลบมากเกินกว่าด้านบวก ทำให้ประชาชนจำนวนมากตัดสินใจจะยังไม่ฉีดวัคซีนในช่วงเวลานี้
ทำให้การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ยากขึ้น และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามมาที่อาจจะเกิดการระบาดในรอบ 4 รอบ 5 ได้ หากยังไม่เกิดภูมคุ้มกันหมู่
- ภาคส่วนต่างๆ เช่น ภาคประชาชนทั่วไป ภาคธุรกิจ ภาคการเมือง ภาคสังคม บางส่วนขาดความสามัคคีอย่างจริงจัง ที่จะช่วยกันร่วมมือในการช่วยกัน
แก้ปัญหา
สรุป ข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหา
1. ต้องทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศ และทุกภาคส่วนของสังคมมองปัญหาการแพร่ระบาดของ Covid19 นี้ เป็นปัญหาของสังคมโดยส่วนรวม
ที่ทุกคนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา และการแก้ปัญหาต้องไปในแนวทางเดียวกัน ด้วยวิธีการ ดังนี้
1.1 ผู้นำ และทีมงาน โดยเฉพาะผู้นำประเทศต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการรับฟังความเห็นของทุกภาคส่วนด้วยใจที่เปิดกว้าง เป็นมิตร และปฏิบัติให้เห็นมากกว่าเพียงแค่พูดว่า “รับฟังทุกคน”
1.2 ประชาชนต้องเชื่อมั่นในผู้นำ และทีมงาน โดยให้วางเรื่องราวในอดีตไม่ว่าจะชอบ หรือไม่ชอบไว้ก่อน
1.3 หน่วยงานภาครัฐทั้งหมด ต้องให้ข่าวไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นบวกต่อการแก้ไขปัญหา
และต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงในข่าวด้านลบ หากข่าวด้านลบเป็นจริง ก็ให้บอกว่าจริง แต่ให้บอกทางออก และทางที่ดีกว่าไว้ด้วย
และต้องมีความอดทนเพียงพอต่อการให้ข้อมูลที่ซ้ำๆ กันไปเรื่อยๆ
2. การสร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจให้กับประชาชน ด้วยการยอมรับความจริง และบอกประชาชนในข้อมูลทุกเรื่อง
3. รัฐบาลต้องทำให้ประชาชนร่วมมือในการแก้ปัญหา ด้วยการที่ รัฐบาลต้องแสดงให้เห็นถึงความรวดเร็วในการแก้ปัญหา
แก้ปัญหาด้วยความจริงใจ ไม่มี 2 มาตรฐาน และรัฐบาลต้องดึงภาคเอกชน ภาคประชาชน มามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาให้มากขึ้น
จึงจะได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชนทุกภาคส่วน
4. การแก้ไปปัญหาด้านผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ต้องเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง และสำคัญที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ดังนี้
4.1 ลดโครงการการช่วยเหลือด้วยการแจกเงินเพียงอย่างเดียวลง ให้เหลือเพียงการช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
4.2 กระตุ้นให้เกิดการจ้างงานในธุรกิจขนาดเล็ก ด้วยการกระจายการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ให้มีความคล่องตัว
และสามารถจัดซื้อจากธุรกิจขนาดเล็กได้โดยเร็ว ในการใช้เพื่อการแก้ไขปัญหา Covid
เช่น จัดซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค ที่ผลิตโดย SMEs จริง ๆและนำไปแจกให้กับประชาชนที่มีความต้องการ
4.3 จัดตั้งศูนย์แบ่งเบาภาระอาหารการกิน หรือโรงทานในระดับอำเภอ จังหวัด เพื่อให้ประชาชนที่ขาดแคลน
สามารถมีอาหารรับประทานในการประทังชีวิตได้ โดยขอความร่วมมือจากภาคเอกชนในการจัดตั้งโรงทาน และการช่วยกันเป็นอาสาสมัคร
โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิ เป็นกลุ่มนำ จนกว่าการแพร่ระบาดจะบรรเทาเบาบางลง
4.4 การรณรงค์ให้ผู้ที่ว่างงาน แต่มีความต้องการทำงาน ได้ทำงาน
ด้วยการที่รัฐจัดจ้างอาสาสมัครรณรงค์เคาะประตูบ้านให้ประชาชนเข้าใจในเรื่องการฉีดวัคซีน
5. การแก้ไขปัญหาเรื่องวัคซีน ดังนี้
5.1 เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกฉีดวัคซีนในแบรนด์ที่รัฐมีทั้งหมด โดยไม่กำหนดว่าต้องฉีดแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งเท่านั้น
5.2 เร่งฉีดวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยเร็ว โดยไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เพราะว่าวัคซีน AZ จะเริ่มเข้าฉีดได้ในเดือน มิย. นี้แล้ว
5.3 หากวัคซีน 16 ล้านโดส มีผู้เข้าจองน้อย รัฐบาลควรเปิดโอกาสให้คนกลุ่มอื่นสามารถจองฉีดวัคซีนได้ทันที โดยกันไว้ส่วนหนึ่งสำหรับผู้สูงอายุ และกลุ่มเสี่ยงไว้ หากมีการจองเข้ามา เพื่อให้เกิดผลต่อภูมิคุ้มกันหมู่โดยเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามลำดับที่วางไว้ เพราะวัคซีนมีเหลือเพียงพอ
5.4 ภายหลังจากการฉีดวัคซีนที่มากขึ้นแล้ว ค่อยมารณรงค์กระตุ้นแบบเข้าถึงกลุ่มคนที่ยังไม่ต้องการฉีดวัคซีน
6. รณรงค์ให้การป้องกันการแพร่ระบาดของ Covid19 เป็นวาระแห่งชาติ (วันนี้นายกประกาศให้การฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติแล้ว)
ที่ภาครัฐ ภาคประชาชนต้องให้ความร่วมมือเพื่อช่วยกันแก้ไข ให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ โดยผู้นำภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคสังคม
ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับประชาชน